ความต้องการใช้
1. ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,309 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 106.7 หรือ 671,315 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีสัดส่วนการใช้ร้อยละ 40 น้ำมันเตาร้อยละ 25 น้ำมันเบนซินร้อยละ 19 น้ำมันอากาศยานร้อยละ 8 และก๊าซแอลพีจีร้อยละ 8 ตามลำดับ
ส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ ปตท.มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 40.8 จากปริมาณการจำหน่าย 1,351 ล้านลิตร (รวมปริมาณที่จำหน่ายให้ กฟผ. 534 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 16.2 ของปริมาณการจำหน่ายทั้งประเทศ) เชลล์เป็นอันดับที่ 2 ร้อยละ 14.7 จากปริมาณการจำหน่าย 485 ล้านลิตร อันดับที่ 3 คือ เอสโซ่ ร้อยละ 14.1 มีปริมาณการจำหน่าย 468 ล้านลิตร อันดับที่ 4 คาลเท็กซ์ ร้อยละ 10.2 ปริมาณ 337 ล้านลิตร อันดับที่ 5 บางจาก ร้อยละ 6.6 ปริมาณ 219 ล้านลิตร สำหรับกลุ่มผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ๆ มีปริมาณการจำหน่ายรวมกัน 449 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 13.6
เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการจำหน่ายของเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อน
- เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 0.8 ล้านลิตร หรือร้อยละ 4.1 โดยน้ำมันเตาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.3 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 3.7 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 2.5 สำหรับการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน และ เจ.พี. 1 ลดลง ร้อยละ 0.7 และ 0.5 ตามลำดับ
- ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2540 วันละ 15.2 ล้านลิตร หรือร้อยละ 12.5 โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงมากที่สุดร้อยละ 20.4 น้ำมันเตาร้อยละ 7.3 เจ.พี.ร้อยละ 6.4 เบนซิน ร้อยละ 6.0
2. ส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 491 ล้านลิตร หรือวันละ 15.8 ล้านลิตร
- น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 424 ล้านลิตร หรือวันละ 13.7 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และ 36.8 ตามลำดับ
- น้ำมันองค์ประกอบ ปริมาณ 16 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ และเกาหลี
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) ปริมาณ 51 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
การจัดหา
ปริมาณการจัดหาน้ำมันสำเร็จรูป ได้มาจากการผลิตภายในประเทศ ร้อยละ 93.5 และจากการนำเข้าอีกร้อยละ 6.5 โดยแยกรายละเอียดดังนี้
1. การผลิต
ปริมาณ 3,685 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 118.9 ล้านลิตร หรือ 747,754 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 41 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 21 น้ำมันเตา ร้อยละ 19 น้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 9 และก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 9 ลดลงจากเดือนเดียวกันของปปีก่อนและเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 2.9 และ 0.2
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,499 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 112.9 ล้านลิตร หรือ 709,955 บาเรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 4.2 ล้านลิตร หรือร้อยละ 3.6 ลดลงจากเดือนเมษายนที่ผ่านมา วันละ 4.5 ล้านลิตร หรือร้อยละ 0.7 โดยในเดือนนี้โรงกลั่นน้ำมันนำน้ำมันดิบและน้ำมันอื่น ๆ เข้าขบวนการกลั่น 3,860 ล้านลิตร เฉลี่ย 783,280 บาเรล/วัน
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 98 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3,157 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 476 เมตริกตัน หรือร้อยละ 21.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2540 วันละ 522 เมตริกตัน หรือร้อยละ 19.8
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต ปริมาณ 3 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 88 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 62.5
2. การนำเข้า
น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีปริมาณ รวมทั้งสิ้น 3,423 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 110.4 ล้านลิตร หรือ 694,520 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 11,657 ล้านบาท (ไม่รวมการนำเข้า MTBE ที่นำมาผสมน้ำมันเบนซิน ปริมาณ 28 ล้านลิตร มูลค่า 181 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,166 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 102.1 ล้านลิตร หรือ 642,385 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 10,701 ล้านบาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย(US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,589 13.26 81.8
ตะวันออกไกล 577 15.48 18.2
รวม 3,166 13.66 100
- ปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 19.4 ล้านลิตร หรือร้อยละ 15.9 มูลค่าลดลง 1,501 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 12.3
- ปริมาณลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 27.3 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 18.4 มูลค่าลดลง 1,682 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.6
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 257 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 8.3 ล้านลิตร หรือ 52,135 บาเรล/วัน มูลค่า 956 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันเตา ร้อยละ 58 ดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 41 เป็นการนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์ เกาหลี และสหรัฐอเมริกา
- ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 8.8 ล้านลิตร หรือร้อยละ 51.6 มูลค่าลดลง 983 ล้านบาท หรือร้อยละ 50.7
- เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 3.6 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 82.0 มูลค่าเพิ่มขึ้น 406 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.7
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - พฤษภาคม 2541
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 15,815 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 104.7 ล้านลิตร หรือ 658,782 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 12.7 ล้านลิตร หรือร้อยละ 10.8
1.2 การส่งออก ปริมาณ 2,019 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 13.4 ล้านลิตร หรือ 84,088 บาเรล/วัน โดยเป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 38 ดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 37 และ ก๊าซแอล พี จี ร้อยละ 20
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 17,474 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 115.7 ล้านลิตร หรือ 727,873 บาเรล/วัน ลดลงวันละ 13.9 ล้านลิตร หรือร้อยละ 10.7 โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ จากโรงกลั่นน้ำมัน 6 แห่ง โรงแยกก๊าซฯ และผลิตผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 16,970 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 112.4 ล้านลิตร หรือ 706,885 บาเรล/วัน ลดลงวันละ 6.5 หรือร้อยละ 5.5
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 504 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 3.3 ล้านลิตร หรือ 20,988 บาเรล/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ และเมื่อเทียบกับการนำเข้าช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงวันละ 7.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 68.6
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 16,353 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 108.3 ล้านลิตร หรือ 681,208 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 62,634 ล้านบาท โดยนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางร้อยละ 80.6 ตะวันออกไกลร้อยละ 17.2 และจากแหล่งอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณลดลงวันละ 4.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 3.5 มูลค่าการนำเข้าลดลง 596 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--
1. ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,309 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 106.7 หรือ 671,315 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีสัดส่วนการใช้ร้อยละ 40 น้ำมันเตาร้อยละ 25 น้ำมันเบนซินร้อยละ 19 น้ำมันอากาศยานร้อยละ 8 และก๊าซแอลพีจีร้อยละ 8 ตามลำดับ
ส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ ปตท.มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 40.8 จากปริมาณการจำหน่าย 1,351 ล้านลิตร (รวมปริมาณที่จำหน่ายให้ กฟผ. 534 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 16.2 ของปริมาณการจำหน่ายทั้งประเทศ) เชลล์เป็นอันดับที่ 2 ร้อยละ 14.7 จากปริมาณการจำหน่าย 485 ล้านลิตร อันดับที่ 3 คือ เอสโซ่ ร้อยละ 14.1 มีปริมาณการจำหน่าย 468 ล้านลิตร อันดับที่ 4 คาลเท็กซ์ ร้อยละ 10.2 ปริมาณ 337 ล้านลิตร อันดับที่ 5 บางจาก ร้อยละ 6.6 ปริมาณ 219 ล้านลิตร สำหรับกลุ่มผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ๆ มีปริมาณการจำหน่ายรวมกัน 449 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 13.6
เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการจำหน่ายของเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อน
- เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 0.8 ล้านลิตร หรือร้อยละ 4.1 โดยน้ำมันเตาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.3 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 3.7 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 2.5 สำหรับการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน และ เจ.พี. 1 ลดลง ร้อยละ 0.7 และ 0.5 ตามลำดับ
- ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2540 วันละ 15.2 ล้านลิตร หรือร้อยละ 12.5 โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงมากที่สุดร้อยละ 20.4 น้ำมันเตาร้อยละ 7.3 เจ.พี.ร้อยละ 6.4 เบนซิน ร้อยละ 6.0
2. ส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 491 ล้านลิตร หรือวันละ 15.8 ล้านลิตร
- น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 424 ล้านลิตร หรือวันละ 13.7 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และ 36.8 ตามลำดับ
- น้ำมันองค์ประกอบ ปริมาณ 16 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ และเกาหลี
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) ปริมาณ 51 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
การจัดหา
ปริมาณการจัดหาน้ำมันสำเร็จรูป ได้มาจากการผลิตภายในประเทศ ร้อยละ 93.5 และจากการนำเข้าอีกร้อยละ 6.5 โดยแยกรายละเอียดดังนี้
1. การผลิต
ปริมาณ 3,685 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 118.9 ล้านลิตร หรือ 747,754 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 41 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 21 น้ำมันเตา ร้อยละ 19 น้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 9 และก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 9 ลดลงจากเดือนเดียวกันของปปีก่อนและเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 2.9 และ 0.2
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,499 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 112.9 ล้านลิตร หรือ 709,955 บาเรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 4.2 ล้านลิตร หรือร้อยละ 3.6 ลดลงจากเดือนเมษายนที่ผ่านมา วันละ 4.5 ล้านลิตร หรือร้อยละ 0.7 โดยในเดือนนี้โรงกลั่นน้ำมันนำน้ำมันดิบและน้ำมันอื่น ๆ เข้าขบวนการกลั่น 3,860 ล้านลิตร เฉลี่ย 783,280 บาเรล/วัน
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 98 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3,157 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 476 เมตริกตัน หรือร้อยละ 21.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2540 วันละ 522 เมตริกตัน หรือร้อยละ 19.8
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต ปริมาณ 3 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 88 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 62.5
2. การนำเข้า
น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีปริมาณ รวมทั้งสิ้น 3,423 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 110.4 ล้านลิตร หรือ 694,520 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 11,657 ล้านบาท (ไม่รวมการนำเข้า MTBE ที่นำมาผสมน้ำมันเบนซิน ปริมาณ 28 ล้านลิตร มูลค่า 181 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,166 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 102.1 ล้านลิตร หรือ 642,385 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 10,701 ล้านบาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย(US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,589 13.26 81.8
ตะวันออกไกล 577 15.48 18.2
รวม 3,166 13.66 100
- ปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 19.4 ล้านลิตร หรือร้อยละ 15.9 มูลค่าลดลง 1,501 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 12.3
- ปริมาณลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 27.3 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 18.4 มูลค่าลดลง 1,682 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.6
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 257 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 8.3 ล้านลิตร หรือ 52,135 บาเรล/วัน มูลค่า 956 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันเตา ร้อยละ 58 ดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 41 เป็นการนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์ เกาหลี และสหรัฐอเมริกา
- ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 8.8 ล้านลิตร หรือร้อยละ 51.6 มูลค่าลดลง 983 ล้านบาท หรือร้อยละ 50.7
- เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 3.6 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 82.0 มูลค่าเพิ่มขึ้น 406 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.7
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - พฤษภาคม 2541
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 15,815 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 104.7 ล้านลิตร หรือ 658,782 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 12.7 ล้านลิตร หรือร้อยละ 10.8
1.2 การส่งออก ปริมาณ 2,019 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 13.4 ล้านลิตร หรือ 84,088 บาเรล/วัน โดยเป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 38 ดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 37 และ ก๊าซแอล พี จี ร้อยละ 20
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 17,474 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 115.7 ล้านลิตร หรือ 727,873 บาเรล/วัน ลดลงวันละ 13.9 ล้านลิตร หรือร้อยละ 10.7 โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ จากโรงกลั่นน้ำมัน 6 แห่ง โรงแยกก๊าซฯ และผลิตผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 16,970 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 112.4 ล้านลิตร หรือ 706,885 บาเรล/วัน ลดลงวันละ 6.5 หรือร้อยละ 5.5
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 504 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 3.3 ล้านลิตร หรือ 20,988 บาเรล/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ และเมื่อเทียบกับการนำเข้าช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงวันละ 7.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 68.6
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 16,353 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 108.3 ล้านลิตร หรือ 681,208 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 62,634 ล้านบาท โดยนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางร้อยละ 80.6 ตะวันออกไกลร้อยละ 17.2 และจากแหล่งอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณลดลงวันละ 4.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 3.5 มูลค่าการนำเข้าลดลง 596 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--