แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 13-26 มี.ค. 42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,957.40 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,424.71 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,532.59 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.38 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 16.20 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 117.68 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 321.30 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 95.16 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ตะพาบน้ำ : ผู้เลี้ยงประสบปัญหาราคาตก
ราคาตะพาบน้ำโน้มลดลง ตั้งแต่ต้นปี 2542 โดยที่ จ.ระยอง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตลูกพันธุ์และแหล่งเลี้ยงตะพาบน้ำที่สำคัญของประเทศ ปรากฏว่า ราคาตะพาบน้ำขนาดใหญ่ในเดือน ม.ค. 2542 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 306.00 บาท โน้มลดลงเป็นกิโลกรัมละ 280.00 บาท ในเดือน ก.พ. พ่อค้าส่งออกรับซื้อ ณ วันที่ 29 มี.ค. 2542 กิโลกรัมละ 180 บาท ที่ จ.ภูเก็ตมีรายงานว่า ปัจจุบันตะพาบน้ำขนาดใหญ่ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท จากที่เคยสูงถึงกิโลกรัมละ 800.00 บาท ในปี 2541
สาเหตุที่ทำให้ราคาโน้มลดลงคือ
1. ปัจจุบันเกษตรกรนิยมเลี้ยงตะพาบน้ำกันมาก เนื่องจากราคาในปี 2540, 2541 อยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรขยายการเลี้ยงกันมากขึ้น ประกอบกับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมีปัญหา ทำให้เกษตรกรบางรายหันมาเลี้ยงตะพาบน้ำแทน ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตมีมากเกินความต้องการของตลาด
2. สถานการณ์ตลาดสัตว์น้ำในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดสัตว์น้ำที่สำคัญของไทยมีลักษณะดังนี้คือ
2.1 ฤดูการบริโภคตะพาบน้ำของจีน ประมาณ 4 เดือน (พ.ย., ธ.ค., ม.ค. และ ก.พ.) ขณะนี้กำลังจะพ้นฤดูการบริโภคแล้ว ความต้องการนำเข้าตะพาบน้ำจึงลดลง
2.2 ปัจจุบันรัฐบาลจีนออกระเบียบการนำเข้าเข้มงวดเพิ่มขึ้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้ผู้นำเข้าหลายรายชะลอการนำเข้า
2.3 ตะพาบน้ำของไทยราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งคือ บังคลาเทศ และอินโดนีเซีย
2.4 ปัจจุบันรัฐบาลจีนส่งเสริมให้มีการลงทุนเลี้ยงตะพาบน้ำกันมากขึ้นเพื่อชดเชยการนำเข้าจากต่างประเทศ
ข้อคิดเห็น
เนื่องจากตะพาบน้ำมีข้อจำกัดด้านการตลาด คือ มีตลาดหลักอยู่ที่ประเทศจีนเพียงแห่งเดียว ซึ่งมีช่วงฤดูการบริโภคเฉพาะฤดูหนาวเท่านั้น เมื่อจีนลดปริมาณการนำเข้าจึงทำให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ของไทยโน้มต่ำลง ดังนั้น ผู้ส่งออกของไทยควรหาตลาดแหล่งใหม่เพิ่มขึ้น และตามที่กรมประมงจะเริ่มทำการวิจัย การแปรรูปตะพาบน้ำแคปซูลผงเป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกายนั้น จะทำให้มีการบริโภคตะพาบน้ำแพร่หลายขึ้นและเป็นการขยายตลาดได้อีกทางหนึ่ง
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.83 บาท สูงขึ้นจาก 32.05 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.78 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.43 บาท ลดลงจาก 54.87 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 228.00 บาท ลดลงจาก 298.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 70.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 327.14 บาท สูงขึ้นจาก 322.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.64 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.69 บาท ลดลงจาก 28.37 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.68 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.14 บาท ลดลงจาก 30.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.68 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.57 บาท ลดลงจาก 65.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.02 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.64 บาท ลดลงจาก 15.76 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 13 ประจำวันที่ 29 มี.ค.-4 เม.ย. 2542--
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 13-26 มี.ค. 42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,957.40 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,424.71 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,532.59 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.38 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 16.20 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 117.68 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 321.30 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 95.16 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ตะพาบน้ำ : ผู้เลี้ยงประสบปัญหาราคาตก
ราคาตะพาบน้ำโน้มลดลง ตั้งแต่ต้นปี 2542 โดยที่ จ.ระยอง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตลูกพันธุ์และแหล่งเลี้ยงตะพาบน้ำที่สำคัญของประเทศ ปรากฏว่า ราคาตะพาบน้ำขนาดใหญ่ในเดือน ม.ค. 2542 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 306.00 บาท โน้มลดลงเป็นกิโลกรัมละ 280.00 บาท ในเดือน ก.พ. พ่อค้าส่งออกรับซื้อ ณ วันที่ 29 มี.ค. 2542 กิโลกรัมละ 180 บาท ที่ จ.ภูเก็ตมีรายงานว่า ปัจจุบันตะพาบน้ำขนาดใหญ่ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท จากที่เคยสูงถึงกิโลกรัมละ 800.00 บาท ในปี 2541
สาเหตุที่ทำให้ราคาโน้มลดลงคือ
1. ปัจจุบันเกษตรกรนิยมเลี้ยงตะพาบน้ำกันมาก เนื่องจากราคาในปี 2540, 2541 อยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรขยายการเลี้ยงกันมากขึ้น ประกอบกับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมีปัญหา ทำให้เกษตรกรบางรายหันมาเลี้ยงตะพาบน้ำแทน ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตมีมากเกินความต้องการของตลาด
2. สถานการณ์ตลาดสัตว์น้ำในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดสัตว์น้ำที่สำคัญของไทยมีลักษณะดังนี้คือ
2.1 ฤดูการบริโภคตะพาบน้ำของจีน ประมาณ 4 เดือน (พ.ย., ธ.ค., ม.ค. และ ก.พ.) ขณะนี้กำลังจะพ้นฤดูการบริโภคแล้ว ความต้องการนำเข้าตะพาบน้ำจึงลดลง
2.2 ปัจจุบันรัฐบาลจีนออกระเบียบการนำเข้าเข้มงวดเพิ่มขึ้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้ผู้นำเข้าหลายรายชะลอการนำเข้า
2.3 ตะพาบน้ำของไทยราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งคือ บังคลาเทศ และอินโดนีเซีย
2.4 ปัจจุบันรัฐบาลจีนส่งเสริมให้มีการลงทุนเลี้ยงตะพาบน้ำกันมากขึ้นเพื่อชดเชยการนำเข้าจากต่างประเทศ
ข้อคิดเห็น
เนื่องจากตะพาบน้ำมีข้อจำกัดด้านการตลาด คือ มีตลาดหลักอยู่ที่ประเทศจีนเพียงแห่งเดียว ซึ่งมีช่วงฤดูการบริโภคเฉพาะฤดูหนาวเท่านั้น เมื่อจีนลดปริมาณการนำเข้าจึงทำให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ของไทยโน้มต่ำลง ดังนั้น ผู้ส่งออกของไทยควรหาตลาดแหล่งใหม่เพิ่มขึ้น และตามที่กรมประมงจะเริ่มทำการวิจัย การแปรรูปตะพาบน้ำแคปซูลผงเป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกายนั้น จะทำให้มีการบริโภคตะพาบน้ำแพร่หลายขึ้นและเป็นการขยายตลาดได้อีกทางหนึ่ง
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.83 บาท สูงขึ้นจาก 32.05 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.78 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.43 บาท ลดลงจาก 54.87 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 228.00 บาท ลดลงจาก 298.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 70.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 327.14 บาท สูงขึ้นจาก 322.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.64 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.69 บาท ลดลงจาก 28.37 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.68 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.14 บาท ลดลงจาก 30.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.68 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.57 บาท ลดลงจาก 65.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.02 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.64 บาท ลดลงจาก 15.76 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 13 ประจำวันที่ 29 มี.ค.-4 เม.ย. 2542--