กรุงเทพ--9 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลาห์ บิน อัล ฮุสเซน ที่ 2 แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนพร้อมด้วยเจ้าชาย Feisal Bin Al Hussein พระราชอนุชา และเจ้าชาย Ghazi Bin Mohammed Bin Talal พระราชภราดร จะเสด็จเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์ในระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม และเสด็จเยือนฯ อย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาลในวันที่ 15 ธันวาคม 2548 ซึ่งถือเป็นในการเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเป็นครั้งที่สอง ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ในการเสด็จฯ เยือนครั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงมีหมายกำหนดการเข้าเฝ้าฯ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 14 ธันวาคม 2548 ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล อำเภอ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และในวันที่ 15 ธันวาคม 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีฯ จะทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับมุสลิมสายกลาง (Amman Message) ต่อคณะทูต นักวิชาการ นักวิชาการอิสลามและประชาชนชาวไทยที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย ต่อจากนั้นจะทรงพบ หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีและเข้าร่วมการหารือเต็มคณะระหว่างไทยกับจอร์แดน ซึ่งนายก รัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพถวายเลี้ยงพระกระยาหารกลางวันสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ก่อนที่จะเสด็จนิวัติจอร์แดนในตอนค่ำวันเดียวกัน
สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 สืบแทนสมเด็จพระ ราชาธิบดีฮุสเซน พระราชบิดา ที่เสด็จสวรรคต โดยพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาและปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการเมืองในแนวทางเสรีประชาธิปไตย ทรงมีบทบาทสำคัญทางการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะต่อกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง การแก้ปัญหาและการฟื้นฟูบูรณะอิรักในช่วงหลังสงคราม นอกจากนี้ยังทรงสนใจในเทคโนโลยีสารสนเทศและการนำมาใช้งานในระบบการศึกษา ราชการและเศรษฐกิจ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมบนพื้นฐานองค์ความรู้
ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับประเทศไทย สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงชื่นชอบประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าชาย โดยพระองค์ได้เสด็จเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์หลายครั้ง และทรงเสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547
ปัจจุบันการค้าระหว่างไทย-จอร์แดนได้ขยายตัวมากขึ้นเป็นลำดับ โดยปริมาณการค้าในปี 2547 มีมูลค่ารวม 4,116.9 ล้านบาท และไทยได้เปรียบดุลการค้า 3,449.3 ล้านบาท สายการบินจอร์แดนมี เที่ยวบินไป-กลับระหว่างกรุงเทพฯ — กรุงอัมมานสัปดาห์ละ 5 เที่ยว มีคนไทยอาศัยอยู่ในจอร์แดนประมาณ 222 คน ปัจจุบันมีสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแบกแดด ตั้งสำนักงานชั่วคราวในกรุงอัมมาน ขณะที่ฝ่ายจอร์แดนมอบหมายให้เอกอัครราชทูตประจำอินเดียมีเขตอาณาดูแลประเทศไทย โดยมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์จอร์แดนประจำประเทศไทยที่กรุงเทพฯ ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ด้วยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลาห์ บิน อัล ฮุสเซน ที่ 2 แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนพร้อมด้วยเจ้าชาย Feisal Bin Al Hussein พระราชอนุชา และเจ้าชาย Ghazi Bin Mohammed Bin Talal พระราชภราดร จะเสด็จเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์ในระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม และเสด็จเยือนฯ อย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาลในวันที่ 15 ธันวาคม 2548 ซึ่งถือเป็นในการเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเป็นครั้งที่สอง ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ในการเสด็จฯ เยือนครั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงมีหมายกำหนดการเข้าเฝ้าฯ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 14 ธันวาคม 2548 ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล อำเภอ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และในวันที่ 15 ธันวาคม 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีฯ จะทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับมุสลิมสายกลาง (Amman Message) ต่อคณะทูต นักวิชาการ นักวิชาการอิสลามและประชาชนชาวไทยที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย ต่อจากนั้นจะทรงพบ หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีและเข้าร่วมการหารือเต็มคณะระหว่างไทยกับจอร์แดน ซึ่งนายก รัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพถวายเลี้ยงพระกระยาหารกลางวันสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ก่อนที่จะเสด็จนิวัติจอร์แดนในตอนค่ำวันเดียวกัน
สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 สืบแทนสมเด็จพระ ราชาธิบดีฮุสเซน พระราชบิดา ที่เสด็จสวรรคต โดยพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาและปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการเมืองในแนวทางเสรีประชาธิปไตย ทรงมีบทบาทสำคัญทางการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะต่อกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง การแก้ปัญหาและการฟื้นฟูบูรณะอิรักในช่วงหลังสงคราม นอกจากนี้ยังทรงสนใจในเทคโนโลยีสารสนเทศและการนำมาใช้งานในระบบการศึกษา ราชการและเศรษฐกิจ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมบนพื้นฐานองค์ความรู้
ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับประเทศไทย สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงชื่นชอบประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าชาย โดยพระองค์ได้เสด็จเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์หลายครั้ง และทรงเสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547
ปัจจุบันการค้าระหว่างไทย-จอร์แดนได้ขยายตัวมากขึ้นเป็นลำดับ โดยปริมาณการค้าในปี 2547 มีมูลค่ารวม 4,116.9 ล้านบาท และไทยได้เปรียบดุลการค้า 3,449.3 ล้านบาท สายการบินจอร์แดนมี เที่ยวบินไป-กลับระหว่างกรุงเทพฯ — กรุงอัมมานสัปดาห์ละ 5 เที่ยว มีคนไทยอาศัยอยู่ในจอร์แดนประมาณ 222 คน ปัจจุบันมีสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแบกแดด ตั้งสำนักงานชั่วคราวในกรุงอัมมาน ขณะที่ฝ่ายจอร์แดนมอบหมายให้เอกอัครราชทูตประจำอินเดียมีเขตอาณาดูแลประเทศไทย โดยมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์จอร์แดนประจำประเทศไทยที่กรุงเทพฯ ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-