นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในวันอังคารที่ 16 สิงหาคม นี้ สศค.จะจัดให้มีการประชุมระดับสูงเรื่อง “การดำเนินมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียด้านอุปทาน” โดยมีนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักบริหารหนี้สาธารณะ เป็นต้น
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า การประชุมนี้ถือเป็นนโยบายสำคัญขอรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังที่ต้องการผลักดันตลาดพันธบัตรเอเชียให้เกิดขึ้น โดยตลาดพันธบัตรเอเซียนี้ถือเป็นความ คิดริเริ่มของนายกรัฐมนตรีไทย คือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยมาตรการนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น “มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย” หรือ Asian Bond Markets Initiative:ABMI หลักการสำคัญของการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย คือ การเน้นให้เกิดความหลากหลายของตราสารหนี้เงินสกุลท้องถิ่น ส่งเสริมให้ตราสารหนี้มีสภาพคล่องมากขึ้น เป็นการเพิ่มทางเลือกด้านการออมและการลงทุนให้กับผู้ออมและผู้ลงทุนในภูมิภาคเอเชีย เป็นการนำเงินออมที่สูงในเอเชียมาใช้ลงทุนในภูมิภาค เป็นการกระจายความเสี่ยงอย่างหนึ่งของนักลงทุน ลดการพึ่งพิงธนาคารพาณิชย์ และเป็นการสร้างดุลยภาพระหว่างตลาดเงิน ตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ และ ที่สำคัญยังเป็นก้าวสำคัญที่จะก่อให้เกิดการร่วมมือทางการเงินในภูมิภาคนี้
สำหรับสาระการประชุมที่จะมีขึ้นในวันอังคารที่ 16 สิงหาคมนี้ ประกอบด้วย การรายงานความคืบหน้าการดำเนินการด้านอุปทานภายใต้มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ว่า ขณะนี้ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงการคลังให้มีการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายแก่นักลงทุนในตราสารหนี้ที่ไม่มีถิ่นที่พำนักอยู่ในประเทศ และได้ยกร่าง ASEAN + 3 Withholding Tax Proposal นำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ได้ให้ความเห็นชอบแล้วในการประชุมที่กรุงอิสตัลบูล เมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 นอกจากนั้นยังจะแจ้งถึงการประชุมของ สศค.กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจเมื่อ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อหารือถึงแนวทางในการออก securitized loans ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มความแหลกหลายและปริมาณตราสารหนี้
สำหรับเรื่องที่จะมีการพิจารณาในการประชุมครั้งนี้ คือ การพิจารณาแนวทางการพัฒนามาตรการพันธบัตรเอเชียด้านอุปทานในภาพรวม ซึ่งจะเน้นประเด็นการเพิ่มพันธบัตร/หุ้นกู้ที่เป็นสกุลบาทในตลาดมากขึ้น และความเป็นไปได้ในการออกพันธบัตรประเภท Reverse Dual-Currency Bonds รวมถึงการจัดทำแนวทางหรือ roadmap ในการดำเนินการมาตรการด้านอุปทานตลาดตราสารหนี้ ซึ่งผลของการประชุมนี้ปลัดกระทรวงการคลังจะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาเบื้องต้น และนำสรุปเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อกำหนดเป็นนโยบายต่อไป อนึ่ง กระทรวงการคลังจะนำเสนอผลสรุปแนวทางการดำเนินการในการประชุมคณะทำงานภายใต้มาตรการพันธบัตรเอเชีย ของกรอบอาเซียน+3 ที่ประเทศไทยเป็นประธาน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2548 ต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 64/2548 15 สิงหาคม 48--
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า การประชุมนี้ถือเป็นนโยบายสำคัญขอรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังที่ต้องการผลักดันตลาดพันธบัตรเอเชียให้เกิดขึ้น โดยตลาดพันธบัตรเอเซียนี้ถือเป็นความ คิดริเริ่มของนายกรัฐมนตรีไทย คือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยมาตรการนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น “มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย” หรือ Asian Bond Markets Initiative:ABMI หลักการสำคัญของการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย คือ การเน้นให้เกิดความหลากหลายของตราสารหนี้เงินสกุลท้องถิ่น ส่งเสริมให้ตราสารหนี้มีสภาพคล่องมากขึ้น เป็นการเพิ่มทางเลือกด้านการออมและการลงทุนให้กับผู้ออมและผู้ลงทุนในภูมิภาคเอเชีย เป็นการนำเงินออมที่สูงในเอเชียมาใช้ลงทุนในภูมิภาค เป็นการกระจายความเสี่ยงอย่างหนึ่งของนักลงทุน ลดการพึ่งพิงธนาคารพาณิชย์ และเป็นการสร้างดุลยภาพระหว่างตลาดเงิน ตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ และ ที่สำคัญยังเป็นก้าวสำคัญที่จะก่อให้เกิดการร่วมมือทางการเงินในภูมิภาคนี้
สำหรับสาระการประชุมที่จะมีขึ้นในวันอังคารที่ 16 สิงหาคมนี้ ประกอบด้วย การรายงานความคืบหน้าการดำเนินการด้านอุปทานภายใต้มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ว่า ขณะนี้ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงการคลังให้มีการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายแก่นักลงทุนในตราสารหนี้ที่ไม่มีถิ่นที่พำนักอยู่ในประเทศ และได้ยกร่าง ASEAN + 3 Withholding Tax Proposal นำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ได้ให้ความเห็นชอบแล้วในการประชุมที่กรุงอิสตัลบูล เมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 นอกจากนั้นยังจะแจ้งถึงการประชุมของ สศค.กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจเมื่อ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อหารือถึงแนวทางในการออก securitized loans ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มความแหลกหลายและปริมาณตราสารหนี้
สำหรับเรื่องที่จะมีการพิจารณาในการประชุมครั้งนี้ คือ การพิจารณาแนวทางการพัฒนามาตรการพันธบัตรเอเชียด้านอุปทานในภาพรวม ซึ่งจะเน้นประเด็นการเพิ่มพันธบัตร/หุ้นกู้ที่เป็นสกุลบาทในตลาดมากขึ้น และความเป็นไปได้ในการออกพันธบัตรประเภท Reverse Dual-Currency Bonds รวมถึงการจัดทำแนวทางหรือ roadmap ในการดำเนินการมาตรการด้านอุปทานตลาดตราสารหนี้ ซึ่งผลของการประชุมนี้ปลัดกระทรวงการคลังจะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาเบื้องต้น และนำสรุปเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อกำหนดเป็นนโยบายต่อไป อนึ่ง กระทรวงการคลังจะนำเสนอผลสรุปแนวทางการดำเนินการในการประชุมคณะทำงานภายใต้มาตรการพันธบัตรเอเชีย ของกรอบอาเซียน+3 ที่ประเทศไทยเป็นประธาน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2548 ต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 64/2548 15 สิงหาคม 48--