ยานยนต์นำทัพดันดัชนีทะยาน รับแผนผลิตทะลุล้านคันก่อนสิ้นปี การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ-การผลิตเครื่องแต่งกายหนุนอีกแรง เร่งทำยอดตามใบสั่ง
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรม ประจำเดือนสิงหาคม 2548 จากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) เดือนสิงหาคมอยู่ที่ระดับ 134.89 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.62 จากเดือนก่อนที่ระดับ 132.73 และยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากระดับ 125.52 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 68.25
ดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 145.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.87 จากระดับ 142.79 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 140.55 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.95 จากระดับ 136.53 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 107.93 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.20 จากระดับ 104.59 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 154.68 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.38 จากระดับ 154.09
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับระดับลดลงจากเดือนก่อน ประกอบด้วยดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 151.08 ลดลงร้อยละ 0.29 จากระดับ 151.52 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 132.10 ลดลงร้อยละ 21.89 จากระดับ 169.12
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคมปรับเพิ่มขึ้นมีหลายด้าน ที่สำคัญคือ การผลิตยานยนต์ ซึ่งมีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 8.3 และ 7.8 ตามลำดับ เนื่องจากมีการเร่งผลิตตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออก รวมทั้งปัจจัยจากการเปิดตัวรถปิคอัพรุ่นใหม่เมื่อเดือนก่อน อีกทั้งจากความสามารถของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ที่จะมีการสร้างสถิติใหม่สำหรับการผลิตรถยนต์ได้เกิน 1 ล้านคันภายในสิ้นปีนี้ จึงเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 13.8 ส่วนสินค้าที่เกี่ยวข้องมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เนื่องจากมีการเร่งผลิตเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกให้ทันช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ถือเป็น High season โดยโทรทัศน์ขนาด 21 นิ้ว มีการผลิตมากที่สุด เช่นเดียวกันกับ การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นที่ทำจากขนสัตว์ มีภาวการณ์ผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 10.2 และ 7.7 ตามลำดับ เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มเข้ามา รวมทั้งเร่งผลิตตามยอดคำสั่งผลิตที่ค้างจากเดือนก่อน จึงทำให้ทั้งการผลิตและจำหน่ายขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ นางชุตาภรณ์ ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงที่สำคัญคือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เนื่องจากเดือนสิงหาคมมีโรงกลั่นขนาดใหญ่ได้หยุดทำการชั่วคราว เพื่อแก้ไขระบบการกลั่น ซึ่งทำให้ในภาพรวมของเดือนสิงหาคมมีภาวะการผลิตลดลงร้อยละ 4.68 ส่วนการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.44 ตามภาวะของผู้บริโภค
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้ามูลฐาน พบว่าการผลิตมีทิศทางที่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10 ซึ่งสินค้าที่มีปริมาณการผลิตลดลงจากเดือนก่อนคือ เหล็กทรงยาวในการก่อสร้าง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันผวนเรื่องราคาของเหล็ก โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการผลิตที่มีต้นทุนสูง อีกทั้งเป็นช่วงฤดูฝนธุรกิจก่อสร้างบางแห่งประสบปัญหาน้ำท่วมและความไม่สะดวกต่อการดำเนินงานก่อสร้าง จึงชะลอตัวตามฤดูกาล ส่วนการจำหน่ายก็มีภาวะที่ทรงตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อโดยคาดการณ์ว่าจะมีราคาที่ลดลง อีกทั้งเรื่องของภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่นักลงทุนยังมองว่ายังไม่เอื้อต่อการลงทุน ทำให้กลุ่มลูกค้าในภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอการสั่งซื้อออกไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรม ประจำเดือนสิงหาคม 2548 จากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) เดือนสิงหาคมอยู่ที่ระดับ 134.89 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.62 จากเดือนก่อนที่ระดับ 132.73 และยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากระดับ 125.52 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 68.25
ดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 145.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.87 จากระดับ 142.79 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 140.55 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.95 จากระดับ 136.53 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 107.93 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.20 จากระดับ 104.59 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 154.68 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.38 จากระดับ 154.09
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับระดับลดลงจากเดือนก่อน ประกอบด้วยดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 151.08 ลดลงร้อยละ 0.29 จากระดับ 151.52 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 132.10 ลดลงร้อยละ 21.89 จากระดับ 169.12
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคมปรับเพิ่มขึ้นมีหลายด้าน ที่สำคัญคือ การผลิตยานยนต์ ซึ่งมีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 8.3 และ 7.8 ตามลำดับ เนื่องจากมีการเร่งผลิตตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออก รวมทั้งปัจจัยจากการเปิดตัวรถปิคอัพรุ่นใหม่เมื่อเดือนก่อน อีกทั้งจากความสามารถของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ที่จะมีการสร้างสถิติใหม่สำหรับการผลิตรถยนต์ได้เกิน 1 ล้านคันภายในสิ้นปีนี้ จึงเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 13.8 ส่วนสินค้าที่เกี่ยวข้องมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เนื่องจากมีการเร่งผลิตเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกให้ทันช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ถือเป็น High season โดยโทรทัศน์ขนาด 21 นิ้ว มีการผลิตมากที่สุด เช่นเดียวกันกับ การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นที่ทำจากขนสัตว์ มีภาวการณ์ผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 10.2 และ 7.7 ตามลำดับ เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มเข้ามา รวมทั้งเร่งผลิตตามยอดคำสั่งผลิตที่ค้างจากเดือนก่อน จึงทำให้ทั้งการผลิตและจำหน่ายขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ นางชุตาภรณ์ ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงที่สำคัญคือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เนื่องจากเดือนสิงหาคมมีโรงกลั่นขนาดใหญ่ได้หยุดทำการชั่วคราว เพื่อแก้ไขระบบการกลั่น ซึ่งทำให้ในภาพรวมของเดือนสิงหาคมมีภาวะการผลิตลดลงร้อยละ 4.68 ส่วนการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.44 ตามภาวะของผู้บริโภค
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้ามูลฐาน พบว่าการผลิตมีทิศทางที่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10 ซึ่งสินค้าที่มีปริมาณการผลิตลดลงจากเดือนก่อนคือ เหล็กทรงยาวในการก่อสร้าง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันผวนเรื่องราคาของเหล็ก โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการผลิตที่มีต้นทุนสูง อีกทั้งเป็นช่วงฤดูฝนธุรกิจก่อสร้างบางแห่งประสบปัญหาน้ำท่วมและความไม่สะดวกต่อการดำเนินงานก่อสร้าง จึงชะลอตัวตามฤดูกาล ส่วนการจำหน่ายก็มีภาวะที่ทรงตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อโดยคาดการณ์ว่าจะมีราคาที่ลดลง อีกทั้งเรื่องของภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่นักลงทุนยังมองว่ายังไม่เอื้อต่อการลงทุน ทำให้กลุ่มลูกค้าในภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอการสั่งซื้อออกไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-