1. National Treatment-NT และ Most Favoured Nation-MFN
เกาหลีได้ประกาศพันธกรณีในการเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกที่จะต้องปฎิบัติตามกติกาดังกล่าว แต่หลังจากปี 2538 สหรัฐฯ ได้เคยแสดงความเห็นเกี่ยวกับการปฎิบัติของเกาหลีที่เกี่ยวกับคนชาติ ในรายงานคาดการณ์การค้าของสหรัฐฯ (NTE) เรื่องการตรวจสอบคุณภาพสินค้าอาหารและเกษตรที่ไม่ปฎิบัติอย่างเดียวกันกับสินค้าพื้นเมือง เช่น
- การกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าโดยให้กลุ่มอุตสาหกรรมพืชผลอย่างเดียวกันเป็นผู้พิจารณาอนุญาตการนำเข้าในสินค้าไก่แช่แข็ง และแป้งมันสำปะหลัง ส้ม ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วแดง
- การกำหนดเงื่อนไขการใช้ประโยชน์จากสินค้านำเข้า (End-Use Restriction) เช่น ผลไม้อบแห้ง ข้าว มันอัดเม็ด มันเส้น และแป้งมันสำปะหลัง
- การกำหนดเงื่อนไขสินค้าปลอดของเสีย (Zero-decay) ในสินค้าผักผลไม้นำเข้า มิให้มีส่วนเน่าเสียในภาชนะบรรจุก่อนนำออกจำหน่าย ทั้งที่สัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขายยอมให้มีสินค้าเสียหายและขาดน้ำหนักได้
- เกาหลีกำหนดเงื่อนไขอายุการวางจำหน่ายสินค้า (Shelf-Life Period) ในสินค้าเนื้อสัตว์ และไส้กรอกนำเข้าจากสหรัฐฯ แต่ไม่กำหนดสำหรับสินค้าพื้นเมือง แต่ต่อมาเกาหลีได้ผ่อนปรนเงื่อนไขดังกล่าว โดยให้ผู้นำเข้ามีอิสระในการกำหนดอายุการจำหน่ายสินค้าได้เอง แต่ทางการจะไปสุ่มตรวจสอบคุณภาพและการจำหน่ายสินค้าหมดอายุ ณ ร้านค้าปลีก
- เกาหลีประกาศให้สินค้าอาหารหลายชนิดเป็นสินค้าใหม่ (New Products) ซึ่งการนำเข้าต้องแสดงสูตรในการผลิตสินค้าเพื่อตรวจสอบสารตกค้างที่จะเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ซึ่งทำให้การนำเข้ามีอุปสรรคล่าช้า และยังเป็นช่องทางนำไปสู่การที่ผู้นำเข้าต้องเปิดเผยความลับทางการค้าที่ข้อมูลจะรั่วไหลไปสู่ผู้ผลิตเกาหลีผลิตสินค้ามาแข่งขันได้
- เกาหลีมีการตรวจสอบมาตรฐานด้านสุขอนามัยที่ไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ และ มาตรฐานอาหารสากล (CODEX) ในสินค้าผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าเครื่องสำอางค์ และ สินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด
- เกาหลีเข้มงวดกวดขันกับการควบคุมแมลงและโรคระบาดในพืชและสัตว์นำเข้า ทั้งที่แมลงบางชนิดมีแพร่หลายในประเทศเกาหลี แต่หน่วยงานตรวจสอบอ้างว่า แม้เป็นแมลงที่พบแพร่หลายในประเทศ แต่เป็นเจตนารมย์ของทางการที่จะกำจัดแมลงดังกล่าวให้หมดไป
- เกาหลีกำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อของรัฐบาลโดยให้ส่วนราชการต้องจัดซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศ ซึ่งเกาหลีได้เสร็จสิ้นเจรจาความตกลง WTO Government Procurement Agreement และจะเริ่มใช้ในต้นปี 2540 โดยเปิดเสรีการจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ของส่วนราชการ
2. Most Favoured Nation
เกาหลีได้กำหนดเงื่อนไขการนำเข้าสินค้าทั่วไปในรูป MFN เว้นแต่สินค้าอาหารและเกษตรจากแหล่งที่มีโรคพืชโรคสัตว์ ซึ่งเกาหลีได้อ้างกฎหมายคุ้มครองพืชพันธุ์และกฎหมายโรคระบาดสัตว์เป็นเครื่องมือในการห้ามนำเข้าเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาไม่ปฎิบัติตามกติกาการเปิดตลาด
- อนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทยได้ 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน สับปะรด มะพร้าว และกล้วย-หอมที่มีเปลือกสีเขียว ยังไม่อนุญาตให้นำเข้าผักผลไม้ชนิดอื่นตามกฎหมายคุ้มครองพืชพันธุ์ (Plant Protection Act) (สำนักงานฯ ได้ประสานงานกับกรมวิชาการเกษตรในการผลักดันให้จัดคณะผู้แทนไปเยือนและส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีด้านวิชาการ)
- อนุญาตให้นำเข้าเนื้อวัวแช่แข็ง (Frozen Beef) จากสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ไม่อนุญาตให้นำเข้าเนื้อแช่เย็น (Chilled Beef) ซึ่งเป็นที่ทราบกันในวงการโภชนาการว่า เนื้อแช่แข็งมีคุณภาพและรสชาติไม่ดีเท่าเนื้อแช่เย็น ซึ่งการอนุญาตให้นำเข้าเนื้อแช่แข็งเป็นเจตนาของ
รัฐบาลที่จะให้ประชาชนมีความรู้สึกว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากต่างประเทศมีคุณภาพต่ำกว่าเนื้อสัตว์ในประเทศ และเกาหลียังไม่อนุญาตให้นำเข้าเนื้อจากเม็กซิโก และอาร์เจนตินา โดยอ้างปัญหาโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย
- อนุญาตให้นำเข้าเนื้อหมูจากประเทศที่ไม่มีโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยและต้องไม่มีการฉีด- วัคซีน ยังไม่อนุญาตให้นำเข้าหมูดิบจากไทย และเกาหลียังไม่มีนโยบายให้นำเข้าเนื้อหมูจากแหล่งแปรรูปเนื้อสัตว์ เพื่อการส่งออก (Export Processing Zone) ซึ่งสำนักงานฯ ได้ประสานงานกับกรมปศุสัตว์จัดคณะเดินทางไปเยือนเกาหลี เพื่อแสวงหาความร่วมมือและผลักดันเกาหลีให้ผ่อนคลายความเข้มงวด
- สหรัฐฯ กำลังผลักดันให้เกาหลีเปิดตลาดรถยนต์ ซึ่งผลการเจรจาผลักดันจะเป็น MFN ที่ประเทศผู้ส่งออกรถยนต์ทุกประเทศจะได้ประโยชน์ด้วย
- กฎหมายกระจายแหล่งนำเข้าของเกาหลี (Import Diversification law) เพื่อที่จะกีดกันสินค้าญี่ปุ่น โดยอ้างเหตุผลของกฎหมายเพื่อควบคุมการนำเข้าสินค้าจากประเทศที่มีการค้าเกินดุลเกาหลีติดต่อกันมาเป็นเวลา 5 ปีย้อนหลัง มีผลกระทบต่อสินค้าญี่ปุ่นโดยตรง แต่ญี่ปุ่นต้องการแก้ปัญหาในระดับทวิภาคีโดยไม่นำเรื่องร้องเรียนต่อ WTO เนื่องจากเห็นว่า ยังสามารถ แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ด้านการค้ากับเกาหลีได้ในระดับหนึ่ง เพราะเกาหลียังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเครื่องจักรกลและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากญีปุ่นอยู่ต่อไป หากไม่นำเข้าสินค้าสำเร็จรูปก็ต้องนำเข้าสินค้าอื่นอยู่ดี
- อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวมีผลทางอ้อมต่อสินค้าที่ใช้ชิ้นส่วนประกอบที่ผลิตจาก ญี่ปุ่น ตามกฎหมายแหล่งกำเนิดสินค้า เช่น สินค้าอิเลคทรอนิก คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องไฟฟ้าครัวเรือน จากสหรัฐฯ และประเทศที่สาม เช่น ไทย และประเทศอาเซียนญี่ปุ่นไปตั้งฐานผลิต และใช้ชิ้นส่วนที่นำเข้าจากญีปุ่นเกินกว่าร้อยละ 35 ของต้นทุนการผลิต หรือเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการผลิต จะถูกพิจารณาเป็นสินค้าญี่ปุ่นและห้ามนำเข้าตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายที่ขัดต่อการปฎิบัติตาม MFN แต่ยังไม่มีประเทศใดนำเรื่องร้องเรียนต่อ WTO และเกาหลียังประกาศใช้กฎหมายนี้จนถึงสิ้นปี 2539 และจะพิจารณาต่ออายุกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานฯ ได้ส่งกฎหมายดังกล่าวให้ คท. และกองการค้าพหุภาคีแล้ว และการเจรจาทวิภาคีสหรัฐฯ - เกาหลี ที่สหรัฐฯ ได้โจมตีกฎหมายดังกล่าว เกาหลีจึงขอให้สหรัฐฯ ไม่นำเรื่องร้องเรียนต่อ WTO แต่ได้ลดความกดดันของสหรัฐฯ โดยยกเลิกรายการสินค้าเลเซอร์พริ้นเตอร์ และ คอมพิวเตอร์ของอเมริกันที่ใช้ชิ้นส่วนทำจากญี่ปุ่นออกจากกฎหมายดังกล่าว
3. สหรัฐฯ มีข้อมูลเกี่ยวกับการปฎิบัติที่ขัดต่อกติกาของเกาหลี
เนื่องจากสหรัฐฯ เห็นความสำคัญของเกาหลีที่เป็นตลาดใหญ่อันดับ 3 ในสินค้าอาหารและเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งทางการได้รับข้อมูลการร้องเรียนจากผู้ส่งออก-ผู้นำเข้าที่เป็นกิจกรรมอเมริกัน นอกจากนั้น ยังมีหอการค้าฯ (American Chamber of Commerce) ในประเทศเกาหลีที่เป็นองค์กรเอกชนปกป้องผลประโยชน์ทางการค้า และทัศนคติของชาวตะวันตกที่รักษาสิทธิของ ตนเอง ในขณะที่สินค้าไทยมีการนำเข้าโดยผู้นำเข้าพื้นเมืองเกาหลีที่ไม่กล้าร้องเรียนต่อทางการหรือแจ้งข้อมูลต่อสำนักงานฯ ด้วยความเกรงกลัวการคุกคามด้านภาษีเงินได้และการขึ้นบัญชีดำจากรัฐบาล และเมื่อผู้ส่งออกไทยมองตลาดเกาหลีมีการกีดกันการค้าและมีปัญหากับผู้นำเข้า จึงหันไปให้ความสำคัญกับตลาดอื่นที่มีศักยภาพดีกว่า เช่น ยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่มีอำนาจซื้อ ตลาดไม่เข้มงวดเท่าเกาหลี และผู้นำเข้าไม่กดราคาสั่งซื้อ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้ไม่มากเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับศักยภาพทางเศรษฐกิจของเกาหลี และความเสียหายจากการค้ามีไม่มากเท่าในตลาดหลักของไทย ภาคเอกชนจึงไ่ม่เรียกร้องให้ทางการเร่งเจรจาผลักดันเกาหลี
ที่มา : อัครราชทูตที่ปรึกษา
(ฝ่ายการพาณิชย์ ณ กรุงโซล)
--ข่าวเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่18 / 15 ตุลาคม 2539--
เกาหลีได้ประกาศพันธกรณีในการเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกที่จะต้องปฎิบัติตามกติกาดังกล่าว แต่หลังจากปี 2538 สหรัฐฯ ได้เคยแสดงความเห็นเกี่ยวกับการปฎิบัติของเกาหลีที่เกี่ยวกับคนชาติ ในรายงานคาดการณ์การค้าของสหรัฐฯ (NTE) เรื่องการตรวจสอบคุณภาพสินค้าอาหารและเกษตรที่ไม่ปฎิบัติอย่างเดียวกันกับสินค้าพื้นเมือง เช่น
- การกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าโดยให้กลุ่มอุตสาหกรรมพืชผลอย่างเดียวกันเป็นผู้พิจารณาอนุญาตการนำเข้าในสินค้าไก่แช่แข็ง และแป้งมันสำปะหลัง ส้ม ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วแดง
- การกำหนดเงื่อนไขการใช้ประโยชน์จากสินค้านำเข้า (End-Use Restriction) เช่น ผลไม้อบแห้ง ข้าว มันอัดเม็ด มันเส้น และแป้งมันสำปะหลัง
- การกำหนดเงื่อนไขสินค้าปลอดของเสีย (Zero-decay) ในสินค้าผักผลไม้นำเข้า มิให้มีส่วนเน่าเสียในภาชนะบรรจุก่อนนำออกจำหน่าย ทั้งที่สัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขายยอมให้มีสินค้าเสียหายและขาดน้ำหนักได้
- เกาหลีกำหนดเงื่อนไขอายุการวางจำหน่ายสินค้า (Shelf-Life Period) ในสินค้าเนื้อสัตว์ และไส้กรอกนำเข้าจากสหรัฐฯ แต่ไม่กำหนดสำหรับสินค้าพื้นเมือง แต่ต่อมาเกาหลีได้ผ่อนปรนเงื่อนไขดังกล่าว โดยให้ผู้นำเข้ามีอิสระในการกำหนดอายุการจำหน่ายสินค้าได้เอง แต่ทางการจะไปสุ่มตรวจสอบคุณภาพและการจำหน่ายสินค้าหมดอายุ ณ ร้านค้าปลีก
- เกาหลีประกาศให้สินค้าอาหารหลายชนิดเป็นสินค้าใหม่ (New Products) ซึ่งการนำเข้าต้องแสดงสูตรในการผลิตสินค้าเพื่อตรวจสอบสารตกค้างที่จะเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ซึ่งทำให้การนำเข้ามีอุปสรรคล่าช้า และยังเป็นช่องทางนำไปสู่การที่ผู้นำเข้าต้องเปิดเผยความลับทางการค้าที่ข้อมูลจะรั่วไหลไปสู่ผู้ผลิตเกาหลีผลิตสินค้ามาแข่งขันได้
- เกาหลีมีการตรวจสอบมาตรฐานด้านสุขอนามัยที่ไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ และ มาตรฐานอาหารสากล (CODEX) ในสินค้าผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าเครื่องสำอางค์ และ สินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด
- เกาหลีเข้มงวดกวดขันกับการควบคุมแมลงและโรคระบาดในพืชและสัตว์นำเข้า ทั้งที่แมลงบางชนิดมีแพร่หลายในประเทศเกาหลี แต่หน่วยงานตรวจสอบอ้างว่า แม้เป็นแมลงที่พบแพร่หลายในประเทศ แต่เป็นเจตนารมย์ของทางการที่จะกำจัดแมลงดังกล่าวให้หมดไป
- เกาหลีกำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อของรัฐบาลโดยให้ส่วนราชการต้องจัดซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศ ซึ่งเกาหลีได้เสร็จสิ้นเจรจาความตกลง WTO Government Procurement Agreement และจะเริ่มใช้ในต้นปี 2540 โดยเปิดเสรีการจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ของส่วนราชการ
2. Most Favoured Nation
เกาหลีได้กำหนดเงื่อนไขการนำเข้าสินค้าทั่วไปในรูป MFN เว้นแต่สินค้าอาหารและเกษตรจากแหล่งที่มีโรคพืชโรคสัตว์ ซึ่งเกาหลีได้อ้างกฎหมายคุ้มครองพืชพันธุ์และกฎหมายโรคระบาดสัตว์เป็นเครื่องมือในการห้ามนำเข้าเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาไม่ปฎิบัติตามกติกาการเปิดตลาด
- อนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทยได้ 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน สับปะรด มะพร้าว และกล้วย-หอมที่มีเปลือกสีเขียว ยังไม่อนุญาตให้นำเข้าผักผลไม้ชนิดอื่นตามกฎหมายคุ้มครองพืชพันธุ์ (Plant Protection Act) (สำนักงานฯ ได้ประสานงานกับกรมวิชาการเกษตรในการผลักดันให้จัดคณะผู้แทนไปเยือนและส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีด้านวิชาการ)
- อนุญาตให้นำเข้าเนื้อวัวแช่แข็ง (Frozen Beef) จากสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ไม่อนุญาตให้นำเข้าเนื้อแช่เย็น (Chilled Beef) ซึ่งเป็นที่ทราบกันในวงการโภชนาการว่า เนื้อแช่แข็งมีคุณภาพและรสชาติไม่ดีเท่าเนื้อแช่เย็น ซึ่งการอนุญาตให้นำเข้าเนื้อแช่แข็งเป็นเจตนาของ
รัฐบาลที่จะให้ประชาชนมีความรู้สึกว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากต่างประเทศมีคุณภาพต่ำกว่าเนื้อสัตว์ในประเทศ และเกาหลียังไม่อนุญาตให้นำเข้าเนื้อจากเม็กซิโก และอาร์เจนตินา โดยอ้างปัญหาโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย
- อนุญาตให้นำเข้าเนื้อหมูจากประเทศที่ไม่มีโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยและต้องไม่มีการฉีด- วัคซีน ยังไม่อนุญาตให้นำเข้าหมูดิบจากไทย และเกาหลียังไม่มีนโยบายให้นำเข้าเนื้อหมูจากแหล่งแปรรูปเนื้อสัตว์ เพื่อการส่งออก (Export Processing Zone) ซึ่งสำนักงานฯ ได้ประสานงานกับกรมปศุสัตว์จัดคณะเดินทางไปเยือนเกาหลี เพื่อแสวงหาความร่วมมือและผลักดันเกาหลีให้ผ่อนคลายความเข้มงวด
- สหรัฐฯ กำลังผลักดันให้เกาหลีเปิดตลาดรถยนต์ ซึ่งผลการเจรจาผลักดันจะเป็น MFN ที่ประเทศผู้ส่งออกรถยนต์ทุกประเทศจะได้ประโยชน์ด้วย
- กฎหมายกระจายแหล่งนำเข้าของเกาหลี (Import Diversification law) เพื่อที่จะกีดกันสินค้าญี่ปุ่น โดยอ้างเหตุผลของกฎหมายเพื่อควบคุมการนำเข้าสินค้าจากประเทศที่มีการค้าเกินดุลเกาหลีติดต่อกันมาเป็นเวลา 5 ปีย้อนหลัง มีผลกระทบต่อสินค้าญี่ปุ่นโดยตรง แต่ญี่ปุ่นต้องการแก้ปัญหาในระดับทวิภาคีโดยไม่นำเรื่องร้องเรียนต่อ WTO เนื่องจากเห็นว่า ยังสามารถ แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ด้านการค้ากับเกาหลีได้ในระดับหนึ่ง เพราะเกาหลียังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเครื่องจักรกลและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากญีปุ่นอยู่ต่อไป หากไม่นำเข้าสินค้าสำเร็จรูปก็ต้องนำเข้าสินค้าอื่นอยู่ดี
- อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวมีผลทางอ้อมต่อสินค้าที่ใช้ชิ้นส่วนประกอบที่ผลิตจาก ญี่ปุ่น ตามกฎหมายแหล่งกำเนิดสินค้า เช่น สินค้าอิเลคทรอนิก คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องไฟฟ้าครัวเรือน จากสหรัฐฯ และประเทศที่สาม เช่น ไทย และประเทศอาเซียนญี่ปุ่นไปตั้งฐานผลิต และใช้ชิ้นส่วนที่นำเข้าจากญีปุ่นเกินกว่าร้อยละ 35 ของต้นทุนการผลิต หรือเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการผลิต จะถูกพิจารณาเป็นสินค้าญี่ปุ่นและห้ามนำเข้าตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายที่ขัดต่อการปฎิบัติตาม MFN แต่ยังไม่มีประเทศใดนำเรื่องร้องเรียนต่อ WTO และเกาหลียังประกาศใช้กฎหมายนี้จนถึงสิ้นปี 2539 และจะพิจารณาต่ออายุกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานฯ ได้ส่งกฎหมายดังกล่าวให้ คท. และกองการค้าพหุภาคีแล้ว และการเจรจาทวิภาคีสหรัฐฯ - เกาหลี ที่สหรัฐฯ ได้โจมตีกฎหมายดังกล่าว เกาหลีจึงขอให้สหรัฐฯ ไม่นำเรื่องร้องเรียนต่อ WTO แต่ได้ลดความกดดันของสหรัฐฯ โดยยกเลิกรายการสินค้าเลเซอร์พริ้นเตอร์ และ คอมพิวเตอร์ของอเมริกันที่ใช้ชิ้นส่วนทำจากญี่ปุ่นออกจากกฎหมายดังกล่าว
3. สหรัฐฯ มีข้อมูลเกี่ยวกับการปฎิบัติที่ขัดต่อกติกาของเกาหลี
เนื่องจากสหรัฐฯ เห็นความสำคัญของเกาหลีที่เป็นตลาดใหญ่อันดับ 3 ในสินค้าอาหารและเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งทางการได้รับข้อมูลการร้องเรียนจากผู้ส่งออก-ผู้นำเข้าที่เป็นกิจกรรมอเมริกัน นอกจากนั้น ยังมีหอการค้าฯ (American Chamber of Commerce) ในประเทศเกาหลีที่เป็นองค์กรเอกชนปกป้องผลประโยชน์ทางการค้า และทัศนคติของชาวตะวันตกที่รักษาสิทธิของ ตนเอง ในขณะที่สินค้าไทยมีการนำเข้าโดยผู้นำเข้าพื้นเมืองเกาหลีที่ไม่กล้าร้องเรียนต่อทางการหรือแจ้งข้อมูลต่อสำนักงานฯ ด้วยความเกรงกลัวการคุกคามด้านภาษีเงินได้และการขึ้นบัญชีดำจากรัฐบาล และเมื่อผู้ส่งออกไทยมองตลาดเกาหลีมีการกีดกันการค้าและมีปัญหากับผู้นำเข้า จึงหันไปให้ความสำคัญกับตลาดอื่นที่มีศักยภาพดีกว่า เช่น ยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่มีอำนาจซื้อ ตลาดไม่เข้มงวดเท่าเกาหลี และผู้นำเข้าไม่กดราคาสั่งซื้อ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้ไม่มากเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับศักยภาพทางเศรษฐกิจของเกาหลี และความเสียหายจากการค้ามีไม่มากเท่าในตลาดหลักของไทย ภาคเอกชนจึงไ่ม่เรียกร้องให้ทางการเร่งเจรจาผลักดันเกาหลี
ที่มา : อัครราชทูตที่ปรึกษา
(ฝ่ายการพาณิชย์ ณ กรุงโซล)
--ข่าวเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่18 / 15 ตุลาคม 2539--