กรุงเทพ--16 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC (BIMSTEC-Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation Ministerial Meeting) ครั้งที่ 8 ที่กรุงธากา ซึ่งประกอบด้วยประเทศในบริเวณอ่าวเบงกอล 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย โดยในวันที่ 18 ธันวาคม 2548 จะเป็นการประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (BIMSTEC Senior Officials’ Meeting) ก่อนการประชุมในระดับรัฐมนตรีในวันต่อไป นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ มีกำหนดการที่หารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีต่างประเทศบังกลาเทศ และเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ BIMSTEC คนอื่นด้วย
การประชุมครั้งนี้นับเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งแรกหลังจากการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ และมีเป้าหมายเพื่อติดตามความคืบหน้า ความร่วมมือในสาขาต่างๆ ติดตามผลสืบเนื่องจากการประชุมผู้นำครั้งที่ 1 และพิจารณาแนวทางความร่วมมือในอนาคต ทั้งในเรื่องกิจกรรมและกลไกความร่วมมือ ก่อนการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศอินเดียในปี 2549
ในส่วนของไทยได้มีบทบาทสำคัญหลายด้าน อาทิ การท่องเที่ยว พลังงาน การค้าการลงทุน การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญกรรมข้ามชาติ ประมง การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระดับประชาชนหลายโครงการ ได้แก่ “Exploring BIMSTEC Cultural Ties in Thailand” “BIMSTEC Young Ambassadors Programme” “BIMSTEC Exhibition” และ “Getting to Know the New BIMSTEC Members” นอกจากนี้ ไทยได้ให้ทุนฝึกอบรมในสาขาต่างๆ แก่ประเทศสมาชิก BIMSTEC ไปแล้วประมาณ 230 ทุน
สำหรับประเด็นสำคัญในที่ประชุม BIMSTEC ครั้งที่ 8 ได้แก่ การเจรจา BIMSTEC FTA , BIMSTEC Business Travel Card ความร่วมมือกับ development partner โดยเฉพาะ ADB ศูนย์ BIMSTEC เว็บไซต์ BIMSTEC ความร่วมมือกับภาคธุรกิจ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการปัญหาการระบาดของไข้หวัดนก เป็นต้น
อนึ่ง BIMSTEC เป็นกรอบความร่วมมือเดียวที่เชื่อมระหว่างอนุภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2540 ภายใต้ชื่อ BIST-EC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) โดยการริเริ่มและผลักดันของไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น BIMST-EC เมื่อพม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปีเดียวกัน จากนั้นในปลายปี 2546 เนปาลและภูฏานได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ สำหรับชื่อปัจจุบันของ BIMSTEC นั้น ที่ประชุมผู้นำครั้งแรก ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อเพื่อสะท้อนคุณลักษณะของกรอบความร่วมมือแทนตัวย่อของชื่อประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีโครงการความร่วมมือใน 6 สาขาหลัก ได้แก่ การค้าและการลงทุน เกษตรและประมง พลังงาน การท่องเที่ยว คมนาคม และเทคโนโลยี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC (BIMSTEC-Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation Ministerial Meeting) ครั้งที่ 8 ที่กรุงธากา ซึ่งประกอบด้วยประเทศในบริเวณอ่าวเบงกอล 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย โดยในวันที่ 18 ธันวาคม 2548 จะเป็นการประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (BIMSTEC Senior Officials’ Meeting) ก่อนการประชุมในระดับรัฐมนตรีในวันต่อไป นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ มีกำหนดการที่หารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีต่างประเทศบังกลาเทศ และเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ BIMSTEC คนอื่นด้วย
การประชุมครั้งนี้นับเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งแรกหลังจากการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ และมีเป้าหมายเพื่อติดตามความคืบหน้า ความร่วมมือในสาขาต่างๆ ติดตามผลสืบเนื่องจากการประชุมผู้นำครั้งที่ 1 และพิจารณาแนวทางความร่วมมือในอนาคต ทั้งในเรื่องกิจกรรมและกลไกความร่วมมือ ก่อนการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศอินเดียในปี 2549
ในส่วนของไทยได้มีบทบาทสำคัญหลายด้าน อาทิ การท่องเที่ยว พลังงาน การค้าการลงทุน การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญกรรมข้ามชาติ ประมง การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระดับประชาชนหลายโครงการ ได้แก่ “Exploring BIMSTEC Cultural Ties in Thailand” “BIMSTEC Young Ambassadors Programme” “BIMSTEC Exhibition” และ “Getting to Know the New BIMSTEC Members” นอกจากนี้ ไทยได้ให้ทุนฝึกอบรมในสาขาต่างๆ แก่ประเทศสมาชิก BIMSTEC ไปแล้วประมาณ 230 ทุน
สำหรับประเด็นสำคัญในที่ประชุม BIMSTEC ครั้งที่ 8 ได้แก่ การเจรจา BIMSTEC FTA , BIMSTEC Business Travel Card ความร่วมมือกับ development partner โดยเฉพาะ ADB ศูนย์ BIMSTEC เว็บไซต์ BIMSTEC ความร่วมมือกับภาคธุรกิจ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการปัญหาการระบาดของไข้หวัดนก เป็นต้น
อนึ่ง BIMSTEC เป็นกรอบความร่วมมือเดียวที่เชื่อมระหว่างอนุภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2540 ภายใต้ชื่อ BIST-EC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) โดยการริเริ่มและผลักดันของไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น BIMST-EC เมื่อพม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปีเดียวกัน จากนั้นในปลายปี 2546 เนปาลและภูฏานได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ สำหรับชื่อปัจจุบันของ BIMSTEC นั้น ที่ประชุมผู้นำครั้งแรก ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อเพื่อสะท้อนคุณลักษณะของกรอบความร่วมมือแทนตัวย่อของชื่อประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีโครงการความร่วมมือใน 6 สาขาหลัก ได้แก่ การค้าและการลงทุน เกษตรและประมง พลังงาน การท่องเที่ยว คมนาคม และเทคโนโลยี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-