นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจากลุ่มบริการด้านการเงินฝ่ายไทย ได้เปิดเผยว่า การเจรจาความตกลงเปิดเสรีบริการด้านการเงินภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯนอกรอบได้เริ่มขึ้น ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานพาณิชย์ไทยประจำกรุงลอนดอน โดยบรรยากาศการเจรจาเป็นไปอย่างฉันท์มิตร การเจรจามีความคืบหน้าโดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดทำร่างความตกลงร่วมสาขาบริการด้านการเงิน (consolidated draft) ซึ่งเป็นผลของการหลอมรวมกันระหว่างร่างความตกลงฯ ของไทยและของสหรัฐฯ
นายนริศฯ กล่าวต่อไปว่าการยกร่างความตกลงร่วมในบทบริการด้านการเงินนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากมีประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องกันในหลักการอยู่บ้างในหลายประเด็น ได้แก่ (1) คำจำกัดความของบริการด้านการเงิน (financial services) ซึ่งเป็นไปตามนิยามที่ไทยได้ยอมรับในพันธกรณีของความตกลงด้านการค้าบริการภายใต้องค์การการค้าโลก (GATS) (2) ด้านความโปร่งใส ที่จะต้องเปิดเผยข้อมูล กฎระเบียบ ด้านการกำกับดูแลบริการด้านการเงินระหว่างกัน (ยกเว้นประเด็นสหรัฐฯ ต้องการให้ไทยต้องพิจารณาคำขออนุญาตในการให้บริการด้านการเงินของสหรัฐฯ ภายใน 120 วัน ในขณะที่ไทยขอเป็นเวลาที่เหมาะสม (Reasonable Time) เนื่องจากเห็นว่าความซับซ้อนของใบอนุญาตบริการด้านการเงินแต่ละประเภทต่างกัน (3) การจัดตั้งคณะกรรมการด้านการเงิน (Financial Services Committee) เพื่อกำกับดูแลการดำเนินการตามความตกลงฯ รวมทั้งให้การปรึกษากรณีมีข้อพิพาทเบี้องต้น (4) การอนุญาตให้สถาบันการเงินของประเทศคู่สัญญาใช้ระบบการชำระเงินที่มีในประเทศได้ (Clearing and Payment Systems) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นหลักๆ ที่ยังมีความแตกต่างกันในหลักการ จากร่างของสหรัฐฯ อยู่มาก เนื่องจากพื้นฐานรูปแบบการเจรจาที่แตกต่างกัน Positive และ Negative List ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องกลับไปพิจารณาในระดับนโยบายต่อไป ประกอบด้วย 1) ประเภทของบุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากความตกลงฯ นี้ ร่างฯ ไทยครอบคลุมผู้ให้บริการด้านการเงินของสหรัฐฯ (Financial Service Providers) ในขณะที่ ร่างฯ สหรัฐฯ ครอบคลุมสถาบันการเงิน (เฉพาะที่มีกฎหมายกำกับดูแล) นักลงทุน/การลงทุนในสถาบันการเงิน การให้บริการการเงินข้ามพรมแดน นอกจากนี้ ภายใต้ร่างฯสหรัฐฯ จะให้ประโยชน์แก่ นักลงทุนของ Non-party เช่น นักลงทุน/นิติบุคคลแคนาดาที่มี Substantial Business ในสหรัฐฯ ด้วย ในขณะที่ ร่างไทยต้องการให้เฉพาะนักลงทุน/นิติบุคคลสหรัฐฯ เท่านั้น 2) การประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment: NT) ซึ่งให้รัฐให้การประติบัติต่อนักลงทุน/เงินลงทุน/สถาบันการเงิน/ผู้ดำเนินธุรกิจด้านการเงิน ของคู่สัญญาเทียบเท่ากับของคนในชาติ ในขณะที่ฝ่ายไทยต้องการให้เท่าที่ระบุไว้ในตารางแนบตามหลัก Positive List ซึ่งภายใต้ความตกลงฯ นี้ สหรัฐฯจะให้สิทธิ NT แก่คนไทยเท่าคนในมลรัฐฯ
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่มีในร่างของสหรัฐฯ แต่ไม่มีในร่างของฝ่ายไทย ได้แก่ 1) การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation Treatment: MFN) ซึ่งให้สหรัฐฯ ได้รับสิทธิที่ดีที่สุดที่ไทยได้ตกลงเปิดเสรีในด้านการเงินกับประเทศอื่นๆ ทั้งก่อน (pre-establishment) และหลัง (post-establishment) การเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ฝ่ายไทยต้องการเป็น Positive List เพราะเห็นว่า ภายใต้ความตกลงฯ ทวิภาคีนี้ ควรเป็นสิทธิประโยชน์เฉพาะคู่สัญญา 2) การค้าบริการด้านการเงินข้ามพรมแดน (Cross-border Trade) ที่ประเทศไทยจะอนุญาตให้ผู้ให้บริการทางการเงิน (Financial Service Suppliers) ของสหรัฐฯ สามารถให้บริการด้านการเงินในประเทศข้ามพรมแดนมาประเทศไทยได้ และอนุญาตให้คนไทยทั้งที่อาศัยในประเทศและต่างประเทศสามารถซื้อบริการด้านการเงินข้ามพรมแดนจากผู้ให้บริการของสหรัฐฯ ได้เสรี ไม่ว่าจะให้บริการจากที่ไหนก็ตาม ฝ่ายไทยไม่ต้องการ เนื่องจากยังขาดกฎหมายกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งกฎหมายกำกับดูแล Electronic Banking 3) การให้บริการรูปแบบใหม่ (New Financial Services) สหรัฐฯ สามารถเสนอบริการการเงินใหม่ในประเทศไทยได้ เท่าเทียมกับสถาบันการเงินภายในประเทศ ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน โดยไม่ต้องมีการออกกฎหมายใหม่ ฝ่ายไทยเห็นว่าจะกำกับดูแลยาก และสถาบันการเงินไทยไม่สามารถแข่งขันได้ 4) ประเด็น Self-Regulatory Organization (SRO) ที่ฝ่ายไทยจะต้องแจ้งให้สหรัฐฯ ทราบถึง SRO ที่กำหนดให้สถาบันการเงินสหรัฐฯ ต้องเข้าเป็นสมาชิก เพื่อดำเนินธุรกิจในประเทศ เนื่องจากสหรัฐฯ เกรงว่าจะถูกกีดกันหลังเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยแล้ว ฝ่ายไทยยังต้องตรวจสอบว่าหน่วยงาน SRO ในประเทศไทยประกอบด้วยหน่วยงานใดบ้าง ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ฯลฯ เป็นหน่วยงาน SRO หรือไม่ และ 5) ประเด็นข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนและรัฐ ที่นักลงทุนสหรัฐฯ สามารถฟ้องร้องรัฐบาลไทย หาก นักลงทุนสหรัฐฯ ไม่พอใจมาตรการของทางการ ซึ่งฝ่ายไทยไม่ต้องการ เพราะอาจมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องได้ จึงไม่ยอมรับร่างสหรัฐฯ ในมาตราดังกล่าวได้
แม้ว่าผลของการเจรจาในวันแรก จะยังมีประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นไม่สอดคล้องอยู่บ้าง แต่นับ เป็นความคืบหน้าที่ดีของการเจรจาด้านการเงิน โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหารือต่อไปในวันต่อไป ซึ่งนายนริศฯ ได้เน้นให้ฝ่ายสหรัฐฯ ทราบว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายทนง พิทยะ) ได้ให้แนวทางในการเจรจาฯ ในทุกกรอบการเจรจาว่าจะต้องเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย จึงจะสามารถยอมรับข้อตกลงดังกล่าวได้
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 106/2548 21 พฤศจิกายน 48--
นายนริศฯ กล่าวต่อไปว่าการยกร่างความตกลงร่วมในบทบริการด้านการเงินนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากมีประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องกันในหลักการอยู่บ้างในหลายประเด็น ได้แก่ (1) คำจำกัดความของบริการด้านการเงิน (financial services) ซึ่งเป็นไปตามนิยามที่ไทยได้ยอมรับในพันธกรณีของความตกลงด้านการค้าบริการภายใต้องค์การการค้าโลก (GATS) (2) ด้านความโปร่งใส ที่จะต้องเปิดเผยข้อมูล กฎระเบียบ ด้านการกำกับดูแลบริการด้านการเงินระหว่างกัน (ยกเว้นประเด็นสหรัฐฯ ต้องการให้ไทยต้องพิจารณาคำขออนุญาตในการให้บริการด้านการเงินของสหรัฐฯ ภายใน 120 วัน ในขณะที่ไทยขอเป็นเวลาที่เหมาะสม (Reasonable Time) เนื่องจากเห็นว่าความซับซ้อนของใบอนุญาตบริการด้านการเงินแต่ละประเภทต่างกัน (3) การจัดตั้งคณะกรรมการด้านการเงิน (Financial Services Committee) เพื่อกำกับดูแลการดำเนินการตามความตกลงฯ รวมทั้งให้การปรึกษากรณีมีข้อพิพาทเบี้องต้น (4) การอนุญาตให้สถาบันการเงินของประเทศคู่สัญญาใช้ระบบการชำระเงินที่มีในประเทศได้ (Clearing and Payment Systems) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นหลักๆ ที่ยังมีความแตกต่างกันในหลักการ จากร่างของสหรัฐฯ อยู่มาก เนื่องจากพื้นฐานรูปแบบการเจรจาที่แตกต่างกัน Positive และ Negative List ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องกลับไปพิจารณาในระดับนโยบายต่อไป ประกอบด้วย 1) ประเภทของบุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากความตกลงฯ นี้ ร่างฯ ไทยครอบคลุมผู้ให้บริการด้านการเงินของสหรัฐฯ (Financial Service Providers) ในขณะที่ ร่างฯ สหรัฐฯ ครอบคลุมสถาบันการเงิน (เฉพาะที่มีกฎหมายกำกับดูแล) นักลงทุน/การลงทุนในสถาบันการเงิน การให้บริการการเงินข้ามพรมแดน นอกจากนี้ ภายใต้ร่างฯสหรัฐฯ จะให้ประโยชน์แก่ นักลงทุนของ Non-party เช่น นักลงทุน/นิติบุคคลแคนาดาที่มี Substantial Business ในสหรัฐฯ ด้วย ในขณะที่ ร่างไทยต้องการให้เฉพาะนักลงทุน/นิติบุคคลสหรัฐฯ เท่านั้น 2) การประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment: NT) ซึ่งให้รัฐให้การประติบัติต่อนักลงทุน/เงินลงทุน/สถาบันการเงิน/ผู้ดำเนินธุรกิจด้านการเงิน ของคู่สัญญาเทียบเท่ากับของคนในชาติ ในขณะที่ฝ่ายไทยต้องการให้เท่าที่ระบุไว้ในตารางแนบตามหลัก Positive List ซึ่งภายใต้ความตกลงฯ นี้ สหรัฐฯจะให้สิทธิ NT แก่คนไทยเท่าคนในมลรัฐฯ
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่มีในร่างของสหรัฐฯ แต่ไม่มีในร่างของฝ่ายไทย ได้แก่ 1) การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation Treatment: MFN) ซึ่งให้สหรัฐฯ ได้รับสิทธิที่ดีที่สุดที่ไทยได้ตกลงเปิดเสรีในด้านการเงินกับประเทศอื่นๆ ทั้งก่อน (pre-establishment) และหลัง (post-establishment) การเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ฝ่ายไทยต้องการเป็น Positive List เพราะเห็นว่า ภายใต้ความตกลงฯ ทวิภาคีนี้ ควรเป็นสิทธิประโยชน์เฉพาะคู่สัญญา 2) การค้าบริการด้านการเงินข้ามพรมแดน (Cross-border Trade) ที่ประเทศไทยจะอนุญาตให้ผู้ให้บริการทางการเงิน (Financial Service Suppliers) ของสหรัฐฯ สามารถให้บริการด้านการเงินในประเทศข้ามพรมแดนมาประเทศไทยได้ และอนุญาตให้คนไทยทั้งที่อาศัยในประเทศและต่างประเทศสามารถซื้อบริการด้านการเงินข้ามพรมแดนจากผู้ให้บริการของสหรัฐฯ ได้เสรี ไม่ว่าจะให้บริการจากที่ไหนก็ตาม ฝ่ายไทยไม่ต้องการ เนื่องจากยังขาดกฎหมายกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งกฎหมายกำกับดูแล Electronic Banking 3) การให้บริการรูปแบบใหม่ (New Financial Services) สหรัฐฯ สามารถเสนอบริการการเงินใหม่ในประเทศไทยได้ เท่าเทียมกับสถาบันการเงินภายในประเทศ ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน โดยไม่ต้องมีการออกกฎหมายใหม่ ฝ่ายไทยเห็นว่าจะกำกับดูแลยาก และสถาบันการเงินไทยไม่สามารถแข่งขันได้ 4) ประเด็น Self-Regulatory Organization (SRO) ที่ฝ่ายไทยจะต้องแจ้งให้สหรัฐฯ ทราบถึง SRO ที่กำหนดให้สถาบันการเงินสหรัฐฯ ต้องเข้าเป็นสมาชิก เพื่อดำเนินธุรกิจในประเทศ เนื่องจากสหรัฐฯ เกรงว่าจะถูกกีดกันหลังเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยแล้ว ฝ่ายไทยยังต้องตรวจสอบว่าหน่วยงาน SRO ในประเทศไทยประกอบด้วยหน่วยงานใดบ้าง ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ฯลฯ เป็นหน่วยงาน SRO หรือไม่ และ 5) ประเด็นข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนและรัฐ ที่นักลงทุนสหรัฐฯ สามารถฟ้องร้องรัฐบาลไทย หาก นักลงทุนสหรัฐฯ ไม่พอใจมาตรการของทางการ ซึ่งฝ่ายไทยไม่ต้องการ เพราะอาจมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องได้ จึงไม่ยอมรับร่างสหรัฐฯ ในมาตราดังกล่าวได้
แม้ว่าผลของการเจรจาในวันแรก จะยังมีประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นไม่สอดคล้องอยู่บ้าง แต่นับ เป็นความคืบหน้าที่ดีของการเจรจาด้านการเงิน โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหารือต่อไปในวันต่อไป ซึ่งนายนริศฯ ได้เน้นให้ฝ่ายสหรัฐฯ ทราบว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายทนง พิทยะ) ได้ให้แนวทางในการเจรจาฯ ในทุกกรอบการเจรจาว่าจะต้องเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย จึงจะสามารถยอมรับข้อตกลงดังกล่าวได้
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 106/2548 21 พฤศจิกายน 48--