กรุงเทพ--19 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2548 แคนาดาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มประเทศเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network — HSN) ครั้งที่ 7 ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา โดย ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งติดภารกิจการเยือนสิงคโปร์และบรูไนอย่างเป็นทางการ ได้มอบหมายให้นายประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการฯ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมครั้งนี้
การประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศ HSN ในครั้งนี้ จะมีการหารือในประเด็นสำคัญต่างๆ อาทิ การปฏิรูปสหประชาชาติ และรายงานของเลขาธิการสหประชาชาติ เรื่อง In Larger Freedom: Towards Development, Security and Human Rights for All ซึ่งคาดว่ารัฐมนตรีของประเทศสมาชิกจะมี
ถ้อยแถลงเพื่อแสดงทัศนะร่วมกันในประเด็นสำคัญของรายงานดังกล่าว ทั้งนี้ โดยคาดหวังว่าจะมีส่วนช่วย
ผลักดันให้เกิดการตัดสินใจซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในสหประชาชาติ นอกจากนี้ ที่ประชุมจะหารือเรื่อง
แผนงานของ HSN สำหรับปี 2548-2553 ซึ่งแคนาดา (ประธานปัจจุบัน) และไทยได้ร่วมกันยกร่างขึ้น
ในด้านกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์นั้น ไทยได้เข้าร่วมกิจกรรมและเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมต่างๆ ตลอดมา อาทิ การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียแปซิฟิก ว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 2 (2nd Asia Pacific Ministerial Meeting on HIV/AIDS) และการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 (XV International Conference on AIDS) เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม และระหว่างวันที่ 11-16 กรกฎาคม 2547 ตามลำดับ และการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเรื่อง “Development Challenges of Mine Clearance and Victim Assistance in South East Asia” ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม-1 กันยายน 2547 กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ล้วนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี
ในช่วงที่ไทยเป็นประธาน HSN ไทยจะเข้าร่วมและเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ต่อไป โดยนอกเหนือจากประเด็นเกี่ยวกับการคุ้มครองพลเรือนในภาวะความขัดแย้งทางกำลังอาวุธ ประเด็นเกี่ยวกับอาวุธเล็กและอาวุธเบา และทุ่นระเบิดสังหารบุคคลซึ่งล้วนเป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่งแล้ว ไทยยังมุ่งผลักดันประเด็นด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะเรื่องเอชไอวี/เอดส์ การพัฒนาที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และปัญหาการค้ามนุษย์ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนากำลังประสบอยู่ เนื่องจากตระหนักว่า ความมั่นคงของมนุษย์นั้นจะไม่สามารถเกิดเพียงเพราะการไม่มีสงครามหรือการสู้รบเท่านั้น แต่ความมั่นคงของมนุษย์ที่แท้จริงและยั่งยืนนั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อประชาชนในสังคมสามารถดำรงชีวิตโดยปราศจากความขาดแคลน และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยขณะนี้ไทยได้จัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ สำหรับช่วงที่ไทยเป็นประธาน HSN แล้ว เช่น การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยโรคเอดส์ในทวีปแอฟริกา 2 ครั้งในช่วงปี 2548 โดยครั้งแรกจะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2548 ที่ประเทศเคนยา (มีประเทศเข้าร่วม 10 ประเทศ คือ บูร์กินาฟาโซ จิบูตี กาบอง กานา เคนยา มาลี ไนจีเรีย โซมาเลีย ซูดาน และยูกันดา) และครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาในช่วงปลายปี 2548
ในช่วงสุดท้ายของการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ ที่กรุงออตตาวา คือ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 ไทยจะรับมอบตำแหน่งประธาน HSN ต่อจากแคนาดาเป็นเวลา 1 ปี คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548-พฤษภาคม 2549 และไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี HSN ครั้งที่ 8 ในเดือนพฤษภาคม 2549 ก่อนส่งมอบตำแหน่งประธาน HSN ให้แก่สโลวีเนียต่อไป
HSN เป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งมีแนวคิดคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ภายในประเทศของตนและในเวทีโลก เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกสามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยความมั่นคง (security) และมีศักดิ์ศรี (dignity) โดยปราศจากความหวาดกลัวภัยต่างๆ (freedom from fear) เช่น ผลกระทบจากการสู้รบ หรือภัยจากอาวุธร้ายแรง เช่น ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และการแพร่ขยายของอาวุธขนาดเล็ก รวมทั้งสามารถดำรงชีวิตโดยปราศจากความขาดแคลน (freedom from want) อาทิ ความยากจน และภัยจากโรคภัยร้ายแรงต่างๆ เช่น เอชไอวี/เอดส์ ปัจจุบัน HSN ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย แคนาดา ชิลี กรีซ ไอร์แลนด์ จอร์แดน มาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สโลวีเนีย สวิตเซอร์แลนด์ และไทย และประเทศผู้สังเกตการณ์ 1 ประเทศคือ แอฟริกาใต้
ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้ง HSN เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองและส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยในหลายๆ ด้าน อาทิ การเป็นประเทศกำลังพัฒนาขนาดกลางที่มีแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง การมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2540) ที่ให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2548 แคนาดาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มประเทศเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network — HSN) ครั้งที่ 7 ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา โดย ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งติดภารกิจการเยือนสิงคโปร์และบรูไนอย่างเป็นทางการ ได้มอบหมายให้นายประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการฯ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมครั้งนี้
การประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศ HSN ในครั้งนี้ จะมีการหารือในประเด็นสำคัญต่างๆ อาทิ การปฏิรูปสหประชาชาติ และรายงานของเลขาธิการสหประชาชาติ เรื่อง In Larger Freedom: Towards Development, Security and Human Rights for All ซึ่งคาดว่ารัฐมนตรีของประเทศสมาชิกจะมี
ถ้อยแถลงเพื่อแสดงทัศนะร่วมกันในประเด็นสำคัญของรายงานดังกล่าว ทั้งนี้ โดยคาดหวังว่าจะมีส่วนช่วย
ผลักดันให้เกิดการตัดสินใจซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในสหประชาชาติ นอกจากนี้ ที่ประชุมจะหารือเรื่อง
แผนงานของ HSN สำหรับปี 2548-2553 ซึ่งแคนาดา (ประธานปัจจุบัน) และไทยได้ร่วมกันยกร่างขึ้น
ในด้านกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์นั้น ไทยได้เข้าร่วมกิจกรรมและเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมต่างๆ ตลอดมา อาทิ การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียแปซิฟิก ว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 2 (2nd Asia Pacific Ministerial Meeting on HIV/AIDS) และการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 (XV International Conference on AIDS) เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม และระหว่างวันที่ 11-16 กรกฎาคม 2547 ตามลำดับ และการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเรื่อง “Development Challenges of Mine Clearance and Victim Assistance in South East Asia” ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม-1 กันยายน 2547 กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ล้วนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี
ในช่วงที่ไทยเป็นประธาน HSN ไทยจะเข้าร่วมและเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ต่อไป โดยนอกเหนือจากประเด็นเกี่ยวกับการคุ้มครองพลเรือนในภาวะความขัดแย้งทางกำลังอาวุธ ประเด็นเกี่ยวกับอาวุธเล็กและอาวุธเบา และทุ่นระเบิดสังหารบุคคลซึ่งล้วนเป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่งแล้ว ไทยยังมุ่งผลักดันประเด็นด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะเรื่องเอชไอวี/เอดส์ การพัฒนาที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และปัญหาการค้ามนุษย์ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนากำลังประสบอยู่ เนื่องจากตระหนักว่า ความมั่นคงของมนุษย์นั้นจะไม่สามารถเกิดเพียงเพราะการไม่มีสงครามหรือการสู้รบเท่านั้น แต่ความมั่นคงของมนุษย์ที่แท้จริงและยั่งยืนนั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อประชาชนในสังคมสามารถดำรงชีวิตโดยปราศจากความขาดแคลน และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยขณะนี้ไทยได้จัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ สำหรับช่วงที่ไทยเป็นประธาน HSN แล้ว เช่น การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยโรคเอดส์ในทวีปแอฟริกา 2 ครั้งในช่วงปี 2548 โดยครั้งแรกจะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2548 ที่ประเทศเคนยา (มีประเทศเข้าร่วม 10 ประเทศ คือ บูร์กินาฟาโซ จิบูตี กาบอง กานา เคนยา มาลี ไนจีเรีย โซมาเลีย ซูดาน และยูกันดา) และครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาในช่วงปลายปี 2548
ในช่วงสุดท้ายของการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ ที่กรุงออตตาวา คือ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 ไทยจะรับมอบตำแหน่งประธาน HSN ต่อจากแคนาดาเป็นเวลา 1 ปี คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548-พฤษภาคม 2549 และไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี HSN ครั้งที่ 8 ในเดือนพฤษภาคม 2549 ก่อนส่งมอบตำแหน่งประธาน HSN ให้แก่สโลวีเนียต่อไป
HSN เป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งมีแนวคิดคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ภายในประเทศของตนและในเวทีโลก เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกสามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยความมั่นคง (security) และมีศักดิ์ศรี (dignity) โดยปราศจากความหวาดกลัวภัยต่างๆ (freedom from fear) เช่น ผลกระทบจากการสู้รบ หรือภัยจากอาวุธร้ายแรง เช่น ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และการแพร่ขยายของอาวุธขนาดเล็ก รวมทั้งสามารถดำรงชีวิตโดยปราศจากความขาดแคลน (freedom from want) อาทิ ความยากจน และภัยจากโรคภัยร้ายแรงต่างๆ เช่น เอชไอวี/เอดส์ ปัจจุบัน HSN ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย แคนาดา ชิลี กรีซ ไอร์แลนด์ จอร์แดน มาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สโลวีเนีย สวิตเซอร์แลนด์ และไทย และประเทศผู้สังเกตการณ์ 1 ประเทศคือ แอฟริกาใต้
ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้ง HSN เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองและส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยในหลายๆ ด้าน อาทิ การเป็นประเทศกำลังพัฒนาขนาดกลางที่มีแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง การมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2540) ที่ให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-