1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องของระบบการเงินในช่วงครึ่งแรกของเดือนมกราคม 2544 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นปี 2543 แต่ได้ปรับตึงตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงเทศกาลตรุษจีนและช่วงสิ้นเดือน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย ตลาดเงินเพิ่มสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปีตามลำดับ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544
สภาพคล่องของระบบการเงิน ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมกราคม 2544 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากที่ตึงตัวเมื่อ สิ้นปี 2543 เนื่องจากเงินสดที่ภาคเอกชนเบิกถอนไว้เพื่อใช้จ่ายในช่วงปีใหม่ได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบการเงิน อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องเงินบาทปรับตึงตัวขึ้นในช่วงวันที่ 16-22 มกราคม เพราะเป็นช่วงที่สถาบันการเงินต้องสำรองสภาพคล่องไว้เพื่อการเบิกถอนของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีน ประกอบกับเป็นวันสิ้นปักษ์การดำรง สินทรัพย์สภาพคล่อง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินปรับตัวสูงขึ้น สำหรับในช่วงสิ้นเดือน สภาพคล่องตลาดเงินตึงตัวขึ้นเล็กน้อย
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 1-23 กุมภาพันธ์ 2544 สภาพคล่องเงินบาทในระบบการเงินปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ เนื่องจาก ความต้องการถือเงินสดของภาคเอกชนลดลง ทำให้มีเม็ดเงินไหลกลับเข้าสู่ระบบมากขึ้น
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินโดยเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2544 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2543 ตามภาวะ สภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.44 ต่อปี ขณะที่ อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.01 ต่อปี ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน มีอัตราปิดสูงสุดเท่ากับร้อยละ 2.375 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank มีอัตราสูงสุดร้อยละ 4.00 ต่อปีในวันที่ 22 มกราคม
ช่วงวันที่ 1-23 กุมภาพันธ์ อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินปรับลดลง จากการที่สภาพคล่องระบบการเงินเพิ่มสูงขึ้น โดย ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันมีอัตราปิดที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตร สภาพคล่องในตลาดเงินที่ตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในเดือนมกราคม 2544 ได้ส่งผลให้สถาบันการเงินลดการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร โดยธนาคารพาณิชย์มีฐานะการลงทุนสุทธิลดลงจาก 138 พันล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2543 เป็น 131 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ขณะที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีฐานะการลงทุนสุทธิลดลงจาก 59 พันล้านบาท เป็น 53 พันล้านบาท อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ สอดคล้องกับภาวะสภาพคล่องที่ปรับตัวดีขึ้น
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปีตามลำดับ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 นับเป็นการทรงตัวติดต่อกันนาน 5 เดือน
ต่อมาธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมลงร้อยละ 0.50 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง ในเดือนมกราคม 2544 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนธันวาคม 2543 ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.30 ต่อปี ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.70 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.45 ต่อปี เท่ากับเดือนก่อนหน้า
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.57 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 เป็นร้อยละ 2.03 ต่อปีในไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทยมีต้นทุนเงินฝากลดลง จากการที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและขนาดเล็กบางแห่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง ประกอบกับเริ่มมีผลประกอบการดีขึ้น และมีการตัดหนี้สูญและโอนสินเชื่อไปบริษัทบริหารสินทรัพย์เพิ่มเติม
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ1 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 4.30 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 เป็นร้อยละ 4.32 ต่อปีในไตรมาสที่ 4 โดยอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่แท้จริงลดลงเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงลดลงในอัตราส่วนที่มากกว่า
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับหนี้สูญและ สินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์มีแนวโน้มดีขึ้น
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนมกราคม 2544 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 55 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.14 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่เม็ดเงินที่ภาคเอกชนเบิกถอนเพื่อใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีนเริ่มไหลกลับเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 257.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.6 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ยังคงมีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก ภาคธุรกิจเอกชนมีการชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 4593.7 พันล้านบาท ลดลง 26 พันล้านบาท เมื่อเทียบสิ้นเดือนธันวาคม 2543 หรือคิดเป็นการลดลงร้อยละ 0.57 ทั้งนี้ สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจเพิ่มขึ้น 30 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.69 ขณะที่สินเชื่อ กิจการวิเทศธนกิจลดลง 4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.69
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวม ลดลง 474.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.4 ต่อปี
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากสิ้นปี 2543 โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อปีในเดือนมกราคม 2544
4. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินและปริมาณเงินมียอดคงค้างเพิ่มขึ้น ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 มียอดคงค้าง 523 พันล้านบาท ลดลงจากระดับ 527 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 โดยเป็นการลดลงของเงินสดในมือประชาชน ตามความต้องการถือเงินสดที่เริ่มลดลงหลังช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินที่ธปท.เพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่ง
ปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ ลดลง เนื่องจากรัฐบาลมีรายรับจากการจำหน่ายพันธบัตรและตั๋วเงินคลัง เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน ลดลงจากการที่ธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร หลังจากที่ได้ปล่อยสภาพคล่องเข้าสู่ระบบในช่วงปลายปี 2543 ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม 2544 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ประมูลขายพันธบัตรจำนวน 24 พันล้านบาท
ปริมาณเงิน M2A ปรับเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5337.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 195.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
สำหรับ ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้าง 5972.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 253.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพคล่องของระบบการเงินในช่วงครึ่งแรกของเดือนมกราคม 2544 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นปี 2543 แต่ได้ปรับตึงตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงเทศกาลตรุษจีนและช่วงสิ้นเดือน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย ตลาดเงินเพิ่มสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปีตามลำดับ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544
สภาพคล่องของระบบการเงิน ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมกราคม 2544 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากที่ตึงตัวเมื่อ สิ้นปี 2543 เนื่องจากเงินสดที่ภาคเอกชนเบิกถอนไว้เพื่อใช้จ่ายในช่วงปีใหม่ได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบการเงิน อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องเงินบาทปรับตึงตัวขึ้นในช่วงวันที่ 16-22 มกราคม เพราะเป็นช่วงที่สถาบันการเงินต้องสำรองสภาพคล่องไว้เพื่อการเบิกถอนของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีน ประกอบกับเป็นวันสิ้นปักษ์การดำรง สินทรัพย์สภาพคล่อง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินปรับตัวสูงขึ้น สำหรับในช่วงสิ้นเดือน สภาพคล่องตลาดเงินตึงตัวขึ้นเล็กน้อย
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 1-23 กุมภาพันธ์ 2544 สภาพคล่องเงินบาทในระบบการเงินปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ เนื่องจาก ความต้องการถือเงินสดของภาคเอกชนลดลง ทำให้มีเม็ดเงินไหลกลับเข้าสู่ระบบมากขึ้น
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินโดยเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2544 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2543 ตามภาวะ สภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.44 ต่อปี ขณะที่ อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.01 ต่อปี ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน มีอัตราปิดสูงสุดเท่ากับร้อยละ 2.375 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank มีอัตราสูงสุดร้อยละ 4.00 ต่อปีในวันที่ 22 มกราคม
ช่วงวันที่ 1-23 กุมภาพันธ์ อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินปรับลดลง จากการที่สภาพคล่องระบบการเงินเพิ่มสูงขึ้น โดย ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันมีอัตราปิดที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตร สภาพคล่องในตลาดเงินที่ตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในเดือนมกราคม 2544 ได้ส่งผลให้สถาบันการเงินลดการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร โดยธนาคารพาณิชย์มีฐานะการลงทุนสุทธิลดลงจาก 138 พันล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2543 เป็น 131 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ขณะที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีฐานะการลงทุนสุทธิลดลงจาก 59 พันล้านบาท เป็น 53 พันล้านบาท อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ สอดคล้องกับภาวะสภาพคล่องที่ปรับตัวดีขึ้น
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปีตามลำดับ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 นับเป็นการทรงตัวติดต่อกันนาน 5 เดือน
ต่อมาธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมลงร้อยละ 0.50 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง ในเดือนมกราคม 2544 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนธันวาคม 2543 ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.30 ต่อปี ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.70 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.45 ต่อปี เท่ากับเดือนก่อนหน้า
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.57 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 เป็นร้อยละ 2.03 ต่อปีในไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทยมีต้นทุนเงินฝากลดลง จากการที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและขนาดเล็กบางแห่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง ประกอบกับเริ่มมีผลประกอบการดีขึ้น และมีการตัดหนี้สูญและโอนสินเชื่อไปบริษัทบริหารสินทรัพย์เพิ่มเติม
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ1 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 4.30 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 เป็นร้อยละ 4.32 ต่อปีในไตรมาสที่ 4 โดยอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่แท้จริงลดลงเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงลดลงในอัตราส่วนที่มากกว่า
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับหนี้สูญและ สินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์มีแนวโน้มดีขึ้น
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนมกราคม 2544 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 55 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.14 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่เม็ดเงินที่ภาคเอกชนเบิกถอนเพื่อใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีนเริ่มไหลกลับเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 257.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.6 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ยังคงมีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก ภาคธุรกิจเอกชนมีการชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 4593.7 พันล้านบาท ลดลง 26 พันล้านบาท เมื่อเทียบสิ้นเดือนธันวาคม 2543 หรือคิดเป็นการลดลงร้อยละ 0.57 ทั้งนี้ สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจเพิ่มขึ้น 30 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.69 ขณะที่สินเชื่อ กิจการวิเทศธนกิจลดลง 4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.69
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวม ลดลง 474.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.4 ต่อปี
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากสิ้นปี 2543 โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อปีในเดือนมกราคม 2544
4. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินและปริมาณเงินมียอดคงค้างเพิ่มขึ้น ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 มียอดคงค้าง 523 พันล้านบาท ลดลงจากระดับ 527 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 โดยเป็นการลดลงของเงินสดในมือประชาชน ตามความต้องการถือเงินสดที่เริ่มลดลงหลังช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินที่ธปท.เพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่ง
ปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ ลดลง เนื่องจากรัฐบาลมีรายรับจากการจำหน่ายพันธบัตรและตั๋วเงินคลัง เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน ลดลงจากการที่ธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร หลังจากที่ได้ปล่อยสภาพคล่องเข้าสู่ระบบในช่วงปลายปี 2543 ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม 2544 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ประมูลขายพันธบัตรจำนวน 24 พันล้านบาท
ปริมาณเงิน M2A ปรับเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5337.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 195.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
สำหรับ ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้าง 5972.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 253.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-