สรุปภาวะการค้าไทย-ญี่ปุ่นระหว่างเดือน ม.ค.- ก.ค.2548

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 12, 2005 13:58 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          1. ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 3 ของโลก รองจาก สหรัฐฯ จีน โดยมีมูลค่าการนำเข้า 
289,619,596,387 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.84 (ม.ค.-ก.ค. 2548) ปี 2547 ญี่ปุ่นเป็นตลาด
นำเข้าสำคัญอันดับ 6 ของโลก รองจาก สหรัฐเยอรมนี จีน ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร โดยมีมูลค่าการ
นำเข้า 455,661.441 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.86
2. แหล่งนำเข้าสำคัญของญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม — กรกฎาคม 2548
- จีน มูลค่า 61,325.548 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 21.18 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.38
- สหรัฐฯ มูลค่า 37,196.094 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 12.84 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.40
- ซาอุดิฯ มูลค่า 14,556.666 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 5.03 เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.96
- เกาหลีใต้ มูลค่า 13,705.516 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 4.73 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.98
ไทยอยู่อันดับที่ 10 มูลค่า 9,021.535 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 3.12 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.56
3. ดุลการค้า ประเทศญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าในเดือนมกราคม — กรกฎาคม 2548 เป็นมูลค่า
50,334.098 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24.92 ดังตัวอย่างสถิติต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบดุลการค้าของประเทศญี่ปุ่นเดือนมกราคม — กรกฎาคม 2548
ลำดับที่ ประเทศ 2546 2547 2548 อัตราการเปลี่ยนแปลง(%)
มูลค่า: ล้านเหรียญ สหรัฐ 47/46 48/47
ทั่วโลก 43,181.54 67,038.47 50,334.10 55.25 -24.92
1 สหรัฐฯ 31,742.56 36,143.29 39,779.02 13.86 10.06
2 ฮ่องกง 15,434.00 19,286.97 19,185.09 24.96 -0.53
3 จีน -10,335.50 -9,851.91 -17,444.77 -4.68 77.07
4 ไต้หวัน 8,351.70 13,557.72 15,554.33 62.33 14.73
5 เกาหลีใต้ 8,926.20 13,075.58 12,649.96 46.49 -3.28
16 ไทย 2,025.38 3,319.33 4,126.11 63.89 24.31
ที่มา : WTA Japan Customs
4. ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2 ของไทยโดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ร้อยละ 14.21
ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมในเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2548 การส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นในเดือน
มกราคม - กรกฎาคม 2548 มีมูลค่า 8,719.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.26 หรือคิดเป็น
ร้อยละ 53.65 ของเป้าหมายการส่งออกที่มูลค่า 16,252 ล้านเหรียญสหรัฐ
5. สินค้าไทยส่งออกไปญี่ปุ่นในเดือนมกราคม — กรกฎาคม 2548 25 อันดับแรกมีสัดส่วน
รวมกันร้อยละ 61.82 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 100
มี 2 รายการ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 มี 2 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ
20 มี 2 รายการ ดังสถิติต่อไปนี้
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
ตลาด อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ % เปลี่ยนแปลง สัดส่วน ร้อยละ 2548
ม.ค.-ก.ค 47 ม.ค.-ก.ค 48 เปลี่ยนแปลง 2547 ม.ค.-ก.ค
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 มี 2 รายการ
- เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 7 111.63 235.47 123.84 110.93 1.19 2.70
- เม็ดพลาสติก 19 51.46 132.90 81.44 158.27 0.93 1.52
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 มี 2 รายการ
- แผงวงจรไฟฟ้า 1 377.94 592.20 214.26 56.69 5.58 6.79
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นลดลงมากกว่าร้อยละ 20 มี 2 รายการ
- อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด 8 304.69 222.29 -82.40 -27.04 3.58 2.55
- เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ 23 171.30 117.30 -53.79 -31.44 1.90 1.35
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
1) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (HS 8415) Air Conditioning
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 3 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ จีน สหรัฐ
ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค-ก.ค 48) มูลค่า 1,022.688 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
37.65 มีการนำเข้าจาก จีน ไทย มาเลเซีย เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 23.92 มูลค่า 244.670 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.95
2) เม็ดพลาสติก (HS. 3901) Ethylene, Primary Form
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 12 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ เบลเยี่ยม สหรัฐฯ แคนาดา
ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค-ก.ค 48) มูลค่า 191.174 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
61.38 มีการนำเข้าจาก สหรัฐฯ ซาอุดิอาระเบีย ไทย เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 3 สัดส่วนร้อยละ 17.64 มูลค่า 33.725 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 199.81
3) แผงวงจรไฟฟ้า (HS. 8542) Integrated Circuits
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 14 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ สหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น
ด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค-ก.ค 48) มูลค่า 10,138.731 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
6.80 มีการนำเข้าจาก ไต้หวัน สหรัฐฯ เกาหลีใต้ เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 8 สัดส่วนร้อยละ 3.16 มูลค่า 320.487 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.27
4) ไก่แปรรูป (HS. 160232) O Chick Prepar / pres.
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 1 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ จีน เนเธอร์แลนด์
ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค-ก.ค 48) มูลค่า 587.485 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
82.60 มีการนำเข้าจาก จีน ไทย และบราซิล เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 45.01 มูลค่า 264.449 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 102.23
5) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด (HS. 8541) Semi Con DV ; L — EMT Diod
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 13 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สิงคโปร์
ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค-ก.ค 48) มูลค่า 1,472.470 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 8.95 มีการนำเข้าจาก จีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 5 สัดส่วนร้อยละ 10.25 มูลค่า 150.853 ล้านเหรียญสหรัฐ
ลดลงร้อยละ 1.32
6) เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (HS 8517) LN TELEPH, ETC EL
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 19 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ สหรัฐฯ จีน ฮ่องกง
ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค-ก.ค 48) มูลค่า 1,408.233 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ10.45 มีการนำเข้าจาก จีน ไต้หวัน สหรัฐฯ เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 4 สัดส่วนร้อยละ 8.64 มูลค่า 121.676 ล้านเหรียญสหรัฐ
ลดลงร้อยละ 12.26
6. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างไทย — ญี่ปุ่น
จากการสำรวจของ Development Bank of Japan พบว่าการลงทุนภาคอุตสาหกรรมเอกชนปี
งบประมาณ 2548 (เมษายน 2548 - มีนาคม 2549) จะลดลงถึง 7.6% การลงทุนภาคบริการโดยเฉพาะ
การขนส่ง ค้าปลีก และโทรคมนาคม ก็คาดว่าจะลดลงเช่นกัน โดยธนาคารกลางของญี่ปุ่นคาดว่า GDP ปีงบ
ประมาณ 2548 จะขยายตัวเพียง 1.6% อย่างไรก็ตามคาดว่าการผลิต การลงทุน และการส่งออกจะค่อยๆ ดีขึ้น
ในช่วงปลายปีนี้ และต้นปี 2549 เนื่องจากวงจรเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจญี่ปุ่น ได้แก่ ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยุโรปและเอเซีย
เศรษฐกิจญี่ปุ่นกับการค้าของไทย เป็นความสัมพันธ์ที่ถูกกำหนดโดยการค้าและการลงทุนอย่างมาก
เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าและนักลงทุนอันดับ 1 ของไทย ในปี 2547 การค้าระหว่างประเทศ ไทยและญี่ปุ่นมีมูลค่า
กว่า 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้เป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่สำคัญอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเซีย
ตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากการลงทุนในจีนยังมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ประกอบกับการแข็งค่าของ
เงินหยวนอาจทำให้ความได้เปรียบในด้านต้นทุนของจีนเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับกระแสการต่อต้านญี่ปุ่นในจีน
ทำให้บริษัทญี่ปุ่นมีการทบทวนแผนการลงทุนในจีน ในขณะที่ญี่ปุ่นมองว่าไทยเป็นประเทศที่มีต้นทุนแรงงานค่อนข้างต่ำ
ตลาดภายในประเทศมีศักยภาพการขยายตัวดี มีฐานเครือข่ายอุตสาหกรรมสนับสนุนที่ดี เหมาะสมต่อการเป็นฐาน
การผลิตเพื่อการส่งออก ประกอบกับทั้งสองประเทศได้เจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA
(Japan - Thailand Economic Partnership Agreement) ซึ่งความตกลงดังกล่าวมีความสำคัญในแง่ที่
จะมีการเปิดเสรีการค้าทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม การเปิดเสรีการลงทุน การค้าภาคบริการ และการไป
มาหาสู่ระหว่างประชาชนทั้ง 2 ประเทศ ที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้า และ
ความร่วมมือที่จะยกระดับความสามารถการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะเหล็กชิ้นส่วนรถยนต์และ
รถยนต์ เอื้ออำนวยต่อการลงทุน พร้อมการสนับสนุนนโยบาย "ดีทรอยท์แห่งเอเซีย " ของไทยผ่านโครงการความ
ร่วมมือในอุตสาหกรรมยานยนต์และการสนับสนุนโครงการ "ครัวไทยสู่โลก" ของไทยอีกด้วย
สินค้าที่ไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือข้อตกลง FTA ไทย-ญี่ปุ่นนั้น เป็นเรื่องของสินค้าภาคอุตสาหกรรม
เป็นส่วนใหญ่ เช่นไทยจะใช้เวลาปรับเปลี่ยนในกรณีของเหล็กประมาณ 10 ปี ส่วนกรณีชิ้นส่วนรถยนต์ประมาณ
5-7 ปี ซึ่งรัฐบาลจะต้องเข้าไปช่วยเหลือภาคเอกชนไทย เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันร่วมเป็นหุ้นส่วนกับ
ญี่ปุ่นได้ ทั้งนี้ภาคเอกชนไทยพร้อมที่จะรับมือ ตราบใดที่ประเทศได้รับผลประโยชน์โดยเฉพาะจากการเปิดตลาด
สินค้าเกษตร
ผู้ผลิตเหล็กใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น คือเจเอฟอี โฮลดิงส์ เตรียมลดกำลังการผลิตเหล็ก 500,000 ตัน
ไปจนถึงสิ้นปี 2548 เพื่อพยุงราคาเหล็กในตลาดโลกที่กำลังเผชิญปัญหาสินค้าคงคลังสูงกว่าความต้องการของตลาด
ซึ่งการลดกำลังผลิตส่วนใหญ่จะเป็นส่วนของเหล็กรีดร้อน ที่ผลิตร่วมกับเกาหลีใต้และไทย การเคลื่อนไหวครั้งนี้
เป็นผลจากการที่จีนผลิตเหล็กเพิ่มขึ้น และขยายการผลิตเหล็กคุณภาพสูงที่จะนำมาใช้กับรถยนต์ เรือ และเครื่องใช้
ในบ้าน ส่งผลกระทบต่อราคาเหล็กบางประเภท ส่งผลให้จีนสามารถแซงหน้าญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของ
โลกได้ ดังนั้นการลดกำลังการผลิตจะสามารถลดแรงกระทบต่อผลกำไรของผู้ผลิตเหล็กในญี่ปุ่นได้
ปัจจุบันการผลิตสินค้าเกษตรในญี่ปุ่นไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ ส่งผลให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่
นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลกและมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการที่ญี่ปุ่น
ยอมเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้ไทยภายใต้ FTA ไทย-ญี่ปุ่น โดยลดภาษีสินค้ากุ้งสด กุ้งต้มแช่เย็น กุ้งแปรรูป ผัก
และผลไม้แปรรูป ผักและผลไม้กระป๋องและผลไม้สดเมืองร้อน รวมทั้งให้โควตาสินค้าส่งออกไทย ได้แก่ กล้วย
กากน้ำตาล สับปะรดสด แป้งมันสำปะหลังแปรรูป จะเป็นโอกาสของสินค้าส่งออกของไทยในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น
ได้มากขึ้น แต่ไทยจะต้องเจรจารายละเอียดเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้ามาตรฐานคุณภาพ เพื่อให้ญี่ปุ่นยอมรับสินค้า
ไทยโดยไม่มีอุปสรรค
กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ไทยได้ส่งออกสินค้าหน่อไม้ฝรั่งและกระเจี๊ยบเขียวไปญี่ปุ่น นำรายได้เข้า
ประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งนักธุรกิจญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจในการนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เพราะคุณภาพสินค้าจาก
ไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ส่งผลให้ไทยเริ่มมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นมีแนวคิด
จะนำเข้าพริกหวานจากประเทศไทยอีกด้วย เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้า และต้นทุนต่ำอย่างไร
ก็ตาม พริกหวานยังคงมีปัญหาสารตกค้าง เกษตรกรจึงต้องพัฒนาในการผลิตให้ปลอดสารตกค้าง ในขณะที่ภาค
รัฐบาลจะต้องเปิดเจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อตกลงในขั้นตอนต่างๆ ก่อนที่ภาคเอกชนจะเข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกร
ปลูก โดยจะใช้พื้นที่ จ. เชียงใหม่ ซึ่งคาดว่าในอีก 2 ปีจะดำเนินการได้
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ