นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ (เสถียรภาพสถาบันการเงิน) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2548 กำหนดให้การประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นกิจการที่ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมทั้งมอบอำนาจให้ ธปท. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ในการนี้ ธปท. จึงได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจถือปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล สาระสำคัญสามารถสรุปได้ ดังนี้
1. เหตุผลและความจำเป็น
เพื่อเป็นการพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชน และเป็นการป้องกันปัญหาจากธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วไปยังผู้บริโภคในระดับต่างๆ ประกอบกับในขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นการเฉพาะ
2. ลักษณะของ“สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ”
สินเชื่อส่วนบุคคลที่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้ชื่อ “สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ” ซึ่งหมายถึง
- สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์ หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจ โดยเป็นสินเชื่อที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน
- สินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งในสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจมิได้จำหน่ายเป็นทางการค้าปกติ ยกเว้นในสินค้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
3. ผู้ประกอบธุรกิจ
3.1. ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน สามารถประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลได้ทันทีโดยไม่ต้องขออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจาก เป็นธุรกรรมที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์อยู่แล้ว
3.2 ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยให้ยื่นคำขอผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้
3.2.1 คุณสมบัติ : เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
3.2.2 เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับอนุญาต : ยื่นแบบฟอร์มตามที่ ธปท. กำหนด (สามารถ Download ได้จาก www.bot.or.th ) พร้อมกับเอกสารการพิจารณาอย่างน้อย ประกอบด้วย สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ สำเนาข้อบังคับ สำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ ให้แจ้งชื่อ ประวัติการทำงาน และคุณวุฒิของกรรมการและผู้สอบบัญชี พร้อมทั้งสำนักงานสาขาและสถานที่ตั้งของสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
3.2.3 สถานที่ยื่นคำขอรับอนุญาต :
- สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กรุงเทพฯ หรือ
- สำนักงานภาคของ ธปท. ทุกแห่ง คือ สำนักงานภาคเหนือ (เชียงใหม่) สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) และสำนักงานภาคใต้ (สงขลา)
3.2.4 การยื่นคำขอรับอนุญาตประกอบธุรกิจ
- ผู้ประกอบธุรกิจรายเดิมที่ประกอบธุรกิจอยู่ในวันที่ 17มิถุนายน 2548 สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ โดยต้องยื่นคำขอรับอนุญาตต่อ ธปท. ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2548 ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจมีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 50 ล้านบาท ให้จดทะเบียนเพิ่มทุนและเรียกชำระทุนเพิ่มให้ครบถ้วนภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2548
- ผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ที่ยังไม่ได้มีการให้สินเชื่อส่วนบุคคล แต่สนใจที่จะประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล สามารถยื่นคำขอรับอนุญาตได้ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2548 เป็นต้นไป โดยจะสามารถประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลเมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
4. หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่สำคัญ
4.1 กำหนดอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ดังนี้
4.1.1 ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ สามารถเรียกเก็บได้ไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate)
4.1.2 นอกจากดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ตาม 4.1.1 แล้วผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุได้ตามรายการที่ ธปท. กำหนด เฉพาะเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) ค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องจ่ายให้แก่ราชการ
(ข) ค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องจ่ายให้แก่บุคคลอื่น หรือหน่วยงานภายนอก โดยมีหลักฐานการชำระเงินที่สามารถตรวจสอบตามประเภทที่ ธปท. กำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายในการชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆ และค่าตรวจสอบข้อมูลเครดิต เป็นต้น
(ค) ค่าใช้จ่ายที่ทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้น อันเนื่องมจากการให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือการผิดนัดชำระหนี้ของผู้บริโภคแล้วแต่กรณีเฉพาะรายตามประเภทที่ ธปท. กำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ และค่าใช้จ่ายกรณีเช็คคืน เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายประเภทเดียวกันซ้ำซ้อนกันไม่ได้
4.1.3 ต้องปิดประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับตามแบบที่ ธปท. กำหนด ณ สำนักงานทุกแห่ง และเผยแพร่รายละเอียดไว้ในเว็บไซต์ รวมทั้งแจ้งรายละเอียดให้ผู้บริโภคหรือผู้ที่ประสงค์จะขอสินเชื่อทราบ
4.2 กำหนดวงเงินที่จะให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคแต่ละรายได้ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ของผู้บริโภคเฉลี่ยต่อเดือน
4.3 การใช้สื่อทางการตลาดต้องสื่อความให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย ไม่ชวนเชื่อเกินความจริง และต้องชี้แจงข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน
5. การมีผลใช้บังคับ
1. ประกาศกระทรวงการคลังมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2548
2. ประกาศ ธปท. จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ซึ่งรวมถึงประกาศ ธปท. สำหรับธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่สำคัญเช่นเดียวกับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน
3. ผู้ประกอบธุรกิจต้องปรับลดดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ และค่าใช้จ่าย ตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุที่ได้มีการทำสัญญาไว้แล้วก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ให้อยู่ในอัตราที่ ธปท. กำหนดภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศ ธปท. มีผลใช้บังคับ
6. การจัดตั้งศูนย์ Hotline
ธปท. จะเปิดทำการศูนย์ Hotline ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผู้ประกอบธุรกิจ ประชาชนผู้ที่สนใจสามารถโทรสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-283-6767 ภายในวันและเวลาดังนี้
6.1 วันที่ 20-24 มิถุนายน 2548 ตั้งแต่เวลา 8.30-18.00 น.
6.2 วันที่ 27-30 มิถุนายน 2548 ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เหตุผลและความจำเป็น
เพื่อเป็นการพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชน และเป็นการป้องกันปัญหาจากธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วไปยังผู้บริโภคในระดับต่างๆ ประกอบกับในขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นการเฉพาะ
2. ลักษณะของ“สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ”
สินเชื่อส่วนบุคคลที่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้ชื่อ “สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ” ซึ่งหมายถึง
- สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์ หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจ โดยเป็นสินเชื่อที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน
- สินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งในสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจมิได้จำหน่ายเป็นทางการค้าปกติ ยกเว้นในสินค้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
3. ผู้ประกอบธุรกิจ
3.1. ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน สามารถประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลได้ทันทีโดยไม่ต้องขออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจาก เป็นธุรกรรมที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์อยู่แล้ว
3.2 ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยให้ยื่นคำขอผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้
3.2.1 คุณสมบัติ : เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
3.2.2 เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับอนุญาต : ยื่นแบบฟอร์มตามที่ ธปท. กำหนด (สามารถ Download ได้จาก www.bot.or.th ) พร้อมกับเอกสารการพิจารณาอย่างน้อย ประกอบด้วย สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ สำเนาข้อบังคับ สำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ ให้แจ้งชื่อ ประวัติการทำงาน และคุณวุฒิของกรรมการและผู้สอบบัญชี พร้อมทั้งสำนักงานสาขาและสถานที่ตั้งของสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
3.2.3 สถานที่ยื่นคำขอรับอนุญาต :
- สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กรุงเทพฯ หรือ
- สำนักงานภาคของ ธปท. ทุกแห่ง คือ สำนักงานภาคเหนือ (เชียงใหม่) สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) และสำนักงานภาคใต้ (สงขลา)
3.2.4 การยื่นคำขอรับอนุญาตประกอบธุรกิจ
- ผู้ประกอบธุรกิจรายเดิมที่ประกอบธุรกิจอยู่ในวันที่ 17มิถุนายน 2548 สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ โดยต้องยื่นคำขอรับอนุญาตต่อ ธปท. ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2548 ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจมีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 50 ล้านบาท ให้จดทะเบียนเพิ่มทุนและเรียกชำระทุนเพิ่มให้ครบถ้วนภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2548
- ผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ที่ยังไม่ได้มีการให้สินเชื่อส่วนบุคคล แต่สนใจที่จะประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล สามารถยื่นคำขอรับอนุญาตได้ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2548 เป็นต้นไป โดยจะสามารถประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลเมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
4. หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่สำคัญ
4.1 กำหนดอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ดังนี้
4.1.1 ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ สามารถเรียกเก็บได้ไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate)
4.1.2 นอกจากดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ตาม 4.1.1 แล้วผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุได้ตามรายการที่ ธปท. กำหนด เฉพาะเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) ค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องจ่ายให้แก่ราชการ
(ข) ค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องจ่ายให้แก่บุคคลอื่น หรือหน่วยงานภายนอก โดยมีหลักฐานการชำระเงินที่สามารถตรวจสอบตามประเภทที่ ธปท. กำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายในการชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆ และค่าตรวจสอบข้อมูลเครดิต เป็นต้น
(ค) ค่าใช้จ่ายที่ทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้น อันเนื่องมจากการให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือการผิดนัดชำระหนี้ของผู้บริโภคแล้วแต่กรณีเฉพาะรายตามประเภทที่ ธปท. กำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ และค่าใช้จ่ายกรณีเช็คคืน เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายประเภทเดียวกันซ้ำซ้อนกันไม่ได้
4.1.3 ต้องปิดประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับตามแบบที่ ธปท. กำหนด ณ สำนักงานทุกแห่ง และเผยแพร่รายละเอียดไว้ในเว็บไซต์ รวมทั้งแจ้งรายละเอียดให้ผู้บริโภคหรือผู้ที่ประสงค์จะขอสินเชื่อทราบ
4.2 กำหนดวงเงินที่จะให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคแต่ละรายได้ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ของผู้บริโภคเฉลี่ยต่อเดือน
4.3 การใช้สื่อทางการตลาดต้องสื่อความให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย ไม่ชวนเชื่อเกินความจริง และต้องชี้แจงข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน
5. การมีผลใช้บังคับ
1. ประกาศกระทรวงการคลังมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2548
2. ประกาศ ธปท. จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ซึ่งรวมถึงประกาศ ธปท. สำหรับธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่สำคัญเช่นเดียวกับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน
3. ผู้ประกอบธุรกิจต้องปรับลดดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ และค่าใช้จ่าย ตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุที่ได้มีการทำสัญญาไว้แล้วก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ให้อยู่ในอัตราที่ ธปท. กำหนดภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศ ธปท. มีผลใช้บังคับ
6. การจัดตั้งศูนย์ Hotline
ธปท. จะเปิดทำการศูนย์ Hotline ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผู้ประกอบธุรกิจ ประชาชนผู้ที่สนใจสามารถโทรสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-283-6767 ภายในวันและเวลาดังนี้
6.1 วันที่ 20-24 มิถุนายน 2548 ตั้งแต่เวลา 8.30-18.00 น.
6.2 วันที่ 27-30 มิถุนายน 2548 ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--