กลุ่ม Mercosur (South Cone Common Market) หมายถึง กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้ มีประเทศสมาชิกรวม 4 ประเทศ คือ บราซิล อาร์เจนติน่า อุรุกวัย และปารากวัย และขณะนี้ มีสมาชิกสมทบ คือ ชิลี เปรู และโคลัมเบีย เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 1991 ภายใต้สนธิสัญญา Assumption Treaty โดยวัตถุประสงค์เพื่อการให้การค้า การบริการ และปัจจัยทางด้านการผลิตอื่นๆ เป็นไปโดยเสรี โดยปัจจุบันมีปริมาณการค้ารวม 18,668 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปี 1997) โดยบราซิลส่งออกมูลค่า 9,043 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้า 9,625 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของบราซิล คือ อาร์เจนติน่า
ประเทศในกลุ่ม Mercosur มีประชากรร่วม 214 ล้านคน ประชากรมีรายได้ถัวเฉลี่ย 5,550 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคนต่อปี โดยแบ่งออกได้ดังนี้
-บราซิล ประชากร 170 ล้านคน รายได้ 4,998 เหรียญสหรัฐฯ /คน / ปี
-อาร์เจนติน่า ประชากร 36 ล้านคน รายได้ 8,900 เหรียญสหรัฐฯ /คน /ปี
-อุรุกวัย ประชากร 3 ล้านคน รายได้ 5,900 เหรียญสหรัฐฯ /คน /ปี
-ปารากวัย ประชากร 5 ล้านคน รายได้ 2,400 เหรียญสหรัฐฯ /คน /ปี
ศักยภาพสินค้าไทย
สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดบราซิล ได้แก่ เครื่องวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียงและส่วนประกอบเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องกีฬาและของเด็กเล่น รองเท่าและชิ้นส่วน สิ่งทอ อาหารสำเร็จรูป ข้าว อัญมณีและเครื่องประดับ รถจักรยาน และรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่งบ้าน ของชำร่วยและของขวัญ และเครื่องใช้ในครัวเรือน
สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดอาร์เจนติน่า ได้แก่ สิงทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องหนังและกระเป๋าเดินทาง นาฬิกาและชิ้นส่วน โทรทัศน์วิทยุและชิ้นส่วน เครื่องเสียงและอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคิดเลข เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานและรถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก
สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดอุรุกวัยและปารากวัย จะเป็นเช่นเดียวกับตลาดบราซิลและอาร์เจนติน่า แต่อุรุกวัย/ปารากวัย เป็นประเทศที่มีความเข้มงวดทางด้านภาษีสุลกากรน้อยกว่าบราซิล และมีเขตปลอดภาษีติดกับชายแดนบราซิลและอาร์เจนติน่า ดังนั้น สินค้าส่งเข้าจากประเทศอื่น จึงมีการลักลอบสินค้าผ่านทางอุรุกวัยและปารากวัย เพื่อนำเข้าสู่บราซิลและอาร์เจนติน่า หรือส่งผ่านเข้ามาในประเทศดังกล่าว เพื่อนำไปแปรรูปและส่งออกต่อไปยังประเทศอื่นๆ
ลู่ทางการตลาด
การเข้าสู่ตลาดในทวีปอเมริกาใต้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ส่งออกไทยจะต้องรู้จักตลาดเป็นอย่างดี รวาทั้งตัวสินค้าและเงื่อนไขทางการค้าที่แตกต่างออกไปจากประเทศอื่น ดังเช่นในสหรัฐฯ และในยุโรป วิ่งแม้กระทั่งในบราซิลเอง ในแต่ละรัฐก็ยังมีเงื่อนไขทางการค้าและระบบภาษีที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงลักษณะของการบริโภค การบรรจุหีบห่อ ระบบการซื้อขาย และรูปแบบของสินค้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยจึงต้องหาข้อมูลทางการค้าหรือข้อมูลด้านการตลาดของประเทศดังกล่าวให้มากที่สุด นอกจากนี้แล้ว ผู้ส่งออกไทยก็ควรจะต้องเดินทางไปสำรวจตลาด หรือเสาะแสวงหาลูกค้ารายใหม่ๆ ในประเทศดังกล่าวด้วย อันจะเป็นการสร้างฐานและความสัมพันธ์ทางการค้าให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง รวมทั้งเพื่อความเชื่อมั่นในระหว่างกันด้วย ทั้งนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประเทศคู่แข่งขันทางการค้าของไทย อาทิเช่น ไต้หวัน มาเลเซีย จีน และฮ่องกง ได้เข้าสู่ตลาดทวีปอเมริกาใต้มาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปีแล้ว
นอกจากนี้ตลาดในทวีปอเมริกาใต้ยังมีศักยภาพในการขยายตลาดส่งออกภาคบริการของไทยไปได้อีกมาก เช่น ธุรกิจร้านอาหารไทย ธุรกิจบันเทิง ภาพยนต์และสารคดี การส่งเสริมการท่องเที่ยว และกิจกรรมส่งเสริมความงามและสุขภาพ เนื่องจากประชากรในตลาดยังมีความต้องการบริโภคอาหารแปลกๆ ใหม่ๆ ซึ่งเป็นอาหาร tropical food และสาเหตุที่สำคัญคือ ประชากรในเมืองใหญ่ๆ ยังมีกำลังซื้ออีกมาก
แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐควรจะให้การสนับสนุนตลาดในภูมิภาคอเมริกาใต้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งถือว่าเป็นตลาดใหม่ของไทยและเป็นตลาดที่มีศักยภาพอยู่ โดยอาจสร้างความร่วมมือในการขยายการค้าระหวางกลุ่ม ASEAN กับกลุ่ม MERCOSUR ให้มีมากขึ้น โดยอาจใช้ไทยเป็นฐานการค้าของสินค้าที่มาจากกลุ่ม MERCOSUR ไปสู่กลุ่มอาเชี่ยนหรือกลุ่มประเทศอินโดจีนอื่นๆ และในขณะเดียวกันก็ใช้บราซิลเป็นประตูการค้าของสินค้าไทยและจากอาเซี่ยนไปสู่กลุ่ม MERCOSUR ด้วย
ที่มา : สำนักส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/ 31 กรกฎาคม 2542--
ประเทศในกลุ่ม Mercosur มีประชากรร่วม 214 ล้านคน ประชากรมีรายได้ถัวเฉลี่ย 5,550 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคนต่อปี โดยแบ่งออกได้ดังนี้
-บราซิล ประชากร 170 ล้านคน รายได้ 4,998 เหรียญสหรัฐฯ /คน / ปี
-อาร์เจนติน่า ประชากร 36 ล้านคน รายได้ 8,900 เหรียญสหรัฐฯ /คน /ปี
-อุรุกวัย ประชากร 3 ล้านคน รายได้ 5,900 เหรียญสหรัฐฯ /คน /ปี
-ปารากวัย ประชากร 5 ล้านคน รายได้ 2,400 เหรียญสหรัฐฯ /คน /ปี
ศักยภาพสินค้าไทย
สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดบราซิล ได้แก่ เครื่องวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียงและส่วนประกอบเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องกีฬาและของเด็กเล่น รองเท่าและชิ้นส่วน สิ่งทอ อาหารสำเร็จรูป ข้าว อัญมณีและเครื่องประดับ รถจักรยาน และรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่งบ้าน ของชำร่วยและของขวัญ และเครื่องใช้ในครัวเรือน
สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดอาร์เจนติน่า ได้แก่ สิงทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องหนังและกระเป๋าเดินทาง นาฬิกาและชิ้นส่วน โทรทัศน์วิทยุและชิ้นส่วน เครื่องเสียงและอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคิดเลข เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานและรถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก
สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดอุรุกวัยและปารากวัย จะเป็นเช่นเดียวกับตลาดบราซิลและอาร์เจนติน่า แต่อุรุกวัย/ปารากวัย เป็นประเทศที่มีความเข้มงวดทางด้านภาษีสุลกากรน้อยกว่าบราซิล และมีเขตปลอดภาษีติดกับชายแดนบราซิลและอาร์เจนติน่า ดังนั้น สินค้าส่งเข้าจากประเทศอื่น จึงมีการลักลอบสินค้าผ่านทางอุรุกวัยและปารากวัย เพื่อนำเข้าสู่บราซิลและอาร์เจนติน่า หรือส่งผ่านเข้ามาในประเทศดังกล่าว เพื่อนำไปแปรรูปและส่งออกต่อไปยังประเทศอื่นๆ
ลู่ทางการตลาด
การเข้าสู่ตลาดในทวีปอเมริกาใต้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ส่งออกไทยจะต้องรู้จักตลาดเป็นอย่างดี รวาทั้งตัวสินค้าและเงื่อนไขทางการค้าที่แตกต่างออกไปจากประเทศอื่น ดังเช่นในสหรัฐฯ และในยุโรป วิ่งแม้กระทั่งในบราซิลเอง ในแต่ละรัฐก็ยังมีเงื่อนไขทางการค้าและระบบภาษีที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงลักษณะของการบริโภค การบรรจุหีบห่อ ระบบการซื้อขาย และรูปแบบของสินค้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยจึงต้องหาข้อมูลทางการค้าหรือข้อมูลด้านการตลาดของประเทศดังกล่าวให้มากที่สุด นอกจากนี้แล้ว ผู้ส่งออกไทยก็ควรจะต้องเดินทางไปสำรวจตลาด หรือเสาะแสวงหาลูกค้ารายใหม่ๆ ในประเทศดังกล่าวด้วย อันจะเป็นการสร้างฐานและความสัมพันธ์ทางการค้าให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง รวมทั้งเพื่อความเชื่อมั่นในระหว่างกันด้วย ทั้งนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประเทศคู่แข่งขันทางการค้าของไทย อาทิเช่น ไต้หวัน มาเลเซีย จีน และฮ่องกง ได้เข้าสู่ตลาดทวีปอเมริกาใต้มาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปีแล้ว
นอกจากนี้ตลาดในทวีปอเมริกาใต้ยังมีศักยภาพในการขยายตลาดส่งออกภาคบริการของไทยไปได้อีกมาก เช่น ธุรกิจร้านอาหารไทย ธุรกิจบันเทิง ภาพยนต์และสารคดี การส่งเสริมการท่องเที่ยว และกิจกรรมส่งเสริมความงามและสุขภาพ เนื่องจากประชากรในตลาดยังมีความต้องการบริโภคอาหารแปลกๆ ใหม่ๆ ซึ่งเป็นอาหาร tropical food และสาเหตุที่สำคัญคือ ประชากรในเมืองใหญ่ๆ ยังมีกำลังซื้ออีกมาก
แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐควรจะให้การสนับสนุนตลาดในภูมิภาคอเมริกาใต้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งถือว่าเป็นตลาดใหม่ของไทยและเป็นตลาดที่มีศักยภาพอยู่ โดยอาจสร้างความร่วมมือในการขยายการค้าระหวางกลุ่ม ASEAN กับกลุ่ม MERCOSUR ให้มีมากขึ้น โดยอาจใช้ไทยเป็นฐานการค้าของสินค้าที่มาจากกลุ่ม MERCOSUR ไปสู่กลุ่มอาเชี่ยนหรือกลุ่มประเทศอินโดจีนอื่นๆ และในขณะเดียวกันก็ใช้บราซิลเป็นประตูการค้าของสินค้าไทยและจากอาเซี่ยนไปสู่กลุ่ม MERCOSUR ด้วย
ที่มา : สำนักส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/ 31 กรกฎาคม 2542--