นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้สรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐประจำเดือนมกราคม 2548 และในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 (ตุลาคม 2547 - มกราคม 2548) พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2547 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
ในเดือนมกราคม 2548 :
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) ที่ครบกำหนดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 34,900 ล้านบาท ซึ่งได้กู้เงินระยะสั้นมาชำระคืน และในเดือนนี้ได้ออกพันธบัตรในวงเงิน 16,000 ล้านบาท เพื่อทดแทนเงินกู้ระยะสั้นดังกล่าว นอกจากนี้ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้อายุ 182 วัน จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 5,000 ล้านบาท มาทดแทนตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนนี้อีก 10,000 ล้านบาท
สำหรับรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินในประเทศเพื่อ Roll Over หนี้เดิม 1,162 ล้านบาท
ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 :
ด้านต่างประเทศ
ในด้านต่างประเทศได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ เป็นวงเงินรวม 34,654 ล้านบาท โดยเป็นของรัฐบาล 22,022 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 12,632 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 9,326 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้ 3,340 ล้านบาท รายละเอียดปรากฏ
ด้านในประเทศ
สำหรับด้านในประเทศได้มีการปรับโครงสร้างหนี้รวม 71,815 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตร FIDF1 ของกระทรวงการคลัง 66,153 ล้านบาท และการ Roll Over หนี้ของรัฐวิสาหกิจรวม 5,662 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
ในเดือนมกราคม 2548 รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 33,780 ล้านบาท เป็นการกู้เพื่อลงทุน 8,780 ล้านบาท ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 5,000 ล้านบาท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2,200 ล้านบาท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 310 ล้านบาท และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 1,270 ล้านบาท นอกจากนี้ สถาบันบริหารกองทุนพลังงานได้กู้เงินเพื่อชดเชยการตรึงราคาน้ำมัน 25,000 ล้านบาท
ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศไปแล้ว 87,742 ล้านบาท เป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง10,000 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 77,742 ล้านบาท ดังปรากฏ
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
ในเดือนมกราคม 2548 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 17,983 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 12,047 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 5,936 ล้านบาท
ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณรวม 49,989 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2547
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 มีจำนวน 3,107,111 ล้านบาท หรือร้อยละ 47.63 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,805,724 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 915,682 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 385,705 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 3,278 ล้านบาท โดยหนี้ ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 6,454 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 847 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 2,329 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 640,433 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.61 และหนี้ในประเทศ 2,466,678 ล้านบาท หรือร้อยละ 79.39 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,483,496 ล้านบาท หรือร้อยละ 79.33 และหนี้ระยะสั้น 623,615 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.07 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 14/2548 10 กุมภาพันธ์ 2548--
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
ในเดือนมกราคม 2548 :
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) ที่ครบกำหนดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 34,900 ล้านบาท ซึ่งได้กู้เงินระยะสั้นมาชำระคืน และในเดือนนี้ได้ออกพันธบัตรในวงเงิน 16,000 ล้านบาท เพื่อทดแทนเงินกู้ระยะสั้นดังกล่าว นอกจากนี้ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้อายุ 182 วัน จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 5,000 ล้านบาท มาทดแทนตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนนี้อีก 10,000 ล้านบาท
สำหรับรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินในประเทศเพื่อ Roll Over หนี้เดิม 1,162 ล้านบาท
ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 :
ด้านต่างประเทศ
ในด้านต่างประเทศได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ เป็นวงเงินรวม 34,654 ล้านบาท โดยเป็นของรัฐบาล 22,022 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 12,632 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 9,326 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้ 3,340 ล้านบาท รายละเอียดปรากฏ
ด้านในประเทศ
สำหรับด้านในประเทศได้มีการปรับโครงสร้างหนี้รวม 71,815 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตร FIDF1 ของกระทรวงการคลัง 66,153 ล้านบาท และการ Roll Over หนี้ของรัฐวิสาหกิจรวม 5,662 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
ในเดือนมกราคม 2548 รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 33,780 ล้านบาท เป็นการกู้เพื่อลงทุน 8,780 ล้านบาท ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 5,000 ล้านบาท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2,200 ล้านบาท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 310 ล้านบาท และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 1,270 ล้านบาท นอกจากนี้ สถาบันบริหารกองทุนพลังงานได้กู้เงินเพื่อชดเชยการตรึงราคาน้ำมัน 25,000 ล้านบาท
ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศไปแล้ว 87,742 ล้านบาท เป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง10,000 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 77,742 ล้านบาท ดังปรากฏ
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
ในเดือนมกราคม 2548 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 17,983 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 12,047 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 5,936 ล้านบาท
ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณรวม 49,989 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2547
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 มีจำนวน 3,107,111 ล้านบาท หรือร้อยละ 47.63 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,805,724 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 915,682 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 385,705 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 3,278 ล้านบาท โดยหนี้ ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 6,454 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 847 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 2,329 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 640,433 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.61 และหนี้ในประเทศ 2,466,678 ล้านบาท หรือร้อยละ 79.39 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,483,496 ล้านบาท หรือร้อยละ 79.33 และหนี้ระยะสั้น 623,615 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.07 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 14/2548 10 กุมภาพันธ์ 2548--