แท็ก
ธปท.
1.ฐานเงินและปริมาณเงิน
- ฐานเงินทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน ในขณะที่ M2 M2a และ M3 ขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2548 อยู่ที่ระดับ 753.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ลดลง 0.3 พันล้านบาทจากเดือนกรกฎาคม โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของฐานเงินจากเดือนก่อน ได้แก่ (1) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่สถาบันการเงินลดลงเนื่องจากสถาบันการเงินลงทุนในพันธบัตร ธปท. เพิ่มขึ้น (2) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้น และ (3) สินทรัพย์ ต่างประเทศสุทธิของทางการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 5.9 4.6 และ 4.6 ตามลำดับ โดย M2 และ M2a ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนโดยส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากประจำ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการควบรวมและยกระดับบริษัทเงินทุนเป็นธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ M3 ขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
2.อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
- ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ และเฉลี่ยทั้งเดือนแข็งค่าขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
- อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินปรับสูงขึ้นตามการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะไม่เกิน 1 ปีปรับลดลงเล็กน้อย ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะ 1 ปีขึ้นไปยังคงปรับสูงขึ้นจากเดือนที่แล้ว
อัตราแลกเปลี่ยน ในเดือนสิงหาคม 2548 ค่าเงินบาท เฉลี่ยอยู่ที่ 41.19 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ย 41.76 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรกฎาคมและเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเชื่อมั่นในดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินภูมิภาคไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในเดือนนี้
ระหว่างวันที่ 1-23 กันยายน 2548 ค่าเงินบาททรงตัวและเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบก่อนการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 7 กันยายน แต่โน้มแข็งค่าขึ้นภายหลังอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนสิงหาคม 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.70 ต่อปีเท่ากัน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงขึ้นจากเดือนก่อน
สำหรับในช่วงวันที่ 1-23 กันยายน 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันปรับสูงขึ้นอีกมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.08 และ 3.07 ต่อปี ตามลำดับ ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นสำคัญ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนสิงหาคม 2548 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะไม่เกิน 1 ปีปรับลดลงเล็กน้อย ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะ 1 ปีขึ้นไปปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว โดยปัจจัยหลักยังคงมาจากการคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีความต้องการที่จะพักเงิน ในตราสารระยะสั้นมากขึ้น
ในช่วงวันที่ 1-23 กันยายน 2548 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับขึ้นร้อยละ 0.50 ในวันที่ 7 กันยายน แต่โน้มลงภายหลังเนื่องจากความต้องการลงทุนระยะสั้นยังคงมีมากในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มจะสูงขึ้นต่อไป
3.เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
- เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่การขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวจากช่วงปลายปี 2547 ตามภาวะเศรษฐกิจ
- ธนาคารพาณิชย์บางแห่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในเดือนสิงหาคม และธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในเดือนกันยายน
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนสิงหาคม 2548 เพิ่มขึ้น 125.0 พันล้านบาทจากเดือนกรกฎาคม และขยายตัวร้อยละ 6.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก การควบรวมระหว่างบริษัทเงินทุนไทยเพิ่มทรัพย์และบริษัทเงินทุนทิสโก้เป็นธนาคารทิสโก้ และการโอนทรัพย์ สินและหนี้สินระหว่างบริษัทเงินทุนธนชาติและธนาคารธนชาต ซึ่งเมื่อหักผลของการควบรวมและการโอนทรัพย์ สินและหนี้สินดังกล่าวแล้ว เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 4.3 เร่งตัวจากร้อยละ 2.5 ในเดือนกรกฎาคมตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาคธุรกิจเพื่อรอตัดบัญชีชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาครัฐเป็นสำคัญ อนึ่ง ในระยะที่ผ่านมา การขยายตัวของเงินฝากอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจมีทางเลือกอื่น ในการออม เช่น พันธบัตร หุ้น และหุ้นกู้ ซึ่งการเร่งตัวของเงินฝากในเดือนนี้อาจจะเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น
สินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (รวมการถือครองหลักทรัพย์ของภาคเอกชน) ในเดือนสิงหาคม 2548 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยบางส่วนเป็นผลจากการควบรวมและโอนสินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันการเงินดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเมื่อมีการหักสินเชื่อที่ เพิ่มขึ้นเนื่องจากการควบรวมดังกล่าวออก สินเชื่อในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.4 ในเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้การขยายตัวของ สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวจาก ปลายปี 2547 ตามภาวะเศรษฐกิจ
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในเดือนสิงหาคม 2548 ปรับสูงขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.38 ต่อปี ณ สิ้นเดือน และสูงขึ้นต่อเนื่องในเดือนกันยายน โดยระหว่างวันที่ 1-23 กันยายน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ย 4 ธนาคารนั้น แม้ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในเดือนสิงหาคมแต่ก็เริ่มปรับสูงขึ้นในเดือนกันยายนมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.00 ต่อปี
ปัจจัยที่กดดันให้ธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นดอกเบี้ย ได้แก่ (1) การขยายตัวในอัตราที่ต่ำของเงินฝาก ซึ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการที่จะระดมเงินฝากมากขึ้นจากแนวโน้มสภาพคล่องส่วนเกินที่อาจลดลงในระยะต่อไป รวมทั้ง (2) ธนาคารพาณิชย์ต้องการรักษาฐานลูกค้าในภาวะที่คู่แข่งปรับดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นแล้ว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
- ฐานเงินทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน ในขณะที่ M2 M2a และ M3 ขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2548 อยู่ที่ระดับ 753.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ลดลง 0.3 พันล้านบาทจากเดือนกรกฎาคม โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของฐานเงินจากเดือนก่อน ได้แก่ (1) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่สถาบันการเงินลดลงเนื่องจากสถาบันการเงินลงทุนในพันธบัตร ธปท. เพิ่มขึ้น (2) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้น และ (3) สินทรัพย์ ต่างประเทศสุทธิของทางการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 5.9 4.6 และ 4.6 ตามลำดับ โดย M2 และ M2a ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนโดยส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากประจำ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการควบรวมและยกระดับบริษัทเงินทุนเป็นธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ M3 ขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
2.อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
- ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ และเฉลี่ยทั้งเดือนแข็งค่าขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
- อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินปรับสูงขึ้นตามการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะไม่เกิน 1 ปีปรับลดลงเล็กน้อย ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะ 1 ปีขึ้นไปยังคงปรับสูงขึ้นจากเดือนที่แล้ว
อัตราแลกเปลี่ยน ในเดือนสิงหาคม 2548 ค่าเงินบาท เฉลี่ยอยู่ที่ 41.19 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ย 41.76 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรกฎาคมและเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเชื่อมั่นในดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินภูมิภาคไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในเดือนนี้
ระหว่างวันที่ 1-23 กันยายน 2548 ค่าเงินบาททรงตัวและเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบก่อนการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 7 กันยายน แต่โน้มแข็งค่าขึ้นภายหลังอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนสิงหาคม 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.70 ต่อปีเท่ากัน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงขึ้นจากเดือนก่อน
สำหรับในช่วงวันที่ 1-23 กันยายน 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันปรับสูงขึ้นอีกมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.08 และ 3.07 ต่อปี ตามลำดับ ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นสำคัญ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนสิงหาคม 2548 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะไม่เกิน 1 ปีปรับลดลงเล็กน้อย ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะ 1 ปีขึ้นไปปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว โดยปัจจัยหลักยังคงมาจากการคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีความต้องการที่จะพักเงิน ในตราสารระยะสั้นมากขึ้น
ในช่วงวันที่ 1-23 กันยายน 2548 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับขึ้นร้อยละ 0.50 ในวันที่ 7 กันยายน แต่โน้มลงภายหลังเนื่องจากความต้องการลงทุนระยะสั้นยังคงมีมากในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มจะสูงขึ้นต่อไป
3.เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
- เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่การขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวจากช่วงปลายปี 2547 ตามภาวะเศรษฐกิจ
- ธนาคารพาณิชย์บางแห่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในเดือนสิงหาคม และธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในเดือนกันยายน
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนสิงหาคม 2548 เพิ่มขึ้น 125.0 พันล้านบาทจากเดือนกรกฎาคม และขยายตัวร้อยละ 6.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก การควบรวมระหว่างบริษัทเงินทุนไทยเพิ่มทรัพย์และบริษัทเงินทุนทิสโก้เป็นธนาคารทิสโก้ และการโอนทรัพย์ สินและหนี้สินระหว่างบริษัทเงินทุนธนชาติและธนาคารธนชาต ซึ่งเมื่อหักผลของการควบรวมและการโอนทรัพย์ สินและหนี้สินดังกล่าวแล้ว เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 4.3 เร่งตัวจากร้อยละ 2.5 ในเดือนกรกฎาคมตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาคธุรกิจเพื่อรอตัดบัญชีชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาครัฐเป็นสำคัญ อนึ่ง ในระยะที่ผ่านมา การขยายตัวของเงินฝากอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจมีทางเลือกอื่น ในการออม เช่น พันธบัตร หุ้น และหุ้นกู้ ซึ่งการเร่งตัวของเงินฝากในเดือนนี้อาจจะเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น
สินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (รวมการถือครองหลักทรัพย์ของภาคเอกชน) ในเดือนสิงหาคม 2548 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยบางส่วนเป็นผลจากการควบรวมและโอนสินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันการเงินดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเมื่อมีการหักสินเชื่อที่ เพิ่มขึ้นเนื่องจากการควบรวมดังกล่าวออก สินเชื่อในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.4 ในเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้การขยายตัวของ สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวจาก ปลายปี 2547 ตามภาวะเศรษฐกิจ
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในเดือนสิงหาคม 2548 ปรับสูงขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.38 ต่อปี ณ สิ้นเดือน และสูงขึ้นต่อเนื่องในเดือนกันยายน โดยระหว่างวันที่ 1-23 กันยายน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ย 4 ธนาคารนั้น แม้ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในเดือนสิงหาคมแต่ก็เริ่มปรับสูงขึ้นในเดือนกันยายนมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.00 ต่อปี
ปัจจัยที่กดดันให้ธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นดอกเบี้ย ได้แก่ (1) การขยายตัวในอัตราที่ต่ำของเงินฝาก ซึ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการที่จะระดมเงินฝากมากขึ้นจากแนวโน้มสภาพคล่องส่วนเกินที่อาจลดลงในระยะต่อไป รวมทั้ง (2) ธนาคารพาณิชย์ต้องการรักษาฐานลูกค้าในภาวะที่คู่แข่งปรับดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นแล้ว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--