กรุงเทพ--21 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2548 ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ใน แอฟริกา ครั้งที่ 2 ซึ่งไทยและสำนักงานโครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เป็นเจ้าภาพร่วมกันจัดขึ้นที่กรุงกาโบโรน ประเทศบอตสวานา โดยมีผู้แทนระดับสูงจาก UNDP และอีก 9 ประเทศ คือ บอตสวานา เลโซโท มาดากัสการ์ แอฟริกาใต้ โมซัมบิก สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว และไทย เข้าร่วมการประชุม
ดร.วีระชัยฯ ได้ย้ำถึงความสำคัญที่ประเทศไทยให้แก่ภูมิภาคแอฟริกา โดยกล่าวว่าไทยมุ่งมั่นที่จะขยายความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ในแอฟริกาภายใต้นโยบายความผูกพันเชิงก้าวหน้า และเชื่อว่าปี 2005 ซึ่งรัฐบาลไทยได้กำหนดให้เป็นปีแห่งแอฟริกา จะช่วยปูทางไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ ดร.วีระชัยฯ กล่าวด้วยว่าความร่วมมือกับภูมิภาคแอฟริกาตั้งอยู่บนพันธกรณีที่แน่วแน่ตามเป้าหมายที่ 8 ของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ นั่นคือ ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระดับโลก และด้วยเหตุผลนี้เองประเทศไทยและ UNDP จึงได้ร่วมกันจัดการประชุมปรึกษาหารือเรื่องความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยและแอฟริกาเพื่อการพัฒนาขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2547 เพื่อกำหนดขอบเขตและจัดลำดับความสำคัญของความร่วมมือด้านการพัฒนากับแอฟริกา และเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 ไทยและ UNDP ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ซึ่งการจัดการประชุมต่างๆ ดังกล่าวเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไทยในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในกรอบใต้-ใต้ (South-South Cooperation) และประเทศไทยในฐานะประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และ NGOs ต่างๆ เพื่อรวมพลังกันต่อต้านและป้องกันแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งมิใช่เป็นเพียงปัญหาด้านสุขภาพเท่านั้น แต่โรคนี้เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของมนุษย์อย่างรุนแรง ดังนั้น สมาชิกเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์จึงได้พัฒนาแผนดำเนินการระยะกลางขึ้น เพื่อเร่งสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคเอดส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเพื่อช่วยสร้างสังคมที่ประชาชนจะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีโดยปราศจากความกลัวและความอดอยากหิวโหย ประเทศไทยได้มีประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคเอสด์ และประสงค์จะใช้โอกาสนี้ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบรรดาประเทศในแอฟริกาซึ่งกำลังประสบปัญหาเดียวกัน
ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ดร.วีระชัยฯ ได้พบหารือกับ พล.ท. มอมปาติ เซโบโกดิ เมราเฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบอตสวานาที่โรงแรม Gaborone Sun โดยได้หารือกันในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบอตสวานาได้ตอบรับคำเชิญของฝ่ายไทยในการเยือนประเทศไทยในปี 2006 ด้วย ภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบอตสวานาได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ ดร.วีระชัยฯ และคณะ
หลังจากนั้น ดร.วีระชัยฯ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังเข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับนายเฟสตัส โมเค ประธานาธิบดีแห่งบอตสวานา ที่ทำเนียบประธานาธิบดี สรุปสาระได้ดังนี้
- ความร่วมมือด้านสาธารณสุข ทั้งสองฝ่ายได้ทบทวนความคืบหน้าของความร่วมมือด้านนี้ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยและประธานาธิบดีบอตสวานาเมื่อเดือนกันยายน 2546 ซึ่งบอตสวานาได้แสดงความสนใจที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการป้องกันและบำบัดโรคเอดส์จากไทย และที่ผ่านมา ความร่วมมือได้ดำเนินมาอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการจัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการป้องกันและบำบัดโรคเอดส์ในแอฟริกา ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงจะกระชับและส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุขให้มากยิ่งขึ้น
- การขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ โดยที่บอตสวานามีอัญมณี โดยเฉพาะเพชรจำนวนมาก ในขณะที่ไทยมีความสามารถทางการเจียรนัยเพชร ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตกลงกันที่จะศึกษาลู่ทางที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนในอุตสาหกรรมเจียรนัยเพชรในบอตสวานาให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน โดยที่ชาวบอตสวานานิยมซื้อเสื้อผ้าจากประเทศไทยกลับไปขายในบอตสวานา ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งสองประเทศจะเพิ่มพูนการค้าด้านนี้ให้มากยิ่งขึ้น โดยฝ่ายไทยเห็นว่าควรหาทางปรับเปลี่ยนการค้าด้านนี้ให้เข้าระบบและเป็นทางการกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
- การปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ นอกจากจะมีการแลกเปลี่ยนทัศนะโดยทั่วไปในเรื่องนี้แล้ว ประธานาธิบดีบอตสวานาได้แจ้งให้ทราบว่าบอตสวานาสนับสนุนการสมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี และบอตสวานารับจะช่วยเจรจากับบรรดามิตรประเทศในแอฟริกาของบอตสวานาเพื่อให้สนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในเรื่องนี้ด้วย ประธานาธิบดีบอตสวานากล่าวด้วยว่ายังไม่มีประเทศใดในแอฟริกาคัดค้านการสมัครชิงตำแหน่งดังกล่าวของ ดร.สุรเกียรติ์ฯ
- ความร่วมมือ ACD-AU ฝ่ายไทยโดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้มีการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาระหว่าง ACD และ AU (African Union — สหภาพแอฟริกา) ซึ่งต่างก็เป็นองค์กรความร่วมมือหลักของภูมิภาคเอเชียและแอฟริกาให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นบนพื้นฐานของการช่วยเหลือกัน และกัน รวมทั้งการพึ่งพาตนเอง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา การขยายการค้าระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งฝ่ายบอตสวานาได้รับจะพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวของไทยและมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศบอตสวานาทำการศึกษาในรายละอียดต่อไป
ต่อมาในช่วงเย็น ดร.วีระชัยฯ ได้เป็นเจ้างานเลี้ยงรับรองแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ที่โรงแรม Gaborone Sun โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบอตสวานา และผู้นำระดับสูงอื่นๆ ของบอตสวานาเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2548 ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ใน แอฟริกา ครั้งที่ 2 ซึ่งไทยและสำนักงานโครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เป็นเจ้าภาพร่วมกันจัดขึ้นที่กรุงกาโบโรน ประเทศบอตสวานา โดยมีผู้แทนระดับสูงจาก UNDP และอีก 9 ประเทศ คือ บอตสวานา เลโซโท มาดากัสการ์ แอฟริกาใต้ โมซัมบิก สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว และไทย เข้าร่วมการประชุม
ดร.วีระชัยฯ ได้ย้ำถึงความสำคัญที่ประเทศไทยให้แก่ภูมิภาคแอฟริกา โดยกล่าวว่าไทยมุ่งมั่นที่จะขยายความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ในแอฟริกาภายใต้นโยบายความผูกพันเชิงก้าวหน้า และเชื่อว่าปี 2005 ซึ่งรัฐบาลไทยได้กำหนดให้เป็นปีแห่งแอฟริกา จะช่วยปูทางไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ ดร.วีระชัยฯ กล่าวด้วยว่าความร่วมมือกับภูมิภาคแอฟริกาตั้งอยู่บนพันธกรณีที่แน่วแน่ตามเป้าหมายที่ 8 ของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ นั่นคือ ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระดับโลก และด้วยเหตุผลนี้เองประเทศไทยและ UNDP จึงได้ร่วมกันจัดการประชุมปรึกษาหารือเรื่องความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยและแอฟริกาเพื่อการพัฒนาขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2547 เพื่อกำหนดขอบเขตและจัดลำดับความสำคัญของความร่วมมือด้านการพัฒนากับแอฟริกา และเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 ไทยและ UNDP ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ซึ่งการจัดการประชุมต่างๆ ดังกล่าวเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไทยในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในกรอบใต้-ใต้ (South-South Cooperation) และประเทศไทยในฐานะประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และ NGOs ต่างๆ เพื่อรวมพลังกันต่อต้านและป้องกันแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งมิใช่เป็นเพียงปัญหาด้านสุขภาพเท่านั้น แต่โรคนี้เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของมนุษย์อย่างรุนแรง ดังนั้น สมาชิกเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์จึงได้พัฒนาแผนดำเนินการระยะกลางขึ้น เพื่อเร่งสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคเอดส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเพื่อช่วยสร้างสังคมที่ประชาชนจะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีโดยปราศจากความกลัวและความอดอยากหิวโหย ประเทศไทยได้มีประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคเอสด์ และประสงค์จะใช้โอกาสนี้ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบรรดาประเทศในแอฟริกาซึ่งกำลังประสบปัญหาเดียวกัน
ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ดร.วีระชัยฯ ได้พบหารือกับ พล.ท. มอมปาติ เซโบโกดิ เมราเฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบอตสวานาที่โรงแรม Gaborone Sun โดยได้หารือกันในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบอตสวานาได้ตอบรับคำเชิญของฝ่ายไทยในการเยือนประเทศไทยในปี 2006 ด้วย ภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบอตสวานาได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ ดร.วีระชัยฯ และคณะ
หลังจากนั้น ดร.วีระชัยฯ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังเข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับนายเฟสตัส โมเค ประธานาธิบดีแห่งบอตสวานา ที่ทำเนียบประธานาธิบดี สรุปสาระได้ดังนี้
- ความร่วมมือด้านสาธารณสุข ทั้งสองฝ่ายได้ทบทวนความคืบหน้าของความร่วมมือด้านนี้ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยและประธานาธิบดีบอตสวานาเมื่อเดือนกันยายน 2546 ซึ่งบอตสวานาได้แสดงความสนใจที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการป้องกันและบำบัดโรคเอดส์จากไทย และที่ผ่านมา ความร่วมมือได้ดำเนินมาอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการจัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการป้องกันและบำบัดโรคเอดส์ในแอฟริกา ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงจะกระชับและส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุขให้มากยิ่งขึ้น
- การขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ โดยที่บอตสวานามีอัญมณี โดยเฉพาะเพชรจำนวนมาก ในขณะที่ไทยมีความสามารถทางการเจียรนัยเพชร ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตกลงกันที่จะศึกษาลู่ทางที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนในอุตสาหกรรมเจียรนัยเพชรในบอตสวานาให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน โดยที่ชาวบอตสวานานิยมซื้อเสื้อผ้าจากประเทศไทยกลับไปขายในบอตสวานา ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งสองประเทศจะเพิ่มพูนการค้าด้านนี้ให้มากยิ่งขึ้น โดยฝ่ายไทยเห็นว่าควรหาทางปรับเปลี่ยนการค้าด้านนี้ให้เข้าระบบและเป็นทางการกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
- การปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ นอกจากจะมีการแลกเปลี่ยนทัศนะโดยทั่วไปในเรื่องนี้แล้ว ประธานาธิบดีบอตสวานาได้แจ้งให้ทราบว่าบอตสวานาสนับสนุนการสมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี และบอตสวานารับจะช่วยเจรจากับบรรดามิตรประเทศในแอฟริกาของบอตสวานาเพื่อให้สนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในเรื่องนี้ด้วย ประธานาธิบดีบอตสวานากล่าวด้วยว่ายังไม่มีประเทศใดในแอฟริกาคัดค้านการสมัครชิงตำแหน่งดังกล่าวของ ดร.สุรเกียรติ์ฯ
- ความร่วมมือ ACD-AU ฝ่ายไทยโดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้มีการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาระหว่าง ACD และ AU (African Union — สหภาพแอฟริกา) ซึ่งต่างก็เป็นองค์กรความร่วมมือหลักของภูมิภาคเอเชียและแอฟริกาให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นบนพื้นฐานของการช่วยเหลือกัน และกัน รวมทั้งการพึ่งพาตนเอง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา การขยายการค้าระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งฝ่ายบอตสวานาได้รับจะพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวของไทยและมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศบอตสวานาทำการศึกษาในรายละอียดต่อไป
ต่อมาในช่วงเย็น ดร.วีระชัยฯ ได้เป็นเจ้างานเลี้ยงรับรองแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ที่โรงแรม Gaborone Sun โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบอตสวานา และผู้นำระดับสูงอื่นๆ ของบอตสวานาเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-