1.ภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไป
1.1 ธนาคารกลางของอินเดีย (Reserve Bank Of India : RBI) ได้สรุปภาวะเศรษฐกิจของอินเดียในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน หรือช่วงระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน 2542 ว่าเศรษฐกิจของอินเดียมีการขยายตัวร้อยละ 5.5 (เทียบกับร้อยละ 3.5 ของช่วงเดียวกันในปีก่อน) อันสืบเนื่องจากการขยายตัวของภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และภาคบริการ (ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 3 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 5-5.5 และภาคบริการขยายตัวมากที่สุด คือ ร้อยละ 7.75) อัตราเงินเฟ้อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 (เทียบกับร้อยละ 8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน) การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 (คิดเป็นมูลค่าประมาณ 22 ล้านเหรียญฯ) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเท่ากับ 33.07 พันล้านเหรียญฯ และมีการขาดดุลการคลังร้อยละ 5-5.5 ของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (GDP) หรือมีมูลค่าการขาดดุลการคลังประมาณ 30 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีหนี้สินต่างประเทศประมาณ 98.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
1.2 จากการสำรวจความเห็นจากสมาพันธ์อุตสาหกรรมของอินเดีย (Confederation of Indian Industry : CII) ซึ่งเป็นองค์กรของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สำคัญมากของภาคเอกชนอินเดีย สามารถสรุปความเห็นร่วมกันได้ว่าภาคเอกชนอินเดียยังคงมองว่าความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองจะยังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดต่อการขยายตัวของธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง นอกจากนี้ ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ เงินทุนที่มีต้นทุนสูง ปัญหาความล่าช้าของระบบราชการ อัตราดอกเบี้ยที่สูง และเงื่อนไขของธนาคาต่าง ๆ ที่เรียกร้องการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ของนักลงทุนในอัตราที่สูงมาก เป็นต้น นอกจากนี้ ภาคเอกชนของอินเดียยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจระลอกที่สองสืบต่อจากสมัยแรกที่เริ่มเมื่อปี 2534 เพื่อรับมือกับศตวรรษหน้าอันเป็นยุคของโลกาภิวัฒน์ เนื่องจากในปัจจุบันเศรษฐกิจอินเดียยังล้าหลังชาติอื่นอยู่มาก แม้ว่าอินเดียจะมีขนาดของผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก (รองจากสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และเยอรมัน) แต่กลับมีรายได้ประชากรต่อหัวต่อปีเพียง 390 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือน้อยกว่าจีนถึง 2.2 เท่า
1.3 สถาบัน Moody ได้ยกสถานะทางเศรษฐกิจของอินเดียจากมีเสถียรภาพ (Stable) เป็นบวก (Positive) ระดับ BA2 โดยพิจารณาจากปัจจัยทางการเมืองเป็นหลัก ทั้งนี้ Moody มั่นใจว่ารัฐบาลอินเดียภายใต้การนำของพรรค Bharatiya Janata Party (BJP) ของนายวัชปายี จะสามารถปฏิรูปเศรษฐกิจตามกลไลตลาด โดยใช้โอกาสจากเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกและเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการที่รัฐสภาสหรัฐฯ เห็นชอบให้ระงับมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออินเดียเป็นเวลา 5 ปี จากการที่อินเดียทดลองนิวเคลียร์เมื่อปี 2541 อย่างไรก็ดี Moody ยังคงพยากรณ์ว่าปัจจัยท้าทายต่อเศรษฐกิจของอินเดียที่ยังคงมีอยู่ ได้แก่ ภาระหนี้สาธารณะ ความสามารถในการชำระหนี้ ระบบราชการของอินเดียที่ล่าช้าซ้ำซ้อนและขาดการประสานงาน การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน ดุลการคลัง และสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียดกับปากีสถาน ฯลฯ
2. นโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ของอินเดีย
2.1 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2542 นาย K.R. Narayanan ประธานาธิบดีอินเดียได้กล่าวแถลงนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่อินเดียต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภา (Joint Sitting Of Parliament) ซึ่งรวมถึงนโยบายด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสรุปสาระสำคัญของนโยบายด้านเศรษฐกิจ (Economic Agenda) คือ รัฐบาลจะสานต่อการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจใน 5 ปี ข้างหน้า โดยตั้งเป้าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 7-8 สร้างงานเพิ่มอีก 10 ล้านคน โดยเฉพาะในสาขาเกษตร การเคหะ และอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ลดการขาดดุลงบประมาณ ควบคุมการใช้จ่ายของรัฐ ปฎิรูประบบภาษี ลดจำนวนข้าราชการ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาและการสาธารณสุข เพิ่มการลงทุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในสาขาพลังงาน คมนาคม โทรคมนาคม และเทคโนโลยี่สารสนเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศขึ้นจาก 4 พันล้านเหรียญฯ ในปัจจุบันเป็น 10 พันล้านเหรียญฯ ต่อปี
2.2 ต่อมานานอตัล พิหารี วัชปายี นายกรัฐมนตรีอินเดียได้กล่าวยืนยันว่ารัฐบาลจะผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจกระลอกที่ 2 โดยจะเน้นการลงทุนจากต่างประเทศ ออกพระราชบัญญัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีเป้าหมายให้อินเดียเป็นมหาอำนาจทาง IT ภายในปี ค.ศ.2010 และตั้งเป้าหมายการส่งออกซอฟต์แวร์ภายในปี ค.ศ.2008 ไว้มูลค่า 50 พันล้านเหรียญฯ เร่งการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ในรัฐสภา ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พระราชบัญญัติป้องกันการฟอกเงิน พระราชบ้ญญัติประกันภัย ซึ่งกำลังรอการเห็นชอบจากผู้แทนราษฎร์อยู่
3. นโยบายการเงินและสินเชื่อ ของรัฐบาลอินเดียปีงบประมาณ 2542-2543
ในช่วงกลางเดือนพศฤจิกายนนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ได้ประเมินผลการดำเนินนโยบายการเงินและสินเชื่อในช่วงเดือนเมษายน-กันยายน 2542 อันเป็นครึ่งแรกของปีงบประมาณปัจจุบันไว้ว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะมีการปล่อยสินเชื่อของธนาคารไปสู่ภาคธุรกิจในระดับที่สูงขึ้น จนทำให้ไม่เกิดภาวะเงินตึงในระบบ นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศเริ่มมีเสถียรภาพจนธนาคารกลางได้ประกาศอัตราสำรองเงิน (Cash Reserve Ratio-CRR) ลงอีกร้อยละ 1 ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบอีกประมาณ 7 หมื่นล้านรูปี นอกจากนี้ RBI ได้ส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจในภาครวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้ว
4. การประเมินภาวะเศรษฐกิจอินเดียในช่วงปีงบประมาณ 2542-2543
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ได้ประเมินเศรษฐกิจอินเดียในปีงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มีนาคม 2543 ว่าเศรษฐกิจอินเดียจะมีการขยายตัวร้อยละ 7 อัตราเงินเฟ้อจะต่ำกว่าร้อยละ 5 ปริมาณการส่งออกจะสูงขึ้น อันเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอินเดียตะวันออกและเศรษฐกิจโลก โดยสินค้าที่จะส่งออกได้มากขึ้น ได้แก่ เครื่องหนัง และเพชรพลอย การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ของ GDP โดยมีแนวโน้มจะลดลงอีกในปีต่อไป รัฐบาลจะขาดดุลการคลังประมาณร้อยละ 4.5 ของ GDP และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลงเหลือร้อยละ 1.6 ของ GDP
อย่างไรก็ดี ADB ได้กล่าวเตือนด้วยว่าการคาดการณ์ข้างต้นนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาลชุดใหม่ที่ผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจระลอกที่ 2 และความีเสถียรภาพของรัฐบาลด้วย พร้อมนี้ ADB ได้เรียกร้องให้รัฐบาลชุดใหม่ปฎิรูปด้านการคลัง (Fiscal Reforms) ด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยภาระความรับผิดชอบด้านการเงินการคลังเพื่อเพิ่มวินัยด้านนี้ และเรียกร้องให้รัฐบาลลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อส่งเสริมการลงทุนและสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงินภายในประเทศ
5. ข้อสังเกต
5.1 แม้ว่าในภาพรวมเศรษฐกิจอินเดียอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นกว่าปีก่อนมาก อันมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากปัจจัยภายใน ได้แก่ ความมั่นใจของนักลงทุนและภาคเอกชนภายในประเทศต่อเสถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่ และความตั้งใจจริงของรัฐบาลที่จะเปิดเสรีเศรษฐกิจอินเดียให้มากขึ้น และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มดีขึ้น เศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ที่ฟื้นตัวแล้ว และการระงับการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออินเดียโดยสหรัฐฯ แต่ปัจจัยใหญ่ที่สุดที่รัฐบาลอินเดียต้องเผชิญและหาทางแก้ไขโดยด่วนก็คือภาวะการขาดดุลงบประมาณ ซึ่งประมาณการกันว่าสูงถึงร้อยละ 8 ของ GDP ในความเป็นจริง (เมื่อรวมการขาดดุลงบประมาณของส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในรัฐต่าง ๆ เข้าด้วยกัน) อัตราการขาดดุลดังกล่าวสูงกว่าที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายไว้เมื่อต้นปีงบประมาณ (ร้อยละ 6) สืบเนื่องจากรายจ่ายของรัฐที่มิได้คาดหมายไว้ ได้แก่การทำสงครามชายแดนกับปากีสถานที่อำเภอ Kagril ในรัฐแคชเมียร์ การจัดการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งมีขึ้นก่อนกำหนดในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2542 (ใข้งบประมาณไปประมาณ 10,000 ล้านรูปี) และวาตภัยจากพายุไซโคลนในรัฐโอริสสาทางภาคตะวันออกของอินเดีย เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2542 ซึ่งทำลายระบบสาธารณูปโภคในรัฐเกือบทั้งหมด และรัฐบาลต้องจัดสรรงบช่วยเหลือฉุกเฉินจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor ได้กล่าวเตือนว่าหากไม่รีบแก้ไขการขาดดุลงบประมาณของอินเดียอาจเพิ่มสูงถึงร้อยละ 9 ของ GDP เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณนี้ อันจะทำให้ความน่าเชื่อถือของประเทศลดลง และทำให้อินเดียไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 7 ในปีงบประมาณได้และด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้นักเศรษฐศาสตร์บางกลุ่มไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมการขาดดุลงบประมาณให้อยู่ที่ร้อยละ 4 หรือ 4.5 ตามที่แถลงไว้ได้
5.2 วาระทางเศรษฐกิจเร่งด่วนที่รัฐบาลของนายวัชปายี กำลังผลักดันออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ให้ทันก่อนสิ้นปีนี้ ได้แก่ พระราชบัญญัติประกันภัย (Insurance Regulatory and Development Authority Bill) ซึ่งผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร (โลกสภา) และสภาสูง (ราชย์สภา) แล้วเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมและ 7 ธันวาคม 2542 ตามลำดับ พระราชบัญญัติฉบับนี้มุ่งเปิดเสรีภาคธุรกิจประกันภัยของอินเดีย ซึ่งแต่เดิมเป็นของรัฐ ด้วยการเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนและบริษัทต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 26 รัฐบาลอินเดียเชื่อมั่นว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้จะยกระดับธุรกิจประกันภัยในประเทศให้มีคุณภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ดี พรรคฝ่ายซ้ายและพรรคท้องถิ่นเล็ก ๆ บางพรรคร่วมกันต่อต้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยกล่าวหารัฐบาลว่า ขายกิจการให้ต่างชาติและจะทำให้คนอินเดียจำนวนมากตกงาน แต่รัฐมนตรีคลังของอินเดียแย้งว่า กฎหมายฉบับใหม่นี้จะสร้างงานให้คนอินเดียมากขึ้นและรัฐบาลจะยังคงถือหุ้นอยู่
5.3 อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของอินเดียเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยคงต้องจับตามอง และควรจะขยายความร่วมมือกับอินเดียให้มากขึ้นในอนาคต เพราะอินเดียมีความก้าวหน้าในด้านนี้อย่างมาก ธนาคารกลางของอินเดียได้สรุปรายงานว่า ในช่วงปี 2541-2542 รายได้จากภาคบริการของอินเดียสูงถึงร้อยละ 51.2 ของ GDP ซึ่งมากกว่ารายได้จากภาคเกษตรและอุตสาหกรรมรวมกัน โดยมีซอฟต์แวร์เป็นปัจจัยหลักในการเติบโตของภาคบริการ ทั้งนี้อินเดียมีสถาบันวิจัยและพัฒนาด้านซอฟต์แวร์โดยเฉพาะชื่อว่า Software Engineering Institute (SEI) ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ในการพัฒนาและควบคุมการบริหารองค์กรให้เต็มศักยภาพ (Capability Maturity) ในช่วงปี 2541-2542 บริษัทซอฟต์แวร์ของอินเดียสามารถส่งออกสินค้ามีมูลค่าสูงถีง 2.65 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ส่งออกไปทวีปอเมริกาเหนือ (ร้อยละ 61) ยุโรป (ร้อยละ 23) ญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ร้อยละ 4) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ใช้แก้ปัญหา Y2K มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 ของสินค้าซอฟต์แวร์ที่ส่งออกทั้งหมด และเป็นที่น่าสังเกตุว่า แม้ปัจจุบันค่าจ้างวิศวกรและพนักงานด้าน IT ของอินเดียจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 42 ระหว่างปี 2538-2542 แต่ก็มิได้ทำให้บริษัท IT ในอินเดียขาดทุนแต่อย่างใด เนื่องจากประสิทธิภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมแขนงนี้ทำให้สาขา IT ของอินเดียสามารถปรับตัวจากอุตสาหกรรมแบบให้บริการโดยตรง (Immediate Service) มาเป็นอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า (Value-added Service) ซึ่งทำให้อินเดียรักษาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Competitive Advantage) ในด้าน IT นี้ไว้ได้ ขณะนี้บริษัท GE Capital มีโครงการจะร่วมทุนด้าน IT กับอินเดียเป็นเงินประมาณ 125 ล้านเหรียญฯ ด้วย นอกจากนี้ยังปรากฎข่าวด้วยว่าอินเดียยังให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนาม ด้วยการทำความตกลงจัดตั้งศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมด้านซอฟต์แวร์ขึ้น 2 แห่ง ที่กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ ระหว่างการเยือนอินเดียของประธานาธิบดีเวียดนามเมื่อต้นเดือนธันวาคม
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 24/31 ธันวาคม 2542--
1.1 ธนาคารกลางของอินเดีย (Reserve Bank Of India : RBI) ได้สรุปภาวะเศรษฐกิจของอินเดียในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน หรือช่วงระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน 2542 ว่าเศรษฐกิจของอินเดียมีการขยายตัวร้อยละ 5.5 (เทียบกับร้อยละ 3.5 ของช่วงเดียวกันในปีก่อน) อันสืบเนื่องจากการขยายตัวของภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และภาคบริการ (ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 3 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 5-5.5 และภาคบริการขยายตัวมากที่สุด คือ ร้อยละ 7.75) อัตราเงินเฟ้อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 (เทียบกับร้อยละ 8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน) การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 (คิดเป็นมูลค่าประมาณ 22 ล้านเหรียญฯ) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเท่ากับ 33.07 พันล้านเหรียญฯ และมีการขาดดุลการคลังร้อยละ 5-5.5 ของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (GDP) หรือมีมูลค่าการขาดดุลการคลังประมาณ 30 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีหนี้สินต่างประเทศประมาณ 98.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
1.2 จากการสำรวจความเห็นจากสมาพันธ์อุตสาหกรรมของอินเดีย (Confederation of Indian Industry : CII) ซึ่งเป็นองค์กรของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สำคัญมากของภาคเอกชนอินเดีย สามารถสรุปความเห็นร่วมกันได้ว่าภาคเอกชนอินเดียยังคงมองว่าความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองจะยังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดต่อการขยายตัวของธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง นอกจากนี้ ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ เงินทุนที่มีต้นทุนสูง ปัญหาความล่าช้าของระบบราชการ อัตราดอกเบี้ยที่สูง และเงื่อนไขของธนาคาต่าง ๆ ที่เรียกร้องการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ของนักลงทุนในอัตราที่สูงมาก เป็นต้น นอกจากนี้ ภาคเอกชนของอินเดียยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจระลอกที่สองสืบต่อจากสมัยแรกที่เริ่มเมื่อปี 2534 เพื่อรับมือกับศตวรรษหน้าอันเป็นยุคของโลกาภิวัฒน์ เนื่องจากในปัจจุบันเศรษฐกิจอินเดียยังล้าหลังชาติอื่นอยู่มาก แม้ว่าอินเดียจะมีขนาดของผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก (รองจากสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และเยอรมัน) แต่กลับมีรายได้ประชากรต่อหัวต่อปีเพียง 390 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือน้อยกว่าจีนถึง 2.2 เท่า
1.3 สถาบัน Moody ได้ยกสถานะทางเศรษฐกิจของอินเดียจากมีเสถียรภาพ (Stable) เป็นบวก (Positive) ระดับ BA2 โดยพิจารณาจากปัจจัยทางการเมืองเป็นหลัก ทั้งนี้ Moody มั่นใจว่ารัฐบาลอินเดียภายใต้การนำของพรรค Bharatiya Janata Party (BJP) ของนายวัชปายี จะสามารถปฏิรูปเศรษฐกิจตามกลไลตลาด โดยใช้โอกาสจากเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกและเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการที่รัฐสภาสหรัฐฯ เห็นชอบให้ระงับมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออินเดียเป็นเวลา 5 ปี จากการที่อินเดียทดลองนิวเคลียร์เมื่อปี 2541 อย่างไรก็ดี Moody ยังคงพยากรณ์ว่าปัจจัยท้าทายต่อเศรษฐกิจของอินเดียที่ยังคงมีอยู่ ได้แก่ ภาระหนี้สาธารณะ ความสามารถในการชำระหนี้ ระบบราชการของอินเดียที่ล่าช้าซ้ำซ้อนและขาดการประสานงาน การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน ดุลการคลัง และสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียดกับปากีสถาน ฯลฯ
2. นโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ของอินเดีย
2.1 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2542 นาย K.R. Narayanan ประธานาธิบดีอินเดียได้กล่าวแถลงนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่อินเดียต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภา (Joint Sitting Of Parliament) ซึ่งรวมถึงนโยบายด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสรุปสาระสำคัญของนโยบายด้านเศรษฐกิจ (Economic Agenda) คือ รัฐบาลจะสานต่อการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจใน 5 ปี ข้างหน้า โดยตั้งเป้าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 7-8 สร้างงานเพิ่มอีก 10 ล้านคน โดยเฉพาะในสาขาเกษตร การเคหะ และอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ลดการขาดดุลงบประมาณ ควบคุมการใช้จ่ายของรัฐ ปฎิรูประบบภาษี ลดจำนวนข้าราชการ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาและการสาธารณสุข เพิ่มการลงทุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในสาขาพลังงาน คมนาคม โทรคมนาคม และเทคโนโลยี่สารสนเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศขึ้นจาก 4 พันล้านเหรียญฯ ในปัจจุบันเป็น 10 พันล้านเหรียญฯ ต่อปี
2.2 ต่อมานานอตัล พิหารี วัชปายี นายกรัฐมนตรีอินเดียได้กล่าวยืนยันว่ารัฐบาลจะผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจกระลอกที่ 2 โดยจะเน้นการลงทุนจากต่างประเทศ ออกพระราชบัญญัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีเป้าหมายให้อินเดียเป็นมหาอำนาจทาง IT ภายในปี ค.ศ.2010 และตั้งเป้าหมายการส่งออกซอฟต์แวร์ภายในปี ค.ศ.2008 ไว้มูลค่า 50 พันล้านเหรียญฯ เร่งการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ในรัฐสภา ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พระราชบัญญัติป้องกันการฟอกเงิน พระราชบ้ญญัติประกันภัย ซึ่งกำลังรอการเห็นชอบจากผู้แทนราษฎร์อยู่
3. นโยบายการเงินและสินเชื่อ ของรัฐบาลอินเดียปีงบประมาณ 2542-2543
ในช่วงกลางเดือนพศฤจิกายนนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ได้ประเมินผลการดำเนินนโยบายการเงินและสินเชื่อในช่วงเดือนเมษายน-กันยายน 2542 อันเป็นครึ่งแรกของปีงบประมาณปัจจุบันไว้ว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะมีการปล่อยสินเชื่อของธนาคารไปสู่ภาคธุรกิจในระดับที่สูงขึ้น จนทำให้ไม่เกิดภาวะเงินตึงในระบบ นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศเริ่มมีเสถียรภาพจนธนาคารกลางได้ประกาศอัตราสำรองเงิน (Cash Reserve Ratio-CRR) ลงอีกร้อยละ 1 ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบอีกประมาณ 7 หมื่นล้านรูปี นอกจากนี้ RBI ได้ส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจในภาครวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้ว
4. การประเมินภาวะเศรษฐกิจอินเดียในช่วงปีงบประมาณ 2542-2543
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ได้ประเมินเศรษฐกิจอินเดียในปีงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มีนาคม 2543 ว่าเศรษฐกิจอินเดียจะมีการขยายตัวร้อยละ 7 อัตราเงินเฟ้อจะต่ำกว่าร้อยละ 5 ปริมาณการส่งออกจะสูงขึ้น อันเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอินเดียตะวันออกและเศรษฐกิจโลก โดยสินค้าที่จะส่งออกได้มากขึ้น ได้แก่ เครื่องหนัง และเพชรพลอย การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ของ GDP โดยมีแนวโน้มจะลดลงอีกในปีต่อไป รัฐบาลจะขาดดุลการคลังประมาณร้อยละ 4.5 ของ GDP และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลงเหลือร้อยละ 1.6 ของ GDP
อย่างไรก็ดี ADB ได้กล่าวเตือนด้วยว่าการคาดการณ์ข้างต้นนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาลชุดใหม่ที่ผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจระลอกที่ 2 และความีเสถียรภาพของรัฐบาลด้วย พร้อมนี้ ADB ได้เรียกร้องให้รัฐบาลชุดใหม่ปฎิรูปด้านการคลัง (Fiscal Reforms) ด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยภาระความรับผิดชอบด้านการเงินการคลังเพื่อเพิ่มวินัยด้านนี้ และเรียกร้องให้รัฐบาลลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อส่งเสริมการลงทุนและสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงินภายในประเทศ
5. ข้อสังเกต
5.1 แม้ว่าในภาพรวมเศรษฐกิจอินเดียอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นกว่าปีก่อนมาก อันมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากปัจจัยภายใน ได้แก่ ความมั่นใจของนักลงทุนและภาคเอกชนภายในประเทศต่อเสถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่ และความตั้งใจจริงของรัฐบาลที่จะเปิดเสรีเศรษฐกิจอินเดียให้มากขึ้น และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มดีขึ้น เศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ที่ฟื้นตัวแล้ว และการระงับการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออินเดียโดยสหรัฐฯ แต่ปัจจัยใหญ่ที่สุดที่รัฐบาลอินเดียต้องเผชิญและหาทางแก้ไขโดยด่วนก็คือภาวะการขาดดุลงบประมาณ ซึ่งประมาณการกันว่าสูงถึงร้อยละ 8 ของ GDP ในความเป็นจริง (เมื่อรวมการขาดดุลงบประมาณของส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในรัฐต่าง ๆ เข้าด้วยกัน) อัตราการขาดดุลดังกล่าวสูงกว่าที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายไว้เมื่อต้นปีงบประมาณ (ร้อยละ 6) สืบเนื่องจากรายจ่ายของรัฐที่มิได้คาดหมายไว้ ได้แก่การทำสงครามชายแดนกับปากีสถานที่อำเภอ Kagril ในรัฐแคชเมียร์ การจัดการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งมีขึ้นก่อนกำหนดในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2542 (ใข้งบประมาณไปประมาณ 10,000 ล้านรูปี) และวาตภัยจากพายุไซโคลนในรัฐโอริสสาทางภาคตะวันออกของอินเดีย เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2542 ซึ่งทำลายระบบสาธารณูปโภคในรัฐเกือบทั้งหมด และรัฐบาลต้องจัดสรรงบช่วยเหลือฉุกเฉินจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor ได้กล่าวเตือนว่าหากไม่รีบแก้ไขการขาดดุลงบประมาณของอินเดียอาจเพิ่มสูงถึงร้อยละ 9 ของ GDP เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณนี้ อันจะทำให้ความน่าเชื่อถือของประเทศลดลง และทำให้อินเดียไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 7 ในปีงบประมาณได้และด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้นักเศรษฐศาสตร์บางกลุ่มไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมการขาดดุลงบประมาณให้อยู่ที่ร้อยละ 4 หรือ 4.5 ตามที่แถลงไว้ได้
5.2 วาระทางเศรษฐกิจเร่งด่วนที่รัฐบาลของนายวัชปายี กำลังผลักดันออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ให้ทันก่อนสิ้นปีนี้ ได้แก่ พระราชบัญญัติประกันภัย (Insurance Regulatory and Development Authority Bill) ซึ่งผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร (โลกสภา) และสภาสูง (ราชย์สภา) แล้วเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมและ 7 ธันวาคม 2542 ตามลำดับ พระราชบัญญัติฉบับนี้มุ่งเปิดเสรีภาคธุรกิจประกันภัยของอินเดีย ซึ่งแต่เดิมเป็นของรัฐ ด้วยการเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนและบริษัทต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 26 รัฐบาลอินเดียเชื่อมั่นว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้จะยกระดับธุรกิจประกันภัยในประเทศให้มีคุณภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ดี พรรคฝ่ายซ้ายและพรรคท้องถิ่นเล็ก ๆ บางพรรคร่วมกันต่อต้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยกล่าวหารัฐบาลว่า ขายกิจการให้ต่างชาติและจะทำให้คนอินเดียจำนวนมากตกงาน แต่รัฐมนตรีคลังของอินเดียแย้งว่า กฎหมายฉบับใหม่นี้จะสร้างงานให้คนอินเดียมากขึ้นและรัฐบาลจะยังคงถือหุ้นอยู่
5.3 อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของอินเดียเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยคงต้องจับตามอง และควรจะขยายความร่วมมือกับอินเดียให้มากขึ้นในอนาคต เพราะอินเดียมีความก้าวหน้าในด้านนี้อย่างมาก ธนาคารกลางของอินเดียได้สรุปรายงานว่า ในช่วงปี 2541-2542 รายได้จากภาคบริการของอินเดียสูงถึงร้อยละ 51.2 ของ GDP ซึ่งมากกว่ารายได้จากภาคเกษตรและอุตสาหกรรมรวมกัน โดยมีซอฟต์แวร์เป็นปัจจัยหลักในการเติบโตของภาคบริการ ทั้งนี้อินเดียมีสถาบันวิจัยและพัฒนาด้านซอฟต์แวร์โดยเฉพาะชื่อว่า Software Engineering Institute (SEI) ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ในการพัฒนาและควบคุมการบริหารองค์กรให้เต็มศักยภาพ (Capability Maturity) ในช่วงปี 2541-2542 บริษัทซอฟต์แวร์ของอินเดียสามารถส่งออกสินค้ามีมูลค่าสูงถีง 2.65 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ส่งออกไปทวีปอเมริกาเหนือ (ร้อยละ 61) ยุโรป (ร้อยละ 23) ญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ร้อยละ 4) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ใช้แก้ปัญหา Y2K มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 ของสินค้าซอฟต์แวร์ที่ส่งออกทั้งหมด และเป็นที่น่าสังเกตุว่า แม้ปัจจุบันค่าจ้างวิศวกรและพนักงานด้าน IT ของอินเดียจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 42 ระหว่างปี 2538-2542 แต่ก็มิได้ทำให้บริษัท IT ในอินเดียขาดทุนแต่อย่างใด เนื่องจากประสิทธิภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมแขนงนี้ทำให้สาขา IT ของอินเดียสามารถปรับตัวจากอุตสาหกรรมแบบให้บริการโดยตรง (Immediate Service) มาเป็นอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า (Value-added Service) ซึ่งทำให้อินเดียรักษาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Competitive Advantage) ในด้าน IT นี้ไว้ได้ ขณะนี้บริษัท GE Capital มีโครงการจะร่วมทุนด้าน IT กับอินเดียเป็นเงินประมาณ 125 ล้านเหรียญฯ ด้วย นอกจากนี้ยังปรากฎข่าวด้วยว่าอินเดียยังให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนาม ด้วยการทำความตกลงจัดตั้งศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมด้านซอฟต์แวร์ขึ้น 2 แห่ง ที่กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ ระหว่างการเยือนอินเดียของประธานาธิบดีเวียดนามเมื่อต้นเดือนธันวาคม
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 24/31 ธันวาคม 2542--