ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. คาดว่า ธ.พาณิชย์จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่า
การ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า เชื่อว่า ธ.พาณิชย์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออม
ทรัพย์ หลังจากที่ได้ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำหลายครั้งเพื่อระดมเงินฝากแต่ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
ส่วนจะปรับขึ้นภายในสิ้นปีนี้หรือไม่ขึ้นอยู่กับแผนงานของแต่ละธนาคารว่ามีแนวนโยบายอย่างไร ต้องการสัดส่วนเงิน
ฝากประเภทใดให้เหมาะสมกับการทำธุรกิจในอนาคต อย่างไรก็ดี การที่ธนาคารเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
ในช่วงนี้เพื่อล็อกต้นทุนให้คงที่ ทำให้บริหารงานได้ง่ายขึ้น ไม่เหมือนกับการรับฝากเงินออมทรัพย์ที่ลูกค้าเบิกถอนเมื่อ
ไหร่ก็ได้ นอกจากนี้ ธ.พาณิชย์มองว่าหากขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงนี้จะดีกว่าการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ย
อยู่ในช่วงขาขึ้น เพื่อนำไปปล่อยกู้ได้ต้นทุนที่ต่ำ ด้าน น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน
ธปท. กล่าวว่า สภาพคล่องในระบบธนาคารเริ่มลดลง เห็นได้จากปัจจุบัน ธ.พาณิชย์ขนาดใหญ่ปล่อยกู้ผ่านตลาดซื้อ
คืนพันธบัตรระยะ 14 วัน (อาร์/พี) น้อยลง ทั้งจำนวนรายและปริมาณธุรกรรม ซึ่งหาก ธ.พาณิชย์ไม่สามารถปล่อย
กู้ในตลาดอาร์/พี ธปท. จะเข้าไปปล่อยกู้เอง เนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ยังมีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้
ประเภทนี้อยู่ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังเตรียมออกพันธบัตร 2 แสนล้าน ภายในปี 49 นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สนง.บริหาร
หนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าว่า ในเดือน ต.ค.นี้ ก.คลังจะออกพันธบัตรชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูและ
พัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ FIDF 1 จำนวน 5 หมื่นล้านบาท แบ่งขายทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือน โดยมี
เป้าหมายขายให้กับนักลงทุนประเภทสถาบันการเงิน และตั้งแต่เดือน ม.ค.49 จะออกพันธบัตร FIDF 3 วงเงิน
1.25 แสนล้านบาท กำหนดขายทุกเดือน โดยสลับออกระหว่างพันธบัตรอายุ 7 ปี และ 5 ปี เน้นขายให้นักลงทุน
ประเภทสถาบันการเงินเช่นกัน นอกจากนี้ ในส่วนของรัฐวิสาหกิจยังมีแผนที่จะออกพันธบัตรอีก 5 หมื่นล้านบาท
ภายในปี 49 เพื่อนำเงินไปลงทุนในโครงการต่าง ๆ ซึ่งการออกพันธบัตรจะไม่กระทบหนี้สาธารณะ เนื่องจากเป็น
การกู้เพื่อไปชดเชยหนี้เก่า โดยล่าสุดหนี้สาธารณะอยู่ที่ร้อยละ 45 ของจีดีพี คาดว่าหนี้จะเริ่มปรับลดลงในเดือน ต.
ค.นี้ และในภาพรวม สบน. ยังคงรักษากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ไม่ให้หนี้สาธารณะเกินร้อยละ 50
ของจีดีพีไว้ได้ แม้ว่าจะมีโครงการลงทุนในเมกะโปรเจ็กต์ในปีหน้าก็ตาม (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
3. ธปท. ขยายเวลาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำช่วย 3 จังหวัดภาคใต้ออกไปอีก 1 ปี ธปท. ได้มีหนังสือ
เวียนแจ้งไปยัง ธ.พาณิชย์ทุกแห่งว่า ธปท. ได้ขยายเวลาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
แก่ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขยายอายุตั๋วสัญญา
ใช้เงินที่ผู้ประกอบการใช้เป็นหลักประกันการกู้เงินไปอีก 1 ปี ซึ่งประกาศฉบับใหม่กำหนดให้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับสุด
ท้ายต้องถึงกำหนดใช้เงินไม่เกินวันที่ 28 ก.พ.50 จากเดิมไม่เกินวันที่ 28 ก.พ.49 อย่างไรก็ตาม ธ.พาณิชย์จะ
ต้องส่งหนังสือขอความเห็นชอบการเพิ่มวงเงินให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่
แก่ ธปท. ภายในวันที่ 30 ธ.ค.48 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่จะได้รับความช่วยเหลือจะต้องอยู่ใน จ.ยะลา
นราธิวาส ปัตตานี โดยอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี และ ธปท. ได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือผ่าน ธ.พาณิชย์
ทั้งสิ้น 2 หมื่นล้านบาท (มติชน, เดลินิวส์)
4. ครม. อนุมัติงบกลาง 2.7 หมื่นล้านบาท แก้ปัญหาของประเทศอย่างเป็นระบบ คณะรัฐมนตรี
อนุมัติหลักเกณฑ์การกลั่นกรองแผนงานและโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากงบกลาง ในรายการค่าใช้จ่ายเพื่อปรับ
กลยุทธ์และรองรับการเปลี่ยนแปลง วงเงิน 27,200 ล้านบาท โดยให้ นรม. มีอำนาจในการอนุมัติโครงการที่มีวง
เงินลงทุนไม่เกิน 100 ล้านบาท หากเกินกว่านั้นให้นำเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่ออนุมัติ สำหรับโครงการที่ขอรับ
การสนับสนุนจะต้องเป็นโครงการที่เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหา
เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างเป็นระบบ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจ ภายใต้สถานการณ์
ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกและความมั่นคง
ระหว่างประเทศที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความผันผวนของราคาน้ำมัน และการระบาดของโรคที่ส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจ (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลาง สรอ.ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ต่อปีเป็นครั้งที่ 11 ติดต่อกันทำ
ให้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 20 ก.ย.48 คณะกรรมการนโยบาย
การเงินของ ธ.กลาง สรอ.หรือ FOMC ลงมติ 9 ต่อ 1 เสียงขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ต่อปีเป็น
ครั้งที่ 11 ติดต่อกันทำให้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี นับเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.
ย.44 และนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 ที่การลงมติมีเสียงที่ไม่เห็นด้วย โดยประธานคณะกรรมการ ธ.
กลาง สรอ.เห็นว่าควรคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม FOMC ให้เหตุผลในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ว่าแม้ว่าการใช้
จ่ายในประเทศ การผลิตและการจ้างงานจะได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรินาแต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น
ในขณะที่ราคาพลังงานยังคงผันผวนและมีราคาสูงขึ้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ก็เพื่อให้ความเสี่ยงที่มีต่อ
เสถียรภาพในการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางด้านราคาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน โดยราคาน้ำมันที่
สูงอยู่แล้วก่อนที่จะเกิดพายุเฮอริเคนแคทรินา ได้พุ่งสูงขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 70.85 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรลทันทีหลังเกิดพายุ ก่อนที่ราคาจะอ่อนตัวลงมาปิดที่ 66 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลในวันที่ 20 ก.
ย.48 นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมใน
เดือน พ.ย.48 นี้ก่อนที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีไปตลอดปี 49 (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ก.ย.48 ปรับตัวลดลง รายงาน
จากนิวยอร์กเมื่อ 20 ก.ย.48 ABC News and the Washington Post เปิดเผยว่า Consumer Comfort
Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ก.ย.48 ลดลงที่ระดับ —23
จากระดับ —20 ในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีสาเหตุจากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมถึงผลกระทบจากการเกิด
พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา ทั้งนี้ ดัชนีซึ่งเป็นส่วนประกอบของ Consumer Comfort Index ทั้ง 3 ตัวปรับลดลง
โดยจำนวนชาวอเมริกันที่มีมุมมองในแง่บวกต่อภาวะเศรษฐกิจลดลงเหลือร้อยละ 30 จากร้อยละ 32 จำนวนผู้
บริโภคที่มีความเชื่อมั่นต่อฐานะการเงินส่วนตัวลดลงเหลือร้อยละ 55 จากร้อยละ 56 และจำนวนผู้บริโภคที่เห็นว่า
ภาวะการจับจ่ายใช้สอยอยู่ในเกณฑ์ดีลดลงเหลือร้อยละ 31 จากร้อยละ 32 ในสัปดาห์ก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกลดลงในเดือน ก.ย.48 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 20 ก.ย.48
บริษัทให้บริการทางการเงิน State Street เปิดเผยว่า Investor Confidence Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้
วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลก ลดลงที่ระดับ 84.0 ในเดือน ก.ย.48 จากระดับ 85.3 ในเดือนก่อนหน้า
สาเหตุหลักจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนยุโรปลดลง อันเป็นผลจากการเลือกตั้งในเยอรมนีซึ่งยังไม่มีความชัดเจน
แม้ว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนในอเมริกาเหนือและเอเชียจะปรับตัวเพิ่มขึ้นก็ตาม โดยดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ในอเมริกาเหนืออยู่ที่ระดับ 99.4 ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนในยุโรปอยู่ที่ระดับ 69.4 และดัชนีความเชื่อมั่นของ
นักลงทุนในเอเชียอยู่ที่ระดับ 81.4 อย่างไรก็ตาม แม้ Investor Confidence Index ในเดือน ก.ย.จะลด
ลง แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 81.4 ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. ราคาที่ดินในญี่ปุ่นโดยเฉพาะกรุงโตเกียวเริ่มฟื้นตัว รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 20 ก.ย.
48 ผลการสำรวจราคาที่ดินทั่วทั้งญี่ปุ่นซึ่งรวมทั้งที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและที่ดินเพื่อการพาณิชย์มีสัญญานที่ดีของการเริ่ม
ฟื้นตัวจากที่เคยตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานถึง 14 ปี โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ราคาที่ดินทั่วประเทศลดลง
น้อยกว่าในช่วงเดียวกันปีก่อนคือลดลงเฉลี่ยร้อยละ 4.2 จากที่เคยลดลงร้อยละ 5.2 ในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ขณะที่
ราคาที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยลดลงร้อยละ 3.8 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 4.6 ในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนราคาที่ดิน
เพื่อการพาณิชย์ลดลงร้อยละ 5.0 จากที่ลดลงร้อยละ 6.5 ในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ทั้งนี้ราคาที่ดินในเมืองหลวงฟื้น
ตัวอย่างแข็งแกร่งโดยที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยใน 23 เมืองหลักของโตเกียวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เช่นเดียวกับที่ดินเพื่อ
การพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ซึ่งก่อนหน้านั้นนับตั้งแต่ปี 34 เป็นต้นมาราคาที่ดินดังกล่าวได้ลดลงทุกๆปี นัก
เศรษฐศาสตร์จาก BNP Paribas กล่าวว่ามีสัญญานที่ชัดเจนทีเดียวว่าราคาที่ดินในกรุงโตเกียวกำลังฟื้นตัว ขณะที่
การเก็งกำไรส่งผลกระทบต่อตลาดเพียงเล็กน้อยเนื่องจากมีอุปสงค์และแรงสนับสนุนจากภาวะเศรษฐกิจ อนึ่ง
รายงานจากรมว.ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง ที่ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์และจนท.ของทางการใช้ในการ
อ้างอิงเพื่อกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์มีสัญญานว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 ก.ย. 48 20 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.069 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8941/41.1817 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.34722 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 723.16/ 21.87 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,000/9,100 9,000/9,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.21 58.81 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. คาดว่า ธ.พาณิชย์จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่า
การ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า เชื่อว่า ธ.พาณิชย์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออม
ทรัพย์ หลังจากที่ได้ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำหลายครั้งเพื่อระดมเงินฝากแต่ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
ส่วนจะปรับขึ้นภายในสิ้นปีนี้หรือไม่ขึ้นอยู่กับแผนงานของแต่ละธนาคารว่ามีแนวนโยบายอย่างไร ต้องการสัดส่วนเงิน
ฝากประเภทใดให้เหมาะสมกับการทำธุรกิจในอนาคต อย่างไรก็ดี การที่ธนาคารเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
ในช่วงนี้เพื่อล็อกต้นทุนให้คงที่ ทำให้บริหารงานได้ง่ายขึ้น ไม่เหมือนกับการรับฝากเงินออมทรัพย์ที่ลูกค้าเบิกถอนเมื่อ
ไหร่ก็ได้ นอกจากนี้ ธ.พาณิชย์มองว่าหากขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงนี้จะดีกว่าการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ย
อยู่ในช่วงขาขึ้น เพื่อนำไปปล่อยกู้ได้ต้นทุนที่ต่ำ ด้าน น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน
ธปท. กล่าวว่า สภาพคล่องในระบบธนาคารเริ่มลดลง เห็นได้จากปัจจุบัน ธ.พาณิชย์ขนาดใหญ่ปล่อยกู้ผ่านตลาดซื้อ
คืนพันธบัตรระยะ 14 วัน (อาร์/พี) น้อยลง ทั้งจำนวนรายและปริมาณธุรกรรม ซึ่งหาก ธ.พาณิชย์ไม่สามารถปล่อย
กู้ในตลาดอาร์/พี ธปท. จะเข้าไปปล่อยกู้เอง เนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ยังมีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้
ประเภทนี้อยู่ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังเตรียมออกพันธบัตร 2 แสนล้าน ภายในปี 49 นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สนง.บริหาร
หนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าว่า ในเดือน ต.ค.นี้ ก.คลังจะออกพันธบัตรชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูและ
พัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ FIDF 1 จำนวน 5 หมื่นล้านบาท แบ่งขายทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือน โดยมี
เป้าหมายขายให้กับนักลงทุนประเภทสถาบันการเงิน และตั้งแต่เดือน ม.ค.49 จะออกพันธบัตร FIDF 3 วงเงิน
1.25 แสนล้านบาท กำหนดขายทุกเดือน โดยสลับออกระหว่างพันธบัตรอายุ 7 ปี และ 5 ปี เน้นขายให้นักลงทุน
ประเภทสถาบันการเงินเช่นกัน นอกจากนี้ ในส่วนของรัฐวิสาหกิจยังมีแผนที่จะออกพันธบัตรอีก 5 หมื่นล้านบาท
ภายในปี 49 เพื่อนำเงินไปลงทุนในโครงการต่าง ๆ ซึ่งการออกพันธบัตรจะไม่กระทบหนี้สาธารณะ เนื่องจากเป็น
การกู้เพื่อไปชดเชยหนี้เก่า โดยล่าสุดหนี้สาธารณะอยู่ที่ร้อยละ 45 ของจีดีพี คาดว่าหนี้จะเริ่มปรับลดลงในเดือน ต.
ค.นี้ และในภาพรวม สบน. ยังคงรักษากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ไม่ให้หนี้สาธารณะเกินร้อยละ 50
ของจีดีพีไว้ได้ แม้ว่าจะมีโครงการลงทุนในเมกะโปรเจ็กต์ในปีหน้าก็ตาม (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
3. ธปท. ขยายเวลาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำช่วย 3 จังหวัดภาคใต้ออกไปอีก 1 ปี ธปท. ได้มีหนังสือ
เวียนแจ้งไปยัง ธ.พาณิชย์ทุกแห่งว่า ธปท. ได้ขยายเวลาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
แก่ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขยายอายุตั๋วสัญญา
ใช้เงินที่ผู้ประกอบการใช้เป็นหลักประกันการกู้เงินไปอีก 1 ปี ซึ่งประกาศฉบับใหม่กำหนดให้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับสุด
ท้ายต้องถึงกำหนดใช้เงินไม่เกินวันที่ 28 ก.พ.50 จากเดิมไม่เกินวันที่ 28 ก.พ.49 อย่างไรก็ตาม ธ.พาณิชย์จะ
ต้องส่งหนังสือขอความเห็นชอบการเพิ่มวงเงินให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่
แก่ ธปท. ภายในวันที่ 30 ธ.ค.48 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่จะได้รับความช่วยเหลือจะต้องอยู่ใน จ.ยะลา
นราธิวาส ปัตตานี โดยอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี และ ธปท. ได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือผ่าน ธ.พาณิชย์
ทั้งสิ้น 2 หมื่นล้านบาท (มติชน, เดลินิวส์)
4. ครม. อนุมัติงบกลาง 2.7 หมื่นล้านบาท แก้ปัญหาของประเทศอย่างเป็นระบบ คณะรัฐมนตรี
อนุมัติหลักเกณฑ์การกลั่นกรองแผนงานและโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากงบกลาง ในรายการค่าใช้จ่ายเพื่อปรับ
กลยุทธ์และรองรับการเปลี่ยนแปลง วงเงิน 27,200 ล้านบาท โดยให้ นรม. มีอำนาจในการอนุมัติโครงการที่มีวง
เงินลงทุนไม่เกิน 100 ล้านบาท หากเกินกว่านั้นให้นำเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่ออนุมัติ สำหรับโครงการที่ขอรับ
การสนับสนุนจะต้องเป็นโครงการที่เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหา
เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างเป็นระบบ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจ ภายใต้สถานการณ์
ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกและความมั่นคง
ระหว่างประเทศที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความผันผวนของราคาน้ำมัน และการระบาดของโรคที่ส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจ (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลาง สรอ.ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ต่อปีเป็นครั้งที่ 11 ติดต่อกันทำ
ให้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 20 ก.ย.48 คณะกรรมการนโยบาย
การเงินของ ธ.กลาง สรอ.หรือ FOMC ลงมติ 9 ต่อ 1 เสียงขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ต่อปีเป็น
ครั้งที่ 11 ติดต่อกันทำให้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี นับเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.
ย.44 และนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 ที่การลงมติมีเสียงที่ไม่เห็นด้วย โดยประธานคณะกรรมการ ธ.
กลาง สรอ.เห็นว่าควรคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม FOMC ให้เหตุผลในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ว่าแม้ว่าการใช้
จ่ายในประเทศ การผลิตและการจ้างงานจะได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรินาแต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น
ในขณะที่ราคาพลังงานยังคงผันผวนและมีราคาสูงขึ้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ก็เพื่อให้ความเสี่ยงที่มีต่อ
เสถียรภาพในการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางด้านราคาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน โดยราคาน้ำมันที่
สูงอยู่แล้วก่อนที่จะเกิดพายุเฮอริเคนแคทรินา ได้พุ่งสูงขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 70.85 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรลทันทีหลังเกิดพายุ ก่อนที่ราคาจะอ่อนตัวลงมาปิดที่ 66 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลในวันที่ 20 ก.
ย.48 นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมใน
เดือน พ.ย.48 นี้ก่อนที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีไปตลอดปี 49 (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ก.ย.48 ปรับตัวลดลง รายงาน
จากนิวยอร์กเมื่อ 20 ก.ย.48 ABC News and the Washington Post เปิดเผยว่า Consumer Comfort
Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ก.ย.48 ลดลงที่ระดับ —23
จากระดับ —20 ในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีสาเหตุจากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมถึงผลกระทบจากการเกิด
พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา ทั้งนี้ ดัชนีซึ่งเป็นส่วนประกอบของ Consumer Comfort Index ทั้ง 3 ตัวปรับลดลง
โดยจำนวนชาวอเมริกันที่มีมุมมองในแง่บวกต่อภาวะเศรษฐกิจลดลงเหลือร้อยละ 30 จากร้อยละ 32 จำนวนผู้
บริโภคที่มีความเชื่อมั่นต่อฐานะการเงินส่วนตัวลดลงเหลือร้อยละ 55 จากร้อยละ 56 และจำนวนผู้บริโภคที่เห็นว่า
ภาวะการจับจ่ายใช้สอยอยู่ในเกณฑ์ดีลดลงเหลือร้อยละ 31 จากร้อยละ 32 ในสัปดาห์ก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกลดลงในเดือน ก.ย.48 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 20 ก.ย.48
บริษัทให้บริการทางการเงิน State Street เปิดเผยว่า Investor Confidence Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้
วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลก ลดลงที่ระดับ 84.0 ในเดือน ก.ย.48 จากระดับ 85.3 ในเดือนก่อนหน้า
สาเหตุหลักจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนยุโรปลดลง อันเป็นผลจากการเลือกตั้งในเยอรมนีซึ่งยังไม่มีความชัดเจน
แม้ว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนในอเมริกาเหนือและเอเชียจะปรับตัวเพิ่มขึ้นก็ตาม โดยดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ในอเมริกาเหนืออยู่ที่ระดับ 99.4 ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนในยุโรปอยู่ที่ระดับ 69.4 และดัชนีความเชื่อมั่นของ
นักลงทุนในเอเชียอยู่ที่ระดับ 81.4 อย่างไรก็ตาม แม้ Investor Confidence Index ในเดือน ก.ย.จะลด
ลง แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 81.4 ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. ราคาที่ดินในญี่ปุ่นโดยเฉพาะกรุงโตเกียวเริ่มฟื้นตัว รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 20 ก.ย.
48 ผลการสำรวจราคาที่ดินทั่วทั้งญี่ปุ่นซึ่งรวมทั้งที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและที่ดินเพื่อการพาณิชย์มีสัญญานที่ดีของการเริ่ม
ฟื้นตัวจากที่เคยตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานถึง 14 ปี โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ราคาที่ดินทั่วประเทศลดลง
น้อยกว่าในช่วงเดียวกันปีก่อนคือลดลงเฉลี่ยร้อยละ 4.2 จากที่เคยลดลงร้อยละ 5.2 ในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ขณะที่
ราคาที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยลดลงร้อยละ 3.8 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 4.6 ในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนราคาที่ดิน
เพื่อการพาณิชย์ลดลงร้อยละ 5.0 จากที่ลดลงร้อยละ 6.5 ในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ทั้งนี้ราคาที่ดินในเมืองหลวงฟื้น
ตัวอย่างแข็งแกร่งโดยที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยใน 23 เมืองหลักของโตเกียวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เช่นเดียวกับที่ดินเพื่อ
การพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ซึ่งก่อนหน้านั้นนับตั้งแต่ปี 34 เป็นต้นมาราคาที่ดินดังกล่าวได้ลดลงทุกๆปี นัก
เศรษฐศาสตร์จาก BNP Paribas กล่าวว่ามีสัญญานที่ชัดเจนทีเดียวว่าราคาที่ดินในกรุงโตเกียวกำลังฟื้นตัว ขณะที่
การเก็งกำไรส่งผลกระทบต่อตลาดเพียงเล็กน้อยเนื่องจากมีอุปสงค์และแรงสนับสนุนจากภาวะเศรษฐกิจ อนึ่ง
รายงานจากรมว.ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง ที่ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์และจนท.ของทางการใช้ในการ
อ้างอิงเพื่อกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์มีสัญญานว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 ก.ย. 48 20 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.069 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8941/41.1817 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.34722 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 723.16/ 21.87 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,000/9,100 9,000/9,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.21 58.81 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--