ภาวะการค้าสินค้าปลากระป๋องในสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 28, 1997 16:41 —สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

         สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ มีประชากรมากถึง 268 ล้านคน มีแนวโน้มการนำเข้าสินค้าอาหารเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี 
สหรัฐฯ นำเข้าปลากระป๋องเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศเฉลี่ยปีละ 150,000 ตัน มูลค่าประมาณ 400 ล้าน-เหรียญสหรัฐฯ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ
ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย โคลัมเบีย มาเลเซีย สเปน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ เม็กซิโก ตามลำดับ
สหรัฐฯอเมริกาได้มีการส่งออกปลากระป๋องเฉลี่ยปีละ 50,000 ตัน มูลค่าประมาณ 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปยัง
ประเทศอิสราเอล ปานามา แคนาดาบาฮามัส โดมินิกัน เม็กซิโก อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และไทย
ผู้บริโภคสหรัฐฯอเมริกา นิยมรับประทานอาหารปลากระป๋อง ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งประกอบด้วยเนื้อปลาทูน่า เช่น
Black Skipjack Tuna, Skipjack Tuna, Yellowfin Tuna, Longtail Tuna, Slender Tuna, ปลา Anchovies,
Herring Mackerel, Salmon, Sardines in oil, Sardines not in oil, Tuna albacore เป็นต้น
1. การนำเข้าปลากระป๋องของสหรัฐฯ
1.1 มูลค่าการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋อง
ในปี 2537 - 2539 สหรัฐฯ นำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากต่างประเทศ มีมูลค่าปีละประมาณ 320 - 345 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ดังนี้
ปี มูลค่า (ล้านเหรียญฯ) อัตราการขยายตัว (%)
2537 343.55 - -
2538 313.35 (-8.79)
2539 319.22 1.87
ปี 2540 (มกราคม - เมษายน) สหรัฐฯ นำเข้าปลาทูน่ากระป๋องมูลค่า 139.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถ้าเทียบจากปี 2539
ในช่วงเวลาเดียวกัน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 26.96%
สหรัฐฯนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมา ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย โคลัมเบีย
มาเลเซีย สเปน ดังนี้
มูลค่า (ล้านเหรียญฯ)
อันดับ ประเทศ ปี 2537 2538 2539 2540(มค. -เมย.)
1. ไทย 225.55 157.43 151.09 66.57
2. ฟิลิปปินส์ 37.53 51.19 61.03 37.22
3. เอกวาดอร์ 23.60 41.25 60.01 17.74
4. อินโดนีเซีย 33.81 40.84 35.32 12.64
5. โคลัมเบีย 5.59 15.45 5.43 .02
6. มาเลเซีย 5.66 4.31 3.75 1.37
7. สเปน 1.02 0.80 0.76 .19
1.2 มูลค่าการนำเข้าปลาซาร์ดีนกระป๋อง
ในปี 2537 - 2539 สหรัฐฯ นำเข้าปลาซาร์ดีนกระป๋องจากต่างประเทศ มูลค่าปีละประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตรา
การขยายตัวลดลง ดังนี้
ปี มูลค่า (ล้านเหรียญฯ) อัตราการขยายตัว (%)
2537 48.99 - -
2538 48.91 (-17.00)
2539 46.54 (-4.84)
ปี 2540 (มกราคม - เมษายน) สหรัฐฯ นำเข้าปลาซาร์ดีนกระป๋อง มูลค่า 16.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถ้าเทียบจากปี 2539
ในช่วงเวลาเดียวกัน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.96%
สหรัฐฯ นำเข้าปลาซาร์ดีนกระป๋องจากแคนาดามากที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมา ได้แก่ นอรเวย์ ไทย โมรอคโค เม็กซิโก อังกฤษ
เอกวาดอร์ ญี่ปุ่น โปรตุเกส สเปน ดังนี้
มูลค่า (ล้านเหรียญฯ)
อันดับ ประเทศ ปี 2537 2538 2539 2540(มค. -เมย.)
1. แคนาดา 12.10 10.81 11.10 3.31
2. นอร์เวย์ 10.87 10.99 10.39 3.60
3. ไทย 7.46 6.18 5.52 1.77
4. โมรอคโค 3.60 5.47 4.26 2.19
5. เม็กซิโก 1.93 3.16 3.81 2.19
6. อังกฤษ 1.93 2.71 2.15 .48
7. เอกวาดอร์ 1.75 1.67 2.12 .88
2. การนำเข้าปลากระป๋องจากประเทศไทย
ปี 2537 สหรัฐฯ นำเข้าปลากระป๋องจากไทย มีมูลค่าประมาณ 233 ล้าน-เหรียญสหรัฐฯ และในปี 2538 - 2539 ที่ผ่านมา
มีอัตราการขยายตัวลดลง ดังนี้
ปี มูลค่า (ล้านเหรียญฯ) อัตราการขยายตัว (%)
2537 233.02 - -
2538 163.61 (-29.79)
2539 156.60 (-4.28)
ในปี 2539 สหรัฐฯ นำเข้าปลากระป๋องจากไทยรวมมูลค่า 156 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2540 (มกราคม - เมษายน)
สหรัฐฯ นำเข้ามูลค่า 68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่ามากกว่าปี 2539 ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งนำเข้ามูลค่า 58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมี
อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 18.17%
การนำเข้าปลาทูน่าและซาร์ดีนกระป๋องจากไทย
ในปี 2539 สหรัฐฯ นำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทย มูลค่า 151 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2538 ซึ่งนำเข้ามูลค่า
157.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนลดลง -4.03% โดยสหรัฐฯ ได้หันไปนำเข้าจากฟิลิปปินส์ เอกวาดอร์ มากขึ้น และในช่วงปี 2540
(มกราคม - เมษายน) สหรัฐฯ นำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยมีมูลค่า 66.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่ามากกว่าปี 2539 ในช่วงเวลาเดียวกัน
โดยนำเข้ามูลค่า 56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 19.07% และไทยมีส่วนแบ่งตลาด 47.72%
ส่วนแบ่งตลาด (%) ของสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง
ประเทศ ปี 2537 2538 2539 2540 (มค.-เมย.)
รวม 100 100 100 100
ไทย 65.65 50.24 47.33 47.72
ฟิลิปปินส์ 10.92 16.34 19.12 26.68
เอกวาดอร์ 6.87 13.17 18.80 12.72
อินโดนีเซีย 9.84 13.03 11.06 9.06
โคลัมเบีย 1.63 4.93 1.70 0.02
มาเลเซีย 1.65 1.38 1.18 0.98
อื่น ๆ 3.44 0.91 .81 2.82
สำหรับการนำเข้าปลาซาร์ดีนกระป๋องจากไทย สหรัฐฯ นำเข้าในปี 2539 มูลค่า 5.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2538
ซึ่งนำเข้ามูลค่า 6.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนลดลง 10.70% โดยสหรัฐฯ ได้นำเข้าจากแคนาดา เม็กซิโก เพิ่มมากขึ้น
และในช่วงปี 2540 (มกราคม - เมษายน) สหรัฐฯ นำเข้าปลาซาร์ดีนกระป๋องจากไทย มูลค่า 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าลดลงจากปี 2538
ในเวลาเดียวกันโดยนำเข้า 1.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวลดลง 7.78% และไทยมีส่วนแบ่งตลาด 10.70%
ส่วนแบ่งตลาด (%) ของสินค้าปลาซาร์ดีนกระป๋อง
ประเทศ ปี 2537 2538 2539 2540(มค.-เมย.)
รวม 100 100 100 100
แคนาดา 24.70 22.10 23.86 19.99
นอร์เวย์ 22.18 22.07 22.32 21.71
ไทย 15.23 12.63 11.85 10.70
มอรอคโค 7.34 11.18 9.14 13.22
เม็กซิโก 3.95 6.46 8.18 13.20
อังกฤษ 3.94 5.53 4.62 2.92
อื่น ๆ 22.66 -20.03 20.03 18.26
3. การส่งออกปลากระป๋องของสหรัฐฯ
ในปี 2537-2539 สหรัฐฯ ได้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องและปลาซาร์ดีนกระป๋องไปยังต่างประเทศ มีมูลค่าปีละประมาณ
20-25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ดังนี้
ปี มูลค่า (ล้านเหรียญฯ) อัตราการขยายตัว (%)
2537 21.24 - -
2538 19.88 (-6.41)
2539 24.56 23.56
สหรัฐฯ ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังประเทศอิสราเอล ปานามา แคนาดา บาฮามัส โดมินิกัน เม็กซิโก อินโดนีเซีย สิงคโปร์
ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งสหรัฐฯ ส่งออกเฉลี่ยมูลค่าประมาณ 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับปลาซาร์ดีน กระป๋อง สหรัฐฯส่งออก
ไปต่างประเทศเฉลี่ยมูลค่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สหรัฐฯ ส่งออกปลากระป๋องไปไทยเฉลี่ยมูลค่า 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ และมีแนวโน้มลดลง
4. กฎระเบียบและภาษี
กฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องของสหรัฐฯ ที่สำคัญได้แก่
1. กฎหมายเกี่ยวกับอาหารโดยทั่วไป Federal Food, Drug and Cosmetic Act (FDCA) ซึ่งเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพ
ของสินค้าอาหารต่าง ๆ
2. ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับปลาทูน่ากระป๋องของ US. - FDA (Code of Federal Regulations Title 21 Part 161.190)
ซึ่งเป็นระเบียบเกี่ยวกับคุณภาพอาหารรวมทั้ง ฉลาก
3. กฎหมายเกี่ยวกับการปิดฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร Fair Packaging and Labeling Act (FPLA) ซึ่งกำหนดไว้ใน
Title 21 Part 101 โดยข้อความที่ปรากฎในการบรรจุ การปิดฉลาก และหีบห่อ จะต้องแจ้งความจริงโดยไม่บกพร่องหรือหลอกลวงปลอมปน
ซึ่งมีเกณฑ์ในการกำหนดข้อความลงบนฉลาก ดังนี้
1. ชื่อสามัญของผลิตภัณฑ์
2. คุณค่าทางโภชนาการของอาหาร
3. ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์อาหาร
4. รายการส่วนประกอบของอาหาร
5. ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต ผู้บรรจุหีบห่อ หรือผู้แทนจำหน่าย
FDA (Food and Drug Administration) กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐฯ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ออกกฎหมาย ระเบียบ
หลักเกณฑ์การควบคุมตรวจสอบ การนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์อาหาร เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ที่อนุญาตให้ส่ง รวมถึงอาหารที่ไม่อยู่ในการดูแลของ
Federal Meat and Poultry Inspection Law ตลอดจนยาและเครื่องสำอางค์ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่ชีวิตผู้บริโภค
ในด้านสุขภาพและสุขอนามัย
FDA ได้กำหนดขั้นตอนการนำผลิตภัณฑ์อาหารเข้าสหรัฐฯ ดังนี้
1. ผู้นำเข้าแจ้งประเภทสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านศุลกากร โดยข้อมูลจะถูกส่งไปยังสำนักงานส่วนกลาง
2. ผู้นำเข้าต้องกรอกเอกสารการนำเข้า ซึ่งระบุข้อมูลต่าง ๆ เช่น ตัวสินค้า ปริมาณสินค้า ชื่อผู้นำเข้าหรือ Broker
ชื่อผู้ผลิต ประเทศผู้ผลิต วันเวลาที่สินค้าเทียบท่าเรือและด่านที่สินค้าเข้า
3. FDA จะพิจารณาตรวจสอบเอกสารนำเข้า เพื่ออนุญาตให้นำเข้าสินค้า ซึ่งขึ้นกับปัจจัยตามเกณฑ์ของ FDA ถ้าพิจารณาเห็นว่าสินค้ามีปัญหา
สินค้าจะถูกสุ่มตัวอย่างนำไปตรวจสอบว่ามีปัญหาและข้อบกพร่อง และข้อขัดแย้งกับกฎหมาย FDA รวมถึงประวัติการนำเข้าด้วย ถ้าพบว่าผิดกฎหมาย
สินค้าจะถูกกักกันและห้ามนำออกจำหน่าย
4. นำตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์ หากผลวิเคราะห์เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะตรวจปล่อยให้นำเข้า แต่ถ้าพบว่าไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย
สินค้าจะถูกกักกัน และห้ามนำออกจำหน่าย และให้ส่งสินค้าคืนหรือทำลาย ทั้งนี้ หากมีเหตุผลที่จะอุทธรณ์ก็จะต้องเก็บตัวอย่างเพื่อพิสูจน์ต่อไป
อนึ่ง กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ และกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐฯ ประกาศ จะเริ่มนำระบบ HACCP
(Hazard Analysis Critical Control Point) มาใช้กับการนำเข้าสินค้าเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์อาหาร
ที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ดังกล่าว ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2540 โดยควบคุมตั้งแต่ขั้นตอนการรับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การเก็บรักษาสินค้า
การขนส่งจนถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย แทนที่จะทำการควบคุมสินค้าสำเร็จรูป ( Final Product) เท่านั้น ซึ่งถ้าเกิดความเสียหายขึ้น
จะทำให้เกิดความสูญเสียแก่ผู้ประกอบการ และความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เช่น
อันตราย (Hazard) ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคจากการบริโภค สินค้านั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นอันตราย
จากชีวภาพ โดยเฉพาะเรื่องจุลชีวะ อันตรายจากสารเคมี เช่น การใช้สารเคมีต้องห้าม สารเคมีที่เกินระดับปลอดภัย การใช้สารเคมี
ตกค้างและอันตรายทางการระบาย เช่น เศษแก้ว หิน เศษไม้ เศษโลหะ เส้นผม ซึ่งเกิดจากการละเลยของผู้ปฎิบัติและการออกแบบ
โรงงานไม่ดี เป็นต้น
จุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point) คือ จุดใด ๆ ในกระบวนการผลิตที่เราสามารถเข้าไปควบคุมได้ เพื่อที่จะลด
หรือกำจัดอันตรายให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ถ้าหากละเลยจะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
ระบบ HACCP มี 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. ทำการศึกษาประเมินขั้นตอนต่าง ๆ จุดต่าง ๆ ที่อาจเกิดอันตรายทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่ขั้นตอนรับวัตถุดิบ
จนถึงขั้นตอนถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย
2. ระบุหรือกำหนดจุดควบคุมวิกฤต หมายถึง หลักว่าถ้าสูญเสียการควบคุมจุดนี้จะเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
3. กำหนดค่าระดับความปลอดภัย ณ จุดควบคุมวิกฤตแต่ละจุด เพื่อสร้างความแน่ใจว่าจุดวิกฤตทุกจุดอยู่ภายใต้การควบคุม
4. กำหนดวิธีการประเมินติดตาม เพื่อนำมาปรับขบวนการผลิตและรักษาระดับการควบคุม
5. แก้ไขวิธีการในทุกจุดควบคุมวิกฤต เมื่อผลจากขั้น 4 เบี่ยงเบนจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้
6. วางระบบบันทึกข้อมูล และการจัดเก็บเอกสารที่ใช้ในกระบวนการผลิตทั้งระบบ
7. วางระบบวิธีการสอบถาม หรือทดสอบ เพื่อยืนยันว่าระบบ HACCP ที่ใช้อยู่นี้มีประสิทธิภาพเพียงพอในการให้หลักประกันความ
ปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร
เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้ผลิตเพื่อการส่งออกสินค้าอาหารรายใหญ่ของโลก โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋อง โดยสหรัฐฯ
เป็นผู้นำเข้าหลักของไทย ซึ่งจำเป็นที่ไทยต้องแจ้งให้ผู้ส่งออกทราบและนำระบบ HACCP มาใช้โดยเร็ว ก่อนที่สหรัฐฯ จะใช้บังคับ
ในเดือนธันวาคม 2540 เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด และเพิ่มปริมาณการส่งออกให้สูงขึ้นต่อไป
5. ปัญหาและอุปสรรค
1. สหรัฐฯ ได้ออกกฎหมาย ระเบียบ มาตรการเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าไว้อย่างเข้มงวดเพื่อปกป้อง คุ้มครอง รักษาชีวิตและ
สุขอนามัยของประชาชน โดยมีหน่วยงาน FDA (Food and Drug Administration) กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐฯ มีหน้าที่รับผิดชอบออกกฎหมาย
ระเบียบหลักเกณฑ์ มาตรการ การควบคุมตรวจสอบการนำเข้าสินค้าอาหารเข้าสหรัฐฯ ถ้าผลวิเคราะห์ไม่ถูกต้องหรือผิดระเบียบของ FDA
สินค้านั้นจะถูกกักกัน (Detention) และห้ามนำออกจำหน่าย หรืออาจจะให้ส่งสินค้าคืนหรือทำลาย หรือถ้ามีการอุทธรณ์ ก็จะเก็บตัวอย่างไปพิสูจน์ต่อไป
ในเดือนธันวาคม 2540 สหรัฐฯ จะเริ่มนำระบบ HACCP (Harzard Analysis Critical Control Point) เพื่อควบคุม
การนำเข้าสินค้าเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์อาหารตั้งแต่ขั้นตอนการรับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การเก็บรักษาสินค้า การขนส่ง
จนถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภคแม้ว่าไทยจะมีโครงการ HACCP ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แล้ว แต่บริษัทผู้ส่งออกอาหารควรเข้าร่วม
โครงการ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้า แม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นก็ตาม
2. ตามที่สหรัฐอเมริกา ได้ห้ามนำเข้าปลาทูน่าและผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าครีบเหลืองที่จับด้วยอวนล้อมในเขตร้อน บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิค
ตะวันออก เพื่อเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองปลาโลมาของสหรัฐฯ จนทำให้ประเทศที่ถูกห้ามนำเข้าร้องเรียนต่อ GATT/WTO เมื่อปี 2534
และ GATT/WTO ได้ตัดสินว่าการห้ามนำเข้าดังกล่าวขัดแย้งกับหลักเกณฑ์ของ GATT/WTO ต่อมาสหรัฐฯ ได้พยายามเจรจากับประเทศที่ถูกห้ามนำเข้า
ในที่สุดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2538 ทีผ่านมา สหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ อีก 11 ประเทศ ได้แก่ Belize (Primary Embargo)
โคลัมเบีย คอสตาริก้า เอกวาดอร์ ฝรั่งเศส ฮอนดูรัส เม็กซิโก ปานามา สเปน วานูอาตู เวเนซูเอล่า ได้ร่วมลงนามในปฎิญญาปานามา
(Declaration of Panama) โดยสหรัฐฯ ตกลงที่จะแก้ไขกฎหมายคุ้มครองปลาโลมา และยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูน่า และผลิตภัณฑ์
ปลาทูน่าครีบเหลืองจากประเทศที่ปฎิบัติตามปฎิญญาข้างต้น
รัฐสภาของสหรัฐฯ ได้พยายามเสนอร่างกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับปฎิญญาณปานามา ตั้งแต่ปี 2538 แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบ
ของรัฐสภา และในการประชุมรัฐสภาสมัยปัจจุบัน วุฒิสมาชิก Ted Stevens (R-AR) ได้เสอนร่างกฎหมายดังกล่าวอีกครั้ง
(International Dolphin Conservation Program Act : (S.39) โดยร่างกฎหมายนี้มีสาระสำคัญดังนี้
1. สหรัฐฯ จะยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูน่าและผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าครีบเหลือง จากประเทศซึ่งปฎิบัติตามปฎิญญาปานามา และเข้าร่วม
โครงการอนุรักษ์ปลาโลมาระหว่างประเทศ (International Dolphin Protection) ของ
Inter-American Tropical Tuna Commission
2. ในปี 2542 สหรัฐฯ จะพิจารณากฎระเบียบการปิดฉลาก Dolphin - Safe ”ภายใต้กฎหมาย
Dolphin Protection Consumer Information Act ” ซึ่งระบุให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าปลาทูน่าและผลิตภัณฑ์ต้องระบุบนฉลาก ว่า
ปลาทูน่าดังกล่าวจับโดยวิธีที่เป็นอันตรายต่อปลาโลมาหรือไม่ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการปิดฉลาก ประเทศที่เข้าร่วมและ
สนับสนุนการจับปลาทูน่าตามโครงการอนุรักษ์ปลาโลมาระหว่างประเทศจะสามารถปิดฉลาก Dolpnin - Safe ” บนผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าได้
ขณะนี้ ร่างกฎหมายนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาสหรัฐฯ แล้ว และคาดว่าประธานาธิบดีคลินตันจะลงนาม มีผลให้ร่างกฎหมาย
ดังกล่าวบังคับใช้เร็ว ๆ นี้
6. ข้อเสนอแนะ
1. เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้ผลิต เพื่อการส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญ และสหรัฐฯ เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ ปีละประมาณ
2,000 ล้านบาท ไทยจึงต้องระวังรักษาตลาดนี้ไว้ ปัญหาส่วนใหญ่สินค้าอาหารทะเลไปยังสหรัฐฯ จะมีปัญหาด้านการกักกัน มีสิ่งปลอมปน
ไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานอาหารประเภทกรดต่ำ ปนเปื้อนจุลินทรีย์และปัญหาฉลากไม่ถูกต้อง แต่สินค้าไทยส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา สามารถส่งออกไปยัง
ตลาดสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงขึ้นทุกปี แม้ว่าสินค้าปลากระป๋องไทยได้รับความนิยมสูง เนื่องจากคุณภาพดี และราคาถูก แต่ไทยควรระวังคู่แข่งสำคัญ
ของไทย ได้แก่ เอกวาดอร์ เม็กซิโก และฟิลิปปินส์
2. ผู้ผลิตไทยควรปรับปรุงรูปแบบการบรรจุหีบห่อ รักษาระดับคุณภาพ ราคา และการส่งมอบสินค้าตรงตามสัญญา เพื่อรักษาตลาดไว้
ทั้งผู้ส่งออกสินค้าอาหารไทย ควรให้ความสนใจกับการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารนานาชาติในสหรัฐฯ เช่น งาน
Supermarket Industry Convention Educational Exposition ที่จัดขึ้นทุกปีประมาณเดือนพฤษภาคมทุกปี โดย
Food Marketing Institute (FMI) ที่นครชิคาโก ซึ่งงานนี้เป็นงานแสดงสินค้าอาหารที่จำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต และเครื่องมือ
และอุปกรณ์ที่ใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่สำคัญ ๆ ที่สุดของสหรัฐฯ งานนี้มีผู้เข้าร่วมงานในประเทศและจากต่างประเทศ รวม 1,000 บริษัท
จำนวน 33,000 คน เป็นต้น
3. พบผู้นำเข้าสำคัญ เพื่อหาช่องทางนำสินค้าไทยเข้าไปจำหน่ายใน Fedco ซึ่งเป็นตลาดขายส่งและขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค
และอาหารกระป๋องของสหรัฐฯอยู่ในรัฐแถบตะวันตกของสหรัฐฯ และ Costco ซึ่งอยู่ในรัฐแถบตะวันออกของสหรัฐฯ ก็จะเป็นการขยายตลาด
และเพิ่มมูลค่าสินค้าอาหารกระป๋องของไทยให้ได้ผลดีมากที่สุด เพราะตลาดประเภทนี้มียอดจำหน่ายสูงมากในแต่ละวัน
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศฯ ณ กรุงวอชิงตัน
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ