ความต้องการใช้
1. ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 2,864 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 95.5 ล้านลิตร หรือ 600,563 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการใช้ ร้อยละ 41 น้ำมันเตา ร้อยละ 21 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 19 น้ำมันอากาศยานและก๊าซแอลพีจี มีสัดส่วนเท่ากันคือ ร้อยละ 9
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายของเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อน
- ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 2.4 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 5.6 โดย น้ำมันเบนซิน ดีเซลหมุนเร็ว ก๊าซแอลพีจีและน้ำมันเตาลดลงร้อยละ 8.1 7.1 6.0 และ 1.7 ตามลำดับ
- ลดลงจากเดือน พฤศจิกายน 2540 วันละ 5.2 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 5.2 ชนิดน้ำมันที่สำคัญที่ลดลงมากที่สุดได้แก่ น้ำมันเตา ร้อยละ 14.5 น้ำมันเบนซินร้อยละ 3.6 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 0.8 สำหรับก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.7
ส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ ปตท. มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 36.0 จากปริมาณการจำหน่าย 1,030 ล้านลิตร (รวมปริมาณที่จำหน่ายให้ กฟผ. 317 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 11.0 ของปริมาณการจำหน่ายทั้งประเทศ) อันดับที่ 2 คือ เอสโซ่ ร้อยละ 14.4 มีปริมาณการจำหน่าย 411 ล้านลิตร อันดับที่ 3 คือ เชลล์ ร้อยละ 14.0 จากปริมาณการจำหน่าย 400 ล้านลิตร อันดับที่ 4 คาลเท็กซ์ ร้อยละ 10.0 ปริมาณ 287 ล้านลิตร อันดับที่ 5 บางจาก ร้อยละ 6.3 ปริมาณ 181 ล้านลิตร สำหรับกลุ่มผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ๆ มีปริมาณการจำหน่าย รวมกัน 554 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 19.3
2. การส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 344 ล้านลิตร หรือ วันละ 11.5 ล้านลิตร
- น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 231 ล้านลิตร หรือ วันละ 7.7 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 69.9 และลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 49.3
- น้ำมันองค์ประกอบ ปริมาณ 23 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ เกาหลี และ ไต้หวัน
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) ปริมาณ 90 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
การจัดหา
1. การผลิต ปริมาณ 2,672 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 89.1 ล้านลิตร หรือ 560,288 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 38 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 21 น้ำมันเตา ร้อยละ 18 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 12 และน้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 10 การผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 25.3 และลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 24.4
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 2,467 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 82.2 ล้านลิตร หรือ 517,148 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 30.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 26.7 ลดลงจากเดือนตุลาคมที่ผ่านมา วันละ 25.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 25.8 ทั้งนี้เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมัน สตาร์ ซึ่งมีกำลังการผลิต 138,000 บาเรล/วัน ปิดเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปี ตั้งแต่วันที่ 29 ตค.-7 ธค. และในเดือนนี้โรงกลั่นน้ำมันนำน้ำมันดิบและน้ำมันอื่น ๆ เข้าขบวนการกลั่น 2,755 ล้านลิตร เฉลี่ย 577,711 บาเรล/วัน
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 102 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3,393 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 16 เมตริกตัน หรือ ร้อยละ 3.7 และลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2540 วันละ 4 เมตริกตัน หรือ ร้อยละ 0.1
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต ปริมาณ 9 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 311 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.0 และเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 31.8
2. การนำเข้า น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีปริมาณ รวมทั้งสิ้น 2,701 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 90.0 ล้านลิตร หรือ 566,334 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 7,999 ล้านบาท (ไม่รวมการนำเข้า MTBE ที่นำมาผสมน้ำมันเบนซิน ปริมาณ 24 ล้านลิตร มูลค่า 149 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 2,536 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 84.5 ล้านลิตร หรือ 531,642 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 7,480 ล้านบาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย (US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,254 12.74 88.9
ตะวันออกไกล 282 13.36 11.1
รวม 2,536 12.81 100.0
- ปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 24.2 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 22.2 มูลค่าลดลง 8,793 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 54.0
- ปริมาณลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 1.8 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 5.3 มูลค่าลดลง 1,244 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.3
ทั้งนี้เนื่องจากในระยะนี้โรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศมีการหยุดซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาไปจนถึงเดือนปัจจุบัน ทำให้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในขบวนการกลั่นลดลง
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 165 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 5.5 ล้านลิตร หรือ 34,692 บาเรล/วัน มูลค่า 519 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันเตา ร้อยละ 51 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 48 และน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 1 เป็นการนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย
- เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 1.9 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 51.9 มูลค่าลดลง 21 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3.9
- เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 3.7 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 197.9 มูลค่าเพิ่มขึ้น 289 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 125.5
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - พฤศจิกายน 2541
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 33,930 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 101.6 ล้านลิตร หรือ 638,974 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 11.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 9.9
1.2 การส่งออก ปริมาณ 5,025 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 15.0 ล้านลิตร หรือ 94,637 บาเรล/วัน โดยเป็นการส่งออกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 42 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 33 และ ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 9 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 0.2 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 1.4
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 38,457 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 115.1 ล้านลิตร หรือ 724,232 บาเรล/วัน ลดลงวันละ 12.6 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 9.8 โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ จากโรงกลั่นน้ำมัน 6 แห่ง โรงแยกก๊าซฯ และผลิตผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 37,124 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 111.1 ล้านลิตร หรือ 699,117 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี วันละ 7.5 ล้านลิตร หรือ วันละ 6.3
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,334 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 4.0 ล้านลิตร หรือ 25,116 บาเรล/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ และเมื่อเทียบกับการนำเข้าช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงวันละ 5.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 56.2
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 35,829 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 107.3 ล้านลิตร หรือ 674,735 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 127,551 ล้านบาท โดยนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางร้อยละ 83.7 ตะวันออกไกล ร้อยละ 15.0 และจากแหล่งอื่น ๆ อีกร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณลดลงวันละ 9.7 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 7.5 มูลค่าการนำเข้าลดลง 21,081 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 14.2
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--
1. ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 2,864 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 95.5 ล้านลิตร หรือ 600,563 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการใช้ ร้อยละ 41 น้ำมันเตา ร้อยละ 21 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 19 น้ำมันอากาศยานและก๊าซแอลพีจี มีสัดส่วนเท่ากันคือ ร้อยละ 9
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายของเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อน
- ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 2.4 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 5.6 โดย น้ำมันเบนซิน ดีเซลหมุนเร็ว ก๊าซแอลพีจีและน้ำมันเตาลดลงร้อยละ 8.1 7.1 6.0 และ 1.7 ตามลำดับ
- ลดลงจากเดือน พฤศจิกายน 2540 วันละ 5.2 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 5.2 ชนิดน้ำมันที่สำคัญที่ลดลงมากที่สุดได้แก่ น้ำมันเตา ร้อยละ 14.5 น้ำมันเบนซินร้อยละ 3.6 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 0.8 สำหรับก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.7
ส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ ปตท. มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 36.0 จากปริมาณการจำหน่าย 1,030 ล้านลิตร (รวมปริมาณที่จำหน่ายให้ กฟผ. 317 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 11.0 ของปริมาณการจำหน่ายทั้งประเทศ) อันดับที่ 2 คือ เอสโซ่ ร้อยละ 14.4 มีปริมาณการจำหน่าย 411 ล้านลิตร อันดับที่ 3 คือ เชลล์ ร้อยละ 14.0 จากปริมาณการจำหน่าย 400 ล้านลิตร อันดับที่ 4 คาลเท็กซ์ ร้อยละ 10.0 ปริมาณ 287 ล้านลิตร อันดับที่ 5 บางจาก ร้อยละ 6.3 ปริมาณ 181 ล้านลิตร สำหรับกลุ่มผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ๆ มีปริมาณการจำหน่าย รวมกัน 554 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 19.3
2. การส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 344 ล้านลิตร หรือ วันละ 11.5 ล้านลิตร
- น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 231 ล้านลิตร หรือ วันละ 7.7 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 69.9 และลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 49.3
- น้ำมันองค์ประกอบ ปริมาณ 23 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ เกาหลี และ ไต้หวัน
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) ปริมาณ 90 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
การจัดหา
1. การผลิต ปริมาณ 2,672 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 89.1 ล้านลิตร หรือ 560,288 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 38 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 21 น้ำมันเตา ร้อยละ 18 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 12 และน้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 10 การผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 25.3 และลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 24.4
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 2,467 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 82.2 ล้านลิตร หรือ 517,148 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 30.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 26.7 ลดลงจากเดือนตุลาคมที่ผ่านมา วันละ 25.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 25.8 ทั้งนี้เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมัน สตาร์ ซึ่งมีกำลังการผลิต 138,000 บาเรล/วัน ปิดเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปี ตั้งแต่วันที่ 29 ตค.-7 ธค. และในเดือนนี้โรงกลั่นน้ำมันนำน้ำมันดิบและน้ำมันอื่น ๆ เข้าขบวนการกลั่น 2,755 ล้านลิตร เฉลี่ย 577,711 บาเรล/วัน
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 102 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3,393 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 16 เมตริกตัน หรือ ร้อยละ 3.7 และลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2540 วันละ 4 เมตริกตัน หรือ ร้อยละ 0.1
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต ปริมาณ 9 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 311 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.0 และเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 31.8
2. การนำเข้า น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีปริมาณ รวมทั้งสิ้น 2,701 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 90.0 ล้านลิตร หรือ 566,334 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 7,999 ล้านบาท (ไม่รวมการนำเข้า MTBE ที่นำมาผสมน้ำมันเบนซิน ปริมาณ 24 ล้านลิตร มูลค่า 149 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 2,536 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 84.5 ล้านลิตร หรือ 531,642 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 7,480 ล้านบาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย (US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,254 12.74 88.9
ตะวันออกไกล 282 13.36 11.1
รวม 2,536 12.81 100.0
- ปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 24.2 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 22.2 มูลค่าลดลง 8,793 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 54.0
- ปริมาณลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 1.8 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 5.3 มูลค่าลดลง 1,244 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.3
ทั้งนี้เนื่องจากในระยะนี้โรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศมีการหยุดซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาไปจนถึงเดือนปัจจุบัน ทำให้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในขบวนการกลั่นลดลง
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 165 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 5.5 ล้านลิตร หรือ 34,692 บาเรล/วัน มูลค่า 519 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันเตา ร้อยละ 51 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 48 และน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 1 เป็นการนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย
- เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 1.9 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 51.9 มูลค่าลดลง 21 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3.9
- เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 3.7 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 197.9 มูลค่าเพิ่มขึ้น 289 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 125.5
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - พฤศจิกายน 2541
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 33,930 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 101.6 ล้านลิตร หรือ 638,974 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 11.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 9.9
1.2 การส่งออก ปริมาณ 5,025 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 15.0 ล้านลิตร หรือ 94,637 บาเรล/วัน โดยเป็นการส่งออกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 42 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 33 และ ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 9 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 0.2 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 1.4
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 38,457 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 115.1 ล้านลิตร หรือ 724,232 บาเรล/วัน ลดลงวันละ 12.6 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 9.8 โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ จากโรงกลั่นน้ำมัน 6 แห่ง โรงแยกก๊าซฯ และผลิตผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 37,124 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 111.1 ล้านลิตร หรือ 699,117 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี วันละ 7.5 ล้านลิตร หรือ วันละ 6.3
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,334 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 4.0 ล้านลิตร หรือ 25,116 บาเรล/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ และเมื่อเทียบกับการนำเข้าช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงวันละ 5.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 56.2
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 35,829 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 107.3 ล้านลิตร หรือ 674,735 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 127,551 ล้านบาท โดยนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางร้อยละ 83.7 ตะวันออกไกล ร้อยละ 15.0 และจากแหล่งอื่น ๆ อีกร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณลดลงวันละ 9.7 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 7.5 มูลค่าการนำเข้าลดลง 21,081 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 14.2
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--