ตามที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า รัฐบาลควรจะมีการปรับนโยบายการบริหารประเทศเพื่อมุ่งเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะต้องดำเนินการสองด้าน คือ ต้องหยุดการชดเชยราคาน้ำมันลงตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมนี้ เป็นต้นไป รวมทั้งจะต้องยกเลิกส่วนลดจากภาษีสรรพสามิตด้วย และจะต้องรื้อแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ทั้งหมด โดยลดยอดการลงทุนลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของยอดการลงทุนที่วางไว้ 1.7 ล้านล้านบาท ให้เหลือประมาณ 8.5 แสนล้านบาทแทน โดยเตือนว่ารัฐบาลต้องยอมรับความจริง หากไม่ดำเนินการจะกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดรุนแรงมากกว่าปัจจุบัน กระทรวงการคลังขอเรียนชี้แจงดังนี้
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ชี้แจงว่า การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลให้ความสำคัญกับเป้าหมายทั้ง 2 ประการ คือ การเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือทำอย่างไรให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่อง เสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศมีการบริหารจัดการด้านอุปทาน ซึ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มในปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิต ตลอดจนการระดมเงินออมให้พอเพียงในระยะยาว ซึ่งจะทำให้เราสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ทำให้แรงกดดันต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดบรรเทาลง และทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นปัจจัยทั้ง 3 ข้างต้น จะทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจได้ทั้งการเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และยิ่งไปกว่านั้นเราจะไม่ละเลยเป้าหมายทางเศรษฐกิจอีก 2 ประการ ได้แก่ การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
กระทรวงการคลังมีความห่วงใยเรื่องดุลบัญชีเดินสะพัดมาตั้งแต่ต้นปี ด้วยตระหนักดีว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องบวกกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้เราต้องเร่งดำเนินนโยบายเพื่อต่อสู้กับปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องทุกเดือน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมส่งเสริมการส่งออก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายบริหารการนำเข้า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงพลังงาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยมีการนำเสนอมาตรการเร่งรัดและสนับสนุนการส่งออกและการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็มีการพิจารณาการบริหารการนำเข้าสินค้าบางรายมิให้มากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ ผลได้เบื้องต้นจากการใช้นโยบายบริหารจัดการการส่งออก ท่องเที่ยว และนำเข้า คิดเป็นเงินประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสามารถบรรเทาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่า กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถร่วมกันผลักดันนโยบายที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาแรงกดดันต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงที่เหลือของปีนี้และปีต่อๆ ไปได้
นอกจากนี้ นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงทุนในโครงการสาธาณูปโภคขนาดใหญ่ (Mega Projects) มูลค่า 1.7 ล้านล้านบาท ในช่วงปี 2548-2552 นั้น ไม่ใช่เป็นการลงทุนภายใน 1 ปี แต่จะเป็นการลงทุนกระจายตามความเหมาะสมในช่วงปี 2548-2552 และเราได้คำนึงถึงกรอบความยั่งยืนทางการคลังและกรอบการบริหารเศรษฐกิจมหภาคด้วยแล้ว โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ ไม่เกินร้อยละ 2 ของ GDP กระทรวงการคลังเห็นว่าการลดการลงทุนใน Mega Projects ลงร้อยละ 50 หรือลดลง 8.5 แสนล้านบาท จะยิ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากในระยะต่อจากนี้ไปการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อยกระดับศักยภาพความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และรองรับความต้องการอันเนื่องมาจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการลงทุนนั้น ต้องคำนึงถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยจึงต้องมีนโยบายบริหารจัดการการส่งออก ท่องเที่ยว และนำเข้า ซึ่งกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดูแลอยู่
ที่ผ่านมารัฐบาลดำเนินนโยบายโดยอิงพื้นฐานทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ มิได้เน้นการตลาดดังที่บางฝ่ายกล่าว ในเชิงทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ดูได้จากแนวคิดการลงทุนขนานใหญ่ของประเทศ มาจากทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว ที่กล่าวว่า ปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวและเป็นการขจัดข้อจำกัดด้านอุปทานนั้น ได้แก่ การลงทุน การพัฒนาปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิต และการระดมเงินออมภายในประเทศ จึงนำไปสู่การบริหารจัดการด้านอุปทาน (Supply Management) ดังนั้น การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลจึงมุ่งใช้นโยบายระยะยาวทางด้านการผลิต การจ้างงาน เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการ (Value Creation) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยเป็นหลัก ซึ่งบางฝ่ายเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแนวทางการตลาด แท้ที่จริงมาจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ในเชิงความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ ในอดีตที่ผ่านมาเรามีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่มาก รัฐบาลจึงเน้นการดำเนินนโยบายด้านอุปสงค์ (Demand Management) แต่ในปัจจุบันกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่ไม่มาก ซึ่งดูได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงกว่าร้อยละ 70 รัฐบาลจึงต้องหันมาเน้นการดำเนินนโยบายด้านอุปทานเป็นหลัก ซึ่งต้องเน้นการลงทุน การพัฒนาปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิต และการระดมเงินออมภายในประเทศ ดังที่ได้กล่าวข้างต้น ดังนั้น การดำเนินนโยบายทั้งหมดเป็นการยึดอยู่กับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ มิได้เป็นแนวทางการตลาดแต่อย่างใด
ทั้งนี้ การประมาณการเศรษฐกิจของกระทรวงการคลัง มีสมมติฐานหลักด้านราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 53 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ใกล้เคียงระดับปัจจุบัน และให้อยู่ในระดับดังกล่าวจนถึงสิ้นปี (สูงกว่าที่ TDRI ตั้งไว้) มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 15 ต่อปี ใกล้เคียงระดับปัจจุบัน ประกอบกับการสอบถามผู้ประกอบการส่งออกพบว่าครึ่งหลังของปีจะดีกว่าครึ่งแรก โดยเฉพาะอุตสาหกรรม Hard Disk Drive และรถยนต์ ดังนั้น มูลค่าการส่งออกน่าจะขยายตัวมากกว่าที่ TDRI ตั้งไว้ ที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างการประมาณการและการดำเนินนโยบายที่อิงกับความเป็นจริง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 50/2548 8 กรกฎาคม 48--
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ชี้แจงว่า การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลให้ความสำคัญกับเป้าหมายทั้ง 2 ประการ คือ การเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือทำอย่างไรให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่อง เสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศมีการบริหารจัดการด้านอุปทาน ซึ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มในปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิต ตลอดจนการระดมเงินออมให้พอเพียงในระยะยาว ซึ่งจะทำให้เราสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ทำให้แรงกดดันต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดบรรเทาลง และทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นปัจจัยทั้ง 3 ข้างต้น จะทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจได้ทั้งการเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และยิ่งไปกว่านั้นเราจะไม่ละเลยเป้าหมายทางเศรษฐกิจอีก 2 ประการ ได้แก่ การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
กระทรวงการคลังมีความห่วงใยเรื่องดุลบัญชีเดินสะพัดมาตั้งแต่ต้นปี ด้วยตระหนักดีว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องบวกกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้เราต้องเร่งดำเนินนโยบายเพื่อต่อสู้กับปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องทุกเดือน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมส่งเสริมการส่งออก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายบริหารการนำเข้า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงพลังงาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยมีการนำเสนอมาตรการเร่งรัดและสนับสนุนการส่งออกและการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็มีการพิจารณาการบริหารการนำเข้าสินค้าบางรายมิให้มากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ ผลได้เบื้องต้นจากการใช้นโยบายบริหารจัดการการส่งออก ท่องเที่ยว และนำเข้า คิดเป็นเงินประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสามารถบรรเทาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่า กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถร่วมกันผลักดันนโยบายที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาแรงกดดันต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงที่เหลือของปีนี้และปีต่อๆ ไปได้
นอกจากนี้ นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงทุนในโครงการสาธาณูปโภคขนาดใหญ่ (Mega Projects) มูลค่า 1.7 ล้านล้านบาท ในช่วงปี 2548-2552 นั้น ไม่ใช่เป็นการลงทุนภายใน 1 ปี แต่จะเป็นการลงทุนกระจายตามความเหมาะสมในช่วงปี 2548-2552 และเราได้คำนึงถึงกรอบความยั่งยืนทางการคลังและกรอบการบริหารเศรษฐกิจมหภาคด้วยแล้ว โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ ไม่เกินร้อยละ 2 ของ GDP กระทรวงการคลังเห็นว่าการลดการลงทุนใน Mega Projects ลงร้อยละ 50 หรือลดลง 8.5 แสนล้านบาท จะยิ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากในระยะต่อจากนี้ไปการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อยกระดับศักยภาพความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และรองรับความต้องการอันเนื่องมาจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการลงทุนนั้น ต้องคำนึงถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยจึงต้องมีนโยบายบริหารจัดการการส่งออก ท่องเที่ยว และนำเข้า ซึ่งกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดูแลอยู่
ที่ผ่านมารัฐบาลดำเนินนโยบายโดยอิงพื้นฐานทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ มิได้เน้นการตลาดดังที่บางฝ่ายกล่าว ในเชิงทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ดูได้จากแนวคิดการลงทุนขนานใหญ่ของประเทศ มาจากทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว ที่กล่าวว่า ปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวและเป็นการขจัดข้อจำกัดด้านอุปทานนั้น ได้แก่ การลงทุน การพัฒนาปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิต และการระดมเงินออมภายในประเทศ จึงนำไปสู่การบริหารจัดการด้านอุปทาน (Supply Management) ดังนั้น การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลจึงมุ่งใช้นโยบายระยะยาวทางด้านการผลิต การจ้างงาน เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการ (Value Creation) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยเป็นหลัก ซึ่งบางฝ่ายเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแนวทางการตลาด แท้ที่จริงมาจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ในเชิงความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ ในอดีตที่ผ่านมาเรามีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่มาก รัฐบาลจึงเน้นการดำเนินนโยบายด้านอุปสงค์ (Demand Management) แต่ในปัจจุบันกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่ไม่มาก ซึ่งดูได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงกว่าร้อยละ 70 รัฐบาลจึงต้องหันมาเน้นการดำเนินนโยบายด้านอุปทานเป็นหลัก ซึ่งต้องเน้นการลงทุน การพัฒนาปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิต และการระดมเงินออมภายในประเทศ ดังที่ได้กล่าวข้างต้น ดังนั้น การดำเนินนโยบายทั้งหมดเป็นการยึดอยู่กับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ มิได้เป็นแนวทางการตลาดแต่อย่างใด
ทั้งนี้ การประมาณการเศรษฐกิจของกระทรวงการคลัง มีสมมติฐานหลักด้านราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 53 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ใกล้เคียงระดับปัจจุบัน และให้อยู่ในระดับดังกล่าวจนถึงสิ้นปี (สูงกว่าที่ TDRI ตั้งไว้) มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 15 ต่อปี ใกล้เคียงระดับปัจจุบัน ประกอบกับการสอบถามผู้ประกอบการส่งออกพบว่าครึ่งหลังของปีจะดีกว่าครึ่งแรก โดยเฉพาะอุตสาหกรรม Hard Disk Drive และรถยนต์ ดังนั้น มูลค่าการส่งออกน่าจะขยายตัวมากกว่าที่ TDRI ตั้งไว้ ที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างการประมาณการและการดำเนินนโยบายที่อิงกับความเป็นจริง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 50/2548 8 กรกฎาคม 48--