1. คำนำ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ของไทยได้ขยายตัวเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็วทั้งทางด้านการ
ผลิตและส่งออก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตมาตลอดและเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุน
และส่งเสริมการลงทุน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกอบกับประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ประสบปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต้นทุนการผลิตสูง และขาดแคลนแรงงาน ผู้ผลิตในประเทศ
ดังกล่าวจึงได้ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ในประเทศไทยปัจจุบันสามารถผลิตได้เองภายในประเทศ
เกือบทั้งหมด มีบางส่วนที่ต้องนำเข้าเนื่องจากบริษัทแม่ไม่อนุญาตให้ผลิต สำหรับการผลิตที่ไม่ซับซ้อน ใช้เทคนิกการผลิตง่ายส่วนใหญ่
เป็นกิจการขนาดเล็กถึงขนาดกลางสามารถผลิตชิ้นส่วนง่าย ๆ ขึ้นใช้เองได้ ส่วนการผลิตต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ใช้เงินลงทุน
จำนวนมาก มักจะเป็นกิจการขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการลงทุนของชาวต่างประเทศทั้งหมด หรือเข้าร่วมลงทุนกับผู้ผลิตในประเทศไทย
ทำการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายตลาดภายในประเทศส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ หรือผลิตเพื่อส่งออก
ตลาดต่างประเทศทั้งหมด ซึ่งมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
2. การส่งออก
2.1 ภาวะการส่งออก
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นทำรายได้ให้กับประเทศไทยมากเป็น
อันดับ 1 ซึ่งปัจจุบันโครงสร้างตลาดส่งออกสินค้าดังกล่าวได้เปลี่ยนไป โดยตลาดอาเซียนได้กลายเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่ง
ของไทย รองลงไปได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ส่วนตลาดสหภาพยุโรปนั้นมีบทบาทลดลง ทั้งนี้เนื่องจากการกีดกันการค้ากับ
ประเทศนอกกลุ่ม นอกจากนั้นประเทศไทยยังได้ขยายตลาดส่งออกไปยังอินโดจีน-พม่า ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันออกได้
กว้างขวางยิ่งขึ้น การส่งออกสินค้าดังกล่าวจึงได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.2 มูลค่าการส่งออก
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ในปี 2536 ส่งออกได้มูลค่าทั้งสิ้น 224,598 ล้านบาท ปี 2537
ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 คิดเป็นมูลค่า 311,159.9 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 28.6 คิดเป็นมูลค่า 400,275.5
ล้านบาท ปี 2539 ช่วงไตรมาสแรก (มค.-มีค.) ส่งออกได้มูลค่า 114,410.2 ล้านบาท เทียบกับปี 2538 ช่วงระยะเดียวกัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 และตลอดปีได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกไว้เป็นมูลค่า 453,000 ล้านบาท
2.3 การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์แยกตามกลุ่มได้ดังนี้
เครื่องใช้ไฟฟ้า ประกอบด้วย วีดีโอ วิทยุโทรทัศน์ หลอดภาพโทรทัศน์สี เตาไมโครเวฟ พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ
เทปแม่เหล็ก หม้อแปลงไฟฟ้า หม้อแบตเตอรี่ อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับจุดระเบิดเครื่องยนต์ ฯลฯ
ในปี 2538 ประเทศไทยส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าได้มูลค่าทั้งสิ้น 153,803.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2537 ร้อยละ
22.1 ปี 2539 ช่วงไตรมาสแรก (มค.-มีค.) ส่งออกได้มูลค่า 40,272.1 ล้านบาท เทียบกับปี 2538 ระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ
24
เครื่องอิเลคทรอนิกส์ ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคำนวณอิเลคทรอ-นิกส์ แผงวงจรไฟฟ้า วงจรพิมพ์
ตลับลูกปืน มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟ เครื่องโทรพิมพ์และโทรสาร เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ เครื่องส่งวิทยุโทรเลข ฯลฯ
ในปี 2538 ส่งออกได้มูลค่ารวมทั้งสิ้น 246,472.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2537 ร้อยละ 33 ปี 2539
ช่วงไตรมาสแรก (มค.-มีค.) ส่งออกได้มูลค่า 74,138.1 ล้านบาท เทียบกับปี 2538 ช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6
2.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ที่ส่งออกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
เครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2538 ปี 2539
(มค.-มีค.)
- วิทยุโทรทัศน์ 12.6% 25.7%
- หลอดภาพโทรทัศน์สี 27.1% 61.1%
- เตาไมโครเวฟ และเครื่องใช้ 18.6% 20%
ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน
- พัดลม -15.2% 17.3%
- ตู้เย็น 64.2% 25.5%
- เครื่องปรับอากาศ 49.5% 43.1%
- สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล 22.3% 19.4%
- เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก 7.0% 24.4%
- หม้อแปลงไฟฟ้า 65.2% 17.7%
- หลอดไฟฟ้า 16.6% 4.3%
- อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับติดต่อ 31.9% 6.3%
ป้องกันวงจรไฟฟ้า
- เครื่องพักกระแสไฟฟ้า 26.2% 21.9%
เครื่องอิเลคทรอนิกส์
- เครื่องคอมพิวเตอร์ 38.7% 53.3%
- แผงวงจรไฟฟ้า 28.3% 18.4%
- ตลับลูกปืน 20.4% 22.5%
- มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟ 35.6% 66.8%
- เครื่องโทรพิมพ์ และโทรสาร 34.7% 91.3%
- ส่วนประกอบอุปกรณ์สำหรับ 20.5% 24.4%
โทรศัพท์และโทรสาร
- ไดโอด ทานซิสเตอร์และ 33.8% 39.4%
อุปกรณ์กึ่งตัวนำ
2.5 เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ที่ส่งออกมีอัตราการขยายตัวลดลง
เครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2538 ปี 2539
(มค.-มีค.)
- วีดีโอ 2.3% -7.0%
- ลำโพงขยายเสียง 13.9% -26.7%
และส่วนประกอบ
- อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับ -74.5% -10.6%
จุดระเบิดเครื่องยนต์
เครื่องอิเลคทรอนิกส์
- เครื่องคำนวนอิเลคทรอนิกส์ 30.4% -3.2%
- วงจรพิมพ์ 37.3% -23.5%
- เครื่องส่งวิทยุโทรเลข -7.2% -17.8%
2.6 ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ที่สำคัญตามลำดับสัดส่วน ส่งออกปี 2538 ได้แก่ อาเซียน
ร้อยละ 32.6 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 22 ญี่ปุ่น ร้อยละ 16 สหภาพ-ยุโรป ร้อยละ 14.2 ส่วนที่เหลือร้อยละ 17.4 เป็น
ตลาดอื่น ๆ ได้แก่ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย สรุปได้คือ
(1) ตลาดอาเซียน ประกอบด้วยตลาดสำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ ในปี 2538 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 89 ของตลาด
อาเซียน มาเลเซีย ร้อยละ 9.5 และฟิลิปปินส์ ร้อยละ 1.5 เป็นตลาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา 2537-2539
ที่ประเทศไทยส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ไปตลาดอาเซียนได้มูลค่าสูงสุด และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2537 ส่งออกได้มูลค่า 103,880.5 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็น 130,609.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7
และปี 2539 ช่วงไตรมาสแรกส่งออกได้มูลค่า 37,006.2 ล้านบาท เทียบกับปี 2538 ระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4
สินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้มากที่สุดได้แก่ เครื่องอิเลคทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
เครื่องคำนวณอิเลคทรอนิกส์ แผงวงจรไฟฟ้า ตลับลูกปืน มอเตอร์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และ
อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ วีดีโอ หลอดภาพโทรทัศน์สี ลำโพงขยายเสียง พัดลม ตู้เย็น เป็นต้น
(2) ตลาดสหรัฐอเมริกา
เป็นตลาดใหญ่อันดับสองรองจากตลาดอาเซียน ซึ่งประเทศไทยส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ไป
ยังตลาดแห่งนี้ได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี 2537 ส่งออกได้มูลค่า 78,342 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า
87,502 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 และปี 2539 ช่วงไตรมาสแรกส่งออกได้มูลค่า 22,588 ล้านบาท เทียบกับปี 2538
ช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 สินค้าที่ส่งออกได้มูลค่าสูง ได้แก่ เครื่องอิเลคทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคำนวณอิเลคทรอนิกส์ แผงวงจรไฟฟ้า วงจรพิมพ์ เครื่องส่งวิทยุโทรเลข โทรทัศน์
รองลงมาได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องวีดีโอ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน
พัดลม เครื่องปรับอากาศ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับจุดระเบิดเครื่องยนต์
และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า
(3) ตลาดญี่ปุ่น
เป็นตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทยในแถบเอเซีย โดยเฉพาะ
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเทศไทยส่งออกไปตลาดแห่งนี้มากที่สุด ซึ่งมีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2537 ส่งออกได้มูลค่า
42,923.4 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็น 63,571 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 48 และปี 2539 ช่วงไตรมาสแรกเทียบกับ
ปี 2538 ช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องวีดีโอ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์
เตาอบไมโคเวฟ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับให้สัญญาณเสียงและ
ส่วนประกอบเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับ ตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า ส่วนเครื่องอิเลคทรอนิกส์ที่ส่งไปญี่ปุ่นได้มูลค่ามาก ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ตลับลูกปืน มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์
ส่วนประกอบสำหรับโทรศัพท์และโทรเลข ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ เป็นต้น
(4) ตลาดสหภาพยุโรป
ประกอบด้วยตลาดสำคัญตามลำดับสัดส่วนส่งออกในปี 2538 ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 5.3 สหราชอาณาจักร
ร้อยละ 4 เยอรมนี ร้อยละ 2.2 ฝรั่งเศส ร้อยละ 1.1 อิตาลี ร้อยละ 0.7 สเปน ร้อยละ 0.5 และไอร์แลนด์ ร้อยละ 0.3
เป็นตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย ในปี 2537 ส่งออกได้มูลค่ารวมทั้งสิ้น
38,555 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 57,068.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 48 ปี 2539 ช่วงไตรมาสแรก
ส่งออกได้มูลค่า 18,300 ล้านบาท เทียบกับปี 2538 ช่วงระยะเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 สินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้
ได้มูลค่าสูงได้แก่ เครื่องอิเลคทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า รองลงมาได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เทปแม่เหล็ก
และจานแม่เหล็ก เป็นต้น
(5) ตลาดอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง ไต้หวัน ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ จีน แคนาดา ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐ
อาหรับเอมิเรตส์ เป็นตลาดที่ประเทศไทยส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ประจำทุกปี ซึ่งแต่ละตลาดมีมูลค่าส่งออก
เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3. การแข่งขัน
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ของไทยไปตลาดต่างประเทศต้องเผชิญกับปัญหาการแข่งขัน
อย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาในตลาดสำคัญดังนี้ อาเซียน ประเทศคู่แข่งขันสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
มาเลเซีย ฮ่องกง สหราชอาณาจักร มาเลเซีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน
ตลาดสหรัฐอเมริกา ประเทศคู่แข่งขันในแถบเอเซียด้วยกัน ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย จีน
ไต้หวัน และสิงคโปร์ ญี่ปุ่น ประเทศคู่แข่งขันสำคัญได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และจีน
สหภาพยุโรป ประเทศคู่แข่งขันสำคัญของไทยในตลาดแห่งนี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา
มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง ตุรกี และอินโดนีเซีย เป็นต้น
4. การส่งเสริมการส่งออก
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ เป็นสินค้า 1 ใน 5 อันดับแรก ที่กรมส่งเสริมการส่งออกได้กำหนดให้เป็น
สินค้าที่ต้องได้รับการส่งเสริมการส่งออกโดยเร่งด่วน เพื่อให้สามารถส่งออกได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น มีตลาดส่งออกกว้างขวางยิ่งขึ้น
และสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ ได้ ในปี 2539 จึงได้กำหนดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกไว้ ดังนี้
4.1 งานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
- งาน Communic Asia ตลาดสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 4-7 มิย. 2539 ที่ผ่านมา
- Vietbex'96, Ho Chi Minh City, Vietnam ตลาดเวียดนาม ระหว่างวันที่ 30 ตค. - 2 พย. 2539
4.2 คณะผู้แทนการค้า
4.2.1 คณะผู้แทนการค้ามาเยือนไทย
- คณะผู้แทนการค้า VIP จากสหรัฐอเมริกามาเจรจาการค้ากับผู้ผลิต
ผู้ส่งออกไทย
- คณะผู้แทนการค้าจากภาครัฐบาล นักธุรกิจและผู้สื่อข่าวจากเวียดนามมาเยือนไทย
- คณะผู้แทนการค้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์จากอาเซียน
และญี่ปุ่นเยือนไทย
4.2.1 คณะผู้แทนการค้าไปเยือนต่างประเทศ
- คณะผู้แทนการค้าระดับสูงจากภาครัฐและเอกชนไปสร้างความสัมพันธ์
ทางการค้ากับหน่วยงานการค้าของเวียดนามช่วงเดือนมกราคม 2539 ที่ผ่านมา
- คณะผู้แทนการค้าไป Middle East เยี่ยมชมงานแสดงสินค้า Middle East Consumer Electronic
Show ดูไบ ระหว่าง 20-23 มีค. 2539
- คณะผู้แทนการค้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไปชมงานแสดงสินค้า Hardware Fair ที่ชิคาโก และไปศึกษาตลาด
ในบราซิล ชิลี ปานามา
4.3 เผยแพร่และประชาสัมพันธ์
- โครงการประชาสัมพันธ์สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในเวียดนาม
- โฆษณาวารสาร/หนังสือพิมพ์, เชิญผู้สื่อข่าวเสนอบทความพิเศษ, เอกสารเผยแพร่
กิจกรรมส่งเสริมของกรมฯ
4.4 การพัฒนาผลิตภัณฑ์
- เชิญผู้เชี่ยวชาญจาก Yokohama Industrial Institute มาให้คำแนะนำการพัฒนาคุณภาพ และการผลิต
แก่ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทย
4.5 การพัฒนาตลาด
- ศึกษาสำรวจลู่ทางการเจาะตลาดสหรัฐฯ (ช่องทางการจำหน่าย จุดอ่อนจุดแข็งของคู่แข่งขัน ข้อบังคับเกี่ยวกับ
มาตรฐานของสินค้า)ในตลาดละตินอเมริกา แคนาดา สหรัฐอเมริกา
- โครงการศึกษาข้อมูลสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในยุโรปตะวันออก
- โครงการศึกษาลู่ทางพัฒนาการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ในตลาดญี่ปุ่น
4.6 การพัฒนาบุคคลากร
4.6.1 จัดฝึกอบรม/สัมมนาในการส่วนกลาง
- สัมมนาชี้ช่องทางการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์สู่ตลาดอเมริกา/ลาตินอเมริกา/ตะวันออกกลาง
ช่วงเดือน เมย. 2539
- จัดหาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาให้ความรู้ด้านการเป็น International Salesman
4.6.2 จัดฝึกอบรม/สัมมนาในต่างประเทศ
- สัมมนา "Doing Business in Thailand" สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับนักธุรกิจ New England
ในตลาดสหรัฐอเมริกาช่วงเดือน เมย. 2539
5. แนวโน้มปี 2539
คาดว่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ยังคงขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้า
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ตลับลูกปืน ไดโอดทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ หลอดภาพ
โทรทัศน์สี อุปกรณ์ไฟฟ้าให้สัญญาณเสียง ยังสามารถขยายการส่งออกให้ได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้อีก เนื่องจากความต้องการในตลาด
ต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นทุกปีประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่สำคัญโดย
เฉพาะสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปยังคงชะลอตัวลดลงแต่ภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าแถบเอเซียยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลโดยกรมส่งเสริมการส่งออกได้ พยายามเปิดตลาดใหม่ เช่น อินโดจีน พม่า ตะวันออกลาง
ยุโรปตะวันออก ซึ่งเป็นตลาดที่มีลู่ทางการส่งออกที่น่าสนใจ คาดว่าจะสามารถส่งออกได้มูลค่าตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้--จบ
โดย กันตา จิตตั้งสมบูรณ์
กรกฎาคม 2539
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ของไทยได้ขยายตัวเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็วทั้งทางด้านการ
ผลิตและส่งออก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตมาตลอดและเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุน
และส่งเสริมการลงทุน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกอบกับประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ประสบปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต้นทุนการผลิตสูง และขาดแคลนแรงงาน ผู้ผลิตในประเทศ
ดังกล่าวจึงได้ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ในประเทศไทยปัจจุบันสามารถผลิตได้เองภายในประเทศ
เกือบทั้งหมด มีบางส่วนที่ต้องนำเข้าเนื่องจากบริษัทแม่ไม่อนุญาตให้ผลิต สำหรับการผลิตที่ไม่ซับซ้อน ใช้เทคนิกการผลิตง่ายส่วนใหญ่
เป็นกิจการขนาดเล็กถึงขนาดกลางสามารถผลิตชิ้นส่วนง่าย ๆ ขึ้นใช้เองได้ ส่วนการผลิตต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ใช้เงินลงทุน
จำนวนมาก มักจะเป็นกิจการขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการลงทุนของชาวต่างประเทศทั้งหมด หรือเข้าร่วมลงทุนกับผู้ผลิตในประเทศไทย
ทำการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายตลาดภายในประเทศส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ หรือผลิตเพื่อส่งออก
ตลาดต่างประเทศทั้งหมด ซึ่งมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
2. การส่งออก
2.1 ภาวะการส่งออก
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นทำรายได้ให้กับประเทศไทยมากเป็น
อันดับ 1 ซึ่งปัจจุบันโครงสร้างตลาดส่งออกสินค้าดังกล่าวได้เปลี่ยนไป โดยตลาดอาเซียนได้กลายเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่ง
ของไทย รองลงไปได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ส่วนตลาดสหภาพยุโรปนั้นมีบทบาทลดลง ทั้งนี้เนื่องจากการกีดกันการค้ากับ
ประเทศนอกกลุ่ม นอกจากนั้นประเทศไทยยังได้ขยายตลาดส่งออกไปยังอินโดจีน-พม่า ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันออกได้
กว้างขวางยิ่งขึ้น การส่งออกสินค้าดังกล่าวจึงได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.2 มูลค่าการส่งออก
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ในปี 2536 ส่งออกได้มูลค่าทั้งสิ้น 224,598 ล้านบาท ปี 2537
ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 คิดเป็นมูลค่า 311,159.9 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 28.6 คิดเป็นมูลค่า 400,275.5
ล้านบาท ปี 2539 ช่วงไตรมาสแรก (มค.-มีค.) ส่งออกได้มูลค่า 114,410.2 ล้านบาท เทียบกับปี 2538 ช่วงระยะเดียวกัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 และตลอดปีได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกไว้เป็นมูลค่า 453,000 ล้านบาท
2.3 การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์แยกตามกลุ่มได้ดังนี้
เครื่องใช้ไฟฟ้า ประกอบด้วย วีดีโอ วิทยุโทรทัศน์ หลอดภาพโทรทัศน์สี เตาไมโครเวฟ พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ
เทปแม่เหล็ก หม้อแปลงไฟฟ้า หม้อแบตเตอรี่ อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับจุดระเบิดเครื่องยนต์ ฯลฯ
ในปี 2538 ประเทศไทยส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าได้มูลค่าทั้งสิ้น 153,803.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2537 ร้อยละ
22.1 ปี 2539 ช่วงไตรมาสแรก (มค.-มีค.) ส่งออกได้มูลค่า 40,272.1 ล้านบาท เทียบกับปี 2538 ระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ
24
เครื่องอิเลคทรอนิกส์ ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคำนวณอิเลคทรอ-นิกส์ แผงวงจรไฟฟ้า วงจรพิมพ์
ตลับลูกปืน มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟ เครื่องโทรพิมพ์และโทรสาร เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ เครื่องส่งวิทยุโทรเลข ฯลฯ
ในปี 2538 ส่งออกได้มูลค่ารวมทั้งสิ้น 246,472.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2537 ร้อยละ 33 ปี 2539
ช่วงไตรมาสแรก (มค.-มีค.) ส่งออกได้มูลค่า 74,138.1 ล้านบาท เทียบกับปี 2538 ช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6
2.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ที่ส่งออกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
เครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2538 ปี 2539
(มค.-มีค.)
- วิทยุโทรทัศน์ 12.6% 25.7%
- หลอดภาพโทรทัศน์สี 27.1% 61.1%
- เตาไมโครเวฟ และเครื่องใช้ 18.6% 20%
ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน
- พัดลม -15.2% 17.3%
- ตู้เย็น 64.2% 25.5%
- เครื่องปรับอากาศ 49.5% 43.1%
- สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล 22.3% 19.4%
- เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก 7.0% 24.4%
- หม้อแปลงไฟฟ้า 65.2% 17.7%
- หลอดไฟฟ้า 16.6% 4.3%
- อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับติดต่อ 31.9% 6.3%
ป้องกันวงจรไฟฟ้า
- เครื่องพักกระแสไฟฟ้า 26.2% 21.9%
เครื่องอิเลคทรอนิกส์
- เครื่องคอมพิวเตอร์ 38.7% 53.3%
- แผงวงจรไฟฟ้า 28.3% 18.4%
- ตลับลูกปืน 20.4% 22.5%
- มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟ 35.6% 66.8%
- เครื่องโทรพิมพ์ และโทรสาร 34.7% 91.3%
- ส่วนประกอบอุปกรณ์สำหรับ 20.5% 24.4%
โทรศัพท์และโทรสาร
- ไดโอด ทานซิสเตอร์และ 33.8% 39.4%
อุปกรณ์กึ่งตัวนำ
2.5 เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ที่ส่งออกมีอัตราการขยายตัวลดลง
เครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2538 ปี 2539
(มค.-มีค.)
- วีดีโอ 2.3% -7.0%
- ลำโพงขยายเสียง 13.9% -26.7%
และส่วนประกอบ
- อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับ -74.5% -10.6%
จุดระเบิดเครื่องยนต์
เครื่องอิเลคทรอนิกส์
- เครื่องคำนวนอิเลคทรอนิกส์ 30.4% -3.2%
- วงจรพิมพ์ 37.3% -23.5%
- เครื่องส่งวิทยุโทรเลข -7.2% -17.8%
2.6 ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ที่สำคัญตามลำดับสัดส่วน ส่งออกปี 2538 ได้แก่ อาเซียน
ร้อยละ 32.6 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 22 ญี่ปุ่น ร้อยละ 16 สหภาพ-ยุโรป ร้อยละ 14.2 ส่วนที่เหลือร้อยละ 17.4 เป็น
ตลาดอื่น ๆ ได้แก่ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย สรุปได้คือ
(1) ตลาดอาเซียน ประกอบด้วยตลาดสำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ ในปี 2538 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 89 ของตลาด
อาเซียน มาเลเซีย ร้อยละ 9.5 และฟิลิปปินส์ ร้อยละ 1.5 เป็นตลาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา 2537-2539
ที่ประเทศไทยส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ไปตลาดอาเซียนได้มูลค่าสูงสุด และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2537 ส่งออกได้มูลค่า 103,880.5 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็น 130,609.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7
และปี 2539 ช่วงไตรมาสแรกส่งออกได้มูลค่า 37,006.2 ล้านบาท เทียบกับปี 2538 ระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4
สินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้มากที่สุดได้แก่ เครื่องอิเลคทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
เครื่องคำนวณอิเลคทรอนิกส์ แผงวงจรไฟฟ้า ตลับลูกปืน มอเตอร์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และ
อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ วีดีโอ หลอดภาพโทรทัศน์สี ลำโพงขยายเสียง พัดลม ตู้เย็น เป็นต้น
(2) ตลาดสหรัฐอเมริกา
เป็นตลาดใหญ่อันดับสองรองจากตลาดอาเซียน ซึ่งประเทศไทยส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ไป
ยังตลาดแห่งนี้ได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี 2537 ส่งออกได้มูลค่า 78,342 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า
87,502 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 และปี 2539 ช่วงไตรมาสแรกส่งออกได้มูลค่า 22,588 ล้านบาท เทียบกับปี 2538
ช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 สินค้าที่ส่งออกได้มูลค่าสูง ได้แก่ เครื่องอิเลคทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคำนวณอิเลคทรอนิกส์ แผงวงจรไฟฟ้า วงจรพิมพ์ เครื่องส่งวิทยุโทรเลข โทรทัศน์
รองลงมาได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องวีดีโอ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน
พัดลม เครื่องปรับอากาศ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับจุดระเบิดเครื่องยนต์
และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า
(3) ตลาดญี่ปุ่น
เป็นตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทยในแถบเอเซีย โดยเฉพาะ
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเทศไทยส่งออกไปตลาดแห่งนี้มากที่สุด ซึ่งมีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2537 ส่งออกได้มูลค่า
42,923.4 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็น 63,571 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 48 และปี 2539 ช่วงไตรมาสแรกเทียบกับ
ปี 2538 ช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องวีดีโอ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์
เตาอบไมโคเวฟ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับให้สัญญาณเสียงและ
ส่วนประกอบเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับ ตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า ส่วนเครื่องอิเลคทรอนิกส์ที่ส่งไปญี่ปุ่นได้มูลค่ามาก ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ตลับลูกปืน มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์
ส่วนประกอบสำหรับโทรศัพท์และโทรเลข ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ เป็นต้น
(4) ตลาดสหภาพยุโรป
ประกอบด้วยตลาดสำคัญตามลำดับสัดส่วนส่งออกในปี 2538 ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 5.3 สหราชอาณาจักร
ร้อยละ 4 เยอรมนี ร้อยละ 2.2 ฝรั่งเศส ร้อยละ 1.1 อิตาลี ร้อยละ 0.7 สเปน ร้อยละ 0.5 และไอร์แลนด์ ร้อยละ 0.3
เป็นตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย ในปี 2537 ส่งออกได้มูลค่ารวมทั้งสิ้น
38,555 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 57,068.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 48 ปี 2539 ช่วงไตรมาสแรก
ส่งออกได้มูลค่า 18,300 ล้านบาท เทียบกับปี 2538 ช่วงระยะเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 สินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้
ได้มูลค่าสูงได้แก่ เครื่องอิเลคทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า รองลงมาได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เทปแม่เหล็ก
และจานแม่เหล็ก เป็นต้น
(5) ตลาดอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง ไต้หวัน ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ จีน แคนาดา ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐ
อาหรับเอมิเรตส์ เป็นตลาดที่ประเทศไทยส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ประจำทุกปี ซึ่งแต่ละตลาดมีมูลค่าส่งออก
เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3. การแข่งขัน
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ของไทยไปตลาดต่างประเทศต้องเผชิญกับปัญหาการแข่งขัน
อย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาในตลาดสำคัญดังนี้ อาเซียน ประเทศคู่แข่งขันสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
มาเลเซีย ฮ่องกง สหราชอาณาจักร มาเลเซีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน
ตลาดสหรัฐอเมริกา ประเทศคู่แข่งขันในแถบเอเซียด้วยกัน ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย จีน
ไต้หวัน และสิงคโปร์ ญี่ปุ่น ประเทศคู่แข่งขันสำคัญได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และจีน
สหภาพยุโรป ประเทศคู่แข่งขันสำคัญของไทยในตลาดแห่งนี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา
มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง ตุรกี และอินโดนีเซีย เป็นต้น
4. การส่งเสริมการส่งออก
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ เป็นสินค้า 1 ใน 5 อันดับแรก ที่กรมส่งเสริมการส่งออกได้กำหนดให้เป็น
สินค้าที่ต้องได้รับการส่งเสริมการส่งออกโดยเร่งด่วน เพื่อให้สามารถส่งออกได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น มีตลาดส่งออกกว้างขวางยิ่งขึ้น
และสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ ได้ ในปี 2539 จึงได้กำหนดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกไว้ ดังนี้
4.1 งานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
- งาน Communic Asia ตลาดสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 4-7 มิย. 2539 ที่ผ่านมา
- Vietbex'96, Ho Chi Minh City, Vietnam ตลาดเวียดนาม ระหว่างวันที่ 30 ตค. - 2 พย. 2539
4.2 คณะผู้แทนการค้า
4.2.1 คณะผู้แทนการค้ามาเยือนไทย
- คณะผู้แทนการค้า VIP จากสหรัฐอเมริกามาเจรจาการค้ากับผู้ผลิต
ผู้ส่งออกไทย
- คณะผู้แทนการค้าจากภาครัฐบาล นักธุรกิจและผู้สื่อข่าวจากเวียดนามมาเยือนไทย
- คณะผู้แทนการค้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์จากอาเซียน
และญี่ปุ่นเยือนไทย
4.2.1 คณะผู้แทนการค้าไปเยือนต่างประเทศ
- คณะผู้แทนการค้าระดับสูงจากภาครัฐและเอกชนไปสร้างความสัมพันธ์
ทางการค้ากับหน่วยงานการค้าของเวียดนามช่วงเดือนมกราคม 2539 ที่ผ่านมา
- คณะผู้แทนการค้าไป Middle East เยี่ยมชมงานแสดงสินค้า Middle East Consumer Electronic
Show ดูไบ ระหว่าง 20-23 มีค. 2539
- คณะผู้แทนการค้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไปชมงานแสดงสินค้า Hardware Fair ที่ชิคาโก และไปศึกษาตลาด
ในบราซิล ชิลี ปานามา
4.3 เผยแพร่และประชาสัมพันธ์
- โครงการประชาสัมพันธ์สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในเวียดนาม
- โฆษณาวารสาร/หนังสือพิมพ์, เชิญผู้สื่อข่าวเสนอบทความพิเศษ, เอกสารเผยแพร่
กิจกรรมส่งเสริมของกรมฯ
4.4 การพัฒนาผลิตภัณฑ์
- เชิญผู้เชี่ยวชาญจาก Yokohama Industrial Institute มาให้คำแนะนำการพัฒนาคุณภาพ และการผลิต
แก่ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทย
4.5 การพัฒนาตลาด
- ศึกษาสำรวจลู่ทางการเจาะตลาดสหรัฐฯ (ช่องทางการจำหน่าย จุดอ่อนจุดแข็งของคู่แข่งขัน ข้อบังคับเกี่ยวกับ
มาตรฐานของสินค้า)ในตลาดละตินอเมริกา แคนาดา สหรัฐอเมริกา
- โครงการศึกษาข้อมูลสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในยุโรปตะวันออก
- โครงการศึกษาลู่ทางพัฒนาการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ในตลาดญี่ปุ่น
4.6 การพัฒนาบุคคลากร
4.6.1 จัดฝึกอบรม/สัมมนาในการส่วนกลาง
- สัมมนาชี้ช่องทางการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์สู่ตลาดอเมริกา/ลาตินอเมริกา/ตะวันออกกลาง
ช่วงเดือน เมย. 2539
- จัดหาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาให้ความรู้ด้านการเป็น International Salesman
4.6.2 จัดฝึกอบรม/สัมมนาในต่างประเทศ
- สัมมนา "Doing Business in Thailand" สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับนักธุรกิจ New England
ในตลาดสหรัฐอเมริกาช่วงเดือน เมย. 2539
5. แนวโน้มปี 2539
คาดว่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ยังคงขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้า
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ตลับลูกปืน ไดโอดทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ หลอดภาพ
โทรทัศน์สี อุปกรณ์ไฟฟ้าให้สัญญาณเสียง ยังสามารถขยายการส่งออกให้ได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้อีก เนื่องจากความต้องการในตลาด
ต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นทุกปีประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่สำคัญโดย
เฉพาะสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปยังคงชะลอตัวลดลงแต่ภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าแถบเอเซียยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลโดยกรมส่งเสริมการส่งออกได้ พยายามเปิดตลาดใหม่ เช่น อินโดจีน พม่า ตะวันออกลาง
ยุโรปตะวันออก ซึ่งเป็นตลาดที่มีลู่ทางการส่งออกที่น่าสนใจ คาดว่าจะสามารถส่งออกได้มูลค่าตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้--จบ
โดย กันตา จิตตั้งสมบูรณ์
กรกฎาคม 2539