กรุงเทพ--21 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
อนุสนธิข่าวสารนิเทศที่ 1385/2541, 1388/2541 และ 1395/2541 เกี่ยวกับการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศจากการที่ประชาคมยุโรปจะตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ของ สินค้าเกษตรของไทย 3 กลุ่ม คือ สินค้าประมง สินค้าผัก ผลไม้ และพืช และสินค้าอาหารสำเร็จรูป ถึง 100% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 โดยไทยได้เรียกร้องให้ประชาคมฯ ยืดเวลาการตัด GSP ของสินค้าเกษตรทั้ง 3 กลุ่มออกไประยะหนึ่ง และขอให้ใช้สถิติล่าสุดของเศรษฐกิจไทยเป็นฐานในการพิจารณา นั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ว่าประชาคมยุโรปยืนยันการตัด GSP ของสินค้าเกษตร 3 กลุ่มนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เนื่องจากได้ประกาศไปแล้ว แต่มีความเป็นไปได้ที่ประชาคมฯ จะทบทวนระบบ GSP นี้ในปี ค.ศ. 2000 (ไม่ได้ระบุช่วงเวลาแน่นอน) และจะใช้สถิติตัวเลขล่าสุดของสภาวะเศรษฐกิจไทยในปี ค.ศ. 1998 ในการพิจารณา
วันนี้ (21 ธันวาคม) นายอภินันท์ ปวนะฤทธิ์ อธิบดีกรมยุโรป ได้แถลงข่าวที่ศูนย์ข่าว กระทรวงการต่างประเทศ ถึงการดำเนินการเพิ่มเติมของกระทรวงฯ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการตัด GSP ของประชาคมยุโรปต่อสินค้าเกษตรของไทย ดังต่อไปนี้
1. เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2541 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) ได้เชิญหน่วยงานและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ร่วมเสวนาระดมความคิดในหัวข้อ “ผลกระทบของการตัด GSP ของประชาคมยุโรปต่อเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดย นายอภินันท์ ปวนะฤทธิ์ อธิบดีกรมยุโรป และนายทรงศักดิ์ สายเชื้อ เจ้าหน้าที่การทูต 6 ได้เข้าร่วมการเสวนาดังกล่าว สรุปว่า การตัด GSP จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยในสินค้า 3 รายการดังกล่าวลดลง ผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องของการประมงจะได้รับผลกระทบทางลบ และจะทำให้คนว่างงานสูงขึ้น ที่ประชุมเสวนาสนับสนุนแนวทางการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศในการเจรจาโน้มน้าวกับประชาคมยุโรป และขอให้กระทรวงการต่างประเทศประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาผลกระทบของการตัด GSP และนำเสนอผลการประชุมดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจต่อไป
2. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญอธิบดีกรมยุโรปและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องไปร่วมประชุม สรุปแนวทางการเจรจาเพื่อลดผลกระทบของการตัด GSP ของประชาคมยุโรป ได้ดังนี้
2.1 กระทรวงฯ จะผลักดันให้ประชาคมฯ ทบทวนการตัด GSP ในปี ค.ศ. 1999 แม้ว่าจะได้รับแจ้งว่าประชาคมฯ จะพิจารณาทบทวน GSP ในปี ค.ศ. 2000
2.2 กระทรวงฯ จะผลักดันให้บริษัทของประชาคมฯ ที่ทำธุรกิจในไทย ช่วยโน้มน้าว รัฐบาลของตนให้พิจารณาชะลอ/ทบทวนการตัด GSP
2.3 กระทรวงฯ จะพิจารณาร่วมกับหน่วยราชการอื่นและภาคเอกชนเพื่อหาแนวทางลดผลกระทบของการตัด GSP
2.4 โดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติว่า หากไทยซื้อสินค้าจากต่างประเทศมากกว่า 500 ล้านบาท ให้ประเทศนั้นซื้อสินค้าจากไทยส่วนหนึ่งในระบบการค้าต่างตอบแทน (counterpurchase) และโดยที่ขณะนี้ไทยได้จัดซื้อสินค้าจากประชาคมฯ มากกว่าหมื่นล้านบาท กระทรวงฯ จะประสานกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเจรจาให้ประชาคมฯ ซื้อสินค้าทางการเกษตรจากไทยในระบบการค้าต่าง ตอบแทนส่วนหนึ่งด้วย
2.5 กระทรวงฯ ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ จะร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับบราซิลในการยื่นฟ้องประชาคมยุโรปต่อองค์การการค้าโลก เกี่ยวกับปัญหาในการตัด GSP
อนึ่ง ที่ประชุมฯ ได้จัดตั้งอนุกรรมาธิการศึกษาข้อเสียเปรียบทางการค้าระหว่างประเทศ ประกอบด้วยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาปัญหาการตัด GSP และปัญหาการค้าอื่น ๆ
3. ในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมยุโรป ได้เชิญ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมระดมสมองเพื่อหาแนวทางบรรเทาผลกระทบจากการตัด GSP และจะนำเสนอผลการประชุมต่อคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เพื่อพิจารณาสั่งการในระดับนโยบายต่อไป
ที่ประชุมฯ สรุปว่า ในขณะที่เจรจาโน้มน้าวประชาคมฯ ให้ทบทวนระบบ GSP ความสำคัญลำดับแรกของไทยคือการบรรเทาความเดือดร้อนของภาคการเกษตร สรุปแนวทางในการ ดำเนินงานได้ดังนี้
3.1 พยายามเจรจาเพื่อโน้มน้าวให้ประชาคมฯ ทบทวน GSP ในปี ค.ศ. 1999 โดยใช้สถิติทางเศรษฐกิจในปีล่าสุดในการพิจารณา
3.2 พิจารณาความเป็นไปได้ในการร่วมมือกับบราซิลในการยื่นฟ้องประชาคมฯ ต่อองค์การการค้าโลก
3.3 การลดต้นทุนในการผลิต มีหลายวิธีการ เช่น การลดค่าน้ำค่าไฟ ค่าขนส่ง การลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เป็นต้น
3.4 เสนอให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ปล่อยสินเชื่อแก่เกษตรกรมากขึ้น
3.5 กระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า จะเจรจาให้ประชาคมฯ ซื้อสินค้าทางการเกษตรส่วนหนึ่งจากไทยในระบบการค้าต่างตอบแทน
3.6 ภาครัฐจะสนับสนุนภาคเอกชนในการหาตลาดใหม่สำหรับ สินค้าเกษตร ตลาดที่มีศักยภาพ ได้แก่ จีน ยุโรปตะวันออก แปซิฟิคและโอเชเนีย เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอมาน ซึ่งนำเข้าอาหารกระป๋องจากไทยเพิ่มขึ้นถึง 300%
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
อนุสนธิข่าวสารนิเทศที่ 1385/2541, 1388/2541 และ 1395/2541 เกี่ยวกับการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศจากการที่ประชาคมยุโรปจะตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ของ สินค้าเกษตรของไทย 3 กลุ่ม คือ สินค้าประมง สินค้าผัก ผลไม้ และพืช และสินค้าอาหารสำเร็จรูป ถึง 100% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 โดยไทยได้เรียกร้องให้ประชาคมฯ ยืดเวลาการตัด GSP ของสินค้าเกษตรทั้ง 3 กลุ่มออกไประยะหนึ่ง และขอให้ใช้สถิติล่าสุดของเศรษฐกิจไทยเป็นฐานในการพิจารณา นั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ว่าประชาคมยุโรปยืนยันการตัด GSP ของสินค้าเกษตร 3 กลุ่มนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เนื่องจากได้ประกาศไปแล้ว แต่มีความเป็นไปได้ที่ประชาคมฯ จะทบทวนระบบ GSP นี้ในปี ค.ศ. 2000 (ไม่ได้ระบุช่วงเวลาแน่นอน) และจะใช้สถิติตัวเลขล่าสุดของสภาวะเศรษฐกิจไทยในปี ค.ศ. 1998 ในการพิจารณา
วันนี้ (21 ธันวาคม) นายอภินันท์ ปวนะฤทธิ์ อธิบดีกรมยุโรป ได้แถลงข่าวที่ศูนย์ข่าว กระทรวงการต่างประเทศ ถึงการดำเนินการเพิ่มเติมของกระทรวงฯ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการตัด GSP ของประชาคมยุโรปต่อสินค้าเกษตรของไทย ดังต่อไปนี้
1. เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2541 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) ได้เชิญหน่วยงานและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ร่วมเสวนาระดมความคิดในหัวข้อ “ผลกระทบของการตัด GSP ของประชาคมยุโรปต่อเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดย นายอภินันท์ ปวนะฤทธิ์ อธิบดีกรมยุโรป และนายทรงศักดิ์ สายเชื้อ เจ้าหน้าที่การทูต 6 ได้เข้าร่วมการเสวนาดังกล่าว สรุปว่า การตัด GSP จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยในสินค้า 3 รายการดังกล่าวลดลง ผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องของการประมงจะได้รับผลกระทบทางลบ และจะทำให้คนว่างงานสูงขึ้น ที่ประชุมเสวนาสนับสนุนแนวทางการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศในการเจรจาโน้มน้าวกับประชาคมยุโรป และขอให้กระทรวงการต่างประเทศประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาผลกระทบของการตัด GSP และนำเสนอผลการประชุมดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจต่อไป
2. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญอธิบดีกรมยุโรปและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องไปร่วมประชุม สรุปแนวทางการเจรจาเพื่อลดผลกระทบของการตัด GSP ของประชาคมยุโรป ได้ดังนี้
2.1 กระทรวงฯ จะผลักดันให้ประชาคมฯ ทบทวนการตัด GSP ในปี ค.ศ. 1999 แม้ว่าจะได้รับแจ้งว่าประชาคมฯ จะพิจารณาทบทวน GSP ในปี ค.ศ. 2000
2.2 กระทรวงฯ จะผลักดันให้บริษัทของประชาคมฯ ที่ทำธุรกิจในไทย ช่วยโน้มน้าว รัฐบาลของตนให้พิจารณาชะลอ/ทบทวนการตัด GSP
2.3 กระทรวงฯ จะพิจารณาร่วมกับหน่วยราชการอื่นและภาคเอกชนเพื่อหาแนวทางลดผลกระทบของการตัด GSP
2.4 โดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติว่า หากไทยซื้อสินค้าจากต่างประเทศมากกว่า 500 ล้านบาท ให้ประเทศนั้นซื้อสินค้าจากไทยส่วนหนึ่งในระบบการค้าต่างตอบแทน (counterpurchase) และโดยที่ขณะนี้ไทยได้จัดซื้อสินค้าจากประชาคมฯ มากกว่าหมื่นล้านบาท กระทรวงฯ จะประสานกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเจรจาให้ประชาคมฯ ซื้อสินค้าทางการเกษตรจากไทยในระบบการค้าต่าง ตอบแทนส่วนหนึ่งด้วย
2.5 กระทรวงฯ ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ จะร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับบราซิลในการยื่นฟ้องประชาคมยุโรปต่อองค์การการค้าโลก เกี่ยวกับปัญหาในการตัด GSP
อนึ่ง ที่ประชุมฯ ได้จัดตั้งอนุกรรมาธิการศึกษาข้อเสียเปรียบทางการค้าระหว่างประเทศ ประกอบด้วยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาปัญหาการตัด GSP และปัญหาการค้าอื่น ๆ
3. ในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมยุโรป ได้เชิญ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมระดมสมองเพื่อหาแนวทางบรรเทาผลกระทบจากการตัด GSP และจะนำเสนอผลการประชุมต่อคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เพื่อพิจารณาสั่งการในระดับนโยบายต่อไป
ที่ประชุมฯ สรุปว่า ในขณะที่เจรจาโน้มน้าวประชาคมฯ ให้ทบทวนระบบ GSP ความสำคัญลำดับแรกของไทยคือการบรรเทาความเดือดร้อนของภาคการเกษตร สรุปแนวทางในการ ดำเนินงานได้ดังนี้
3.1 พยายามเจรจาเพื่อโน้มน้าวให้ประชาคมฯ ทบทวน GSP ในปี ค.ศ. 1999 โดยใช้สถิติทางเศรษฐกิจในปีล่าสุดในการพิจารณา
3.2 พิจารณาความเป็นไปได้ในการร่วมมือกับบราซิลในการยื่นฟ้องประชาคมฯ ต่อองค์การการค้าโลก
3.3 การลดต้นทุนในการผลิต มีหลายวิธีการ เช่น การลดค่าน้ำค่าไฟ ค่าขนส่ง การลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เป็นต้น
3.4 เสนอให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ปล่อยสินเชื่อแก่เกษตรกรมากขึ้น
3.5 กระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า จะเจรจาให้ประชาคมฯ ซื้อสินค้าทางการเกษตรส่วนหนึ่งจากไทยในระบบการค้าต่างตอบแทน
3.6 ภาครัฐจะสนับสนุนภาคเอกชนในการหาตลาดใหม่สำหรับ สินค้าเกษตร ตลาดที่มีศักยภาพ ได้แก่ จีน ยุโรปตะวันออก แปซิฟิคและโอเชเนีย เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอมาน ซึ่งนำเข้าอาหารกระป๋องจากไทยเพิ่มขึ้นถึง 300%
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--