กรุงเทพ--4 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2539 ไทยและอินโดนีเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการยืมช้างจากไทยเพื่อช่วยฝึกช้างในอินโดนีเซียโดยมีผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย และอธิบดีกรมป่าไม้และอนุรักษ์ธรรมชาติของอินโดนีเซียเป็นผู้ลงนาม โดยในความตกลงจะยืมช้าง 12 เชือก พร้อมควาญช้าง 12 คน (กำหนดระยะเวลาไว้ 10 ปี และหากจำเป็นสามารถต่ออายุได้และไม่ได้ระบุเงื่อนไขถึงสภาพความเป็นอยู่ของช้าง) แต่อินโดนีเซียได้ยืมไปเพียง 6 เชือก พร้อมควาญช้าง 12 คน และได้ออกค่าใช้จ่ายในการส่งช้างจากประเทศไทย ประมาณ 600 ล้านรูเปีย หรือเท่ากับ 24,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับประมาณ 620,000 บาทในขณะนั้น (อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 2,500 รูเปีย) สำหรับควานช้าง 12 คน ได้รับเงินเดือนคน ละ 600 ดอลลาร์สหรัฐแต่เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจภายในอินโดนีเซีย อินโดนีเซียได้มีหนังสือเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541ถึงองค์การสวนสัตว์ยกเลิกโครงการจ้างควาญช้างเนื่องจากติดขัดด้านงบประมาณ และได้ส่งควาญช้างทั้งหมดกลับประเทศไทยแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม 2540
2. เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 นางสาวโซไรดา ซาลวาลา ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนช้างได้ทำหนังสือถึง รมว.กต. แจ้งว่า ช้าง “สีนวล” หนึ่งในช้างไทยจำนวน 6 เชือกที่ถูกส่งไปอินโดนีเซีย ได้เสียชีวิตแล้วเมื่อเดือนมกราคม 2541 จึงขอให้กระทรวงฯ พิจารณาหาทางนำช้างไทยอีก 5 เชือก กลับคืนเมืองไทย
สถานะปัจจุบัน
กระทรวงฯ ได้มีหนังสือสอบถามไปยังสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา เพื่อขอทราบสถานะล่าสุดของช้างที่เหลืออีก 5 เชือก และขณะนี้ได้รับแจ้งจาก สอท. ว่า ช้างที่เหลือทั้ง 5 เชือก มีสุขภาพโดยทั่วไปเป็นปกติ และกระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย ได้แก่ พลายสักใบและพลายอุเทศ อยู่ที่จังหวัดสุมาตราเหนือ พลายขวัญเมืองและพลายยูนี อยู่ที่จังหวัดเรียว และพลายจิตรอยู่ที่จังหวัดอาเจห์ ทั้งนี้ กระทรวงฯ กำลังติดตามความคืบหน้าเพื่อขอนำช้างทั้งหมดกลับประเทศไทยโดยเร็วที่สุด
ในการว่าจ้างควาญช้างชาวไทยทั้ง 12 คนนั้น ฝ่ายอินโดนีเซียยังติดค้างค่าจ้างให้แก่ควาญช้างไทย ซึ่ง สอท. ขอให้องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจและทราบรายละเอียดเป็นอย่างดีเกี่ยวกับการจ้างควาญช้างไทยไปทำงานในอินโดนีเซีย เป็นผู้ทวงถามเร่งรัดการชำระเงินผ่านทาง สอท. อินโดนีเซียที่กรุงเทพฯ อีกทางหนึ่ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
1. เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2539 ไทยและอินโดนีเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการยืมช้างจากไทยเพื่อช่วยฝึกช้างในอินโดนีเซียโดยมีผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย และอธิบดีกรมป่าไม้และอนุรักษ์ธรรมชาติของอินโดนีเซียเป็นผู้ลงนาม โดยในความตกลงจะยืมช้าง 12 เชือก พร้อมควาญช้าง 12 คน (กำหนดระยะเวลาไว้ 10 ปี และหากจำเป็นสามารถต่ออายุได้และไม่ได้ระบุเงื่อนไขถึงสภาพความเป็นอยู่ของช้าง) แต่อินโดนีเซียได้ยืมไปเพียง 6 เชือก พร้อมควาญช้าง 12 คน และได้ออกค่าใช้จ่ายในการส่งช้างจากประเทศไทย ประมาณ 600 ล้านรูเปีย หรือเท่ากับ 24,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับประมาณ 620,000 บาทในขณะนั้น (อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 2,500 รูเปีย) สำหรับควานช้าง 12 คน ได้รับเงินเดือนคน ละ 600 ดอลลาร์สหรัฐแต่เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจภายในอินโดนีเซีย อินโดนีเซียได้มีหนังสือเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541ถึงองค์การสวนสัตว์ยกเลิกโครงการจ้างควาญช้างเนื่องจากติดขัดด้านงบประมาณ และได้ส่งควาญช้างทั้งหมดกลับประเทศไทยแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม 2540
2. เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 นางสาวโซไรดา ซาลวาลา ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนช้างได้ทำหนังสือถึง รมว.กต. แจ้งว่า ช้าง “สีนวล” หนึ่งในช้างไทยจำนวน 6 เชือกที่ถูกส่งไปอินโดนีเซีย ได้เสียชีวิตแล้วเมื่อเดือนมกราคม 2541 จึงขอให้กระทรวงฯ พิจารณาหาทางนำช้างไทยอีก 5 เชือก กลับคืนเมืองไทย
สถานะปัจจุบัน
กระทรวงฯ ได้มีหนังสือสอบถามไปยังสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา เพื่อขอทราบสถานะล่าสุดของช้างที่เหลืออีก 5 เชือก และขณะนี้ได้รับแจ้งจาก สอท. ว่า ช้างที่เหลือทั้ง 5 เชือก มีสุขภาพโดยทั่วไปเป็นปกติ และกระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย ได้แก่ พลายสักใบและพลายอุเทศ อยู่ที่จังหวัดสุมาตราเหนือ พลายขวัญเมืองและพลายยูนี อยู่ที่จังหวัดเรียว และพลายจิตรอยู่ที่จังหวัดอาเจห์ ทั้งนี้ กระทรวงฯ กำลังติดตามความคืบหน้าเพื่อขอนำช้างทั้งหมดกลับประเทศไทยโดยเร็วที่สุด
ในการว่าจ้างควาญช้างชาวไทยทั้ง 12 คนนั้น ฝ่ายอินโดนีเซียยังติดค้างค่าจ้างให้แก่ควาญช้างไทย ซึ่ง สอท. ขอให้องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจและทราบรายละเอียดเป็นอย่างดีเกี่ยวกับการจ้างควาญช้างไทยไปทำงานในอินโดนีเซีย เป็นผู้ทวงถามเร่งรัดการชำระเงินผ่านทาง สอท. อินโดนีเซียที่กรุงเทพฯ อีกทางหนึ่ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--