นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าของไทยในภาคอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษีมาใช้ ขณะเดียวกันไทยก็ยังต้องเสียเปรียบด้านราคาจากประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างประเทศจีน ดังนั้น สศอ.จึงได้ร่วมกับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำโครงการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย โดยได้วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึก ครอบคลุมทั้งสถานะการผลิต การตลาดและการลงทุนในประเทศที่เป็นตลาดใหญ่และเป็นประตูการค้า[Gate Way
] ของแต่ละภูมิภาครวม 5 ประเทศ คือ สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ แอฟริกาใต้ อินเดีย รัสเซีย และบราซิล และได้แบ่งกลุ่มประเทศที่ไทยมีโอกาสทางการค้าในอุตสาหกรรมดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีโอกาสมากทั้งสินค้าสำเร็จรูปและชิ้นส่วน เช่น สินค้าในหมวดพัดลม โทรทัศน์ ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และแผงวงจรรวม เป็นต้น จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่ามี 2 ภูมิภาคที่มีศักยภาพ คือ ภูมิภาคตะวันออกกลาง (สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์) และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (รัสเซีย) เนื่องจากประเทศดังกล่าวมีการผลิตภายในประเทศน้อย และไม่เพียงพอกับความต้องการ ประกอบกับประเทศเหล่านี้ยังมีมุมมองที่ดีต่อสินค้าไทย 2.กลุ่มที่มีโอกาสมากเฉพาะสินค้าชิ้นส่วน ภูมิภาคที่มีศักยภาพคือ ภูมิภาคเอเชียใต้ (อินเดีย) และกลุ่มลาตินอเมริกา (บราซิล) เนื่องจากความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศมีค่อนข้างสูงโดยใช้รองรับการขยายตัวของการผลิตสินค้าสำเร็จรูปในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตสินค้าไอทีและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับชิ้นส่วนที่ไทยมีศักยภาพในตลาดอินเดีย ได้แก่ เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี ส่วนบราซิลโอกาสการส่งออกชิ้นส่วนจะเน้นสินค้าเพื่อการประหยัดพลังงาน 3.กลุ่มที่มีโอกาสค่อนข้างน้อยทั้งชิ้นส่วนและสินค้าสำเร็จรูป พบว่าอยู่ในกลุ่มของภูมิภาคแอฟริกาใต้ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการแอฟริกาใต้ใช้ระบบทำการค้าแบบผูกขาดอยู่กับประเทศจีน โดยมีปัจจัยหลักมาจากชิ้นส่วนที่มีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตาม หากต้องการเพิ่มโอกาสทางการค้าก็มี 2 ช่องทาง คือ 1.การขายตรง ซึ่งเป็นที่นิยมมากในขณะนี้ โดยเฉพาะการจำหน่ายสินค้าผ่านทางโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต 2.การเจาะตลาด โดยการว่าจ้างหน่วยงานด้านการตลาดของแอฟริกาใต้ให้ทำตลาดในรูปแบบการเป็นบริษัทเทรดเดอร์ในต่างประเทศทั้งการติดต่อผู้ซื้อและการจัดส่งสินค้า ทั้งนี้ ผลของการศึกษาดังกล่าว สศอ.จะนำมาใช้เป็นแนวทางเตรียมความพร้อมให้กับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
] ของแต่ละภูมิภาครวม 5 ประเทศ คือ สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ แอฟริกาใต้ อินเดีย รัสเซีย และบราซิล และได้แบ่งกลุ่มประเทศที่ไทยมีโอกาสทางการค้าในอุตสาหกรรมดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีโอกาสมากทั้งสินค้าสำเร็จรูปและชิ้นส่วน เช่น สินค้าในหมวดพัดลม โทรทัศน์ ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และแผงวงจรรวม เป็นต้น จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่ามี 2 ภูมิภาคที่มีศักยภาพ คือ ภูมิภาคตะวันออกกลาง (สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์) และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (รัสเซีย) เนื่องจากประเทศดังกล่าวมีการผลิตภายในประเทศน้อย และไม่เพียงพอกับความต้องการ ประกอบกับประเทศเหล่านี้ยังมีมุมมองที่ดีต่อสินค้าไทย 2.กลุ่มที่มีโอกาสมากเฉพาะสินค้าชิ้นส่วน ภูมิภาคที่มีศักยภาพคือ ภูมิภาคเอเชียใต้ (อินเดีย) และกลุ่มลาตินอเมริกา (บราซิล) เนื่องจากความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศมีค่อนข้างสูงโดยใช้รองรับการขยายตัวของการผลิตสินค้าสำเร็จรูปในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตสินค้าไอทีและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับชิ้นส่วนที่ไทยมีศักยภาพในตลาดอินเดีย ได้แก่ เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี ส่วนบราซิลโอกาสการส่งออกชิ้นส่วนจะเน้นสินค้าเพื่อการประหยัดพลังงาน 3.กลุ่มที่มีโอกาสค่อนข้างน้อยทั้งชิ้นส่วนและสินค้าสำเร็จรูป พบว่าอยู่ในกลุ่มของภูมิภาคแอฟริกาใต้ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการแอฟริกาใต้ใช้ระบบทำการค้าแบบผูกขาดอยู่กับประเทศจีน โดยมีปัจจัยหลักมาจากชิ้นส่วนที่มีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตาม หากต้องการเพิ่มโอกาสทางการค้าก็มี 2 ช่องทาง คือ 1.การขายตรง ซึ่งเป็นที่นิยมมากในขณะนี้ โดยเฉพาะการจำหน่ายสินค้าผ่านทางโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต 2.การเจาะตลาด โดยการว่าจ้างหน่วยงานด้านการตลาดของแอฟริกาใต้ให้ทำตลาดในรูปแบบการเป็นบริษัทเทรดเดอร์ในต่างประเทศทั้งการติดต่อผู้ซื้อและการจัดส่งสินค้า ทั้งนี้ ผลของการศึกษาดังกล่าว สศอ.จะนำมาใช้เป็นแนวทางเตรียมความพร้อมให้กับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-