กระทรวงการคลังขอเรียนว่า S&P’s ได้ประกาศแถลงข่าวผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทย ในวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2548 เวลา 12.00 น. ตามเวลาประเทศไทย โดย S&P’s ได้ยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Long Term Credit Rating) อยู่ที่ระดับ BBB+ โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) และยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Short Term Credit Rating) อยู่ที่ระดับ A-2 ซึ่ง S&P’s ได้ให้เหตุผลของการยืนยันระดับเครดิตดังกล่าวข้างต้นโดยสรุป ดังนี้
1. การยืนยันระดับเครดิตของประเทศไทยในครั้งนี้แสดงถึงสถานะด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่ง และเสถียรภาพทางด้านงบประมาณ โดยพิจารณาจากฐานะทางการคลังที่เกินดุลในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการนำเข้าที่สูงขึ้นทั้งจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและความต้องการสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งคาดว่าจะขาดดุลประมาณร้อยละ 1.7 ของ GDP ในปี 2548 หลังจากที่เกินดุลมาหลายปีติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดการณ์ว่าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจะอยู่ที่ 49,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 409 ของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น) โดย S&P’s เห็นว่า ประเทศไทยจะยังคงรักษาสภาพคล่องด้านต่างประเทศได้ แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะปานกลางคาดว่าจะขาดดุล เนื่องจากความต้องการภายในประเทศที่สูง การลงทุนที่เพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
2. การบริหารงานภายใต้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรสามารถรักษาเสถียรภาพทางด้านงบประมาณตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี โดยคาดว่าจะมีงบประมาณเกินดุลเล็กน้อยในปีงบประมาณ 2549 ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 4 ยอดหนี้สุทธิของรัฐบาลซึ่งเคยสูงสุดที่ร้อยละ 36 ของ GDP ในช่วงระหว่างปี 2542 — 2543 ปัจจุบันได้ปรับลดจำนวนลง โดยประมาณการว่า ณ สิ้นปี 2549 ยอดหนี้สุทธิของรัฐบาลจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 22 ของ GDP จากร้อยละ 25 ในปี 2548
3. อย่างไรก็ตาม S&P’s ได้ให้ความเห็นว่า การที่ระดับเครดิตของประเทศยังคงอยู่ที่ระดับเดิม โดยเฉพาะระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท เป็นผลมาจากความล่าช้าในการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ GDP per capita ของไทยยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับมาตรฐานของประเทศในกลุ่ม BBB (GDP per capita ของไทยในปี 2548 เท่ากับ 2,728 เหรียญสหรัฐฯ ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของค่ากลางของประเทศในกลุ่ม BBB ซึ่งมีค่าเท่ากับ 6,026 เหรียญสหรัฐฯ) แม้ว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจจะเอื้ออำนวย รวมทั้งการมีเสียงข้างมากที่เข้มแข็งในรัฐสภาของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการดำเนินนโยบายปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะการปฏิรูปในภาคสถาบันการเงิน โดยดูจากระดับสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPAs) ของระบบสถาบันการเงิน ซึ่งยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ประมาณร้อยละ 19 ของสินเชื่อทั้งระบบ) ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549 ซึ่งจะทำให้เป็นข้อจำกัดต่อการเจริญเติบโตในอนาคต และส่งผลกระทบต่อภาระผูกพันที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตของรัฐบาลได้
4. นโยบายกึ่งการคลังของรัฐบาลที่ดำเนินการผ่านสถาบันการเงินของรัฐทั้งในรูป Micro-financing และการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก อาจจะส่งผลกระทบต่อฐานะทางการคลังของรัฐบาลได้ หากเศรษฐกิจชะลอตัว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 119/2548 16 ธันวาคม 48--
1. การยืนยันระดับเครดิตของประเทศไทยในครั้งนี้แสดงถึงสถานะด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่ง และเสถียรภาพทางด้านงบประมาณ โดยพิจารณาจากฐานะทางการคลังที่เกินดุลในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการนำเข้าที่สูงขึ้นทั้งจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและความต้องการสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งคาดว่าจะขาดดุลประมาณร้อยละ 1.7 ของ GDP ในปี 2548 หลังจากที่เกินดุลมาหลายปีติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดการณ์ว่าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจะอยู่ที่ 49,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 409 ของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น) โดย S&P’s เห็นว่า ประเทศไทยจะยังคงรักษาสภาพคล่องด้านต่างประเทศได้ แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะปานกลางคาดว่าจะขาดดุล เนื่องจากความต้องการภายในประเทศที่สูง การลงทุนที่เพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
2. การบริหารงานภายใต้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรสามารถรักษาเสถียรภาพทางด้านงบประมาณตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี โดยคาดว่าจะมีงบประมาณเกินดุลเล็กน้อยในปีงบประมาณ 2549 ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 4 ยอดหนี้สุทธิของรัฐบาลซึ่งเคยสูงสุดที่ร้อยละ 36 ของ GDP ในช่วงระหว่างปี 2542 — 2543 ปัจจุบันได้ปรับลดจำนวนลง โดยประมาณการว่า ณ สิ้นปี 2549 ยอดหนี้สุทธิของรัฐบาลจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 22 ของ GDP จากร้อยละ 25 ในปี 2548
3. อย่างไรก็ตาม S&P’s ได้ให้ความเห็นว่า การที่ระดับเครดิตของประเทศยังคงอยู่ที่ระดับเดิม โดยเฉพาะระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท เป็นผลมาจากความล่าช้าในการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ GDP per capita ของไทยยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับมาตรฐานของประเทศในกลุ่ม BBB (GDP per capita ของไทยในปี 2548 เท่ากับ 2,728 เหรียญสหรัฐฯ ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของค่ากลางของประเทศในกลุ่ม BBB ซึ่งมีค่าเท่ากับ 6,026 เหรียญสหรัฐฯ) แม้ว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจจะเอื้ออำนวย รวมทั้งการมีเสียงข้างมากที่เข้มแข็งในรัฐสภาของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการดำเนินนโยบายปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะการปฏิรูปในภาคสถาบันการเงิน โดยดูจากระดับสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPAs) ของระบบสถาบันการเงิน ซึ่งยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ประมาณร้อยละ 19 ของสินเชื่อทั้งระบบ) ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549 ซึ่งจะทำให้เป็นข้อจำกัดต่อการเจริญเติบโตในอนาคต และส่งผลกระทบต่อภาระผูกพันที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตของรัฐบาลได้
4. นโยบายกึ่งการคลังของรัฐบาลที่ดำเนินการผ่านสถาบันการเงินของรัฐทั้งในรูป Micro-financing และการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก อาจจะส่งผลกระทบต่อฐานะทางการคลังของรัฐบาลได้ หากเศรษฐกิจชะลอตัว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 119/2548 16 ธันวาคม 48--