สภาวะทางเศรษฐกิจปากีสถาน
ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2541 หลังจากที่นานาชาติได้คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อปากีสถาน ภายหลังการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ปากีสถานมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือเพียง 890 ล้านเหรียญสหรัฐ ปากีสถานขาดดุลการค้าทั้งสิ้น 1,325.2 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมในปี 2540 ขาดดุลเพียง 606.9 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งสิ้น 1,127 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมในปี 2540 ขาดดุลเพียง 386.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ปากีสถานได้กำหนดให้อัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 และลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดให้อยู่ในระดับร้อยละ 1.5 ของ GDP สำหรับภาคการผลิต การเกษตร การค้า การขนส่ง และการบริการมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว โดยในภาคการผลิตขนาดใหญ่ (large scale manufactures) และการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในอัตราประมาณร้อยละ 6 ในขณะที่อุตสาหกรรมการป่าไม้และเหมืองแร่มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงร้อยละ 23.2 และ 9.7 ตามลำดับ ดัชนีค่าครองชีพของปากีสถานได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2540 โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.81 และดัชนีราคาสินค้าขายส่ง (WPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.58 ตามลำดับ และสินค้าหลายอย่างที่จำเป็นต่อค่าครองชีพเริ่มขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากประสบกับปัญหาการนำเข้าสินค้า การชำระเงินตราต่างประเทศ และการลดค่าเงินรูปี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2541 รัฐบาลปากีสถานได้ปรับลดอัตราแลกเปลี่ยนเงินรูปีจากเดิม 1 ดอลลาร์เท่ากับ 40.48 รูปี เปลี่ยนแปลงเป็น 46.46 รูปี การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและมาตรการของรัฐบาลปากีสถานในการควบคุมกระแสการไหลเข้า-ออกของเงินตราต่างประเทศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้การค้าภายในปากีสถานเกิดความซบเซา นอกจากนี้ Letter of credit (L/C) ที่ออกโดยธนาคารของปากีสถานยังได้รับการปฏิเสธจากประเทศที่คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เว้นแต่จะได้รับการรับรองด้วยการสลักหลังจากธนาคารต่างประเทศ โดยคิดค่าประกันความเสี่ยงร้อยละ 4.5 จากเดิมที่คิดเพียงร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลปากีสถานได้พยายามแก้ไขปัญหา เช่น การเริ่มให้มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิต, การนำเข้า และการขายส่ง โดยมีผลบังคับใช้สำหรับพ่อค่าที่มีรายได้มากกว่าปีละ 5 ล้านรูปีขึ้นไปและการลดภาษีการนำเข้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลืองเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเป็นการควบคุมอัตราเงินเฟ้อในส่วนหนึ่ง
นอกจากนี้ รัฐบาลปากีสถานได้ตั้งงบประมาณประจำปี 2541-2542 บนพื้นฐานของความตั้งใจของรัฐบาลในอันที่จะให้มีการส่งเสริมการส่งออก การพึ่งพาตนเองในด้านเกษตรกรรม และการใช้มาตรการประหยัด สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2541-2542 ได้รับการจัดสรรจำนวน 606,300 ล้านรูปี แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี 495,700 ล้านรูปี และงบประมาณรายจ่ายในการพัฒนา 110,600 ล้านรูปี ในขณะที่รัฐบาลคาดว่าจะมีรายรับสุทธิรวม 420,600 ล้านรูปี ซึ่งงบประมาณในปี 2541-2542 จะเป็นงบประมาณขาดดุล โดยปากีสถานได้ตั้งเป้าการขาดดุลงบประมาณสำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน (2541-2542) ในอัตราร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP) นับเป็นอัตราที่ลดลงจากปีงบประมาณ 2539-2540 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.2 และตั้งเป้าการเก็บภาษีไว้ที่ 350,000 -374,000 ล้านรูปี สำหรับปีงบประมาณ 2541-2542 โดยมีอัตราการเพิ่มของ GDP ร้อยละ 6 และอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 8.2 (จากร้อยละ 11.6 ในปีก่อน)
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจที่นานาชาติให้ปากีสถาน
ซาอุดิอาระเบีย
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2541 นายกรัฐมนตรีปากีสถานได้เดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบีย และได้ขอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ จากกลุ่มประเทศอาหรับยังผลให้ธนาคาร เพื่อการพัฒนาอิสลาม(Islamic development Bank : IDB) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซาอุดีอาระเบียได้อนุมัติวงเงินกู้เพิ่มจาก 150 ล้านเหรียญสหรัฐเป็น 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้แก่ปากีสถาน ในช่วงปีงบประมาณ 2541-2542
สหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติให้ปากีสถานได้รับสินเชื่อในการซื้อข้าวสาลีจากสหรัฐฯ โดยในแถลงการณ์ระบุว่า มาตรการดังกล่าวเป็นความจำเป็นเพื่อให้ปากีสถานคงฐานะการเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 3 ที่นำเข้าข้าวสาลีจากสหรัฐฯ โดยถือเป็นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับมาตรการคว่ำบาตรต่อปากีสถานที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของร่างพระราชบัญญัติงบประมาณทางด้านเกษตรของสหรัฐฯ ทั้งนี้ ในปี 2540 ปากีสถาน นำเข้าข้าวสาลีจากสหรัฐฯ เป็นจำนวน 2.2 ล้านตัน
ข้อสังเกต
1. ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ปากีสถานพยุงฐานะทางการเงินของประเทศได้ด้วยเงินกู้ยืมแต่เพียงอย่างเดียว ในขณะที่ยังไม่มีการดำเนินการปรับโครงสร้างทางการเงินอย่างจริงจัง รัฐบาลปากี-สถาน กำลังพยายามควบคุมการนำเข้าและการชำระเงินให้แก่กองทุนซื้อขายล่วงหน้าที่ครบกำหนด(matured swap funds) เพื่อพยุงฐานะทางเศรษฐกิจและรักษาเงินตราต่างประเทศไว้
2. ผลกระทบจากการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของนานาชาติที่มีต่อปากีสถาน นอกจากจะมีผลกระทบต่อปากีสถานแล้ว ยังมีผลกระทบต่อประเทศที่คว่ำบาตรด้วย เนื่องจากสูญเสียประโยชน์ในทางการค้ากับปากีสถาน มาตรการผ่อนคลายทางด้านอาหารของสหรัฐฯ ที่ให้ปากีสถานได้รับสินเชื่อในการซื้อข้าวสาลี อาจเนื่องจากสหรัฐฯ เกรงว่า หากปากีสถานไม่สามารถซื้อข้าวสาลีจากสหรัฐฯ ได้ ปากีสถานก็จะสั่งซื้อจากออสเตรเลียแทน ทำให้สหรัฐฯ ต้องสูญเสียตลาดข้าวสาลีที่สำคัญไป
ที่มา : กองเอเซียใต้, กรมเอเซียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา, กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 6/31 สิงหาคม 2541--
ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2541 หลังจากที่นานาชาติได้คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อปากีสถาน ภายหลังการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ปากีสถานมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือเพียง 890 ล้านเหรียญสหรัฐ ปากีสถานขาดดุลการค้าทั้งสิ้น 1,325.2 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมในปี 2540 ขาดดุลเพียง 606.9 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งสิ้น 1,127 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมในปี 2540 ขาดดุลเพียง 386.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ปากีสถานได้กำหนดให้อัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 และลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดให้อยู่ในระดับร้อยละ 1.5 ของ GDP สำหรับภาคการผลิต การเกษตร การค้า การขนส่ง และการบริการมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว โดยในภาคการผลิตขนาดใหญ่ (large scale manufactures) และการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในอัตราประมาณร้อยละ 6 ในขณะที่อุตสาหกรรมการป่าไม้และเหมืองแร่มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงร้อยละ 23.2 และ 9.7 ตามลำดับ ดัชนีค่าครองชีพของปากีสถานได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2540 โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.81 และดัชนีราคาสินค้าขายส่ง (WPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.58 ตามลำดับ และสินค้าหลายอย่างที่จำเป็นต่อค่าครองชีพเริ่มขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากประสบกับปัญหาการนำเข้าสินค้า การชำระเงินตราต่างประเทศ และการลดค่าเงินรูปี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2541 รัฐบาลปากีสถานได้ปรับลดอัตราแลกเปลี่ยนเงินรูปีจากเดิม 1 ดอลลาร์เท่ากับ 40.48 รูปี เปลี่ยนแปลงเป็น 46.46 รูปี การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและมาตรการของรัฐบาลปากีสถานในการควบคุมกระแสการไหลเข้า-ออกของเงินตราต่างประเทศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้การค้าภายในปากีสถานเกิดความซบเซา นอกจากนี้ Letter of credit (L/C) ที่ออกโดยธนาคารของปากีสถานยังได้รับการปฏิเสธจากประเทศที่คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เว้นแต่จะได้รับการรับรองด้วยการสลักหลังจากธนาคารต่างประเทศ โดยคิดค่าประกันความเสี่ยงร้อยละ 4.5 จากเดิมที่คิดเพียงร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลปากีสถานได้พยายามแก้ไขปัญหา เช่น การเริ่มให้มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิต, การนำเข้า และการขายส่ง โดยมีผลบังคับใช้สำหรับพ่อค่าที่มีรายได้มากกว่าปีละ 5 ล้านรูปีขึ้นไปและการลดภาษีการนำเข้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลืองเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเป็นการควบคุมอัตราเงินเฟ้อในส่วนหนึ่ง
นอกจากนี้ รัฐบาลปากีสถานได้ตั้งงบประมาณประจำปี 2541-2542 บนพื้นฐานของความตั้งใจของรัฐบาลในอันที่จะให้มีการส่งเสริมการส่งออก การพึ่งพาตนเองในด้านเกษตรกรรม และการใช้มาตรการประหยัด สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2541-2542 ได้รับการจัดสรรจำนวน 606,300 ล้านรูปี แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี 495,700 ล้านรูปี และงบประมาณรายจ่ายในการพัฒนา 110,600 ล้านรูปี ในขณะที่รัฐบาลคาดว่าจะมีรายรับสุทธิรวม 420,600 ล้านรูปี ซึ่งงบประมาณในปี 2541-2542 จะเป็นงบประมาณขาดดุล โดยปากีสถานได้ตั้งเป้าการขาดดุลงบประมาณสำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน (2541-2542) ในอัตราร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP) นับเป็นอัตราที่ลดลงจากปีงบประมาณ 2539-2540 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.2 และตั้งเป้าการเก็บภาษีไว้ที่ 350,000 -374,000 ล้านรูปี สำหรับปีงบประมาณ 2541-2542 โดยมีอัตราการเพิ่มของ GDP ร้อยละ 6 และอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 8.2 (จากร้อยละ 11.6 ในปีก่อน)
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจที่นานาชาติให้ปากีสถาน
ซาอุดิอาระเบีย
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2541 นายกรัฐมนตรีปากีสถานได้เดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบีย และได้ขอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ จากกลุ่มประเทศอาหรับยังผลให้ธนาคาร เพื่อการพัฒนาอิสลาม(Islamic development Bank : IDB) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซาอุดีอาระเบียได้อนุมัติวงเงินกู้เพิ่มจาก 150 ล้านเหรียญสหรัฐเป็น 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้แก่ปากีสถาน ในช่วงปีงบประมาณ 2541-2542
สหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติให้ปากีสถานได้รับสินเชื่อในการซื้อข้าวสาลีจากสหรัฐฯ โดยในแถลงการณ์ระบุว่า มาตรการดังกล่าวเป็นความจำเป็นเพื่อให้ปากีสถานคงฐานะการเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 3 ที่นำเข้าข้าวสาลีจากสหรัฐฯ โดยถือเป็นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับมาตรการคว่ำบาตรต่อปากีสถานที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของร่างพระราชบัญญัติงบประมาณทางด้านเกษตรของสหรัฐฯ ทั้งนี้ ในปี 2540 ปากีสถาน นำเข้าข้าวสาลีจากสหรัฐฯ เป็นจำนวน 2.2 ล้านตัน
ข้อสังเกต
1. ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ปากีสถานพยุงฐานะทางการเงินของประเทศได้ด้วยเงินกู้ยืมแต่เพียงอย่างเดียว ในขณะที่ยังไม่มีการดำเนินการปรับโครงสร้างทางการเงินอย่างจริงจัง รัฐบาลปากี-สถาน กำลังพยายามควบคุมการนำเข้าและการชำระเงินให้แก่กองทุนซื้อขายล่วงหน้าที่ครบกำหนด(matured swap funds) เพื่อพยุงฐานะทางเศรษฐกิจและรักษาเงินตราต่างประเทศไว้
2. ผลกระทบจากการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของนานาชาติที่มีต่อปากีสถาน นอกจากจะมีผลกระทบต่อปากีสถานแล้ว ยังมีผลกระทบต่อประเทศที่คว่ำบาตรด้วย เนื่องจากสูญเสียประโยชน์ในทางการค้ากับปากีสถาน มาตรการผ่อนคลายทางด้านอาหารของสหรัฐฯ ที่ให้ปากีสถานได้รับสินเชื่อในการซื้อข้าวสาลี อาจเนื่องจากสหรัฐฯ เกรงว่า หากปากีสถานไม่สามารถซื้อข้าวสาลีจากสหรัฐฯ ได้ ปากีสถานก็จะสั่งซื้อจากออสเตรเลียแทน ทำให้สหรัฐฯ ต้องสูญเสียตลาดข้าวสาลีที่สำคัญไป
ที่มา : กองเอเซียใต้, กรมเอเซียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา, กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 6/31 สิงหาคม 2541--