กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2541 โดยสรุป ดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนเมษายน 2541 เท่ากับ 127.4 สำหรับเดือนมีนาคม 2541 เท่ากับ 126.5
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนเมษายน 2541
2.1 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2541 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
2.2 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2540 สูงขึ้นร้อยละ 10.1
2.3 เมื่อเทียบดัชนีราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม - เมษายน 2541 กับช่วงเดียวกันของปี 2540 สูงขึ้นร้อยละ 9.3
3. เหตุผล
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2541 สูงขึ้นจากเดือนมีนาคม 2541 ร้อยละ 0.7 ทั้งนี้ เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.8 และสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.7
สินค้าที่สำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ เป็นผลจากการส่งออกข้าวที่ชะลอตัวลง ประกอบกับค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้น ทำให้ผู้ซื้อหันไปซื้อข้าวจากประเทศอื่น เช่น เวียดนาม นอกจากนี้เป็นช่วงที่ข้าวนาปรังออกสู่ตลาด
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน มะม่วง มะละกอสุกและแตงโม จากการที่ปริมาณผลผลิตผลไม้เข้าสู่ตลาดมากขึ้น
- น้ำมันเชื้อเพลิงได้แก่ น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นผลจากที่ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้น
สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
- อาหารที่ซื้อบริโภค ได้แก่ ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยวหมู ข้าวผัด โจ๊ก ข้าวมันไก่และกับข้าวสำเร็จรูป
- ผ้าและบริการตัดเย็บ
- แก๊สหุงต้ม
- ค่าตรวจรักษา ได้แก่ ค่าห้องพักคนไข้โรงพยาบาล ค่าตรวจโรคและค่าถอนฟัน
- ค่าโดยสาร ได้แก่ รถประจำทาง รถเมล์เล็ก รถแท็กซี่และรถไฟ
สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาสูงขึ้น
- ผัก ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาวลุ้ย ผักชี ถั่วฝักยาว มะนาว พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า ฟักเขียว ฟักทอง พริกแห้งและกระเทียมแห้ง เนื่องจากช่วงนี้อากาศร้อนจัดพืชผักเจริญเติบโตช้าและเสียหายง่าย
- ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมสด UHT จากการปรับราคาสูงขึ้นของผู้ผลิตตามต้นทุนที่สูงขึ้น นอกจากนี้ นมข้นหวานและครีมเทียมได้มีการปรับราคาสูงขึ้นด้วย
- ค่ากระแสไฟฟ้า จากการที่การไฟฟ้านครหลวงปรับอัตราสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต
- ค่าน้ำประปา จากการที่การประปานครหลวงปรับอัตราค่าน้ำสูงขึ้น 25 สตางค์ต่อลูกบาศก์เมตร
- ค่าบริการใช้โทรศัพท์ จากการที่องค์การโทรศัพท์ให้ผู้บริโภครับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10
- ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง มีการปรับราคาสูงขึ้นตามภาวะค่าครองชีพ
- สุราและบุหรี่ ผู้ผลิตปรับราคาจำหน่ายตามต้นทุนที่สูงขึ้น
- ของใช้ส่วนบุคคล ได้แก่ ยาสีฟัน แชมพูสระผม สบู่ถูตัว ใบมีดโกน ผ้าอนามัยและน้ำมันใส่ผม ปรับราคาจำหน่ายตามต้นทุนที่สูงขึ้น
--กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์--
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนเมษายน 2541 เท่ากับ 127.4 สำหรับเดือนมีนาคม 2541 เท่ากับ 126.5
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนเมษายน 2541
2.1 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2541 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
2.2 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2540 สูงขึ้นร้อยละ 10.1
2.3 เมื่อเทียบดัชนีราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม - เมษายน 2541 กับช่วงเดียวกันของปี 2540 สูงขึ้นร้อยละ 9.3
3. เหตุผล
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2541 สูงขึ้นจากเดือนมีนาคม 2541 ร้อยละ 0.7 ทั้งนี้ เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.8 และสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.7
สินค้าที่สำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ เป็นผลจากการส่งออกข้าวที่ชะลอตัวลง ประกอบกับค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้น ทำให้ผู้ซื้อหันไปซื้อข้าวจากประเทศอื่น เช่น เวียดนาม นอกจากนี้เป็นช่วงที่ข้าวนาปรังออกสู่ตลาด
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน มะม่วง มะละกอสุกและแตงโม จากการที่ปริมาณผลผลิตผลไม้เข้าสู่ตลาดมากขึ้น
- น้ำมันเชื้อเพลิงได้แก่ น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นผลจากที่ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้น
สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
- อาหารที่ซื้อบริโภค ได้แก่ ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยวหมู ข้าวผัด โจ๊ก ข้าวมันไก่และกับข้าวสำเร็จรูป
- ผ้าและบริการตัดเย็บ
- แก๊สหุงต้ม
- ค่าตรวจรักษา ได้แก่ ค่าห้องพักคนไข้โรงพยาบาล ค่าตรวจโรคและค่าถอนฟัน
- ค่าโดยสาร ได้แก่ รถประจำทาง รถเมล์เล็ก รถแท็กซี่และรถไฟ
สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาสูงขึ้น
- ผัก ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาวลุ้ย ผักชี ถั่วฝักยาว มะนาว พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า ฟักเขียว ฟักทอง พริกแห้งและกระเทียมแห้ง เนื่องจากช่วงนี้อากาศร้อนจัดพืชผักเจริญเติบโตช้าและเสียหายง่าย
- ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมสด UHT จากการปรับราคาสูงขึ้นของผู้ผลิตตามต้นทุนที่สูงขึ้น นอกจากนี้ นมข้นหวานและครีมเทียมได้มีการปรับราคาสูงขึ้นด้วย
- ค่ากระแสไฟฟ้า จากการที่การไฟฟ้านครหลวงปรับอัตราสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต
- ค่าน้ำประปา จากการที่การประปานครหลวงปรับอัตราค่าน้ำสูงขึ้น 25 สตางค์ต่อลูกบาศก์เมตร
- ค่าบริการใช้โทรศัพท์ จากการที่องค์การโทรศัพท์ให้ผู้บริโภครับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10
- ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง มีการปรับราคาสูงขึ้นตามภาวะค่าครองชีพ
- สุราและบุหรี่ ผู้ผลิตปรับราคาจำหน่ายตามต้นทุนที่สูงขึ้น
- ของใช้ส่วนบุคคล ได้แก่ ยาสีฟัน แชมพูสระผม สบู่ถูตัว ใบมีดโกน ผ้าอนามัยและน้ำมันใส่ผม ปรับราคาจำหน่ายตามต้นทุนที่สูงขึ้น
--กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์--