กรุงเทพ--3 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. ข้อมูลทั่วไป
1.1 การประกอบพิธีฮัจย์เป็นศาสนบัญญัติข้อหนึ่งของศาสนาอิสลามที่มุสลิมพึงปฏิบัติ อย่างน้อย 1 ครั้ง แต่กำหนดเป็นเงื่อนไขเฉพาะกับมุสลิมที่มีความสามารถ มีความพร้อมทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ และต้องปฏิบัติในพื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้คือ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
1.2 รัฐบาลซาอุดีฯ ได้กำหนดโควต้าให้มุสลิมจากประเทศอิสลามเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ได้จำนวน 1,000 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ประกอบพิธีและการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ส่วนจำนวนผู้เดินทางไปประกอบพิธีจากประเทศที่ไม่ใช่อิสลาม เช่น ประเทศไทย ให้เป็นไปตามผลการเจรจาตกลงกันในแต่ละปี และโดยปกติแล้ว จะมีชาวไทยมุสลิมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ประมาณ 1 หมื่นคนเป็นประจำทุกปี โดยร้อยละ 80 มาจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเทศกาลฮัจย์ปี พ.ศ. 2542 หรือ ฮ.ศ. 1419 จะมีผู้แสวงบุญไปจากประเทศไทยประมาณ 11,000 คน โดยสามารถลดหรือเพิ่มได้ไม่เกิน 10% ส่วนคณะผู้แทนฮัจย์ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายบริหาร แพทย์และพยาบาลนั้น ได้กำหนดไว้ไม่เกิน 80 คน
1.3 รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ไปประกอบพิธีฮัจย์เป็นอย่างมาก เมื่อปี 2537-2538 รัฐบาลได้แต่งตั้ง ฯพณฯ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีต รมชกต. (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการไทย หรืออะมีรุ้ลฮัจย์ และเมื่อปี 2539-2540 ได้แต่งตั้ง ฯพณฯ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.คค. (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นอะมีรุ้ลฮัจย์ และเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง ฯพณฯ รมว.กต. เป็นอะมีรุ้ลฮัจย์อีกครั้งหนึ่ง ภารกิจที่สำคัญคือ เพื่อดำเนินการอำนวยความสะดวกในทุกๆ ด้านให้กับชาวไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์
2. บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ
2.1 ฯพณฯ รมว.กต. ในฐานะอะมีรุ้ลฮัจย์ ได้มอบหมายให้นายมหดี วิมานะ ออท. ณ กรุงเตหะราน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยเดินทางไปประชุมเตรียมการฮัจย์กับกระทรวงกิจการฮัจย์ซาอุดีอาระเบีย ที่เมืองเจดดาห์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541
2.2 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2541 ที่กระทรวงการต่างประเทศ ฯพณฯ รมว.กต. ได้เป็นประธานในการจัดประชุมเตรียมการฮัจย์ประจำปี 2542 ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการหารือและรับทราบปัญหา อุปสรรค และข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ ตลอดจนถึงแนวทางการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ไปประกอบพิธีฮัจย์
ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้มีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการประกอบพิธีฮัจย์ ดังนี้
2.3 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการศาสนา กระทรวงสาธารณสุข สำนักจุฬาราชมนตรี ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย
2.4 ประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบีย อำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราหนังสือเดินทางให้กับผู้แทนทางการไทยและผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์
2.5 ส่งผู้แทนร่วมไปกับคณะของหัวหน้าผู้แทนทางการไทย (อะมีรุ้ลฮัจย์) ไปเจรจากับฝ่ายซาอุดีฯ เพื่อเตรียมการในด้านต่าง ๆ รวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศ และจากสถานเอกอัครราชทูตในภูมิภาคไปอำนวยความสะดวกในพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของไทยเป็นประจำทุกปี
2.6 ติดต่อประสานงานกับรัฐบาลซาอุดีฯ ในการจัดหา (เช่า) สถานที่ทำการสำหรับคณะเจ้าหน้าที่ไทย (คณะแพทย์ พยาบาล และคณะเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก) รวมทั้งที่พักสำหรับผู้ที่จะไปประกอบพิธีฮัจย์
2.7 ดำเนินการด้านนิติกรณ์ การรับรองเอกสาร การคุ้มครองและช่วยเหลือรวมทั้งอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ในทุกกรณีที่เกิดปัญหา โดยเฉพาะกรณีเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต
3. ผลของการดำเนินการ
3.1 จากความพยายามของกระทรวงการต่างประเทศในการผลักดันให้มีการพิจารณาแต่งตั้งหัวหน้าผู้แทนฮัจย์เป็นระดับรัฐมนตรี ทำให้ซาอุดีฯ เห็นว่า ไทยให้ความสำคัญต่อการไปประกอบพิธีฮัจย์ของชาวไทยมุสลิมเป็นอย่างยิ่ง และในเทศกาลฮัจย์ที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้ประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตซาอุดีฯ ในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งปรากฎว่า ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายซาอุดีฯ ด้วยดีทั้งนี้ ประเทศไทยอาจใช้ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นช่องทางในการฟื้นฟูส่งเสริมความสัมพันธ์กับซาอุดีฯ อีกทางหนึ่งได้ด้วย
3.2 แม้ว่ากิจการฮัจย์จะมิได้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงฯ โดยตรง แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว กระทรวงฯ ได้มีบทบาทเป็นแกนหลักของเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะในการติดต่อประสานงานและการเจรจากังทางการซาอุดีฯ รวมทั้งการคุ้มครองช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้แสวงบุญชาวไทยในระหว่างที่อยู่ในซาอุดีฯ ทั้งนี้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่กระทรวงฯ ส่งไปช่วยอำนวยความสะดวกในพื้นที่ได้ปฏิบัติภารกิจของตนอย่างเต็มความสามารถ จนได้รับคำชมเชยจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและได้รับความไว้วางใจจากคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทยให้ไปปฏิบัติภารกิจดังกล่าวเป็นการต่อเนื่องทุกปี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
1. ข้อมูลทั่วไป
1.1 การประกอบพิธีฮัจย์เป็นศาสนบัญญัติข้อหนึ่งของศาสนาอิสลามที่มุสลิมพึงปฏิบัติ อย่างน้อย 1 ครั้ง แต่กำหนดเป็นเงื่อนไขเฉพาะกับมุสลิมที่มีความสามารถ มีความพร้อมทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ และต้องปฏิบัติในพื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้คือ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
1.2 รัฐบาลซาอุดีฯ ได้กำหนดโควต้าให้มุสลิมจากประเทศอิสลามเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ได้จำนวน 1,000 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ประกอบพิธีและการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ส่วนจำนวนผู้เดินทางไปประกอบพิธีจากประเทศที่ไม่ใช่อิสลาม เช่น ประเทศไทย ให้เป็นไปตามผลการเจรจาตกลงกันในแต่ละปี และโดยปกติแล้ว จะมีชาวไทยมุสลิมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ประมาณ 1 หมื่นคนเป็นประจำทุกปี โดยร้อยละ 80 มาจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเทศกาลฮัจย์ปี พ.ศ. 2542 หรือ ฮ.ศ. 1419 จะมีผู้แสวงบุญไปจากประเทศไทยประมาณ 11,000 คน โดยสามารถลดหรือเพิ่มได้ไม่เกิน 10% ส่วนคณะผู้แทนฮัจย์ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายบริหาร แพทย์และพยาบาลนั้น ได้กำหนดไว้ไม่เกิน 80 คน
1.3 รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ไปประกอบพิธีฮัจย์เป็นอย่างมาก เมื่อปี 2537-2538 รัฐบาลได้แต่งตั้ง ฯพณฯ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีต รมชกต. (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการไทย หรืออะมีรุ้ลฮัจย์ และเมื่อปี 2539-2540 ได้แต่งตั้ง ฯพณฯ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.คค. (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นอะมีรุ้ลฮัจย์ และเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง ฯพณฯ รมว.กต. เป็นอะมีรุ้ลฮัจย์อีกครั้งหนึ่ง ภารกิจที่สำคัญคือ เพื่อดำเนินการอำนวยความสะดวกในทุกๆ ด้านให้กับชาวไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์
2. บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ
2.1 ฯพณฯ รมว.กต. ในฐานะอะมีรุ้ลฮัจย์ ได้มอบหมายให้นายมหดี วิมานะ ออท. ณ กรุงเตหะราน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยเดินทางไปประชุมเตรียมการฮัจย์กับกระทรวงกิจการฮัจย์ซาอุดีอาระเบีย ที่เมืองเจดดาห์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541
2.2 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2541 ที่กระทรวงการต่างประเทศ ฯพณฯ รมว.กต. ได้เป็นประธานในการจัดประชุมเตรียมการฮัจย์ประจำปี 2542 ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการหารือและรับทราบปัญหา อุปสรรค และข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ ตลอดจนถึงแนวทางการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ไปประกอบพิธีฮัจย์
ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้มีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการประกอบพิธีฮัจย์ ดังนี้
2.3 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการศาสนา กระทรวงสาธารณสุข สำนักจุฬาราชมนตรี ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย
2.4 ประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบีย อำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราหนังสือเดินทางให้กับผู้แทนทางการไทยและผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์
2.5 ส่งผู้แทนร่วมไปกับคณะของหัวหน้าผู้แทนทางการไทย (อะมีรุ้ลฮัจย์) ไปเจรจากับฝ่ายซาอุดีฯ เพื่อเตรียมการในด้านต่าง ๆ รวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศ และจากสถานเอกอัครราชทูตในภูมิภาคไปอำนวยความสะดวกในพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของไทยเป็นประจำทุกปี
2.6 ติดต่อประสานงานกับรัฐบาลซาอุดีฯ ในการจัดหา (เช่า) สถานที่ทำการสำหรับคณะเจ้าหน้าที่ไทย (คณะแพทย์ พยาบาล และคณะเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก) รวมทั้งที่พักสำหรับผู้ที่จะไปประกอบพิธีฮัจย์
2.7 ดำเนินการด้านนิติกรณ์ การรับรองเอกสาร การคุ้มครองและช่วยเหลือรวมทั้งอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ในทุกกรณีที่เกิดปัญหา โดยเฉพาะกรณีเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต
3. ผลของการดำเนินการ
3.1 จากความพยายามของกระทรวงการต่างประเทศในการผลักดันให้มีการพิจารณาแต่งตั้งหัวหน้าผู้แทนฮัจย์เป็นระดับรัฐมนตรี ทำให้ซาอุดีฯ เห็นว่า ไทยให้ความสำคัญต่อการไปประกอบพิธีฮัจย์ของชาวไทยมุสลิมเป็นอย่างยิ่ง และในเทศกาลฮัจย์ที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้ประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตซาอุดีฯ ในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งปรากฎว่า ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายซาอุดีฯ ด้วยดีทั้งนี้ ประเทศไทยอาจใช้ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นช่องทางในการฟื้นฟูส่งเสริมความสัมพันธ์กับซาอุดีฯ อีกทางหนึ่งได้ด้วย
3.2 แม้ว่ากิจการฮัจย์จะมิได้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงฯ โดยตรง แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว กระทรวงฯ ได้มีบทบาทเป็นแกนหลักของเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะในการติดต่อประสานงานและการเจรจากังทางการซาอุดีฯ รวมทั้งการคุ้มครองช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้แสวงบุญชาวไทยในระหว่างที่อยู่ในซาอุดีฯ ทั้งนี้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่กระทรวงฯ ส่งไปช่วยอำนวยความสะดวกในพื้นที่ได้ปฏิบัติภารกิจของตนอย่างเต็มความสามารถ จนได้รับคำชมเชยจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและได้รับความไว้วางใจจากคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทยให้ไปปฏิบัติภารกิจดังกล่าวเป็นการต่อเนื่องทุกปี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--