แท็ก
เกษตรกร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--31 ธ.ค.--บิสนิวส์
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
ปอ : ราคาตกต่ำ
รายการ กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม อัตราเพิ่ม (%)
ราคาที่เกษตรกรได้ (บาท/กก.)
ปี 2539 7.22 7.89 8.25 7.83 2.921
ปี 2540 5.44 4.56 4.72 5.17 -1.175
ในปี 2540/41 การผลิตปอมีปริมาณทั้งสิ้น 105,026 ตัน เทียบกับ 109,299 ตันในปีก่อน ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.91 และออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา ราคาปอฟอกมีแนวโน้มลดลงจากปีที่แล้ว โดยราคาปอแก้วฟอกคละที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.11 บาท ลดลงเหลือ 5.44 บาท และ 4.56 บาทในเดือนกันยายนและตุลาคม ตามลำดับ อีกทั้งคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากภาวะการค้าปอและผลิตภัณฑ์อ่อนตัวลง ประกอบกับสต็อกคงเหลือของโรงงานทอกระสอบมีอยู่มาก ทำให้ความต้องการปอลดลง
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาปอราคาตกต่ำ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการ-ช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 120 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายใน ดำเนินการตามโครงการรักษาระดับราคาปอ ปี 2540/41 ด้วยการนำไปจัดสรรให้โรงงานทอกระสอบ ยืมเป็นทุนหมุนเวียนรับซื้อปอฟอกคละจากเกษตรกร ณ หน้าโรงงานกิโลกรัมละ 6.80 บาท (คิดเป็นราคาที่เกษตรกรขายได้ ณ แหล่งผลิตกิโลกรัมละ 6.30 บาท) อย่างไรก็ตามหลังจากที่โรงงานในโครงการได้ดำเนินการรับซื้อปอตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 จนถึงปัจจุบัน ราคาปอแก้วฟอกคละ ณ แหล่งผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.17 บาท ส่วนจังหวัดที่อยู่ใกล้โรงงานในโครงการ เช่น นครราชสีมา ราคาเฉลี่ยกิโลกรัม 6.00 บาท ซึ่งยังต่ำกว่าราคาเป้าหมายนำอยู่ค่อนข้างมาก
ข้อคิดเห็น
แม้ว่าการดำเนินการตามโครงการรักษาระดับราคาปอจะทำให้เกษตรกรสามารถ จำหน่ายผลผลิต ณ แหล่งผลิตได้สูงขึ้นในระดับหนึ่งแต่ก็ยังต่ำกว่าราคาเป้าหมายนำดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จึงจำเป็นที่กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะได้เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรให้รวมตัวกันในการนำผลผลิตไปขายให้โรงงาน ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรขายปอได้ สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ไก่เนื้อ : ฮ่องกงระงับนำเข้าไก่สดจากไทย
ภายหลังจากที่เกิดโรคไข้หวัดใหญ่แพร่ระบาดจากสัตว์ปีกหรือที่เรียกว่า “ไข้นก” ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส H5N1 ระบาดสู่มนุษย์ที่เกาะฮ่องกง ทำให้ชาวฮ่องกง 4 ราย เสียชีวิตด้วยโรคไข้นกนี้ รัฐบาลฮ่องกงสั่งปิดตลาด “เจียง ชา หวัง” ซึ่งเป็นตลาดค้าสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกง ซึ่งได้นำเข้าไก่มีชีวิตจากประเทศจีนวันละ 80,000 ตัว เป็นการชั่วคราว พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ออกทำความสะอาดล้างตลาดขายไก่ทั่วเกาะฮ่องกงประมาณ 2,200 แห่ง เพื่อป้องกันโรคระบาด การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว ทำให้เกษตรกรผู้ค้าไก่และสัตว์ปีกได้รับผลกระทบมาก เนื่องจากผู้บริโภคไม่กล้าซื้อไปบริโภคเพราะกลัวติดโรค ทำให้ราคาไก่ตกต่ำเกษตรกรได้เสนอแผนกำจัดไก่จำนวน 1.2 ล้านตัว มูลค่า 3.9 ล้านเหรียญ-สหรัฐฯ ไปยังกระทรวงเกษตรและประมงแล้ว ล่าสุดฮ่องกงได้สั่งระงับการนำเข้าไก่จากประเทศไทยด้วย
กรมปศุสัตว์แถลงว่าปัญหาเกี่ยวกับเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นในฮ่องกง และจีนนั้นยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน ดังนั้นไก่ไทยจึงไม่มีเชื้อดังกล่าวอย่างแน่นอน และเพื่อให้ผู้บริโภคในต่างประเทศโดยเฉพาะฮ่องกงมั่นใจในคุณภาพของไก่ไทย ผู้ส่งออกจะต้องสร้างความมั่นใจในเรื่องดังกล่าว โดยในส่วนของกรมปศุสัตว์จะดำเนินการ
1. จะชี้แจงและประสานงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกับประเทศคู่ค้าของไทยและได้รับทราบว่าไก่ไทยไม่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน และไทยไม่ได้เป็นประเทศผู้แพร่เชื้อดังกล่าวด้วย
2. เพื่อความไม่ประมาท กรมปศุสัตว์จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะหากมีการระบาดเกิดขึ้นจะทำให้การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นจำนวนมาก
มาตรการที่กรมปศุสัตว์จะดำเนินการขณะนี้ คือ
1. การควบคุมและป้องกันโรค ที่อาจจะติดต่อมากับการนำเข้าสินค้าประเภทปศุสัตว์ด้วยการตรวจสอบโรค ก่อนการนำเข้าอย่างละเอียดถี่ถ้วน
2. การเฝ้าระวังทางคลินิค โดยจะเน้นให้เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ในทุกพื้นที่ ออกตรวจเยี่ยมสัตว์ปีก ในพื้นที่ที่รับผิดชอบเป็นพิเศษ
ข้อคิดเห็น
ฮ่องกงเป็นตลาดไก่สดแช่แข็งของไทยที่สำคัญ โดยมีการนำเข้าไก่สดจากประเทศไทย ในปี 2539 ฮ่องกงซื้อไก่สดจากประเทศไทย 1,184 ตัน มูลค่า 30.56 ล้านบาท และในช่วง 10 เดือนของปี 2540 ได้นำเข้า 1,053 ตัน มูลค่า 35.44 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีการนำเข้า 1,037 ตัน มูลค่า 24.83 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.54 และ 42.73 ตามลำดับ ถ้าหากฮ่องกงระงับการนำเข้าเนื้อไก่จากไทยเป็นเวลานาน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไก่สดแช่แข็งของไทย ทำให้สูญเสียรายได้คิดเป็นมูลค่าหลายล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
1. กรมปศุสัตว์ จะต้องเร่งเจรจาโดยด่วนกับประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะฮ่องกงเพื่อสร้างความเข้าใจว่าไก่ไทยไม่มีเชื้อไวรัสดังกล่าว
2. กรมปศุสัตว์จะต้องเฝ้าระวังโรคนี้อย่างใกล้ชิด เพราะหากแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยแล้วจะทำลายทั้งอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ การเลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
มันฝรั่ง : สถานการณ์การเปิดตลาดหัวพันธุ์มันฝรั่ง ในปี 2540 ที่ผ่านมา
1. ความเป็นมา
การเปิดตลาดสินค้ามันฝรั่งตามข้อผูกพันองค์การการค้าโลกช่วงปี 2538-2540 ที่ผ่านมาเกิดความล่าช้าในบางขณะ ผู้นำเข้าต้องประสบปัญหาการนำเข้าไม่ทันระยะเวลาการเพาะปลูกและนำเข้าไม่ได้ตามจำนวนที่ร้องขอ หัวพันธุ์บางส่วนที่นำเข้ามีการเสียหายระหว่างการขนส่ง อุตสาหกรรมต่อเนื่องจึงได้รับผลกระทบตามไปด้วย ทำให้เกิดการร้องเรียนจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาการนำเข้าหัวพันธุ์-มันฝรั่งในปีต่อไป
2. ข้อเท็จจริง
2.1 การนำเข้า ปี 2540
ตามข้อตกลง เปิดตลาด รายงาน
สินค้า ในโควตา นอกโควตา ในโควตา นอกโควตา การนำเข้า
ปริมาณ ภาษี ภาษี ปริมาณ ภาษี ภาษี (มค.-15
(ตัน) (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ตัน) (ร้อยละ) (ร้อยละ) ธค. 2540)
1. มันฝรั่ง 291.11 27 134.8 4,691.11 0 134. 4,315.471
(ทำพันธุ์)
2.2 เนื้อที่เพาะปลูกมันฝรั่งในปี 2540/41 คาดว่าจะมีจำนวน 33,795 ไร่ ผลผลิต 93,525 ตัน และผลผลิตต่อไร่ 2,767 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2539/40 ซึ่งมีเนื้อที่-เพาะปลูก 32,703 ไร่ ผลผลิต 89,546 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 2,738 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.34, 4.44 และ 1.06 ตามลำดับ
2.3 กำลังการผลิตของโรงงาน โรงงานแปรรูปมันฝรั่งในประเทศไทย มีทั้งหมด 6 โรงงาน กำลังการผลิตจำนวนเต็มรวม 124,100 ตัน/ปี ของผลผลิตมันฝรั่งสดทั้งหมด
2.4 การเปรียบเทียบราคานำเข้ามันฝรั่งและราคาเกษตรกรขายได้ ราคานำเข้า
(c.i.f.) หัวพันธุ์มันฝรั่งรวมค่าใช้จ่ายกิโลกรัมละ 33.50 บาท ราคานำเข้ามันฝรั่งแปรรูปกิโลกรัมละ 16.12 บาท ในขณะที่เกษตรกรขายได้ราคากิโลกรัมละ 6-7 บาท จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 22-28 ธันวาคม 2540--
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
ปอ : ราคาตกต่ำ
รายการ กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม อัตราเพิ่ม (%)
ราคาที่เกษตรกรได้ (บาท/กก.)
ปี 2539 7.22 7.89 8.25 7.83 2.921
ปี 2540 5.44 4.56 4.72 5.17 -1.175
ในปี 2540/41 การผลิตปอมีปริมาณทั้งสิ้น 105,026 ตัน เทียบกับ 109,299 ตันในปีก่อน ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.91 และออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา ราคาปอฟอกมีแนวโน้มลดลงจากปีที่แล้ว โดยราคาปอแก้วฟอกคละที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.11 บาท ลดลงเหลือ 5.44 บาท และ 4.56 บาทในเดือนกันยายนและตุลาคม ตามลำดับ อีกทั้งคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากภาวะการค้าปอและผลิตภัณฑ์อ่อนตัวลง ประกอบกับสต็อกคงเหลือของโรงงานทอกระสอบมีอยู่มาก ทำให้ความต้องการปอลดลง
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาปอราคาตกต่ำ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการ-ช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 120 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายใน ดำเนินการตามโครงการรักษาระดับราคาปอ ปี 2540/41 ด้วยการนำไปจัดสรรให้โรงงานทอกระสอบ ยืมเป็นทุนหมุนเวียนรับซื้อปอฟอกคละจากเกษตรกร ณ หน้าโรงงานกิโลกรัมละ 6.80 บาท (คิดเป็นราคาที่เกษตรกรขายได้ ณ แหล่งผลิตกิโลกรัมละ 6.30 บาท) อย่างไรก็ตามหลังจากที่โรงงานในโครงการได้ดำเนินการรับซื้อปอตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 จนถึงปัจจุบัน ราคาปอแก้วฟอกคละ ณ แหล่งผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.17 บาท ส่วนจังหวัดที่อยู่ใกล้โรงงานในโครงการ เช่น นครราชสีมา ราคาเฉลี่ยกิโลกรัม 6.00 บาท ซึ่งยังต่ำกว่าราคาเป้าหมายนำอยู่ค่อนข้างมาก
ข้อคิดเห็น
แม้ว่าการดำเนินการตามโครงการรักษาระดับราคาปอจะทำให้เกษตรกรสามารถ จำหน่ายผลผลิต ณ แหล่งผลิตได้สูงขึ้นในระดับหนึ่งแต่ก็ยังต่ำกว่าราคาเป้าหมายนำดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จึงจำเป็นที่กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะได้เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรให้รวมตัวกันในการนำผลผลิตไปขายให้โรงงาน ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรขายปอได้ สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ไก่เนื้อ : ฮ่องกงระงับนำเข้าไก่สดจากไทย
ภายหลังจากที่เกิดโรคไข้หวัดใหญ่แพร่ระบาดจากสัตว์ปีกหรือที่เรียกว่า “ไข้นก” ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส H5N1 ระบาดสู่มนุษย์ที่เกาะฮ่องกง ทำให้ชาวฮ่องกง 4 ราย เสียชีวิตด้วยโรคไข้นกนี้ รัฐบาลฮ่องกงสั่งปิดตลาด “เจียง ชา หวัง” ซึ่งเป็นตลาดค้าสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกง ซึ่งได้นำเข้าไก่มีชีวิตจากประเทศจีนวันละ 80,000 ตัว เป็นการชั่วคราว พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ออกทำความสะอาดล้างตลาดขายไก่ทั่วเกาะฮ่องกงประมาณ 2,200 แห่ง เพื่อป้องกันโรคระบาด การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว ทำให้เกษตรกรผู้ค้าไก่และสัตว์ปีกได้รับผลกระทบมาก เนื่องจากผู้บริโภคไม่กล้าซื้อไปบริโภคเพราะกลัวติดโรค ทำให้ราคาไก่ตกต่ำเกษตรกรได้เสนอแผนกำจัดไก่จำนวน 1.2 ล้านตัว มูลค่า 3.9 ล้านเหรียญ-สหรัฐฯ ไปยังกระทรวงเกษตรและประมงแล้ว ล่าสุดฮ่องกงได้สั่งระงับการนำเข้าไก่จากประเทศไทยด้วย
กรมปศุสัตว์แถลงว่าปัญหาเกี่ยวกับเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นในฮ่องกง และจีนนั้นยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน ดังนั้นไก่ไทยจึงไม่มีเชื้อดังกล่าวอย่างแน่นอน และเพื่อให้ผู้บริโภคในต่างประเทศโดยเฉพาะฮ่องกงมั่นใจในคุณภาพของไก่ไทย ผู้ส่งออกจะต้องสร้างความมั่นใจในเรื่องดังกล่าว โดยในส่วนของกรมปศุสัตว์จะดำเนินการ
1. จะชี้แจงและประสานงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกับประเทศคู่ค้าของไทยและได้รับทราบว่าไก่ไทยไม่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน และไทยไม่ได้เป็นประเทศผู้แพร่เชื้อดังกล่าวด้วย
2. เพื่อความไม่ประมาท กรมปศุสัตว์จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะหากมีการระบาดเกิดขึ้นจะทำให้การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นจำนวนมาก
มาตรการที่กรมปศุสัตว์จะดำเนินการขณะนี้ คือ
1. การควบคุมและป้องกันโรค ที่อาจจะติดต่อมากับการนำเข้าสินค้าประเภทปศุสัตว์ด้วยการตรวจสอบโรค ก่อนการนำเข้าอย่างละเอียดถี่ถ้วน
2. การเฝ้าระวังทางคลินิค โดยจะเน้นให้เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ในทุกพื้นที่ ออกตรวจเยี่ยมสัตว์ปีก ในพื้นที่ที่รับผิดชอบเป็นพิเศษ
ข้อคิดเห็น
ฮ่องกงเป็นตลาดไก่สดแช่แข็งของไทยที่สำคัญ โดยมีการนำเข้าไก่สดจากประเทศไทย ในปี 2539 ฮ่องกงซื้อไก่สดจากประเทศไทย 1,184 ตัน มูลค่า 30.56 ล้านบาท และในช่วง 10 เดือนของปี 2540 ได้นำเข้า 1,053 ตัน มูลค่า 35.44 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีการนำเข้า 1,037 ตัน มูลค่า 24.83 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.54 และ 42.73 ตามลำดับ ถ้าหากฮ่องกงระงับการนำเข้าเนื้อไก่จากไทยเป็นเวลานาน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไก่สดแช่แข็งของไทย ทำให้สูญเสียรายได้คิดเป็นมูลค่าหลายล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
1. กรมปศุสัตว์ จะต้องเร่งเจรจาโดยด่วนกับประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะฮ่องกงเพื่อสร้างความเข้าใจว่าไก่ไทยไม่มีเชื้อไวรัสดังกล่าว
2. กรมปศุสัตว์จะต้องเฝ้าระวังโรคนี้อย่างใกล้ชิด เพราะหากแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยแล้วจะทำลายทั้งอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ การเลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
มันฝรั่ง : สถานการณ์การเปิดตลาดหัวพันธุ์มันฝรั่ง ในปี 2540 ที่ผ่านมา
1. ความเป็นมา
การเปิดตลาดสินค้ามันฝรั่งตามข้อผูกพันองค์การการค้าโลกช่วงปี 2538-2540 ที่ผ่านมาเกิดความล่าช้าในบางขณะ ผู้นำเข้าต้องประสบปัญหาการนำเข้าไม่ทันระยะเวลาการเพาะปลูกและนำเข้าไม่ได้ตามจำนวนที่ร้องขอ หัวพันธุ์บางส่วนที่นำเข้ามีการเสียหายระหว่างการขนส่ง อุตสาหกรรมต่อเนื่องจึงได้รับผลกระทบตามไปด้วย ทำให้เกิดการร้องเรียนจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาการนำเข้าหัวพันธุ์-มันฝรั่งในปีต่อไป
2. ข้อเท็จจริง
2.1 การนำเข้า ปี 2540
ตามข้อตกลง เปิดตลาด รายงาน
สินค้า ในโควตา นอกโควตา ในโควตา นอกโควตา การนำเข้า
ปริมาณ ภาษี ภาษี ปริมาณ ภาษี ภาษี (มค.-15
(ตัน) (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ตัน) (ร้อยละ) (ร้อยละ) ธค. 2540)
1. มันฝรั่ง 291.11 27 134.8 4,691.11 0 134. 4,315.471
(ทำพันธุ์)
2.2 เนื้อที่เพาะปลูกมันฝรั่งในปี 2540/41 คาดว่าจะมีจำนวน 33,795 ไร่ ผลผลิต 93,525 ตัน และผลผลิตต่อไร่ 2,767 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2539/40 ซึ่งมีเนื้อที่-เพาะปลูก 32,703 ไร่ ผลผลิต 89,546 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 2,738 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.34, 4.44 และ 1.06 ตามลำดับ
2.3 กำลังการผลิตของโรงงาน โรงงานแปรรูปมันฝรั่งในประเทศไทย มีทั้งหมด 6 โรงงาน กำลังการผลิตจำนวนเต็มรวม 124,100 ตัน/ปี ของผลผลิตมันฝรั่งสดทั้งหมด
2.4 การเปรียบเทียบราคานำเข้ามันฝรั่งและราคาเกษตรกรขายได้ ราคานำเข้า
(c.i.f.) หัวพันธุ์มันฝรั่งรวมค่าใช้จ่ายกิโลกรัมละ 33.50 บาท ราคานำเข้ามันฝรั่งแปรรูปกิโลกรัมละ 16.12 บาท ในขณะที่เกษตรกรขายได้ราคากิโลกรัมละ 6-7 บาท จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 22-28 ธันวาคม 2540--