ท่าเรือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญปัจจัยหนึ่งต่อการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของ
การเป็นผู้ให้บริการขนถ่ายสินค้าทั้งสินค้าขาออกและสินค้าขาเข้าระหว่างประเทศในทวีปหรือภูมิภาคต่าง ๆ โดย
ทั่วไปท่าเรือของแต่ละประเทศจะประกอบด้วยท่าเรือย่อย ๆ ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามประเภทของสินค้าที่ขนถ่าย
เช่น ท่าเรือสินค้าเทกอง (สำหรับขนถ่ายสินค้าเกษตร เช่น ข้าว มันสำปะหลัง) ท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์
ท่าเรือปิโตรเลียม และท่าเรือขนส่งรถยนต์ ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะปริมาณขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์ต่าง ๆ ทั่วโลกในปี 2547 พบว่าท่าเรือฮ่องกงเป็นท่าเรือที่มีการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์มากที่สุดในโลก โดยมีปริมาณสูงถึง 21.9 ล้าน TEUs (Twenty-Foot Equivalent Units) ข้อมูลที่น่าสนใจของท่าเรือฮ่องกง มีดังนี้
* ข้อมูลพื้นฐาน ท่าเรือฮ่องกงเป็นท่าเรือน้ำลึกตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีขนาดความลึก 15.5 เมตรประกอบด้วยสถานีรับส่งสินค้า 9 สถานี มีท่าจอดเรือทั้งสิ้น 24 ท่า สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าแบบ UltraSize Post Panamax ที่มีขนาดระวางมากกว่า 8,000 TEUs ได้ ที่ผ่านมาเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่สุดที่เข้าเทียบท่าเรือฮ่องกงมีขนาดระวางเรือ 8,063 TEUs
* เทคโนโลยีภายในท่าเรือ จากปริมาณสินค้าที่ผ่านเข้าออกมาก ท่าเรือฮ่องกงจึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านการจัดการในท่าเรืออยู่เสมอเพื่อรองรับการใช้บริการที่เพิ่มสูงขึ้น เทคโนโลยีสำคัญที่ใช้ในท่าเรือฮ่องกงได้แก่
- ระบบเข้าออกท่าเรือแบบอัตโนมัติ (Gate Automation) ด้วยการใช้ระบบการลงทะเบียน
รถตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งนี้ รถตู้คอนเทนเนอร์จากภายนอกที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนกับท่าเรือจะได้รับบัตรสมาร์ทการ์ด
(Smart-card Based Tractor Identity Car : TIC) เพื่อใช้สำหรับการติดต่อต่าง ๆ ในท่าเรือ ระบบอัตโนมัติดังกล่าวจึงช่วยให้รถตู้คอนเทนเนอร์สามารถเข้าออกท่าเรือได้สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของผู้มาติดต่ออีกด้วย
- ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange Technology : EDI) เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสายการเดินเรือและผู้ประกอบการท่าเรือ อาทิใบขนส่งสินค้า ส่งผลให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินการต่าง ๆ เมื่อเทียบกับระบบเดิมที่เป็นแบบเอกสาร
* ปัจจัยสนับสนุนการเป็นท่าเรือขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก
- การขยายตัวของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้จีนมีปริมาณสินค้าส่งออกและนำเข้าในแต่ละปีค่อนข้าง
สูง เมื่อประกอบกับการที่ฮ่องกงเป็นประตูการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของจีน ซึ่งหลายประเทศมักใช้บริการของ
ท่าเรือฮ่องกงเพื่อขนส่งสินค้าต่อไปยังมณฑลต่าง ๆ ของจีน โดยเฉพาะมณฑลกวางตุ้งซึ่งอยู่ใกล้กับฮ่องกง ท่าเรือ
ฮ่องกงจึงเป็นท่าเรือที่ดึงดูดให้เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่เข้าเทียบท่า และส่งผลให้เป็นท่าเรือที่มีปริมาณขนถ่าย
สินค้ามากที่สุดของโลก
- ศูนย์กลางการเดินเรือของเอเชีย ท่าเรือฮ่องกงตั้งอยู่ในเส้นทางสายหลักของการขนส่งทางเรือ
โดยเฉพาะเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ระหว่างทวีป (เอเชียกับยุโรป และเอเชียกับอเมริกาเหนือ) ประกอบกับมี
สายการเดินเรือของชาติต่าง ๆ ให้บริการมากกว่า 80 ชาติ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงเส้นทางการเดินเรือสายต่าง ๆ และดึงดูดให้สายการเดินเรือเหล่านั้นเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือฮ่องกง ปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวทำให้ท่าเรือฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าทางทะเลที่สำคัญของเอเชีย
- เขตเมืองท่าปลอดภาษี ท่าเรือฮ่องกงเป็นเขตเมืองท่าปลอดภาษี (มีเพียงสินค้าบางรายการ
เท่านั้นที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออกและนำเข้า) นอกจากนี้ ยังให้บริการต่อสายการเดินเรือทุกชาติอย่างเท่าเทียมกัน
ท่าเรือฮ่องกงจึงเป็นท่าเรือที่เอื้อต่อการขนถ่ายสินค้าและเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ
นอกจากท่าเรือฮ่องกงแล้ว ท่าเรือสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ
เอเชีย (มีปริมาณขนถ่ายสินค้าสูงเป็นอันดับ 2 รองจากท่าเรือฮ่องกง) เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ระหว่างทวีป
ส่วนใหญ่จึงมักเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือทั้งสองเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจรวมถึงอุตสาหกรรม
ท่าเรือของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ทำให้เรือขนส่งสินค้าระหว่างทวีปบางสายเริ่มเข้าเทียบท่าที่ท่าเรืออื่น ๆ ใน
เอเชียมากขึ้น เช่น ท่าเรือตันหยงปาราปัซและท่าเรือกลางของมาเลเซีย และท่าเรือแหลมฉบังของไทย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2548--
-พห-
การเป็นผู้ให้บริการขนถ่ายสินค้าทั้งสินค้าขาออกและสินค้าขาเข้าระหว่างประเทศในทวีปหรือภูมิภาคต่าง ๆ โดย
ทั่วไปท่าเรือของแต่ละประเทศจะประกอบด้วยท่าเรือย่อย ๆ ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามประเภทของสินค้าที่ขนถ่าย
เช่น ท่าเรือสินค้าเทกอง (สำหรับขนถ่ายสินค้าเกษตร เช่น ข้าว มันสำปะหลัง) ท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์
ท่าเรือปิโตรเลียม และท่าเรือขนส่งรถยนต์ ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะปริมาณขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์ต่าง ๆ ทั่วโลกในปี 2547 พบว่าท่าเรือฮ่องกงเป็นท่าเรือที่มีการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์มากที่สุดในโลก โดยมีปริมาณสูงถึง 21.9 ล้าน TEUs (Twenty-Foot Equivalent Units) ข้อมูลที่น่าสนใจของท่าเรือฮ่องกง มีดังนี้
* ข้อมูลพื้นฐาน ท่าเรือฮ่องกงเป็นท่าเรือน้ำลึกตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีขนาดความลึก 15.5 เมตรประกอบด้วยสถานีรับส่งสินค้า 9 สถานี มีท่าจอดเรือทั้งสิ้น 24 ท่า สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าแบบ UltraSize Post Panamax ที่มีขนาดระวางมากกว่า 8,000 TEUs ได้ ที่ผ่านมาเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่สุดที่เข้าเทียบท่าเรือฮ่องกงมีขนาดระวางเรือ 8,063 TEUs
* เทคโนโลยีภายในท่าเรือ จากปริมาณสินค้าที่ผ่านเข้าออกมาก ท่าเรือฮ่องกงจึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านการจัดการในท่าเรืออยู่เสมอเพื่อรองรับการใช้บริการที่เพิ่มสูงขึ้น เทคโนโลยีสำคัญที่ใช้ในท่าเรือฮ่องกงได้แก่
- ระบบเข้าออกท่าเรือแบบอัตโนมัติ (Gate Automation) ด้วยการใช้ระบบการลงทะเบียน
รถตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งนี้ รถตู้คอนเทนเนอร์จากภายนอกที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนกับท่าเรือจะได้รับบัตรสมาร์ทการ์ด
(Smart-card Based Tractor Identity Car : TIC) เพื่อใช้สำหรับการติดต่อต่าง ๆ ในท่าเรือ ระบบอัตโนมัติดังกล่าวจึงช่วยให้รถตู้คอนเทนเนอร์สามารถเข้าออกท่าเรือได้สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของผู้มาติดต่ออีกด้วย
- ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange Technology : EDI) เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสายการเดินเรือและผู้ประกอบการท่าเรือ อาทิใบขนส่งสินค้า ส่งผลให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินการต่าง ๆ เมื่อเทียบกับระบบเดิมที่เป็นแบบเอกสาร
* ปัจจัยสนับสนุนการเป็นท่าเรือขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก
- การขยายตัวของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้จีนมีปริมาณสินค้าส่งออกและนำเข้าในแต่ละปีค่อนข้าง
สูง เมื่อประกอบกับการที่ฮ่องกงเป็นประตูการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของจีน ซึ่งหลายประเทศมักใช้บริการของ
ท่าเรือฮ่องกงเพื่อขนส่งสินค้าต่อไปยังมณฑลต่าง ๆ ของจีน โดยเฉพาะมณฑลกวางตุ้งซึ่งอยู่ใกล้กับฮ่องกง ท่าเรือ
ฮ่องกงจึงเป็นท่าเรือที่ดึงดูดให้เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่เข้าเทียบท่า และส่งผลให้เป็นท่าเรือที่มีปริมาณขนถ่าย
สินค้ามากที่สุดของโลก
- ศูนย์กลางการเดินเรือของเอเชีย ท่าเรือฮ่องกงตั้งอยู่ในเส้นทางสายหลักของการขนส่งทางเรือ
โดยเฉพาะเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ระหว่างทวีป (เอเชียกับยุโรป และเอเชียกับอเมริกาเหนือ) ประกอบกับมี
สายการเดินเรือของชาติต่าง ๆ ให้บริการมากกว่า 80 ชาติ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงเส้นทางการเดินเรือสายต่าง ๆ และดึงดูดให้สายการเดินเรือเหล่านั้นเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือฮ่องกง ปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวทำให้ท่าเรือฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าทางทะเลที่สำคัญของเอเชีย
- เขตเมืองท่าปลอดภาษี ท่าเรือฮ่องกงเป็นเขตเมืองท่าปลอดภาษี (มีเพียงสินค้าบางรายการ
เท่านั้นที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออกและนำเข้า) นอกจากนี้ ยังให้บริการต่อสายการเดินเรือทุกชาติอย่างเท่าเทียมกัน
ท่าเรือฮ่องกงจึงเป็นท่าเรือที่เอื้อต่อการขนถ่ายสินค้าและเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ
นอกจากท่าเรือฮ่องกงแล้ว ท่าเรือสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ
เอเชีย (มีปริมาณขนถ่ายสินค้าสูงเป็นอันดับ 2 รองจากท่าเรือฮ่องกง) เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ระหว่างทวีป
ส่วนใหญ่จึงมักเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือทั้งสองเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจรวมถึงอุตสาหกรรม
ท่าเรือของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ทำให้เรือขนส่งสินค้าระหว่างทวีปบางสายเริ่มเข้าเทียบท่าที่ท่าเรืออื่น ๆ ใน
เอเชียมากขึ้น เช่น ท่าเรือตันหยงปาราปัซและท่าเรือกลางของมาเลเซีย และท่าเรือแหลมฉบังของไทย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2548--
-พห-