นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยมีมูลค่าการส่งออกไปตลาด อาเซียน ในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2548 มูลค่า 11,434.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน ในปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า 9,929.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 15.15
ไทยใช้สิทธิส่งออกภายใต้ CEPT ไปอาเซียน 9 ประเทศ มีมูลค่า 2,456.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น จากในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า 1,880.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 30.63 มีสัดส่วน การใช้สิทธิพิเศษฯ คิดเป็นร้อยละ ของมูลค่าการส่งออกไปอาเซียนทั้งหมด
การใช้สิทธิพิเศษ ฯ CEPT ในประเทศสมาชิกใหม่ มีมูลค่าขยายตัวกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วง เวลาเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ พม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 58 ลาว ร้อยละ 54 เวียดนาม ร้อยละ 52 กัมพูชา ร้อยละ 50 สำหรับประเทศที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษ ฯ สูงยังคงเป็น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ
รายการสินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษฯ CEPT สูง ได้แก่ รถยนต์บุคคล ส่วนประกอบยานยนต์ ยานยนต์ ขนส่ง แชมพู เครื่องปรับอากาศ ซีเมนต์เม็ด ตู้เย็น อาหารปรุงแต่ง ยางที่ใช้กับรถบรรทุก ส่วนประกอบ จักรยานยนต์ ส่วนรายการสินค้าที่มีอัตราการใช้สิทธิ CEPT เพิ่มขึ้นสูงในเชิงมูลค่า ได้แก่ ยานยนต์ขนส่ง เครื่องปรับอากาศ ยางรถยนต์ เครื่องจักร ส่วนประกอบเครื่องจักร ส่วนประกอบจักรยานยนต์ ส่วนประกอบวงจร
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่าการใช้กฎแหล่งกำเนิดแบบสะสม จากมติของที่ประชุม AEM Retreat เมื่อเดือนเมษายน 2548 ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนปฏิบัติตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ CEPT ที่ปรับปรุงใหม่ ตามกฎข้อ 4 กฎแหล่งกำเนิดสินค้าสะสมบางส่วน (Partial Cumulation) ให้สามารถ นำมูลค่าของวัตถุดิบนำเข้าจากสมาชิกอาเซียนที่มี Local Content เท่ากับหรือสูงกว่าร้อยละ 20 มาคำนวณสะสม ในประเทศสมาชิกผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปได้ ซึ่งจะทำให้ประเทศสมาชิกสามารถเพิ่มโอกาสในการใช้สิทธิพิเศษฯ เพิ่มขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า
กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 1385 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : ft@mocnet.moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
ไทยใช้สิทธิส่งออกภายใต้ CEPT ไปอาเซียน 9 ประเทศ มีมูลค่า 2,456.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น จากในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า 1,880.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 30.63 มีสัดส่วน การใช้สิทธิพิเศษฯ คิดเป็นร้อยละ ของมูลค่าการส่งออกไปอาเซียนทั้งหมด
การใช้สิทธิพิเศษ ฯ CEPT ในประเทศสมาชิกใหม่ มีมูลค่าขยายตัวกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วง เวลาเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ พม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 58 ลาว ร้อยละ 54 เวียดนาม ร้อยละ 52 กัมพูชา ร้อยละ 50 สำหรับประเทศที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษ ฯ สูงยังคงเป็น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ
รายการสินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษฯ CEPT สูง ได้แก่ รถยนต์บุคคล ส่วนประกอบยานยนต์ ยานยนต์ ขนส่ง แชมพู เครื่องปรับอากาศ ซีเมนต์เม็ด ตู้เย็น อาหารปรุงแต่ง ยางที่ใช้กับรถบรรทุก ส่วนประกอบ จักรยานยนต์ ส่วนรายการสินค้าที่มีอัตราการใช้สิทธิ CEPT เพิ่มขึ้นสูงในเชิงมูลค่า ได้แก่ ยานยนต์ขนส่ง เครื่องปรับอากาศ ยางรถยนต์ เครื่องจักร ส่วนประกอบเครื่องจักร ส่วนประกอบจักรยานยนต์ ส่วนประกอบวงจร
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่าการใช้กฎแหล่งกำเนิดแบบสะสม จากมติของที่ประชุม AEM Retreat เมื่อเดือนเมษายน 2548 ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนปฏิบัติตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ CEPT ที่ปรับปรุงใหม่ ตามกฎข้อ 4 กฎแหล่งกำเนิดสินค้าสะสมบางส่วน (Partial Cumulation) ให้สามารถ นำมูลค่าของวัตถุดิบนำเข้าจากสมาชิกอาเซียนที่มี Local Content เท่ากับหรือสูงกว่าร้อยละ 20 มาคำนวณสะสม ในประเทศสมาชิกผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปได้ ซึ่งจะทำให้ประเทศสมาชิกสามารถเพิ่มโอกาสในการใช้สิทธิพิเศษฯ เพิ่มขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า
กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 1385 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : ft@mocnet.moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-