ดอกไม้ประดิษฐ์ : แนวโน้มซบเซา
ปี 2547 การส่งออกซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 69 ของมูลค่าตลาดรวม มีมูลค่าลดลงร้อยละ 11.8 หดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และมีปัญหาการกระจุกตัวสูงถึงร้อยละ 51
ที่ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งมีการแข่งขันสูงมาก ตลาดส่งออกหลักทั้ง สหรัฐฯ สหภาพยุโป และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 80 หันไปนำเข้าสินค้าจากจีน ขณะที่ตลาดภายใน
ประเทศมีขนาดเล็กและขยายตัวในอัตราต่ำเพียงร้อยละ 4.3
ปี 2548 ผู้ประกอบการยังคงประสบปัญหาด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบ (พลาสติก ผ้า สี กาว) ค่าแรงงาน และค่าขนส่ง โน้มสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับจีนที่มีต้นทุนค่าแรงงานต่ำกว่า และปัจจุบันจีนได้พัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าได้ตรงความต้องการของตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกของไทยยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.3 ขณะที่ตลาดภายในประเทศเติบโตไม่มาก เนื่องจากมีดอกไม้สดซึ่งเป็นสินค้าทดแทนสามารถผลิตได้ตลอดทั้งปีและมีราคาถูก ตลาดจึงค่อนข้างจำกัด
ปัจจัยสนับสนุน
๏ มีแรงงานเพียงพอไว้รองรับ ทั้งแรงงานในโรงงาน แรงงานภาคเกษตร และผู้รับงานไปทำที่บ้าน
๏ ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากนโยบาย OTOP ของรัฐบาล และโครงการในพระราชดำริ
ปัจจัยเสี่ยง
๏ การแข่งขันในตลาดต่างประเทศรุนแรง โดยเฉพาะสินค้าต้นทุนต่ำจากจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตดอกไม้ประดิษฐ์รายใหญ่ของโลก ทำให้ตลาดหลักหันไปนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น
๏ การแข็งค่าของเงินบาทเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก
๏ เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสูง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ปี 2547 การส่งออกซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 69 ของมูลค่าตลาดรวม มีมูลค่าลดลงร้อยละ 11.8 หดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และมีปัญหาการกระจุกตัวสูงถึงร้อยละ 51
ที่ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งมีการแข่งขันสูงมาก ตลาดส่งออกหลักทั้ง สหรัฐฯ สหภาพยุโป และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 80 หันไปนำเข้าสินค้าจากจีน ขณะที่ตลาดภายใน
ประเทศมีขนาดเล็กและขยายตัวในอัตราต่ำเพียงร้อยละ 4.3
ปี 2548 ผู้ประกอบการยังคงประสบปัญหาด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบ (พลาสติก ผ้า สี กาว) ค่าแรงงาน และค่าขนส่ง โน้มสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับจีนที่มีต้นทุนค่าแรงงานต่ำกว่า และปัจจุบันจีนได้พัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าได้ตรงความต้องการของตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกของไทยยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.3 ขณะที่ตลาดภายในประเทศเติบโตไม่มาก เนื่องจากมีดอกไม้สดซึ่งเป็นสินค้าทดแทนสามารถผลิตได้ตลอดทั้งปีและมีราคาถูก ตลาดจึงค่อนข้างจำกัด
ปัจจัยสนับสนุน
๏ มีแรงงานเพียงพอไว้รองรับ ทั้งแรงงานในโรงงาน แรงงานภาคเกษตร และผู้รับงานไปทำที่บ้าน
๏ ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากนโยบาย OTOP ของรัฐบาล และโครงการในพระราชดำริ
ปัจจัยเสี่ยง
๏ การแข่งขันในตลาดต่างประเทศรุนแรง โดยเฉพาะสินค้าต้นทุนต่ำจากจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตดอกไม้ประดิษฐ์รายใหญ่ของโลก ทำให้ตลาดหลักหันไปนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น
๏ การแข็งค่าของเงินบาทเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก
๏ เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสูง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-