กรุงเทพ--27 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยเมื่อวันที่ 25 มกราคม ศกนี้ ระหว่างเวลา 09.30-10.30 น. นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานหอการค้าไทยและคณะ ได้แก่ นายสมเกียรติ อนุราษฎร์ ประธานคณะกรรมการสาขาประมง หอการค้าไทย, นายพรชัย ละไมลิขสิทธิ์ เครือสยามซิเมนต์ และ น.ส.พจนารถ พะเนียงเวทย์ บริษัท President-Danish Foods ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อรายงานผลการนำคณะผู้แทนทางการค้าเยือนตะวันออกกลาง ซึ่งกระทรวงฯ ช่วยดำเนินการประสานงานและจัดกำหนดการให้คณะ และหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือระหว่างกระทรวงฯ กับหอการค้าไทย สรุปได้ดังนี้
1. ผลการเยือนโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน
1.1 นายวิเชียรฯ รายงานให้ทราบถึงผลการเยือนโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เยเมน ระหว่างวันที่ 6-14 ธันวาคม 2541 ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จด้วยดี โดยทั้งภาครัฐและเอกชนเห็นพ้องที่จะให้มีการขยายความร่วมมือด้านการประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อัญมณีและเครื่องประดับ วัสดุก่อสร้าง บริการขนส่งทางทะเล การส่งสินค้าอุปโภคบริโภคไปจำหน่าย โดยเฉพาะข้าว อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปและปิโตรเคมี พร้อมกันนี้ นายวิเชียรฯ ได้กล่าวขอบคุณกระทรวงฯ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ที่เกี่ยวข้องที่ช่วยประสานงานให้การเยือนครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นายวิเชียรฯ มีความเห็นว่ากระทรวงฯ ควรเพิ่มความสำคัญในบทบาทด้านเศรษฐกิจของเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ ซึ่ง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ เห็นด้วย และกล่าวว่าพร้อมจะร่วมมือและรับฟังข้อเสนอแนะของภาคเอกชน
สินค้าไทยที่มีศักยภาพในการขยายไปยังตลาดดังกล่าวได้แก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ข้าว วัสดุก่อสร้าง และเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ อะไหล่รถยนต์ โดยเฉพาะยางรถยนต์ ได้มีการส่งออกไปยังตลาดบางประเทศแล้ว เช่น เยเมน โดยสินค้าดังกล่าวสามารถที่จะส่งออกต่อไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางและประเทศใกล้เคียงได้ ทั้งนี้ ในการจัดให้มีการพบหารือระหว่างคณะผู้แทนไทยกับนักธุรกิจในแต่ละประเทศ ต่างให้ความสนใจอย่างยิ่งที่จะนำเข้าหรือเป็นตัวแทนในการนำเข้าสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค
1.2 ฝ่ายไทยได้ลงนามความตกลงความร่วมมือ (Cooperation Agreement) กับหอการค้าและอุตสาหกรรมโอมาน และกับหอการค้าและอุตสาหกรรมดูไบ โดยความตกลงดังกล่าวมุ่ง ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนเป็นประจำเพื่อขยายการค้า การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้าน กฎระเบียบทางการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมของแต่ละฝ่ายในด้านงานแสดง สินค้า การสัมมนา หรือการประชุม ความตกลงที่ได้ลงนามกับฝ่ายโอมานได้ระบุถึงเรื่องการพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสภาธุรกิจสองฝ่ายขึ้นด้วย ขณะที่ในความตกลงกับฝ่ายดูไบมิได้กล่าวถึงประเด็นนี้ โอมานและรัฐชาห์จาห์เห็นชอบกับข้อเสนอของฝ่ายไทยที่จะจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาลู่ทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะในส่วนของโอมานจะเน้นเรื่องการลงทุนด้านการประมงและปิโตรเคมี
1.3 สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินค้าอีกประเภทที่มีลู่ทางที่จะขยายตลาดได้ ดังเช่นกรณีของโอมานที่นำเข้าปีละ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ หอการค้าและอุตสาหกรรมชาห์จาห์ แจ้งว่ายินดีจะสนับสนุนเป็นพิเศษแก่สมาคมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยที่จะนำสมาชิกผู้ผลิตและจำหน่ายอัญมณีของไทยประมาณ 30-50 ราย ไปร่วมงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ที่รัฐชาห์จาห์จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2542 ขณะที่ไทยได้เชิญผู้แทนจากรัฐชาห์จาห์มาดูงาน Gems and Jewelry Fair ที่ประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2542
1.4 การประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นอีกสาขาหนึ่งที่ฝ่ายไทยมีโอกาสและ ลู่ทางขยายความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโอมานและเยเมน โอมานยังมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์และขณะนี้ยังไม่มีเรือต่างประเทศเข้าไปจับปลา โอมานแจ้งว่ายินดีสนับสนุนการร่วมลงทุนระหว่างภาคเอกชนของโอมานกับต่างชาติ โดยในขั้นต้น ฝ่ายโอมานต้องการเรียนรู้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของไทยในด้านการประมงก่อน โดยคาดว่าจะจัดส่งคณะผู้แทนด้านเทคนิคทางการประมงไปเยือนไทยประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2542 และหากเทคโนโลยีและประสบการณ์ของไทยเหมาะสมกับการพัฒนาประมงของโอมาน จะหารือเรื่องการร่วมลงทุน โดยสาขาที่คาดว่าจะร่วมมือกันได้ ได้แก่ ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูป และด้านการตลาด สำหรับตลาดเยเมนก็ยังคงมีศักยภาพอยู่ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า พร้อมจะให้ความร่วมมือ
1.5 น.ส.พจนารถ เพนียงเวทย์ ผู้แทนจากบริษัท President Danish Foods (ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า) แจ้งว่า ตลาดในตะวันออกกลางเป็นตลาดที่มีศักยภาพ บริษัทจึงจะเปิดโรงงานผลิตบะหมี่ฮาลาลในเร็วๆ นี้ เพื่อส่งออกไปยังตลาดประเทศมุสลิม ซึ่งในเรื่องนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เน้นความสำคัญของการทำตลาดและการเชิญผู้นำเข้าจากตะวันออกกลางมาเยือนไทย เพื่อเยี่ยมชมโรงงานเพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องกระบวนการผลิตที่จะต้องถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม
1.6 การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยขยายลู่การส่งออกสินค้าไทย โดยทางรัฐชาห์จาห์ได้มอบที่ดินผืนหนึ่งเพื่อให้ไทยไปจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการของกระทรวงพาณิชย์
2. การหารือระหว่างภาคเอกชนไทยกับเอกอัครราชทูตประเทศตะวันออกกลาง
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ เสนอจะจัดให้มีการพบหารือระหว่างภาคเอกชนไทยที่ประกอบธุรกิจการค้าและการลงทุนกับตะวันออกกลางกับเอกอัครราชทูตประเทศตะวันออกกลาง ทั้งที่ประจำการในประเทศไทยและที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศ แต่มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย เพื่อสร้างความรู้จักคุ้นเคย และแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันภาคเอกชนไทยให้ความสนใจในการขยายตลาดไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง และใช้โอกาสนี้ชี้แจงให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่ฝ่ายไทยต้องประสบในด้านการค้าและการลงทุน
3. การจัดสัมมนาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ เสนอให้มีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในภูมิภาค ตะวันออกกลาง โดยอาจใช้หัวข้อเรื่อง How to do business in the Middle East? โดยจัดที่ประเทศไทย และเชิญผู้ประกอบและผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคตะวันออกกลาง ตลอดจน ผู้แทนทางการค้ารายสำคัญมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะช่วยเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสและศักยภาพของตลาดในภูมิภาคดังกล่าวให้ภาคเอกชนไทยในวงกว้าง อีกทั้งยังเป็นการช่วยสร้าง เครือข่ายการติดต่อกับภาคธุรกิจเอกชนในตะวันออกกลางด้วย ซึ่งนายวิเชียรฯ แสดงความเห็นด้วยที่จะให้มีการจัดสัมมนาดังกล่าว
4.การจัดตั้ง Dubai-Thai Business Council และ Abu Dhabi-Thai Business Forum
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ เสนอให้มีผู้แทนหอการค้าไทยเข้าร่วมในการจัดตั้ง Dubai-Thai Business Council และ Abu Dhabi-Thai Business Forum เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนของไทยกับรัฐดูไบและรัฐอาบูดาบี ของสหรัฐอาหรับฯ เนื่องจากทั้งสองรัฐต่างมีความสำคัญด้านเศรษฐกิจ จึงควรที่ฝ่ายไทยจะพิจารณาจัดตั้งกลไกความร่วมมือแยกจากกัน และควรประกอบด้วยนักธุรกิจทั้งในภาคการค้าและอุตสาหกรรม
5. เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์เยือนประเทศไทย
Sheikh Hamad Bin Khalifar Al-Thani เจ้าผู้ครองรัฐ (Emir) กาตาร์ มีกำหนดเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 12-13 เมษายน 2542 โดยจะแวะกรุงเทพฯ หนึ่งวันก่อนเดินทางไปพักผ่อนที่ภูเก็ต ทั้งนี้ กาตาร์เป็นอีกประเทศหนึ่งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ สายการบินแห่งชาติของกาตาร์ มีกำหนดจะเปิดให้บริการบินระหว่างกาตาร์กับประเทศไทยอีกครั้งในเดือนมีนาคม ศกนี้
6. การขอเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ ไปช่วยปฎิบัติงานกับหอการค้าไทยและสมาคมประมง
นายวิเชียรฯ ได้เสนอ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ พิจารณาการจัดส่งเจ้าหน้าที่การทูตระดับ 5-6 ไปปฏิบัติงานที่หอการค้าไทย เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างหอการค้าไทยกับกระทรวงฯ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งการจัดตั้ง International Chamber of Commerce และ Muslim Chapter ขึ้นภายในหอการค้าไทย เพื่อขยายงานด้านภูมิภาคตะวันออกกลางและประเทศมุสลิม ซึ่ง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ เห็นชอบที่จะให้มีการส่ง เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ ไปเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานขององค์กรภาคเอกชน เพื่อเสริมสร้างประสบ-การณ์เพื่อประโยชน์ในงานของกระทรวงฯ นอกจากนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ยังเห็นชอบตามที่นาย สมเกียรติฯ ขอให้ส่งเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ ไปปฏิบัติงานที่สมาคมด้านการประมง เช่น สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมการประมงนอกน่านน้ำ สมาคมผู้ผลิตอาหารแช่เยือกแข็งไทย เป็นต้น
8. ข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ
8.1 แม้ว่าโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน เป็นตลาดขนาดเล็ก แต่มีนโยบาย ส่งเสริมการส่งออกต่อ (re-export) ไปยังประเทศใกล้เคียง กอปรกับเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง ไม่มีปัญหาด้านการชำระเงิน จึงทำให้สินค้าไทยมีโอกาสและศักยภาพที่จะขยายการส่งออกไปได้ สินค้าที่ไทยส่งออกควรที่มีคุณภาพหลากหลายเพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ สามารถเลือกซื้อได้ตามความ เหมาะสม เช่น วัสดุก่อสร้างบางประเภทอาจต้องมีการปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานที่เหมาะสมกับภูมิอากาศและความนิยม
8.2 การส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนทางการค้าและการลงทุนอย่างสม่ำเสมอทั้งในส่วนที่ดำเนินการโดยภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าของ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยในประเทศเหล่านี้ จะเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมและเผยแพร่สินค้าและบริการของไทย และเสริมสร้างเครือข่ายและความรู้จักคุ้นเคย ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่จะเอื้อต่อความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงตลาดที่มีขนาดเล็กดังกล่าวให้เป็นตลาดที่มีศักยภาพ
8.3 ตลาดในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นตลาดที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูงทั้งในด้านราคาและคุณภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะไปกำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าไทยในตลาดดังกล่าว นอกเหนือไปจากปัจจัยด้านการขนส่งและอัตราค่าขนส่ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
ด้วยเมื่อวันที่ 25 มกราคม ศกนี้ ระหว่างเวลา 09.30-10.30 น. นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานหอการค้าไทยและคณะ ได้แก่ นายสมเกียรติ อนุราษฎร์ ประธานคณะกรรมการสาขาประมง หอการค้าไทย, นายพรชัย ละไมลิขสิทธิ์ เครือสยามซิเมนต์ และ น.ส.พจนารถ พะเนียงเวทย์ บริษัท President-Danish Foods ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อรายงานผลการนำคณะผู้แทนทางการค้าเยือนตะวันออกกลาง ซึ่งกระทรวงฯ ช่วยดำเนินการประสานงานและจัดกำหนดการให้คณะ และหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือระหว่างกระทรวงฯ กับหอการค้าไทย สรุปได้ดังนี้
1. ผลการเยือนโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน
1.1 นายวิเชียรฯ รายงานให้ทราบถึงผลการเยือนโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เยเมน ระหว่างวันที่ 6-14 ธันวาคม 2541 ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จด้วยดี โดยทั้งภาครัฐและเอกชนเห็นพ้องที่จะให้มีการขยายความร่วมมือด้านการประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อัญมณีและเครื่องประดับ วัสดุก่อสร้าง บริการขนส่งทางทะเล การส่งสินค้าอุปโภคบริโภคไปจำหน่าย โดยเฉพาะข้าว อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปและปิโตรเคมี พร้อมกันนี้ นายวิเชียรฯ ได้กล่าวขอบคุณกระทรวงฯ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ที่เกี่ยวข้องที่ช่วยประสานงานให้การเยือนครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นายวิเชียรฯ มีความเห็นว่ากระทรวงฯ ควรเพิ่มความสำคัญในบทบาทด้านเศรษฐกิจของเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ ซึ่ง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ เห็นด้วย และกล่าวว่าพร้อมจะร่วมมือและรับฟังข้อเสนอแนะของภาคเอกชน
สินค้าไทยที่มีศักยภาพในการขยายไปยังตลาดดังกล่าวได้แก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ข้าว วัสดุก่อสร้าง และเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ อะไหล่รถยนต์ โดยเฉพาะยางรถยนต์ ได้มีการส่งออกไปยังตลาดบางประเทศแล้ว เช่น เยเมน โดยสินค้าดังกล่าวสามารถที่จะส่งออกต่อไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางและประเทศใกล้เคียงได้ ทั้งนี้ ในการจัดให้มีการพบหารือระหว่างคณะผู้แทนไทยกับนักธุรกิจในแต่ละประเทศ ต่างให้ความสนใจอย่างยิ่งที่จะนำเข้าหรือเป็นตัวแทนในการนำเข้าสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค
1.2 ฝ่ายไทยได้ลงนามความตกลงความร่วมมือ (Cooperation Agreement) กับหอการค้าและอุตสาหกรรมโอมาน และกับหอการค้าและอุตสาหกรรมดูไบ โดยความตกลงดังกล่าวมุ่ง ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนเป็นประจำเพื่อขยายการค้า การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้าน กฎระเบียบทางการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมของแต่ละฝ่ายในด้านงานแสดง สินค้า การสัมมนา หรือการประชุม ความตกลงที่ได้ลงนามกับฝ่ายโอมานได้ระบุถึงเรื่องการพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสภาธุรกิจสองฝ่ายขึ้นด้วย ขณะที่ในความตกลงกับฝ่ายดูไบมิได้กล่าวถึงประเด็นนี้ โอมานและรัฐชาห์จาห์เห็นชอบกับข้อเสนอของฝ่ายไทยที่จะจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาลู่ทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะในส่วนของโอมานจะเน้นเรื่องการลงทุนด้านการประมงและปิโตรเคมี
1.3 สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินค้าอีกประเภทที่มีลู่ทางที่จะขยายตลาดได้ ดังเช่นกรณีของโอมานที่นำเข้าปีละ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ หอการค้าและอุตสาหกรรมชาห์จาห์ แจ้งว่ายินดีจะสนับสนุนเป็นพิเศษแก่สมาคมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยที่จะนำสมาชิกผู้ผลิตและจำหน่ายอัญมณีของไทยประมาณ 30-50 ราย ไปร่วมงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ที่รัฐชาห์จาห์จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2542 ขณะที่ไทยได้เชิญผู้แทนจากรัฐชาห์จาห์มาดูงาน Gems and Jewelry Fair ที่ประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2542
1.4 การประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นอีกสาขาหนึ่งที่ฝ่ายไทยมีโอกาสและ ลู่ทางขยายความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโอมานและเยเมน โอมานยังมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์และขณะนี้ยังไม่มีเรือต่างประเทศเข้าไปจับปลา โอมานแจ้งว่ายินดีสนับสนุนการร่วมลงทุนระหว่างภาคเอกชนของโอมานกับต่างชาติ โดยในขั้นต้น ฝ่ายโอมานต้องการเรียนรู้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของไทยในด้านการประมงก่อน โดยคาดว่าจะจัดส่งคณะผู้แทนด้านเทคนิคทางการประมงไปเยือนไทยประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2542 และหากเทคโนโลยีและประสบการณ์ของไทยเหมาะสมกับการพัฒนาประมงของโอมาน จะหารือเรื่องการร่วมลงทุน โดยสาขาที่คาดว่าจะร่วมมือกันได้ ได้แก่ ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูป และด้านการตลาด สำหรับตลาดเยเมนก็ยังคงมีศักยภาพอยู่ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า พร้อมจะให้ความร่วมมือ
1.5 น.ส.พจนารถ เพนียงเวทย์ ผู้แทนจากบริษัท President Danish Foods (ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า) แจ้งว่า ตลาดในตะวันออกกลางเป็นตลาดที่มีศักยภาพ บริษัทจึงจะเปิดโรงงานผลิตบะหมี่ฮาลาลในเร็วๆ นี้ เพื่อส่งออกไปยังตลาดประเทศมุสลิม ซึ่งในเรื่องนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เน้นความสำคัญของการทำตลาดและการเชิญผู้นำเข้าจากตะวันออกกลางมาเยือนไทย เพื่อเยี่ยมชมโรงงานเพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องกระบวนการผลิตที่จะต้องถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม
1.6 การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยขยายลู่การส่งออกสินค้าไทย โดยทางรัฐชาห์จาห์ได้มอบที่ดินผืนหนึ่งเพื่อให้ไทยไปจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการของกระทรวงพาณิชย์
2. การหารือระหว่างภาคเอกชนไทยกับเอกอัครราชทูตประเทศตะวันออกกลาง
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ เสนอจะจัดให้มีการพบหารือระหว่างภาคเอกชนไทยที่ประกอบธุรกิจการค้าและการลงทุนกับตะวันออกกลางกับเอกอัครราชทูตประเทศตะวันออกกลาง ทั้งที่ประจำการในประเทศไทยและที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศ แต่มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย เพื่อสร้างความรู้จักคุ้นเคย และแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันภาคเอกชนไทยให้ความสนใจในการขยายตลาดไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง และใช้โอกาสนี้ชี้แจงให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่ฝ่ายไทยต้องประสบในด้านการค้าและการลงทุน
3. การจัดสัมมนาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ เสนอให้มีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในภูมิภาค ตะวันออกกลาง โดยอาจใช้หัวข้อเรื่อง How to do business in the Middle East? โดยจัดที่ประเทศไทย และเชิญผู้ประกอบและผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคตะวันออกกลาง ตลอดจน ผู้แทนทางการค้ารายสำคัญมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะช่วยเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสและศักยภาพของตลาดในภูมิภาคดังกล่าวให้ภาคเอกชนไทยในวงกว้าง อีกทั้งยังเป็นการช่วยสร้าง เครือข่ายการติดต่อกับภาคธุรกิจเอกชนในตะวันออกกลางด้วย ซึ่งนายวิเชียรฯ แสดงความเห็นด้วยที่จะให้มีการจัดสัมมนาดังกล่าว
4.การจัดตั้ง Dubai-Thai Business Council และ Abu Dhabi-Thai Business Forum
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ เสนอให้มีผู้แทนหอการค้าไทยเข้าร่วมในการจัดตั้ง Dubai-Thai Business Council และ Abu Dhabi-Thai Business Forum เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนของไทยกับรัฐดูไบและรัฐอาบูดาบี ของสหรัฐอาหรับฯ เนื่องจากทั้งสองรัฐต่างมีความสำคัญด้านเศรษฐกิจ จึงควรที่ฝ่ายไทยจะพิจารณาจัดตั้งกลไกความร่วมมือแยกจากกัน และควรประกอบด้วยนักธุรกิจทั้งในภาคการค้าและอุตสาหกรรม
5. เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์เยือนประเทศไทย
Sheikh Hamad Bin Khalifar Al-Thani เจ้าผู้ครองรัฐ (Emir) กาตาร์ มีกำหนดเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 12-13 เมษายน 2542 โดยจะแวะกรุงเทพฯ หนึ่งวันก่อนเดินทางไปพักผ่อนที่ภูเก็ต ทั้งนี้ กาตาร์เป็นอีกประเทศหนึ่งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ สายการบินแห่งชาติของกาตาร์ มีกำหนดจะเปิดให้บริการบินระหว่างกาตาร์กับประเทศไทยอีกครั้งในเดือนมีนาคม ศกนี้
6. การขอเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ ไปช่วยปฎิบัติงานกับหอการค้าไทยและสมาคมประมง
นายวิเชียรฯ ได้เสนอ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ พิจารณาการจัดส่งเจ้าหน้าที่การทูตระดับ 5-6 ไปปฏิบัติงานที่หอการค้าไทย เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างหอการค้าไทยกับกระทรวงฯ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งการจัดตั้ง International Chamber of Commerce และ Muslim Chapter ขึ้นภายในหอการค้าไทย เพื่อขยายงานด้านภูมิภาคตะวันออกกลางและประเทศมุสลิม ซึ่ง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ เห็นชอบที่จะให้มีการส่ง เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ ไปเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานขององค์กรภาคเอกชน เพื่อเสริมสร้างประสบ-การณ์เพื่อประโยชน์ในงานของกระทรวงฯ นอกจากนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ยังเห็นชอบตามที่นาย สมเกียรติฯ ขอให้ส่งเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ ไปปฏิบัติงานที่สมาคมด้านการประมง เช่น สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมการประมงนอกน่านน้ำ สมาคมผู้ผลิตอาหารแช่เยือกแข็งไทย เป็นต้น
8. ข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ
8.1 แม้ว่าโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน เป็นตลาดขนาดเล็ก แต่มีนโยบาย ส่งเสริมการส่งออกต่อ (re-export) ไปยังประเทศใกล้เคียง กอปรกับเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง ไม่มีปัญหาด้านการชำระเงิน จึงทำให้สินค้าไทยมีโอกาสและศักยภาพที่จะขยายการส่งออกไปได้ สินค้าที่ไทยส่งออกควรที่มีคุณภาพหลากหลายเพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ สามารถเลือกซื้อได้ตามความ เหมาะสม เช่น วัสดุก่อสร้างบางประเภทอาจต้องมีการปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานที่เหมาะสมกับภูมิอากาศและความนิยม
8.2 การส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนทางการค้าและการลงทุนอย่างสม่ำเสมอทั้งในส่วนที่ดำเนินการโดยภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าของ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยในประเทศเหล่านี้ จะเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมและเผยแพร่สินค้าและบริการของไทย และเสริมสร้างเครือข่ายและความรู้จักคุ้นเคย ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่จะเอื้อต่อความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงตลาดที่มีขนาดเล็กดังกล่าวให้เป็นตลาดที่มีศักยภาพ
8.3 ตลาดในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นตลาดที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูงทั้งในด้านราคาและคุณภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะไปกำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าไทยในตลาดดังกล่าว นอกเหนือไปจากปัจจัยด้านการขนส่งและอัตราค่าขนส่ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--