องค์การการค้าโลกกำหนดการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ขณะนี้เหลือเวลาอีก 6 สัปดาห์ หรือ 42 วัน
ในการประชุมคณะมนตรีใหญ่อย่างไม่เป็นทางการเพื่อประเมินสถานะของการเตรียมการการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2544 นั้น ประธานคณะมนตรีใหญ่และผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลกประเมินว่า โอกาสที่จะมีการเปิดการเจรจารอบใหม่ที่โดฮานั้นก้ำกึ่งกัน เนื่องจากประเทศสมาชิกยังมีท่าทีแตกต่างกันมากในเรื่องเกษตร สิ่งแวดล้อม การลงทุน นโยบายการแข่งขัน การทุ่มตลาด และเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย
หลังจากที่เลขาธิการ WTO ได้เปิดดำเนินการเมื่อต้นเดือนกันยายน 2544 คณะมนตรีใหญ่ได้เริ่มประชุมเตรียมการการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ต่อ โดยได้จัดประชุมเพื่อการนี้เมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2544 ซึ่งได้เคยรายงานผลให้ทราบไปแล้ว ล่าสุดคณะมนตรีใหญ่จัดประชุมเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2544 เพื่อรายงานสถานะล่าสุดของการเตรียมการฯให้ประเทศสมาชิกทราบ โดยแจ้งว่า ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนประธานคณะมนตรีใหญ่ได้ร่วมมือกับผู้อำนวยการใหญ่และรองผู้อำนวยการใหญ่หารือกับประเทศสมาชิกเป็นรายประเทศและกลุ่มประเทศเพื่อลดช่องว่างของท่าทีในเรื่องต่างๆ ซึ่งสมาชิกได้แสดงความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ยังคงมีข้อจำกัดในบางเรื่อง
เมื่อวันที่ 24-25 กันยายน 2544 เอสแคปได้ร่วมกับอังค์ถัดจัดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิกเอสแคปเพื่อเตรียมการการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ทั้งนี้เพื่อหาทางประนีประนอมท่าทีของประเทศสมาชิก WTO เกี่ยวกับขอบข่ายการเจรจาว่าควรประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง และท่าทีในแต่ละเรื่อง แต่ผลปรากฏว่า ประเทศสมาชิกยังคงยึดท่าทีเดิม โดยสมาชิกส่วนใหญ่สนับสนุนการเปิดการเจรจารอบใหม่ที่กาตาร์ และเห็นว่าร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีต้องมีความชัดเจน และรัดกุม นอกจากนี้ ไม่เห็นด้วยกับการรวมเรื่องใหม่ๆ (new issues) กล่าวคือ การลงทุน นโยบายการแข่งขัน และสิ่งแวดล้อมไว้ในกรอบการเจรจารอบใหม่ ทั้งนี้อินเดียย้ำว่า อินเดียจะสนับสนุนการเจรจารอบใหม่ก็ต่อเมื่อการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัยมีผลคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมก่อนการประชุมที่กาตาร์ และได้อ้างถึงมติของคณะมนตรีใหญ่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ที่กำหนดให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4
นอกจากนี้ ประธาน (นาย Stuart Habinson) ได้ยกร่างฉบับแรกของปฏิญญารัฐมนตรีจำนวน 18 หน้าเสร็จแล้ว และเวียนให้ประเทศสมาชิกผ่านคณะผู้แทนของประเทศต่างๆที่เจนีวาพิจารณาเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2544 โดยประเด็นสำคัญครอบคลุมเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามความตกลงรอบอุรุกวัย ซึ่งรวมถึงเรื่องการตอบโต้การทุ่มตลาด และเรื่องใหม่ๆ ประกอบด้วย การลงทุน นโยบายการแข่งขัน และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ได้เสนอให้มีการพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา ทั้งนี้จะใช้ร่างปฎิญญาดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการหารือกับสมาชิกเพื่อให้ได้ร่างที่เป็นที่ยอมรับของทุกประเทศ โดยจะเริ่มต้นหารือในต้นเดือนตุลาคม และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม ศกนี้
สำหรับเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประเทศกำลังพัฒนานั้น ประธานคณะมนตรีใหญ่ตั้งเป้าว่าจะต้องมี concrete understanding ในเรื่องนี้ภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2544 โดยจะต้องคำนึงถึงผลการพิจารณาของคณะมนตรีและคณะกรรมการย่อยกลุ่มต่างๆที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องนี้และรายงานผลในวันที่ 30 กันยายน หลังจากนั้นประธานจะจัดทำร่างข้อเสนอเรื่อง Implementation และจะเวียนให้ประเทศสมาชิกพิจารณาไปพร้อมกับร่างปฏิญญารัฐมนตรี
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-
ในการประชุมคณะมนตรีใหญ่อย่างไม่เป็นทางการเพื่อประเมินสถานะของการเตรียมการการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2544 นั้น ประธานคณะมนตรีใหญ่และผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลกประเมินว่า โอกาสที่จะมีการเปิดการเจรจารอบใหม่ที่โดฮานั้นก้ำกึ่งกัน เนื่องจากประเทศสมาชิกยังมีท่าทีแตกต่างกันมากในเรื่องเกษตร สิ่งแวดล้อม การลงทุน นโยบายการแข่งขัน การทุ่มตลาด และเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย
หลังจากที่เลขาธิการ WTO ได้เปิดดำเนินการเมื่อต้นเดือนกันยายน 2544 คณะมนตรีใหญ่ได้เริ่มประชุมเตรียมการการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ต่อ โดยได้จัดประชุมเพื่อการนี้เมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2544 ซึ่งได้เคยรายงานผลให้ทราบไปแล้ว ล่าสุดคณะมนตรีใหญ่จัดประชุมเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2544 เพื่อรายงานสถานะล่าสุดของการเตรียมการฯให้ประเทศสมาชิกทราบ โดยแจ้งว่า ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนประธานคณะมนตรีใหญ่ได้ร่วมมือกับผู้อำนวยการใหญ่และรองผู้อำนวยการใหญ่หารือกับประเทศสมาชิกเป็นรายประเทศและกลุ่มประเทศเพื่อลดช่องว่างของท่าทีในเรื่องต่างๆ ซึ่งสมาชิกได้แสดงความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ยังคงมีข้อจำกัดในบางเรื่อง
เมื่อวันที่ 24-25 กันยายน 2544 เอสแคปได้ร่วมกับอังค์ถัดจัดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิกเอสแคปเพื่อเตรียมการการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ทั้งนี้เพื่อหาทางประนีประนอมท่าทีของประเทศสมาชิก WTO เกี่ยวกับขอบข่ายการเจรจาว่าควรประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง และท่าทีในแต่ละเรื่อง แต่ผลปรากฏว่า ประเทศสมาชิกยังคงยึดท่าทีเดิม โดยสมาชิกส่วนใหญ่สนับสนุนการเปิดการเจรจารอบใหม่ที่กาตาร์ และเห็นว่าร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีต้องมีความชัดเจน และรัดกุม นอกจากนี้ ไม่เห็นด้วยกับการรวมเรื่องใหม่ๆ (new issues) กล่าวคือ การลงทุน นโยบายการแข่งขัน และสิ่งแวดล้อมไว้ในกรอบการเจรจารอบใหม่ ทั้งนี้อินเดียย้ำว่า อินเดียจะสนับสนุนการเจรจารอบใหม่ก็ต่อเมื่อการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัยมีผลคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมก่อนการประชุมที่กาตาร์ และได้อ้างถึงมติของคณะมนตรีใหญ่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ที่กำหนดให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4
นอกจากนี้ ประธาน (นาย Stuart Habinson) ได้ยกร่างฉบับแรกของปฏิญญารัฐมนตรีจำนวน 18 หน้าเสร็จแล้ว และเวียนให้ประเทศสมาชิกผ่านคณะผู้แทนของประเทศต่างๆที่เจนีวาพิจารณาเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2544 โดยประเด็นสำคัญครอบคลุมเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามความตกลงรอบอุรุกวัย ซึ่งรวมถึงเรื่องการตอบโต้การทุ่มตลาด และเรื่องใหม่ๆ ประกอบด้วย การลงทุน นโยบายการแข่งขัน และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ได้เสนอให้มีการพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา ทั้งนี้จะใช้ร่างปฎิญญาดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการหารือกับสมาชิกเพื่อให้ได้ร่างที่เป็นที่ยอมรับของทุกประเทศ โดยจะเริ่มต้นหารือในต้นเดือนตุลาคม และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม ศกนี้
สำหรับเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประเทศกำลังพัฒนานั้น ประธานคณะมนตรีใหญ่ตั้งเป้าว่าจะต้องมี concrete understanding ในเรื่องนี้ภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2544 โดยจะต้องคำนึงถึงผลการพิจารณาของคณะมนตรีและคณะกรรมการย่อยกลุ่มต่างๆที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องนี้และรายงานผลในวันที่ 30 กันยายน หลังจากนั้นประธานจะจัดทำร่างข้อเสนอเรื่อง Implementation และจะเวียนให้ประเทศสมาชิกพิจารณาไปพร้อมกับร่างปฏิญญารัฐมนตรี
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-