กรมส่งเสริมการส่งออกขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการทั้ง 441 บริษัทจากกลุ่มอุตสาหกรรม 16 ประเภท ซึ่งกรมฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการมอบใบรับรองการใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทย ประจำปี พ.ศ. 2542 นี้ จะเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกันด้วยความร่วมมือจากผู้ประกอบการทุกท่านในการเผยแพร่ส่งเสริมให้มีการใช้สัญลักษณ์แบรนด์สินค้าไทยอย่างกว้างขวางเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประเทศชาติ ตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ สัญลักษณ์ตราสินค้าไทยเป็นนโยบายการส่งเสริมการส่งออกที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประกอบกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออกจึงได้ดำเนินการโครงการสร้างภาพลักษณ์ประเทศและสินค้าไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศและสินค้าไทยโดยรวมภายใต้ชื่อและสื่อประชาสัมพันธ์ตัวแทนประเทศไทย โดยใช้คำว่า “Thailand : Land of Diversity & Refinement ” และภาพลักษณ์สินค้าไทย โดยใช้คำว่า “ Thailand : Diversity & refinement ” ซึ่งคำทั้ง 2 ลักษณะจะบรรจุลงในวงรีรวมกับเครื่องหมายของกรมส่งเสริมการส่งออกที่เป็นรูปธงชาติประกอบกันในพื้นสีครีม เผยแพร่ไปทั่วทุกแห่งเพื่อประกาศความเป็นหนึ่งของสินค้าไทยในด้านของความหลากหลายและความประณีตซึ่งเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานสากล
ผู้ประกอบการกลุ่มสินค้าต่างๆ ที่สามารถผ่านหลักเกณฑ์และข้อกำหนดการใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทยทั้ง 441 รายที่ได้รับเกียรติเข้าร่วมพิธีมอบใบรับรองการใช้สัญลักษณ์ฯในวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2542 ถือได้ว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกหรือกลุ่มผู้นำที่จะร่วมกันสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับให้เกิดแก่สัญลักษณ์นี้ต่อไปส่วนภาครัฐบาลก็จะร่วมกันส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์นี้ให้กว้างไกลต่อๆไป
เครื่องหมายสัญลักษณ์ตราสินค้าไทย
เครื่องหมายที่เป็นรูปธงชาติสองผืนในลักษณะซ้อนกันทำมุมเฉียงดังกล่าวเป็นเครื่องหมายราชการของกรมส่งเสริมการส่งออกจึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 โดยความในมาตรา 6 บัญญัติไว้ว่าห้ามมิให้บุคคลใดใช้เครื่องหมายราชการเว้นแต่หน่วยราชการที่กำหนดเครื่องหมายนั้นจะได้อนุญาตหรือความในมาตรา 7 บัญญัติไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดปลอมหรือเลียนเครื่องหมายราชการไม่ว่าจะทำเป็นสีใดหรือทำด้วยวิธีใดๆ หรือทำให้ปรากฏที่วัตถุหรือสินค้าใดๆก็ตาม และบทลงโทษในมาตรา 8 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งมาตรา 6 หรือมาตรา 7มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินสองพันบาท ดังนั้นสัญลักษณ์ตราประเทศและสินค้าไทยจึงได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องจดทะเบียนอีกในประเทศไทย
ความรู้ทั่วไปในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ สำหรับตลาดสหภาพยุโรป
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและการป้องกันการลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าในสหภาพยุโรปสามารถดำเนินการได้ 2 วิธีคือ
1. จดทะเบียนในแต่ละประเทศโดยเลือกสิทธิคุ้มครองเฉพาะในประเทศที่จดทะเบียนเท่านั้น
2. จดทะเบียน Community Trade Marks กับสำนักงานเครื่องหมายการค้า เรียกว่า The Office for Harmonization in The Internal Market (OHIM) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองอาริคานเต้ (Alicante) ประเทศสเปน โดยมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของสินค้าและบริการในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 15 ประเทศ คือ ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศสเยอรมันนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอแลนด์ โปรตุเกส สวีเดน สเปน และสหราชอาณาจักร ซึ่งสามารถให้สิทธิ์คุ้มครองครอบคลุม การเลียนแบบ การถ่ายโอนต่างๆ พร้อมกันทุกประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป คราวละ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นใบสมัคร
สิทธิคุ้มครองยังอาจคุ้มครองให้แก่เครื่องหมายหารค้าที่จดทะเบียนไว้ในประเทศสมาชิกตามอนุสัญญากรุงปารีส (Paris Convention) ที่ให้การคุ้มครองแก่ทรัพย์สินทางปัญญา หรือความตกลงภายใต้กรอบขององค์การค้าโลก (WTO)
การจดทะเบียนโดยวิธีนี้ จะช่วยลดปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับขั้นตอนพิธีการต่างๆ ประหยัดเวลาค่าใช้จ่าย ลดอุปสรรคต่างๆ เช่น การใช้ภาษาที่แตกต่างกันโดยสามารถเลือกกรอกใบสมัครได้ 11 ภาษา พร้อมกำหนดภาษาที่ 2 (Second Language) โดยเลือกจาก 5 ภาษาหลัก ได้แก่ สเปน เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และ อิตาลี สำหรับการดำเนินการในเรื่องการคัดค้าน เรียกร้องสิทธิ์ และยกเลิกสิทธิ์หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำคัญที่ OHIM ไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ (Absolute
Grounds for Refusal) ก็ต่อเมื่อสัญลักษณ์นั้น
1. มีความเป็นสามัญ (Generic Meaning)
2. ไม่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง (Distinctive Character) อธิบายถึงคุณภาพ ปริมาณ และลักษณะอื่นๆของสินค้าและบริการ เช่น Fresh Each Day
3. ขัดแย้งกับหลักจริยธรรม เช่น ใช้คำไม่สุภาพ
4. หลอกลวงประชาชน
5. ระบุแหล่งกำเนิดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้อง
6. เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปในสังคมและในการปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ OHIM ยังปฏิเสธการจดทะเบียนให้แก่สัญลักษณ์ที่อาจก่อให้เกิดความข้ดแย้งกันผู้สมัครจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสัญลักษณ์ที่จดทะเบียนไว้ก่อนหน้านี้ โดยในการจดทะเบียนไว้ก่อนหน้าแล้วในการจดทะเบียนดังกล่าว มีค่าใช้จ่ายที่สำคัญ ดังนี้ประเภทของค่าธรรมเนียม เงินยูโร (Euro)
1. ค่าธรรมเนียมสมัครเบื้องต้น 975
2. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน 1,100
3. ค่าธรรมเนียมการต่ออายุ 2,500
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานเครื่องหมายการค้า The Office for Harmonization in The Internal Market (OHIM) เมืองอาริคานเต้ (Alicante) ประเทศสเปน โทรศัพท์ +34965 139 100 +34965 139 243 และ+34965 139 272 โทรสาร +34965 139 173 และ +34965 131 344 Internet Web Site : “OAMI-ON-LINE ” : http://oami.cu.int
--กรมส่งเสริมการส่งออก สิงหาคม 2542--
ผู้ประกอบการกลุ่มสินค้าต่างๆ ที่สามารถผ่านหลักเกณฑ์และข้อกำหนดการใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทยทั้ง 441 รายที่ได้รับเกียรติเข้าร่วมพิธีมอบใบรับรองการใช้สัญลักษณ์ฯในวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2542 ถือได้ว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกหรือกลุ่มผู้นำที่จะร่วมกันสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับให้เกิดแก่สัญลักษณ์นี้ต่อไปส่วนภาครัฐบาลก็จะร่วมกันส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์นี้ให้กว้างไกลต่อๆไป
เครื่องหมายสัญลักษณ์ตราสินค้าไทย
เครื่องหมายที่เป็นรูปธงชาติสองผืนในลักษณะซ้อนกันทำมุมเฉียงดังกล่าวเป็นเครื่องหมายราชการของกรมส่งเสริมการส่งออกจึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 โดยความในมาตรา 6 บัญญัติไว้ว่าห้ามมิให้บุคคลใดใช้เครื่องหมายราชการเว้นแต่หน่วยราชการที่กำหนดเครื่องหมายนั้นจะได้อนุญาตหรือความในมาตรา 7 บัญญัติไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดปลอมหรือเลียนเครื่องหมายราชการไม่ว่าจะทำเป็นสีใดหรือทำด้วยวิธีใดๆ หรือทำให้ปรากฏที่วัตถุหรือสินค้าใดๆก็ตาม และบทลงโทษในมาตรา 8 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งมาตรา 6 หรือมาตรา 7มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินสองพันบาท ดังนั้นสัญลักษณ์ตราประเทศและสินค้าไทยจึงได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องจดทะเบียนอีกในประเทศไทย
ความรู้ทั่วไปในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ สำหรับตลาดสหภาพยุโรป
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและการป้องกันการลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าในสหภาพยุโรปสามารถดำเนินการได้ 2 วิธีคือ
1. จดทะเบียนในแต่ละประเทศโดยเลือกสิทธิคุ้มครองเฉพาะในประเทศที่จดทะเบียนเท่านั้น
2. จดทะเบียน Community Trade Marks กับสำนักงานเครื่องหมายการค้า เรียกว่า The Office for Harmonization in The Internal Market (OHIM) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองอาริคานเต้ (Alicante) ประเทศสเปน โดยมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของสินค้าและบริการในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 15 ประเทศ คือ ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศสเยอรมันนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอแลนด์ โปรตุเกส สวีเดน สเปน และสหราชอาณาจักร ซึ่งสามารถให้สิทธิ์คุ้มครองครอบคลุม การเลียนแบบ การถ่ายโอนต่างๆ พร้อมกันทุกประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป คราวละ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นใบสมัคร
สิทธิคุ้มครองยังอาจคุ้มครองให้แก่เครื่องหมายหารค้าที่จดทะเบียนไว้ในประเทศสมาชิกตามอนุสัญญากรุงปารีส (Paris Convention) ที่ให้การคุ้มครองแก่ทรัพย์สินทางปัญญา หรือความตกลงภายใต้กรอบขององค์การค้าโลก (WTO)
การจดทะเบียนโดยวิธีนี้ จะช่วยลดปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับขั้นตอนพิธีการต่างๆ ประหยัดเวลาค่าใช้จ่าย ลดอุปสรรคต่างๆ เช่น การใช้ภาษาที่แตกต่างกันโดยสามารถเลือกกรอกใบสมัครได้ 11 ภาษา พร้อมกำหนดภาษาที่ 2 (Second Language) โดยเลือกจาก 5 ภาษาหลัก ได้แก่ สเปน เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และ อิตาลี สำหรับการดำเนินการในเรื่องการคัดค้าน เรียกร้องสิทธิ์ และยกเลิกสิทธิ์หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำคัญที่ OHIM ไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ (Absolute
Grounds for Refusal) ก็ต่อเมื่อสัญลักษณ์นั้น
1. มีความเป็นสามัญ (Generic Meaning)
2. ไม่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง (Distinctive Character) อธิบายถึงคุณภาพ ปริมาณ และลักษณะอื่นๆของสินค้าและบริการ เช่น Fresh Each Day
3. ขัดแย้งกับหลักจริยธรรม เช่น ใช้คำไม่สุภาพ
4. หลอกลวงประชาชน
5. ระบุแหล่งกำเนิดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้อง
6. เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปในสังคมและในการปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ OHIM ยังปฏิเสธการจดทะเบียนให้แก่สัญลักษณ์ที่อาจก่อให้เกิดความข้ดแย้งกันผู้สมัครจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสัญลักษณ์ที่จดทะเบียนไว้ก่อนหน้านี้ โดยในการจดทะเบียนไว้ก่อนหน้าแล้วในการจดทะเบียนดังกล่าว มีค่าใช้จ่ายที่สำคัญ ดังนี้ประเภทของค่าธรรมเนียม เงินยูโร (Euro)
1. ค่าธรรมเนียมสมัครเบื้องต้น 975
2. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน 1,100
3. ค่าธรรมเนียมการต่ออายุ 2,500
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานเครื่องหมายการค้า The Office for Harmonization in The Internal Market (OHIM) เมืองอาริคานเต้ (Alicante) ประเทศสเปน โทรศัพท์ +34965 139 100 +34965 139 243 และ+34965 139 272 โทรสาร +34965 139 173 และ +34965 131 344 Internet Web Site : “OAMI-ON-LINE ” : http://oami.cu.int
--กรมส่งเสริมการส่งออก สิงหาคม 2542--