ระบบการจัดการขั้นพื้นฐานถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับ SMEs ทั้งนี้เนื่องจากการ เปลี่ยนแปลงทางการค้าและการแข่งขันภายใต้สภาวการณ์ปัจจุบัน การสร้างมาตรฐาน ถือเป็นหลักประกันที่จะมาใช้การันตีให้คู่ค้ายอมรับ และสามารถใช้เป็นใบเบิกทาง ฝ่าด่านเงื่อนไขทางการค้าต่างๆ ได้ทั้งในระดับประเทศและในต่างประเทศ
แนวคิดเรื่องมาตรฐาน พร้อมกับสร้างกลไกผลักดันให้วิสาหกิจชุมชนพยายามพัฒนา สินค้าของตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของตลาด โดยหลักการเบื้องต้นก็คือ ผลักดันให้วิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร สมุนไพร ผ้าทอพื้นเมือง ฯลฯ มีการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ซึ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภคยอมรับและ ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นและพร้อมสำหรับการแข่งขัน จากนั้นหากมีการพัฒนาเติบโตไปในทิศทางดีขึ้นก็สามารถพัฒนากระบวนการผลิต กระบวนการบริหารจัดการด้านต่างๆ ในระดับมาตรฐานที่สูงขึ้นต่อไป นั่นก็คือ ระบบการจัดการขั้นพื้นฐานสำหรับ SMEs ซึ่งรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของ SMEs ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงผลักดันให้ SME มีการปรับตัวให้ทันกับกระแสตลาดยุคใหม่ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงเป็น หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการนำมาตรฐานสากล ส่งเสริมและช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทำระบบได้ตามมาตรฐานสากลและดำเนินกิจการได้อย่างเข้มแข็ง โดยได้ดำเนินการจัดทำโครงการ ระบบการจัดการขั้นพื้นฐานสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้ คำปรึกษาแนะนำการจัดทำระบบการจัดการขั้นพื้นฐาน รวมถึงการให้การรับรองระบบการจัดการแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม การดำเนินการมี 2 ขั้นตอน คือ
1)ขั้นตอนการพัฒนา และ 2)ขั้นตอนการรับรอง สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่เคยศึกษาหรือเตรียมความพร้อมมาก่อนเลย ก็ต้องเริ่มต้นที่ขั้นตอนการพัฒนา ซึ่งในปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจะมีงบสนับสนุน เพราะถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ส่วนขั้นตอนการรับรองนั้นขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการศึกษาและเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ระบบมาตรฐานต่างๆ ตามความสามารถและความจำเป็นเพราะฉะนั้น เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ก็ควรรู้ก่อนว่าการรับรองระบบการจัดการขั้นพื้นฐานสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคืออะไร
การรับรองระบบการจัดการขั้นพื้นฐานสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็น ระบบการจัดการที่พัฒนาขึ้นตามแนวทางมาตรฐานสากล โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีระบบการจัดการเบื้องต้นและมีความพร้อมที่จะพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานสากลต่างๆ โดยระบบการจัดการที่ สมอ. ให้การรับรองได้แก่
1. ระบบการบริหารงานคุณภาพขั้นพื้นฐานสำหรับ SMEs (Quality Management System For Small and Medium Enterprises: QSME) ตามแนวทางมาตรฐาน ISO 9000
2. ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานสำหรับ SMEs (Environmental Management System for Small and Medium Enterprises: ESME) ตามแนวทางมาตรฐานระบบ ISO 14001
3. ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นพื้นฐานสำหรับ SMEs (Occupational Health and Safety Management System for Small and Medium Enterprises: OHS-SME) ตามแนวมาตรฐาน มอก. 18001
4. ระบบการจัดการการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารขั้นพื้นฐานสำหรับ SMEs(Hazard Analysis and Critical Control Point System For Small and Medium Enterprises : HACCP-SME)
5. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารสำหรับ SMEs (Good Manufacturing Practice For Small and Medium Enterprises: GMP-SME)
ประโยชน์ของการได้รับการรับรองนั้น ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการพัฒนาตามโครงการระบบการจัดการขั้นพื้นฐานในระบบต่างๆ กล่าวคือ ผู้ประกอบการมีการบริหารจัดการในการผลิตสินค้าหรือบริการอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิด ประสิทธิผลรวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม และการป้องกันอันตรายจากการทำงาน ผลิตภัณฑ์มี คุณภาพเป็นที่เชื่อถือและได้รับการยอมรับทางการค้าทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างพื้นฐานธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศให้แข็งแกร่ง และยืนหยัดได้ในตลาดการค้าโลก ตลอดจนเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร และสามารถพัฒนาองค์กรเข้าสู่มาตรฐานสากลได้ ร่วมถึงผู้ซื้อหรือผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์และเกิดความมั่นใจใน
คุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการรักษาสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน เมื่อเลือกใช้สินค้าและบริการขององค์กรที่ได้รับการรับรอง นอกจากนั้นบุคลากรจะมีจิตสำนึกในด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมในการจัดทำและดำเนินการตามระบบบริหาร/จัดการและมีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน
การขอมาตรฐานนั้น ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้ดำเนินการเมื่อมีความพร้อมและมีความ มุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาจริงๆ เพราะจะเกิดประโยชน์ต่อองค์กรโดยตรง โดยสามารถศึกษา รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tisi.go.th
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
แนวคิดเรื่องมาตรฐาน พร้อมกับสร้างกลไกผลักดันให้วิสาหกิจชุมชนพยายามพัฒนา สินค้าของตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของตลาด โดยหลักการเบื้องต้นก็คือ ผลักดันให้วิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร สมุนไพร ผ้าทอพื้นเมือง ฯลฯ มีการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ซึ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภคยอมรับและ ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นและพร้อมสำหรับการแข่งขัน จากนั้นหากมีการพัฒนาเติบโตไปในทิศทางดีขึ้นก็สามารถพัฒนากระบวนการผลิต กระบวนการบริหารจัดการด้านต่างๆ ในระดับมาตรฐานที่สูงขึ้นต่อไป นั่นก็คือ ระบบการจัดการขั้นพื้นฐานสำหรับ SMEs ซึ่งรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของ SMEs ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงผลักดันให้ SME มีการปรับตัวให้ทันกับกระแสตลาดยุคใหม่ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงเป็น หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการนำมาตรฐานสากล ส่งเสริมและช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทำระบบได้ตามมาตรฐานสากลและดำเนินกิจการได้อย่างเข้มแข็ง โดยได้ดำเนินการจัดทำโครงการ ระบบการจัดการขั้นพื้นฐานสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้ คำปรึกษาแนะนำการจัดทำระบบการจัดการขั้นพื้นฐาน รวมถึงการให้การรับรองระบบการจัดการแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม การดำเนินการมี 2 ขั้นตอน คือ
1)ขั้นตอนการพัฒนา และ 2)ขั้นตอนการรับรอง สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่เคยศึกษาหรือเตรียมความพร้อมมาก่อนเลย ก็ต้องเริ่มต้นที่ขั้นตอนการพัฒนา ซึ่งในปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจะมีงบสนับสนุน เพราะถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ส่วนขั้นตอนการรับรองนั้นขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการศึกษาและเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ระบบมาตรฐานต่างๆ ตามความสามารถและความจำเป็นเพราะฉะนั้น เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ก็ควรรู้ก่อนว่าการรับรองระบบการจัดการขั้นพื้นฐานสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคืออะไร
การรับรองระบบการจัดการขั้นพื้นฐานสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็น ระบบการจัดการที่พัฒนาขึ้นตามแนวทางมาตรฐานสากล โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีระบบการจัดการเบื้องต้นและมีความพร้อมที่จะพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานสากลต่างๆ โดยระบบการจัดการที่ สมอ. ให้การรับรองได้แก่
1. ระบบการบริหารงานคุณภาพขั้นพื้นฐานสำหรับ SMEs (Quality Management System For Small and Medium Enterprises: QSME) ตามแนวทางมาตรฐาน ISO 9000
2. ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานสำหรับ SMEs (Environmental Management System for Small and Medium Enterprises: ESME) ตามแนวทางมาตรฐานระบบ ISO 14001
3. ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นพื้นฐานสำหรับ SMEs (Occupational Health and Safety Management System for Small and Medium Enterprises: OHS-SME) ตามแนวมาตรฐาน มอก. 18001
4. ระบบการจัดการการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารขั้นพื้นฐานสำหรับ SMEs(Hazard Analysis and Critical Control Point System For Small and Medium Enterprises : HACCP-SME)
5. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารสำหรับ SMEs (Good Manufacturing Practice For Small and Medium Enterprises: GMP-SME)
ประโยชน์ของการได้รับการรับรองนั้น ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการพัฒนาตามโครงการระบบการจัดการขั้นพื้นฐานในระบบต่างๆ กล่าวคือ ผู้ประกอบการมีการบริหารจัดการในการผลิตสินค้าหรือบริการอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิด ประสิทธิผลรวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม และการป้องกันอันตรายจากการทำงาน ผลิตภัณฑ์มี คุณภาพเป็นที่เชื่อถือและได้รับการยอมรับทางการค้าทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างพื้นฐานธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศให้แข็งแกร่ง และยืนหยัดได้ในตลาดการค้าโลก ตลอดจนเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร และสามารถพัฒนาองค์กรเข้าสู่มาตรฐานสากลได้ ร่วมถึงผู้ซื้อหรือผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์และเกิดความมั่นใจใน
คุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการรักษาสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน เมื่อเลือกใช้สินค้าและบริการขององค์กรที่ได้รับการรับรอง นอกจากนั้นบุคลากรจะมีจิตสำนึกในด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมในการจัดทำและดำเนินการตามระบบบริหาร/จัดการและมีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน
การขอมาตรฐานนั้น ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้ดำเนินการเมื่อมีความพร้อมและมีความ มุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาจริงๆ เพราะจะเกิดประโยชน์ต่อองค์กรโดยตรง โดยสามารถศึกษา รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tisi.go.th
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-