ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ Generalized System of Preference (GSP) เป็นระบบที่ประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว ยกเว้นหรือลดหย่อนอัตราภาษีขาเข้าสินค้าที่ผลิตและส่งออกมาจากประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยให้สามารถส่งสินค้าไปยังตลาดประเทศอุตสหากรรมได้มากขึ้น และเพิ่มการแข่งขันทางการค้าพร้อมทั้งเร่งรัดการพัฒนาจนสามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลก แต่การให้สิทธิดังกล่าวไม่ได้ให้เป็นการถาวร ดังเช่นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 กลุ่มประเทศ EU 15 ประเทศได้ประกาศตัดการให้สิทธิ GSP 100% กับสินค้าไทย 3 รายการหลัก คือ สินค้าประมง สินค้าพืชผักและผลไม้ และสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่งและเครื่องดื่ม รวม 18 รายการสินค้า ซึ่งสินค้าเหล่านี้เคยถูกตัดสิทธิ GSP 50% ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2540
การพิจารณาตัดสิทธิ GSP ดังกล่าว EU ได้ใช้ค่าดัชนี 2 ตัว คือ ดัชนีระดับการพัฒนาประเทศ (Development Index) คำนวณจากรายได้ประชาชาติต่อหัว (GNP Per Capita) และมูลค่าการส่งออกของประเทศนั้นๆ เปรียบเทียบกับของสหภาพยุโรป ดัชนีอีกตัวหนึ่ง คือ ดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (Specialization Index) คำนวณจากสัดส่วนของมูลค่านำเข้าของสินค้าจากประเทศผู้รับสิทธิ GSP เปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้าของสินค้านั้นที่ EU นำเข้าทั้งหมด
ในการพิจารณาตัดสิทธิ GSP นั้น EU ได้ใช้ดัชนีโดยมีข้อมูลปี 2539 เป็นฐาน ซึ่งในปี 2539 ไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดีและยังไม่มีปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงิน รัฐบาลไทยจึงไม่ดำเนินการขอให้ EU ทบทวนมติการไม่ต่ออายุสิทธิ GSP ของไทย เพราะดัชนีปีฐานที่ใช้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและการเลือกปฏิบัติ ซึ่งไม่เป็นธรรมแก่ไทย แต่การเจรจาไม่ประสบความสำเร็จ ไทยจึงต้องยอมรับการยกเลิกสิทธิ GSP นี้
ผลกระทบที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญหลังจากถูก EU ตัดสิทธิ GSP คือ การสูญเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับจากสิทธิพิเศษนี้ โดยประเมินตัวเลขการใช้สิทธิ GSP ปี 2537 สินค้าประมงได้รับยกเว้นภาษี 27.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง 21.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสินค้าพืชผักผลไม้ 1.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมมูลค่าถึง 50.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯและแน่นอนที่สุดราคาสินค้าจากประเทศไทยในสายตาผู้บริโภคใน EU จะแพงขึ้นค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนตัดสิทธิ GSP รัฐบาลได้มีแนวทางแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยพยายามหาทางยกเลิกระบบภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรแปรรูป และภาษีนำเข้าในกลุ่มสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ เพื่อลดต้นทุนการผลิต
เนื่องจากการแข่งขันในตลาดโลกไม่ได้ขึ้นกับราคาเพียงอย่างเดียวแต่ยังประกอบไปด้วยปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ คุณภาพสินค้า ความตรงต่อเวลาในการส่งสินค้า เทอมการชำระเงินที่ให้แก่ผู้ซื้อและความรู้ความเชี่ยวชาญในสินค้าและตลาดที่ส่งออก ผู้ส่งออกจึงควรหันมาทบทวนการจัดการด้านระบบการผลิตการเกษตรให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งควบคุมมาตรฐานการผลิตให้ได้มาตรฐานระดับโลก เช่น ISO สำหรับตลาดส่งออกโดยเฉพาะตลาด EU ผู้ส่งออกอาจสูญเสียผู้ซื้อในตลาดนี้ไปบ้าง เพราะราคาสินค้าสูงกว่าคู่แข่งในประเทศที่ไม่ถูกตัดสิทธิพิเศษนี้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากสินค้าจากประเทศคู่แข่งอาจมีคุณภาพต่ำกว่าและกำลังการผลิตจำกัด ผู้ส่งออกจึงควรพยายามอย่างเต็มที่ที่จะรักษาระดับธุรกรรมที่ทำกับผู้ซื้อในตลาดนี้ไว้
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ส่งออกไทย หาทางฝ่าฟันวิกฤตในเวลาจำกัด และท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงนี้ ผู้ส่งออกอาจใช้เทอมการชำระเงินเป็นเครื่องมือในการแข่งขัน โดยยื่นข้อเสนอเปลี่ยนแปลงเทอมการชำระเงินเป็นเทอมที่ผ่อนผันมากขึ้น เช่น ไม่ต้องเปิด L/C และให้เครดิตนานขึ้นแก่ผู้ซื้อเดิมที่ทำการค้าขายกันมานาน เพื่อเป็นการช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ซื้อการขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่ง โดยรัฐบาลได้พยายามส่งเสริมให้มีการขยายตลาด โดยหารือกับประเทศจีนให้เป็นตลาดนำเข้าสินค้ากุ้งจากไทยเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการส่งออก อย่างไรก็ดีย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเนื่องจากไม่เคยค้าขายกันมาก่อน ดังนั้นผู้ส่งออกควรทำการศึกษาตลาดนั้นๆ อย่างละเอียด พร้อมทั้งทำการตรวจสอบผู้ซื้อเกี่ยวกับ สถานะการดำเนินงาน สถานะการเงิน ประวัติการชำระเงิน สภาพตลาดของสินค้านั้นๆ ในประเทศผู้ซื้อ และในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ส่งออกสามารถทำธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและมั่นใจในการขยายเทอมการชำระเงินให้ผู้ซื้อรายเดิมหรือการขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ได้จัดให้มีบริการประกันการส่งออก ซึ่งเป็นบริการที่ช่วยเหลือผู้ส่งออก ในการลดความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระค่าสินค้า จากผู้ซื้อในเทอมการชำระเงิน แบบ Documents against Payment (D/P), Documents against Acceptance (D/A) หรือ Open Account (O/A) โดย ธสน. จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ส่งออก หากผู้ส่งออกสินค้าไปแล้วไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า ทั้งกรณีอันเกิดจากความเสี่ยงทางการค้า และความเสี่ยงทางการเมืองโดย ธสน.จะทำการตรวจสอบข้อมูลและวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของผู้ซื้ บริการประกันการส่งออกจึงเป็นบริการที่ช่วยลดความเสี่ยงของผู้ส่งออกในการขายสินค้า และสนับสนุนการขยายตลาดของผู้ส่งออก
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 5 ฉบับ 1 ประจำเดือนมกราคม--
การพิจารณาตัดสิทธิ GSP ดังกล่าว EU ได้ใช้ค่าดัชนี 2 ตัว คือ ดัชนีระดับการพัฒนาประเทศ (Development Index) คำนวณจากรายได้ประชาชาติต่อหัว (GNP Per Capita) และมูลค่าการส่งออกของประเทศนั้นๆ เปรียบเทียบกับของสหภาพยุโรป ดัชนีอีกตัวหนึ่ง คือ ดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (Specialization Index) คำนวณจากสัดส่วนของมูลค่านำเข้าของสินค้าจากประเทศผู้รับสิทธิ GSP เปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้าของสินค้านั้นที่ EU นำเข้าทั้งหมด
ในการพิจารณาตัดสิทธิ GSP นั้น EU ได้ใช้ดัชนีโดยมีข้อมูลปี 2539 เป็นฐาน ซึ่งในปี 2539 ไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดีและยังไม่มีปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงิน รัฐบาลไทยจึงไม่ดำเนินการขอให้ EU ทบทวนมติการไม่ต่ออายุสิทธิ GSP ของไทย เพราะดัชนีปีฐานที่ใช้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและการเลือกปฏิบัติ ซึ่งไม่เป็นธรรมแก่ไทย แต่การเจรจาไม่ประสบความสำเร็จ ไทยจึงต้องยอมรับการยกเลิกสิทธิ GSP นี้
ผลกระทบที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญหลังจากถูก EU ตัดสิทธิ GSP คือ การสูญเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับจากสิทธิพิเศษนี้ โดยประเมินตัวเลขการใช้สิทธิ GSP ปี 2537 สินค้าประมงได้รับยกเว้นภาษี 27.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง 21.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสินค้าพืชผักผลไม้ 1.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมมูลค่าถึง 50.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯและแน่นอนที่สุดราคาสินค้าจากประเทศไทยในสายตาผู้บริโภคใน EU จะแพงขึ้นค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนตัดสิทธิ GSP รัฐบาลได้มีแนวทางแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยพยายามหาทางยกเลิกระบบภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรแปรรูป และภาษีนำเข้าในกลุ่มสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ เพื่อลดต้นทุนการผลิต
เนื่องจากการแข่งขันในตลาดโลกไม่ได้ขึ้นกับราคาเพียงอย่างเดียวแต่ยังประกอบไปด้วยปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ คุณภาพสินค้า ความตรงต่อเวลาในการส่งสินค้า เทอมการชำระเงินที่ให้แก่ผู้ซื้อและความรู้ความเชี่ยวชาญในสินค้าและตลาดที่ส่งออก ผู้ส่งออกจึงควรหันมาทบทวนการจัดการด้านระบบการผลิตการเกษตรให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งควบคุมมาตรฐานการผลิตให้ได้มาตรฐานระดับโลก เช่น ISO สำหรับตลาดส่งออกโดยเฉพาะตลาด EU ผู้ส่งออกอาจสูญเสียผู้ซื้อในตลาดนี้ไปบ้าง เพราะราคาสินค้าสูงกว่าคู่แข่งในประเทศที่ไม่ถูกตัดสิทธิพิเศษนี้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากสินค้าจากประเทศคู่แข่งอาจมีคุณภาพต่ำกว่าและกำลังการผลิตจำกัด ผู้ส่งออกจึงควรพยายามอย่างเต็มที่ที่จะรักษาระดับธุรกรรมที่ทำกับผู้ซื้อในตลาดนี้ไว้
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ส่งออกไทย หาทางฝ่าฟันวิกฤตในเวลาจำกัด และท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงนี้ ผู้ส่งออกอาจใช้เทอมการชำระเงินเป็นเครื่องมือในการแข่งขัน โดยยื่นข้อเสนอเปลี่ยนแปลงเทอมการชำระเงินเป็นเทอมที่ผ่อนผันมากขึ้น เช่น ไม่ต้องเปิด L/C และให้เครดิตนานขึ้นแก่ผู้ซื้อเดิมที่ทำการค้าขายกันมานาน เพื่อเป็นการช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ซื้อการขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่ง โดยรัฐบาลได้พยายามส่งเสริมให้มีการขยายตลาด โดยหารือกับประเทศจีนให้เป็นตลาดนำเข้าสินค้ากุ้งจากไทยเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการส่งออก อย่างไรก็ดีย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเนื่องจากไม่เคยค้าขายกันมาก่อน ดังนั้นผู้ส่งออกควรทำการศึกษาตลาดนั้นๆ อย่างละเอียด พร้อมทั้งทำการตรวจสอบผู้ซื้อเกี่ยวกับ สถานะการดำเนินงาน สถานะการเงิน ประวัติการชำระเงิน สภาพตลาดของสินค้านั้นๆ ในประเทศผู้ซื้อ และในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ส่งออกสามารถทำธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและมั่นใจในการขยายเทอมการชำระเงินให้ผู้ซื้อรายเดิมหรือการขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ได้จัดให้มีบริการประกันการส่งออก ซึ่งเป็นบริการที่ช่วยเหลือผู้ส่งออก ในการลดความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระค่าสินค้า จากผู้ซื้อในเทอมการชำระเงิน แบบ Documents against Payment (D/P), Documents against Acceptance (D/A) หรือ Open Account (O/A) โดย ธสน. จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ส่งออก หากผู้ส่งออกสินค้าไปแล้วไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า ทั้งกรณีอันเกิดจากความเสี่ยงทางการค้า และความเสี่ยงทางการเมืองโดย ธสน.จะทำการตรวจสอบข้อมูลและวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของผู้ซื้ บริการประกันการส่งออกจึงเป็นบริการที่ช่วยลดความเสี่ยงของผู้ส่งออกในการขายสินค้า และสนับสนุนการขยายตลาดของผู้ส่งออก
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 5 ฉบับ 1 ประจำเดือนมกราคม--