กรุงเทพ--3 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2548 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมประสานงานโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการไทย-สิงคโปร์ ครั้งที่ 7 (7th Thailand-Singapore Civil Service Exchange Programme Coordinating Meeting: CSEP) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-2 สิงหาคม 2548 ณ โรงแรม Pan Pacific สิงคโปร์ โดยมีนาย Chan Heng Wing เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทยเข้าร่วมการให้สัมภาษณ์ด้วย สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
- ภาพรวม การประชุม CSEP มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการพลเรือนต่างๆ ของไทยและสิงคโปร์ได้มีโอกาสพบปะหารือและสร้างความ คุ้นเคยซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการติดต่อการประสานงานและความร่วมมือ โดยการประชุมฯ จะครอบคลุมประเด็นต่างๆ ในความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งในการประชุม CSEP ครั้งนี้ได้แบ่งการหารือออกเป็นกลุ่มย่อย 11 กลุ่มคือ การศึกษา สวัสดิการสังคมและเยาวชน การแลกเปลี่ยนข้าราชการพลเรือน สื่อมวลชน ศิลปและวัฒนธรรม การคมนาคมขนส่ง ทรัพยากรมนุษย์และแรงงาน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ
การประชุม CSEP นอกจากจะเป็นการประชุมเพื่อประสานความร่วมมือทวิภาคีระหว่างหน่วยงานราชการไทยและสิงคโปร์แล้ว การประชุม CSEP ยังช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองในระดับภูมิภาคในกรอบความร่วมมืออาเซียนโดยจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นการลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเดิมและสมาชิกใหม่ของอาเซียน ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ ACMECS ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 4 สิงหาคม 2548 ณ เมืองเสียมราฐ กัมพูชา ซึ่งได้มีการเชิญสิงคโปร์เข้าร่วมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ได้มีการหารือในการประชุม CSEP ครั้งที่ 7 ประกอบด้วย
1. การศึกษา
ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเร่งให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการศึกษาระหว่างกันให้เร็วที่สุด และจะให้มีการฝึกอบรมและส่งเสริมหลักสูตรการสอนภาษาไทย (โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย) ตลอดจนภาษาจีนและอังกฤษ (โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสิงคโปร์) รวมถึงการจับคู่แลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างโรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษาของทั้งสองประเทศ และการแลกเปลี่ยนการดูงานของอาจารย์ระหว่างกัน
2. แรงงาน
โดยที่ปัจจุบันมีแรงงานไทยมาทำงานในสิงคโปร์กว่า 5 หมื่นคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานด้านการก่อสร้าง ทั้งสองฝ่ายจึงตกลงที่จะร่วมมือกันในการส่งเสริมการยกระดับแรงงานไทยให้เป็นแรงงานกึ่งฝีมือและเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานของสิงคโปร์ เพื่อให้แรงงานไทยสามารถได้รับค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ ตามกฎหมายแรงงานของสิงคโปร์ ทั้งนี้ สาขาแรงงานกึ่งฝีมือที่ไทยให้ความสำคัญได้แก่ พ่อครัว/แม่ครัวสำหรับร้านอาหารไทย และพนักงานสปา เนื่องจากทั้งสองสาขาเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมในสิงคโปร์อย่างมาก
3. สาธารณสุข
ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้และการทำงานให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น โดยตกลงว่าควรมีระบบที่สามารถติดตามและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคซาร์ ไข้หวัดนก และโรคเอดส์
4. วัฒนธรรม
ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะจัดงานสัปดาห์ภาพยนตร์ไทยและสิงคโปร์ระหว่างกันประมาณปลายปี 2548 หรือต้นปี 2549 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศในโอกาสครบรอบ 40 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย - สิงคโปร์ โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทูตเชิงวัฒนธรรมซึ่งกระทรวงการต่างประเทศของไทยให้ความสำคัญ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยในเวทีโลก
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ
ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือกันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว ซึ่งไทยสามารถเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับทางสิงคโปร์ได้
6. การขนส่งทางบก
ทั้งสองประเทศเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันปรับปรุงการบริหารจัดการระบบการขนส่งมวลชนและการส่งเสริมการเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมในภูมิภาค
7. ความร่วมมือในการช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งสองประเทศตกลงที่จะร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดช่องว่างในเรื่องนี้ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
8. ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ
ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ อาทิ การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างข้าราชการแรกเข้าของทั้งสองฝ่าย และการสานต่อความร่วมมือเรื่อง Political Islam
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2548 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมประสานงานโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการไทย-สิงคโปร์ ครั้งที่ 7 (7th Thailand-Singapore Civil Service Exchange Programme Coordinating Meeting: CSEP) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-2 สิงหาคม 2548 ณ โรงแรม Pan Pacific สิงคโปร์ โดยมีนาย Chan Heng Wing เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทยเข้าร่วมการให้สัมภาษณ์ด้วย สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
- ภาพรวม การประชุม CSEP มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการพลเรือนต่างๆ ของไทยและสิงคโปร์ได้มีโอกาสพบปะหารือและสร้างความ คุ้นเคยซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการติดต่อการประสานงานและความร่วมมือ โดยการประชุมฯ จะครอบคลุมประเด็นต่างๆ ในความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งในการประชุม CSEP ครั้งนี้ได้แบ่งการหารือออกเป็นกลุ่มย่อย 11 กลุ่มคือ การศึกษา สวัสดิการสังคมและเยาวชน การแลกเปลี่ยนข้าราชการพลเรือน สื่อมวลชน ศิลปและวัฒนธรรม การคมนาคมขนส่ง ทรัพยากรมนุษย์และแรงงาน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ
การประชุม CSEP นอกจากจะเป็นการประชุมเพื่อประสานความร่วมมือทวิภาคีระหว่างหน่วยงานราชการไทยและสิงคโปร์แล้ว การประชุม CSEP ยังช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองในระดับภูมิภาคในกรอบความร่วมมืออาเซียนโดยจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นการลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเดิมและสมาชิกใหม่ของอาเซียน ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ ACMECS ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 4 สิงหาคม 2548 ณ เมืองเสียมราฐ กัมพูชา ซึ่งได้มีการเชิญสิงคโปร์เข้าร่วมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ได้มีการหารือในการประชุม CSEP ครั้งที่ 7 ประกอบด้วย
1. การศึกษา
ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเร่งให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการศึกษาระหว่างกันให้เร็วที่สุด และจะให้มีการฝึกอบรมและส่งเสริมหลักสูตรการสอนภาษาไทย (โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย) ตลอดจนภาษาจีนและอังกฤษ (โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสิงคโปร์) รวมถึงการจับคู่แลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างโรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษาของทั้งสองประเทศ และการแลกเปลี่ยนการดูงานของอาจารย์ระหว่างกัน
2. แรงงาน
โดยที่ปัจจุบันมีแรงงานไทยมาทำงานในสิงคโปร์กว่า 5 หมื่นคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานด้านการก่อสร้าง ทั้งสองฝ่ายจึงตกลงที่จะร่วมมือกันในการส่งเสริมการยกระดับแรงงานไทยให้เป็นแรงงานกึ่งฝีมือและเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานของสิงคโปร์ เพื่อให้แรงงานไทยสามารถได้รับค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ ตามกฎหมายแรงงานของสิงคโปร์ ทั้งนี้ สาขาแรงงานกึ่งฝีมือที่ไทยให้ความสำคัญได้แก่ พ่อครัว/แม่ครัวสำหรับร้านอาหารไทย และพนักงานสปา เนื่องจากทั้งสองสาขาเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมในสิงคโปร์อย่างมาก
3. สาธารณสุข
ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้และการทำงานให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น โดยตกลงว่าควรมีระบบที่สามารถติดตามและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคซาร์ ไข้หวัดนก และโรคเอดส์
4. วัฒนธรรม
ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะจัดงานสัปดาห์ภาพยนตร์ไทยและสิงคโปร์ระหว่างกันประมาณปลายปี 2548 หรือต้นปี 2549 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศในโอกาสครบรอบ 40 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย - สิงคโปร์ โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทูตเชิงวัฒนธรรมซึ่งกระทรวงการต่างประเทศของไทยให้ความสำคัญ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยในเวทีโลก
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ
ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือกันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว ซึ่งไทยสามารถเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับทางสิงคโปร์ได้
6. การขนส่งทางบก
ทั้งสองประเทศเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันปรับปรุงการบริหารจัดการระบบการขนส่งมวลชนและการส่งเสริมการเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมในภูมิภาค
7. ความร่วมมือในการช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งสองประเทศตกลงที่จะร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดช่องว่างในเรื่องนี้ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
8. ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ
ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ อาทิ การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างข้าราชการแรกเข้าของทั้งสองฝ่าย และการสานต่อความร่วมมือเรื่อง Political Islam
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-