สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานความก้าวหน้าการเจรจา การตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน — จีน ว่ากลุ่มประเทศอาเซียนและจีนได้เริ่มเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน มาตั้งแต่ปี 2545 โดยได้มีการเร่งลดภาษีในกลุ่ม Early Harvest (ตอนสินค้าที่ 01-08) และได้มีการเจรจาฯต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งขณะนี้ได้มีข้อสรุปเกือบครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว โดยผลการเจรจาครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 21-23 มิถุนายน 2548 ได้ ตกลงให้เลื่อนการลดภาษีตามข้อตกลงฯจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เนื่องจากจีนมีปัญหากระบวนการภายในประเทศ สำหรับรูปแบบการลดภาษีสินค้าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มสินค้าปกติและกลุ่มสินค้าอ่อนไหว ดังนี้
กลุ่มที่ 1: การลดภาษีของสินค้าปกติ มีรูปแบบการลดภาษี คือ
อัตราภาษี ( X %* ) ก.ค. 2548 1 ม.ค. 2550 1 ม.ค.2552 1 ม.ค. 2553
X ? 20 20 12 5 0
15 ? X < 20 15 8 5 0
10 ? X < 15 10 8 5 0
5 < X < 10 5 5 0 0
X ? 5 -คงไว้เท่าเดิม- -คงไว้เท่าเดิม- 0 0
* ใช้อัตราภาษีที่เก็บจริง (Applied MFN Tariff Rate) ณ วันที่ 1 ก.ค. 2546
กลุ่มที่ 2: สินค้าอ่อนไหว มีข้อยุติในการเจรจาแล้ว คือ
1. จำนวนเพดานสินค้าอ่อนไหว จะต้องไม่เกิน 400 รายการ (ณ พิกัดศุลกากร 6 หลัก)
2. การกำหนดปีสุดท้าย และอัตราภาษีสุดท้าย แบ่งเป็น
2.1 สินค้าอ่อนไหว: ลดภาษีเหลือ 20% ในปี 2555 และเหลือ 0-5% ในปี 2561
2.2 สินค้าอ่อนไหวสูง: ลดเหลือไม่เกิน 50% ในปี 2558 และต้องมีไม่เกิน 100 รายการ
ทั้งนี้ สินค้าเกษตรของไทยที่จะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีทันที เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โกโก้บัตเตอร์ เมล็ดพันธุ์ผักบางชนิด ขนมที่ทำจากน้ำตาล เป็นต้น สำหรับสินค้าเกษตรของไทยที่เป็นสินค้าอ่อนไหว เช่น แป้งสาลี มะเขือเทศปรุงแต่ง น้ำผลไม้ น้ำผัก อาหารสุนัข และแมว เป็นต้น และสินค้าอ่อนไหวสูง ได้แก่ สินค้าที่มีโควตาภาษีของไทย ทั้ง 23 รายการ (53 พิกัดศุลกากร) เช่น กระเทียม หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง ชา เส้นไหมดิบ เป็นต้น ในส่วนของจีนได้กำหนดสินค้าเกษตรอ่อนไหวไว้เช่นกัน เช่น กาแฟ พริกไทย ข้าวสาลี สับปะรดกระป๋อง ลำไยกระป๋อง เป็นต้น และสินค้าอ่อนไหวสูงของจีน ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในส่วนของสินค้าที่มีโควตาภาษียังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยประเทศอาเซียนกำลังดำเนินการศึกษากรอบร่วมกันสำหรับการลดภาษีในสินค้าที่มีโควตาภาษี เพื่อเสนอให้จีนพิจารณาต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
กลุ่มที่ 1: การลดภาษีของสินค้าปกติ มีรูปแบบการลดภาษี คือ
อัตราภาษี ( X %* ) ก.ค. 2548 1 ม.ค. 2550 1 ม.ค.2552 1 ม.ค. 2553
X ? 20 20 12 5 0
15 ? X < 20 15 8 5 0
10 ? X < 15 10 8 5 0
5 < X < 10 5 5 0 0
X ? 5 -คงไว้เท่าเดิม- -คงไว้เท่าเดิม- 0 0
* ใช้อัตราภาษีที่เก็บจริง (Applied MFN Tariff Rate) ณ วันที่ 1 ก.ค. 2546
กลุ่มที่ 2: สินค้าอ่อนไหว มีข้อยุติในการเจรจาแล้ว คือ
1. จำนวนเพดานสินค้าอ่อนไหว จะต้องไม่เกิน 400 รายการ (ณ พิกัดศุลกากร 6 หลัก)
2. การกำหนดปีสุดท้าย และอัตราภาษีสุดท้าย แบ่งเป็น
2.1 สินค้าอ่อนไหว: ลดภาษีเหลือ 20% ในปี 2555 และเหลือ 0-5% ในปี 2561
2.2 สินค้าอ่อนไหวสูง: ลดเหลือไม่เกิน 50% ในปี 2558 และต้องมีไม่เกิน 100 รายการ
ทั้งนี้ สินค้าเกษตรของไทยที่จะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีทันที เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โกโก้บัตเตอร์ เมล็ดพันธุ์ผักบางชนิด ขนมที่ทำจากน้ำตาล เป็นต้น สำหรับสินค้าเกษตรของไทยที่เป็นสินค้าอ่อนไหว เช่น แป้งสาลี มะเขือเทศปรุงแต่ง น้ำผลไม้ น้ำผัก อาหารสุนัข และแมว เป็นต้น และสินค้าอ่อนไหวสูง ได้แก่ สินค้าที่มีโควตาภาษีของไทย ทั้ง 23 รายการ (53 พิกัดศุลกากร) เช่น กระเทียม หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง ชา เส้นไหมดิบ เป็นต้น ในส่วนของจีนได้กำหนดสินค้าเกษตรอ่อนไหวไว้เช่นกัน เช่น กาแฟ พริกไทย ข้าวสาลี สับปะรดกระป๋อง ลำไยกระป๋อง เป็นต้น และสินค้าอ่อนไหวสูงของจีน ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในส่วนของสินค้าที่มีโควตาภาษียังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยประเทศอาเซียนกำลังดำเนินการศึกษากรอบร่วมกันสำหรับการลดภาษีในสินค้าที่มีโควตาภาษี เพื่อเสนอให้จีนพิจารณาต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-