1. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวน
1.1 ตัวแปรที่กดดันให้จีนอาจต้องการลดค่าเงินหยวน
(1) จีนจำเป็นต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจและระบบการเงิน เพื่อเตรียมเข้าเป็นสมาชิก WTO อันจะนำไปสู่ปัญหาการว่างงาน ซึ่งถ้ามาตรการด้านการเงินและการคลังไม่บรรลุผล จีนอาจมีการลดค่าเงินหยวนได้
(2) ปัญหาหนี้เสียในระบบการเงินการธนาคาร
(3) ปัญหาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของจีนที่ลดลง จากการนำเข้าที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และมีแนวโน้มจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะแรกหลังจากที่จีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO และต้องลดภาษีนำเข้า ทั้งนี้ จีนอาจแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดโดยการขยายช่วงอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนให้มีช่วงขึ้นลงกว้างขึ้น
1.2 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนยังคงรักษาค่าเงินหยวนต่อไป
(1) หากมีการลดค่าเงินหยวน ต้นทุนสินค้านำเข้าเพื่อผลิตส่งออกของจีนจะสูงขึ้น โดยปัจจุบัน สินค้าส่งออกทั้งหมดของจีนต้องอาศัยวัตถุดิบนำเข้าเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52 ของวัตถุดิบทั้งหมด
(2) คาดการณ์ว่าเมื่อจีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว จะทำให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าประเทศมากขึ้น จึงไม่มีความจำเป็นในการลดค่าเงินหยวน
(3) การลดค่าเงินหยวนจะส่งผลให้ยอดหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น
(4) การที่จีนมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมากถึงประมาณ 150 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นปัจจัยที่เสริมให้สามารถคงค่าเงินหยวนไว้ได้
(5) ในช่วงที่ผ่านมา สหรัฐฯเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับจีนมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากจีนตัดสินใจลดค่าเงินหยวน จะยิ่งทำให้จีนได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯเพิ่มมากขึ้น และจะทำให้สหรัฐฯ หันมาใช้นโยบายตอบโต้กับจีนได้
(6) การส่งออกของจีนในปี 2542 มีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นโดยตลอด และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะหากจีนได้เป็นสมาชิก WTO แล้ว จีนจึงไม่จำเป็นที่จะต้องลดค่าเงินหยวนเพื่อกระตุ้นการส่งออก
ทั้งนี้ แม้จะมีการคาดหมายว่าในช่วง 6 เดือนแรก ( ม.ค — มิ.ย. ) ของปี 2543 นี้ จีนจะไม่ลดค่าเงินหยวนลง แต่ในอนาคตหากจีนลดค่าเงินหยวน จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยหลายด้าน
2. วิเคราะห์ผลกระทบต่อประเทศไทยหากมีการลดค่าเงินหยวน
2.1 ผลกระทบต่อตลาดการเงิน หากเงินหยวนลดค่าลง อาจส่งผลกระทบให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ซึ่งหากสถานการณ์เรื้อรังประเทศไทยอาจต้องใช้มาตรการเข้มงวดทางการเงิน เพื่อลดความผันผวนของค่าเงินบาท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่กำลังฟื้นตัว
2.2 ผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศ
การลดค่าเงินหยวนของจีน อาจจะทำให้นักลงทุนตัดสินใจที่จะลงทุนในจีนแทนการลงทุนในไทย หรือมีการย้ายฐานการผลิตจากไทยไปจีน เนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าในจีนจะลดลงในสายตาของนักธุรกิจต่างชาติ
2.3 ผลกระทบต่อการค้าไทย
(1) กรณีเมื่อไทยกับจีนเป็นคู่แข่งกัน
เมื่อจีนลดค่าเงินหยวน จะส่งผลให้สินค้าส่งออกของจีนมีความได้เปรียบด้านราคา สามารถแย่งตลาดส่งออกจากไทยได้มากขึ้น โดยเฉพาะในสินค้า รองเท้าและชิ้นส่วน, เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ, เสื้อผ้าสำเร็จรูป, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เนื่องจากสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่ทั้งไทยและจีน ส่วนใหญ่มุ่งไปยังตลาดเดียวกัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ฮ่องกง ไต้หวันและสิงคโปร์ โดยตลาดทั้ง 6 แห่งนี้ มีสัดส่วนถึงประมาณร้อยละ 70 ของการส่งออกรวมของไทย
(2) กรณีเมื่อไทยกับจีนเป็นคู่ค้ากัน
เมื่อจีนลดค่าเงินหยวน จะทำให้จีนมีแนวโน้มนำเข้าสินค้าจากไทยลดน้อยลง เพราะสินค้าของไทยจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อส่งไปจำหน่ายในจีน และกระทบต่อการส่งออกของไทย ทั้งนี้ในสินค้าที่ไทยส่งไปจีนเป็นตลาดหลัก ได้แก่ เม็ดพลาสติกและยางพารา แต่อย่างไรก็ตามสินค้าประเภทอาหาร เช่น ข้าว รวมทั้งกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง คาดว่าจะไม่มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากเป็นสินค้าที่จีนจำเป็นต้องนำเข้าเพื่อบรรเทาการขาดแคลน
ในขณะเดียวกัน การลดค่าเงินของจีนจะทำให้ไทยมีแนวโน้มนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้าของจีนจะมีราคาต่ำลง เมื่อเทียบกับสินค้าประเภทเดียวกันที่ไทยนำเข้าจากประเทศอื่นซึ่งมิได้ลดค่าเงินบาท
3. ข้อคิดเห็น
คาดว่าจีนจะยังคงไม่ลดค่าเงินหยวน อย่างน้อยจนกว่าจะสิ้นสุดครึ่งแรกของปี 2543 ทั้งนี้ หากจีนเป็นสมาชิก WTO จะทำให้การส่งออกของจีนขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงจากการลดภาษีสินค้านำเข้า รวมทั้งการลงทุนในประเทศจะขยายตัว
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจีนจะลดค่าเงินหรือไม่ ไทยจะต้องเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้น จึงต้องมีการเร่งปรับตัวเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน แม้ว่าจีนจะไม่มีการลดค่าเงิน ดังนี้
3.1 พัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสินค้า โดยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน
3.2 ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ลดระเบียบขั้นตอนศุลกากร ให้มีการส่งออกได้โดยสะดวกและรวดเร็วขึ้น
3.3 พัฒนา Brand Name ให้เป็นของตนเอง
3.4 พยายามรักษาตลาดเก่าและแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
3.5 ส่งเสริมให้มีการผลิตวัตถุดิบในประเทศ
3.6 สร้างภาพพจน์และประชาสัมพันธ์สินค้าไทย ให้แพร่หลายและเป็นที่รู้จักของตลาดโลกเพิ่มขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
1.1 ตัวแปรที่กดดันให้จีนอาจต้องการลดค่าเงินหยวน
(1) จีนจำเป็นต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจและระบบการเงิน เพื่อเตรียมเข้าเป็นสมาชิก WTO อันจะนำไปสู่ปัญหาการว่างงาน ซึ่งถ้ามาตรการด้านการเงินและการคลังไม่บรรลุผล จีนอาจมีการลดค่าเงินหยวนได้
(2) ปัญหาหนี้เสียในระบบการเงินการธนาคาร
(3) ปัญหาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของจีนที่ลดลง จากการนำเข้าที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และมีแนวโน้มจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะแรกหลังจากที่จีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO และต้องลดภาษีนำเข้า ทั้งนี้ จีนอาจแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดโดยการขยายช่วงอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนให้มีช่วงขึ้นลงกว้างขึ้น
1.2 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนยังคงรักษาค่าเงินหยวนต่อไป
(1) หากมีการลดค่าเงินหยวน ต้นทุนสินค้านำเข้าเพื่อผลิตส่งออกของจีนจะสูงขึ้น โดยปัจจุบัน สินค้าส่งออกทั้งหมดของจีนต้องอาศัยวัตถุดิบนำเข้าเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52 ของวัตถุดิบทั้งหมด
(2) คาดการณ์ว่าเมื่อจีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว จะทำให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าประเทศมากขึ้น จึงไม่มีความจำเป็นในการลดค่าเงินหยวน
(3) การลดค่าเงินหยวนจะส่งผลให้ยอดหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น
(4) การที่จีนมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมากถึงประมาณ 150 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นปัจจัยที่เสริมให้สามารถคงค่าเงินหยวนไว้ได้
(5) ในช่วงที่ผ่านมา สหรัฐฯเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับจีนมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากจีนตัดสินใจลดค่าเงินหยวน จะยิ่งทำให้จีนได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯเพิ่มมากขึ้น และจะทำให้สหรัฐฯ หันมาใช้นโยบายตอบโต้กับจีนได้
(6) การส่งออกของจีนในปี 2542 มีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นโดยตลอด และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะหากจีนได้เป็นสมาชิก WTO แล้ว จีนจึงไม่จำเป็นที่จะต้องลดค่าเงินหยวนเพื่อกระตุ้นการส่งออก
ทั้งนี้ แม้จะมีการคาดหมายว่าในช่วง 6 เดือนแรก ( ม.ค — มิ.ย. ) ของปี 2543 นี้ จีนจะไม่ลดค่าเงินหยวนลง แต่ในอนาคตหากจีนลดค่าเงินหยวน จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยหลายด้าน
2. วิเคราะห์ผลกระทบต่อประเทศไทยหากมีการลดค่าเงินหยวน
2.1 ผลกระทบต่อตลาดการเงิน หากเงินหยวนลดค่าลง อาจส่งผลกระทบให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ซึ่งหากสถานการณ์เรื้อรังประเทศไทยอาจต้องใช้มาตรการเข้มงวดทางการเงิน เพื่อลดความผันผวนของค่าเงินบาท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่กำลังฟื้นตัว
2.2 ผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศ
การลดค่าเงินหยวนของจีน อาจจะทำให้นักลงทุนตัดสินใจที่จะลงทุนในจีนแทนการลงทุนในไทย หรือมีการย้ายฐานการผลิตจากไทยไปจีน เนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าในจีนจะลดลงในสายตาของนักธุรกิจต่างชาติ
2.3 ผลกระทบต่อการค้าไทย
(1) กรณีเมื่อไทยกับจีนเป็นคู่แข่งกัน
เมื่อจีนลดค่าเงินหยวน จะส่งผลให้สินค้าส่งออกของจีนมีความได้เปรียบด้านราคา สามารถแย่งตลาดส่งออกจากไทยได้มากขึ้น โดยเฉพาะในสินค้า รองเท้าและชิ้นส่วน, เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ, เสื้อผ้าสำเร็จรูป, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เนื่องจากสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่ทั้งไทยและจีน ส่วนใหญ่มุ่งไปยังตลาดเดียวกัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ฮ่องกง ไต้หวันและสิงคโปร์ โดยตลาดทั้ง 6 แห่งนี้ มีสัดส่วนถึงประมาณร้อยละ 70 ของการส่งออกรวมของไทย
(2) กรณีเมื่อไทยกับจีนเป็นคู่ค้ากัน
เมื่อจีนลดค่าเงินหยวน จะทำให้จีนมีแนวโน้มนำเข้าสินค้าจากไทยลดน้อยลง เพราะสินค้าของไทยจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อส่งไปจำหน่ายในจีน และกระทบต่อการส่งออกของไทย ทั้งนี้ในสินค้าที่ไทยส่งไปจีนเป็นตลาดหลัก ได้แก่ เม็ดพลาสติกและยางพารา แต่อย่างไรก็ตามสินค้าประเภทอาหาร เช่น ข้าว รวมทั้งกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง คาดว่าจะไม่มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากเป็นสินค้าที่จีนจำเป็นต้องนำเข้าเพื่อบรรเทาการขาดแคลน
ในขณะเดียวกัน การลดค่าเงินของจีนจะทำให้ไทยมีแนวโน้มนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้าของจีนจะมีราคาต่ำลง เมื่อเทียบกับสินค้าประเภทเดียวกันที่ไทยนำเข้าจากประเทศอื่นซึ่งมิได้ลดค่าเงินบาท
3. ข้อคิดเห็น
คาดว่าจีนจะยังคงไม่ลดค่าเงินหยวน อย่างน้อยจนกว่าจะสิ้นสุดครึ่งแรกของปี 2543 ทั้งนี้ หากจีนเป็นสมาชิก WTO จะทำให้การส่งออกของจีนขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงจากการลดภาษีสินค้านำเข้า รวมทั้งการลงทุนในประเทศจะขยายตัว
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจีนจะลดค่าเงินหรือไม่ ไทยจะต้องเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้น จึงต้องมีการเร่งปรับตัวเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน แม้ว่าจีนจะไม่มีการลดค่าเงิน ดังนี้
3.1 พัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสินค้า โดยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน
3.2 ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ลดระเบียบขั้นตอนศุลกากร ให้มีการส่งออกได้โดยสะดวกและรวดเร็วขึ้น
3.3 พัฒนา Brand Name ให้เป็นของตนเอง
3.4 พยายามรักษาตลาดเก่าและแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
3.5 ส่งเสริมให้มีการผลิตวัตถุดิบในประเทศ
3.6 สร้างภาพพจน์และประชาสัมพันธ์สินค้าไทย ให้แพร่หลายและเป็นที่รู้จักของตลาดโลกเพิ่มขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-