กรุงเทพ--20 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ไทยผลักดันให้ประเทศสมาชิก BIMSTEC ให้ความสำคัญในการติดตามผลการเจรจาการค้าเสรี BIMSTEC รวมทั้งยกระดับให้การสาธารณสุขเป็นสาขาความร่วมมือใหม่ รวมถึงการพิจารณาเกี่ยวกับโครงการบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจ BIMSTEC (BIMSTEC Business Travel Card) เพื่ออำนวยความสะดวกการค้า การลงทุนระหว่างกัน รวมถึงแสวงหาลู่ทางการขยายความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน
วันนี้ (18 ธันวาคม 2548) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 8 ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (8th BIMSTEC Ministerial Meeting) ที่กรุงธากา บังกลาเทศ โดย ดร. กันตธีร์ฯ ได้ส่งมอบหน้าที่ประธานการประชุมให้แก่นาย M.Morshed Khan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวภายหลังการเสร็จสิ้นการประชุมว่า ที่ประชุมฯ ได้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมหลายประการ อาทิ ประเด็นเรื่องการค้าเสรี BIMSTEC โดยไทยได้มีส่วนในการผลักดันให้มีความคืบหน้า โดยประเทศสมาชิกทุกประเทศจะเริ่มการเจรจาด้านการลงทุนและการบริการในปีหน้า และคาดว่าจะสำเร็จในปี 2550 ซึ่งที่ประชุมฯ ได้เน้นถึงความสำคัญของข้อตกลงการยกเว้นภาษีซ้ำซ้อน และมาตรการการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี
นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกทุกประเทศได้เห็นพ้องที่จะขยายการคมนาคมขนส่งระหว่างกันทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ในกรอบของ BIMSTEC ทวิภาคี และไตรภาคี โดย ดร. กันตธีร์ฯ ได้แสดงความหวังว่าการสร้างเส้นทางเชื่อมไทย-พม่า-อินเดียจะมีความคืบหน้า ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการร่วมมือเพื่ออำนวยความสะดวกที่ท่าเรือ และการขนส่งสินค้าทางทะเลด้วย
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมฯ ได้เห็นพ้องกับข้อเสนอของไทยในการยกระดับด้านการสาธารณสุขให้เป็นความร่วมมือสาขาใหม่ รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยจากไข้หวัดนก และโรคระบาดอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ ความร่วมมือด้านการสาธารณสุขยังรวมถึงการแพทย์แผนโบราณ และการใช้สมุนไพรซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเทศสมาชิกด้วย
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมฯ เห็นด้วยที่จะส่งเสริมให้การติดต่อธุรกิจเป็นไปด้วยความสะดวกมากขึ้น โดยอาจพิจารณาใช้บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจ (BIMSTEC Business Card) เพื่อประโยชน์ด้านการค้า การลงทุน และการติดต่อระดับประชาชนสู่ประชาชน ซึ่งจะต้องพิจารณาศึกษาจากกรอบความร่วมมืออื่นที่ใช้อยู่ อาทิ สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (SAARC) และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC) เป็นต้น อย่างไรก็ดี ทุกประเทศก็ยังคำนึงถึงเรื่องความมั่นคงประกอบด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้มีมติยกระดับความร่วมมือใหม่อีก 6 สาขา ซึ่งเป็นผลจากการประชุมระดับผู้นำครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2548 ได้แก่การสาธารณสุข การลดความยากจน การจัดการภัยพิบัติ การรักษาสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม และการขยายความร่วมมือในระดับประชาชนสู่ประชาชน นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้เห็นพ้องกับการให้ความสำคัญกับการร่วมมือในด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติด้วย
อนึ่ง ที่ประชุมฯ ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อคิดหาแนวทางในการจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการ BIMSTEC เพื่อยังประโยชน์ต่อการดำเนินงานของประเทศสมาชิก โดยในระหว่างนี้ รัฐบาลไทยจะยังคงให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านเลขานุการแก่ศูนย์ BIMSTEC (BIMSTEC Center) ต่อไป
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ที่ประชุมฯ ได้แสดงความชื่นชมต่อไทยที่มีบทบาทนำตลอดระยะเวลาของการดำรงตำแหน่งประธานตลอดปีที่ผ่านมา พร้อมกล่าวย้ำด้วยว่า ในช่วงพิธีเปิดการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศได้กล่าวชื่นชม พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย รวมถึงบทบาทนำของไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ไทยผลักดันให้ประเทศสมาชิก BIMSTEC ให้ความสำคัญในการติดตามผลการเจรจาการค้าเสรี BIMSTEC รวมทั้งยกระดับให้การสาธารณสุขเป็นสาขาความร่วมมือใหม่ รวมถึงการพิจารณาเกี่ยวกับโครงการบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจ BIMSTEC (BIMSTEC Business Travel Card) เพื่ออำนวยความสะดวกการค้า การลงทุนระหว่างกัน รวมถึงแสวงหาลู่ทางการขยายความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน
วันนี้ (18 ธันวาคม 2548) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 8 ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (8th BIMSTEC Ministerial Meeting) ที่กรุงธากา บังกลาเทศ โดย ดร. กันตธีร์ฯ ได้ส่งมอบหน้าที่ประธานการประชุมให้แก่นาย M.Morshed Khan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวภายหลังการเสร็จสิ้นการประชุมว่า ที่ประชุมฯ ได้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมหลายประการ อาทิ ประเด็นเรื่องการค้าเสรี BIMSTEC โดยไทยได้มีส่วนในการผลักดันให้มีความคืบหน้า โดยประเทศสมาชิกทุกประเทศจะเริ่มการเจรจาด้านการลงทุนและการบริการในปีหน้า และคาดว่าจะสำเร็จในปี 2550 ซึ่งที่ประชุมฯ ได้เน้นถึงความสำคัญของข้อตกลงการยกเว้นภาษีซ้ำซ้อน และมาตรการการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี
นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกทุกประเทศได้เห็นพ้องที่จะขยายการคมนาคมขนส่งระหว่างกันทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ในกรอบของ BIMSTEC ทวิภาคี และไตรภาคี โดย ดร. กันตธีร์ฯ ได้แสดงความหวังว่าการสร้างเส้นทางเชื่อมไทย-พม่า-อินเดียจะมีความคืบหน้า ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการร่วมมือเพื่ออำนวยความสะดวกที่ท่าเรือ และการขนส่งสินค้าทางทะเลด้วย
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมฯ ได้เห็นพ้องกับข้อเสนอของไทยในการยกระดับด้านการสาธารณสุขให้เป็นความร่วมมือสาขาใหม่ รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยจากไข้หวัดนก และโรคระบาดอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ ความร่วมมือด้านการสาธารณสุขยังรวมถึงการแพทย์แผนโบราณ และการใช้สมุนไพรซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเทศสมาชิกด้วย
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมฯ เห็นด้วยที่จะส่งเสริมให้การติดต่อธุรกิจเป็นไปด้วยความสะดวกมากขึ้น โดยอาจพิจารณาใช้บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจ (BIMSTEC Business Card) เพื่อประโยชน์ด้านการค้า การลงทุน และการติดต่อระดับประชาชนสู่ประชาชน ซึ่งจะต้องพิจารณาศึกษาจากกรอบความร่วมมืออื่นที่ใช้อยู่ อาทิ สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (SAARC) และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC) เป็นต้น อย่างไรก็ดี ทุกประเทศก็ยังคำนึงถึงเรื่องความมั่นคงประกอบด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้มีมติยกระดับความร่วมมือใหม่อีก 6 สาขา ซึ่งเป็นผลจากการประชุมระดับผู้นำครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2548 ได้แก่การสาธารณสุข การลดความยากจน การจัดการภัยพิบัติ การรักษาสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม และการขยายความร่วมมือในระดับประชาชนสู่ประชาชน นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้เห็นพ้องกับการให้ความสำคัญกับการร่วมมือในด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติด้วย
อนึ่ง ที่ประชุมฯ ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อคิดหาแนวทางในการจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการ BIMSTEC เพื่อยังประโยชน์ต่อการดำเนินงานของประเทศสมาชิก โดยในระหว่างนี้ รัฐบาลไทยจะยังคงให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านเลขานุการแก่ศูนย์ BIMSTEC (BIMSTEC Center) ต่อไป
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ที่ประชุมฯ ได้แสดงความชื่นชมต่อไทยที่มีบทบาทนำตลอดระยะเวลาของการดำรงตำแหน่งประธานตลอดปีที่ผ่านมา พร้อมกล่าวย้ำด้วยว่า ในช่วงพิธีเปิดการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศได้กล่าวชื่นชม พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย รวมถึงบทบาทนำของไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-