สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะโดยทั่วไปยังทรงตัวอยู่ แม้ว่าราคาจะอ่อนตัวลงเนื่องจากการบริโภคยังไม่ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันปริมาณสุกรก็ลดน้อยลงเพราะผู้เลี้ยงได้ลดการเลี้ยงลงในช่วงปลายปีที่ราคาตกต่ำ ทำให้ผลผลิตสุกรที่ออกมาในขณะนี้มีไม่มาก แนวโน้มคาดว่าราคาสุกรจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ37.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.03 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.64 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 38.30 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 40.42 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัทซี.พี.ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 550 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 18.18
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ38.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไก่เนื้อยังคงปรับราคาเพิ่มขึ้น เพราะไก่ที่ออกสู่ตลาดในช่วงนี้ไม่ได้ขนาดตามที่ภาคโรงงานต้องการ ซึ่งต้องการไก่เนื้อขนาดใหญ่เพื่อนำไปผลิตและแปรรูปเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศ ทำให้ราคาไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ยังคงสูงอยู่ อย่างไรก็ตามการผลิตเพื่อส่งมอบในช่วงนี้ก็เพื่อให้เพียงพอกับคำสั่งซื้อที่มีมาก่อนหน้านี้เท่านั้น ทั้งนี้เพราะภาวะการซื้อขายของตลาดต่างประเทศในขณะนี้ค่อนข้างเงียบ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น ผลจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศทำให้การสั่งซื้อชะลอตัวลงและผู้นำเข้าไม่มีการเก็บสต๊อคสินค้า ส่วนตลาดยุโรป เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูร้อนและผู้นำเข้าก็มีการสต๊อคสินค้าไว้เพียงพอแล้ว ทำให้การสั่งซื้อลดลง
ผลจากการที่ตลาดต่างประเทศซบเซาลงดังกล่าว คาดว่าราคาไก่เนื้อในประเทศจะทรงตัวไปจนถึงอ่อนตัวลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 33.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 32.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.01 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.89 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.78 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี. มีราคาอยู่ที่ตัวละ 11.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ภาวะการซื้อขายมีแนวโน้มว่าจะปรับตัวดีขึ้น ถึงแม้ว่าผลผลิตในช่วงนี้จะมากขึ้น แต่ความต้องการบริโภคก็ยังเป็นไปตามปกติ ประกอบกับต้นทุนการเลี้ยงที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้เลี้ยงชะลอการนำไก่เข้าเล้า ซึ่งราคาไข่คละในสัปดาห์นี้ ปรับเพิ่มขึ้นจากฟองละ 1.75 บาท ในสัปดาห์ก่อนเป็นฟองละ 1.80 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 198 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 211 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 205 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 193 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 185 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 18.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 204 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 227 บาท ราคาทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 235 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 241 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 233 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 190 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 25.77 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.57 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 15.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 26 ประจำวันที่ 20-26 ก.ค. 2541--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะโดยทั่วไปยังทรงตัวอยู่ แม้ว่าราคาจะอ่อนตัวลงเนื่องจากการบริโภคยังไม่ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันปริมาณสุกรก็ลดน้อยลงเพราะผู้เลี้ยงได้ลดการเลี้ยงลงในช่วงปลายปีที่ราคาตกต่ำ ทำให้ผลผลิตสุกรที่ออกมาในขณะนี้มีไม่มาก แนวโน้มคาดว่าราคาสุกรจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ37.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.03 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.64 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 38.30 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 40.42 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัทซี.พี.ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 550 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 18.18
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ38.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไก่เนื้อยังคงปรับราคาเพิ่มขึ้น เพราะไก่ที่ออกสู่ตลาดในช่วงนี้ไม่ได้ขนาดตามที่ภาคโรงงานต้องการ ซึ่งต้องการไก่เนื้อขนาดใหญ่เพื่อนำไปผลิตและแปรรูปเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศ ทำให้ราคาไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ยังคงสูงอยู่ อย่างไรก็ตามการผลิตเพื่อส่งมอบในช่วงนี้ก็เพื่อให้เพียงพอกับคำสั่งซื้อที่มีมาก่อนหน้านี้เท่านั้น ทั้งนี้เพราะภาวะการซื้อขายของตลาดต่างประเทศในขณะนี้ค่อนข้างเงียบ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น ผลจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศทำให้การสั่งซื้อชะลอตัวลงและผู้นำเข้าไม่มีการเก็บสต๊อคสินค้า ส่วนตลาดยุโรป เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูร้อนและผู้นำเข้าก็มีการสต๊อคสินค้าไว้เพียงพอแล้ว ทำให้การสั่งซื้อลดลง
ผลจากการที่ตลาดต่างประเทศซบเซาลงดังกล่าว คาดว่าราคาไก่เนื้อในประเทศจะทรงตัวไปจนถึงอ่อนตัวลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 33.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 32.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.01 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.89 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.78 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี. มีราคาอยู่ที่ตัวละ 11.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ภาวะการซื้อขายมีแนวโน้มว่าจะปรับตัวดีขึ้น ถึงแม้ว่าผลผลิตในช่วงนี้จะมากขึ้น แต่ความต้องการบริโภคก็ยังเป็นไปตามปกติ ประกอบกับต้นทุนการเลี้ยงที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้เลี้ยงชะลอการนำไก่เข้าเล้า ซึ่งราคาไข่คละในสัปดาห์นี้ ปรับเพิ่มขึ้นจากฟองละ 1.75 บาท ในสัปดาห์ก่อนเป็นฟองละ 1.80 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 198 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 211 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 205 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 193 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 185 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 18.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 204 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 227 บาท ราคาทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 235 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 241 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 233 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 190 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 25.77 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.57 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 15.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 26 ประจำวันที่ 20-26 ก.ค. 2541--