การเงินและการธนาคาร
ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543 เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 262,842.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 3.0 แต่ยังมีอัตราลดลงร้อยละ 0.5 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้จากเงินฝากที่เคยลดลงช่วงเดือนธันวาคมบริเวณอำเภอรอบนอกมีการนำกลับมาฝากคืนเป็นสำคัญ หลังจากผ่านพ้นสถานการณ์ Y2K เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย รองลงมาที่จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ตาก และลำปาง อย่างไรก็ตาม มีการถอนเงินฝากของธุรกิจโรงสีและพ่อค้ารับซื้อข้าวเปลือก และมีลูกค้าบางกลุ่มถอนเงินฝากเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล
เงินฝากและสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543
ม.ค. ธ.ค. E ม.ค. E
เงินฝาก
ยอดคงค้าง 264,184.2 255,123.0 262,842.3
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) (1.5) (-3.4) (-0.5)
สินเชื่อ
ยอดคงค้าง 218,184.5 204,477.9 203,998.3
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) (-11.1) (-7.0) (-6.5)
สินเชื่อต่อเงินฝาก
สัดส่วน (ร้อยละ) 82.6 80.1 77.6
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
E ตัวเลขประมาณการ
สินเชื่อ มียอดคงค้าง 203,998.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 และลดลงร้อยละ 6.5 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังไม่สามารถขยายสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะมีนโยบายสนับสนุนธุรกรรมบางประเภท เช่น ธุรกิจ SMEs แต่ยังไม่มากนัก สินเชื่อที่ยังลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ทำให้ลูกค้าบางส่วนทยอยชำระหนี้โดยถอนเงินฝากและหลักทรัพย์โอนชำระหนี้ และมีการโอนสินเชื่อบางรายไปบริหารที่ส่วนกลาง สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดลำปาง เชียงใหม่ นครสวรรค์และเพชรบูรณ์ แต่อย่างไรก็ดี สินเชื่อบางจังหวัดเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้เงินเพื่อรับซื้อข้าวเปลือกและพืชไร่ โดยเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงราย พิษณุโลกและสุโขทัย
เดือนมกราคม 2543 ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 ธนาคาร ยังปรับลดลงมาอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำ 3 เดือน เหลืออยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายใหญ่ (MLR) ลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.00 -8.50 ต่อปี
มูลค่าเช็คเรียกเก็บและเช็คคืน
สำนักหักบัญชีในภาคเหนือ
2542 2541
ม.ค. ธ.ค. ม.ค.
เช็คเรียกเก็บ(1)
จำนวน(ฉบับ) 323,269 339,202 364,621
(-6.0) (5.1) (12.8)
มูลค่า(ล้านบาท) 22,944.4 23,165.4 24,956.1
(-23.4) (-4.6) (8.8)
เช็คคืน(2)
จำนวน(ฉบับ) 8,104 6,653 6,355
(-28.1) (-26.6) (-21.6)
มูลค่า(ล้านบาท) 591.9 331.9 349.1
สัดส่วนเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บ(2)/(1)
จำนวน 2.5 2.0 1.7
มูลค่า 2.6 1.4 1.4
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคเหนือเดือนมกราคม 2543 เช็คเรียกเก็บมีจำนวน 364,621 ฉบับ มูลค่า 24,956.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.5 และร้อยละ 7.7 ตามลำดับส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นตามธุรกรรมรับซื้อพืชผลการเกษตรโดยเฉพาะข้าวเปลือกในหลายจังหวัด และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้เช็คเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ออกจำหน่ายในเดือนนี้ ทำให้ปริมาณและมูลค่าเช็คเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ เชียงราย และเพชรบูรณ์ ทางด้านเช็คคืน จำนวน 6,355 ฉบับ ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.5 ปริมาณเช็คลดลงมากที่จังหวัดนครสวรรค์ แพร่ อุตรดิตถ์และเชียงราย ขณะที่มูลค่าเช็คคืนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 5.2 มูลค่า 349.1 ล้านบาท โดยมูลค่าเช็คคืนเพิ่มขึ้นที่จังหวัดพิษณุโลก เชียงใหม่-ลำพูน และนครสวรรค์ ทางด้านสัดส่วนจำนวนฉบับและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.4 ลดลงจากระดับร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.4 เดือนก่อนหน้า ตามลำดับ
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลภาคเหนือเดือนมกราคม 2543 เงินในงบประมาณขาดดุล 8,088.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 6,618.9 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันเป็นสำคัญ ขณะที่รายได้ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยรายได้ลดลงร้อยละ 17.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.9 เดือนเดียวกันปีก่อน จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงและผลจากการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อปีก่อน เมื่อรวมกับการรับจ่ายของเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 22,914.3 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดเงินสดเกินดุล 14,826.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่เกินดุล 3,467.8 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อนรายได้นำส่งคลังจังหวัดทั้ง 19 แห่งในภาคเหนือเดือนมกราคม 2543 ลดลงปีก่อนร้อยละ 17.1 เหลือ 900.4 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.9 เดือนเดียวกันปีก่อน จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 31.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.1 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยลดลงมากในส่วนที่จัดเก็บจากดอกเบี้ยเงินฝากถึงร้อยละ 42.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.7 เดือนเดียวกันปีก่อนจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 28.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 16.3 จากการที่ผู้ประกอบการรายใหญ่มาชำระภาษีเพิ่มขึ้น
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543
ม.ค. ธ.ค. ม.ค.
การรับ-จ่ายของรัฐบาล
รายได้ 1,085.9 813.1 900.4
(-3.9) (-22.1) (-17.1)
รายจ่าย 7,704.8 8,559.1 8,988.5
(1.1) (-2.9) (16.7)
-ปีปัจจุบัน 6,221.6 6,811.1 7,831.6
(6.1) (1.7) (25.9)
-ปีก่อน 1,483.3 1,748.0 1,157.0
(-15.8) (-17.4) (-22.0)
ดุลเงินในงบประมาณ -6,618.9 -7,746.0 -8,088.1
ดุลเงินนอกงบประมาณ 10,086.7 -9,448.3 22,914.3
ดุลเงินสด 3,467.8 -17,194.3 14,826.2
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : คลังจังหวัดและคลังอำเภอในภาคเหนือ
ทางด้านรายจ่ายรัฐบาลภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เป็น 8,988.5 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เดือนเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันเป็นสำคัญ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการที่รัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน โดยรายจ่ายลงทุนเพิ่มมากในหมวดเงินอุดหนุนถึงกว่า 2 เท่าตัว ส่วนรายจ่ายประจำเพิ่มมากในหมวดค่าจ้างชั่วคราว ค่าสาธารณูปโภคและค่าตอบแทนร้อยละ 40.4 ร้อยละ 36.3 และ 35.8 ตามลำดับ ขณะที่รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 22.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.8 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการที่รัฐเข้มงวดกับส่วนราชการในการกันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543 วงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 8,273.2 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น 7,063.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.4 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ โดยวงเงินที่ยังค้างการเบิกจ่ายอีก 1,209.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.6 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างและยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ หรือดำเนินงานล่าช้ากว่าที่กำหนด คาดว่าการเบิกจ่ายตามวงเงินที่เหลืออยู่ทั้งหมดจะเสร็จสิ้นประมาณกลางปีนี้ จังหวัดที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงที่สุดได้แก่ จังหวัดลำพูน พะเยาและเชียงราย ร้อยละ 95.4 ร้อยละ 93.5 และร้อยละ 93.2 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่เบิกจ่ายต่ำสุดได้แก่ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก ร้อยละ 71.3 ร้อยละ 75.5 และร้อยละ 76.7 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับการค้าต่างประเทศของภาคเหนือ
การส่งออก มูลค่าสินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนมกราคม 2543 ในรูปดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 99.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 2.3 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.5 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,478.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 9.5 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.8) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่และการค้าชายแดน
การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่าส่งออก 81.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนยังคงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39.8 โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 และร้อยละ 43.3 ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดเอเชียเนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นทำให้ความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตาม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น ขณะที่การส่งออกสินค้านอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 26.1 เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรเริ่มลดลงตามฤดูกาล แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6
การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 620.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 16.5 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.1 (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 17.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 9.8 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70.6) โดยการส่งออกไปพม่าและจีน (ตอนใต้) ลดลงจากเดือนก่อนหลังจากที่ส่งออกมากแล้วเดือนที่ผ่านมา แต่ยังเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนมาก ขณะที่การส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนแต่มูลค่าส่งออกไม่มากนัก
การส่งออกไปพม่ามีมูลค่า 532.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 18.0 หลังจากส่งออกมากแล้วช่วงเดือนที่ผ่านมาในช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71.6 จากการเปิดด่านทำให้สามารถส่งออกได้เต็มรูปแบบและส่วนหนึ่งพม่าสั่งสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อเก็บสต็อกหลังจากที่นำออกขายหมดในช่วงที่มีการปิดด่าน โดยเฉพาะการส่งออกผ่านด่านแม่สอดในเดือนนี้มีมูลค่าถึง 355.0 ล้านบาท ส่วนการส่งออกไปจีน(ตอนใต้) มีมูลค่า 48.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 13.6 ตามฤดูกาล แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว จากการส่งออกผลผลิตลำไยนอกฤดูกาล และยางรถยนต์มากขึ้น ส่วนการส่งออกไปลาวมูลค่า 39.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 5.5 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.1 จากการลดลงของส่งออกรถยนต์และเครื่องจักรกลไปทำงานในลาว เนื่องจากการก่อสร้างบางโครงการได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่มูลค่าการส่งออกยังน้อยมากเมื่อเทียบกับการส่งออกรวมผ่านชายแดน
การนำเข้า มูลค่าสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 77.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 13.7 หลังจากนำเข้ามากแล้วเดือนที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 2,716.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 20.1 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.1) จากการนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้าผ่านชายแดนลดลงจากการนำเข้าสินค้าจากพม่าและจีน (ตอนใต้)
การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 73.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 13.2 หลังจากมีการนำเข้ามากแล้วเดือนที่ผ่านมา แต่ยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.0 จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 72.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 13.3 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.3 ส่วนการนำเข้าสินค้านอกนิคมอุตสาหกรรม มูลค่าไม่มากนักเพียง 0.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 16.7 แต่ก็เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3
การนำเข้าสินค้าจากชายแดน ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 138.1 ล้านบาท ลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.0 และร้อยละ 31.3 ตามลำดับ (ในรูปดอลลาร์ สรอ.มีมูลค่า 3.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.0 และร้อยละ 29.1 ตามลำดับ) จากการลดลงของการนำเข้าสินค้าจากพม่าและจีน (ตอนใต้) เป็นสำคัญ
การนำเข้าสินค้าจากพม่ามีมูลค่า 71.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.4 และร้อยละ 29.3 หลังจากมีการนำเข้าโค-กระบือมากในเดือนที่ผ่านมา ส่วนการนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 23.5 ล้านบาท ลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 41.0 และร้อยละ 70.9 ตามลำดับ จากการลดลงของการนำเข้าสินค้าแอ้ปเปิ้ลตามปริมาณสินค้าที่ลดลงตามฤดูกาล ขณะที่การนำเข้าจากลาวมีมูลค่า 43.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 7.0 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัวจากการเร่งนำเข้าโค-กระบือจำนวนมากดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมกราคม 2543 ลดลงจากเดือนธันวาคม 2542 ร้อยละ 0.1 จากการ ลดลงของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 0.4 ส่วนหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
หมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 ตามการลดลงของราคาหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 1.6 ตามปริมาณข้าวเปลือกฤดูกาลใหม่ที่เริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของราคาหมูเนื้อแดงเป็นสำคัญ และหมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 1.2 ส่วนหมวดสินค้าย่อยอื่นๆที่ราคาลดลงได้แก่ อาหารที่ซื้อจากตลาด ไข่และผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น ส่วนหมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และอาหารที่ซื้อบริโภคราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และร้อยละ 0.1 ตามลำดับ
หมวดอื่นๆที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 เป็นผลจากการเพิ่มของราคาสินค้า หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ส่วนหมวดอื่นที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษาร้อยละ 0.2 หมวดเครื่องนุ่งห่มและหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น เท่ากันในอัตราร้อยละ 0.1 ขณะที่หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาลดลงร้อยละ 0.1 สำหรับหมวด เคหสถานราคาไม่เปลี่ยนแปลง
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ/24 กุมภาพันธ์ 2543--
-ยก-
ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543 เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 262,842.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 3.0 แต่ยังมีอัตราลดลงร้อยละ 0.5 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้จากเงินฝากที่เคยลดลงช่วงเดือนธันวาคมบริเวณอำเภอรอบนอกมีการนำกลับมาฝากคืนเป็นสำคัญ หลังจากผ่านพ้นสถานการณ์ Y2K เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย รองลงมาที่จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ตาก และลำปาง อย่างไรก็ตาม มีการถอนเงินฝากของธุรกิจโรงสีและพ่อค้ารับซื้อข้าวเปลือก และมีลูกค้าบางกลุ่มถอนเงินฝากเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล
เงินฝากและสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543
ม.ค. ธ.ค. E ม.ค. E
เงินฝาก
ยอดคงค้าง 264,184.2 255,123.0 262,842.3
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) (1.5) (-3.4) (-0.5)
สินเชื่อ
ยอดคงค้าง 218,184.5 204,477.9 203,998.3
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) (-11.1) (-7.0) (-6.5)
สินเชื่อต่อเงินฝาก
สัดส่วน (ร้อยละ) 82.6 80.1 77.6
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
E ตัวเลขประมาณการ
สินเชื่อ มียอดคงค้าง 203,998.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 และลดลงร้อยละ 6.5 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังไม่สามารถขยายสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะมีนโยบายสนับสนุนธุรกรรมบางประเภท เช่น ธุรกิจ SMEs แต่ยังไม่มากนัก สินเชื่อที่ยังลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ทำให้ลูกค้าบางส่วนทยอยชำระหนี้โดยถอนเงินฝากและหลักทรัพย์โอนชำระหนี้ และมีการโอนสินเชื่อบางรายไปบริหารที่ส่วนกลาง สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดลำปาง เชียงใหม่ นครสวรรค์และเพชรบูรณ์ แต่อย่างไรก็ดี สินเชื่อบางจังหวัดเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้เงินเพื่อรับซื้อข้าวเปลือกและพืชไร่ โดยเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงราย พิษณุโลกและสุโขทัย
เดือนมกราคม 2543 ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 ธนาคาร ยังปรับลดลงมาอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำ 3 เดือน เหลืออยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายใหญ่ (MLR) ลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.00 -8.50 ต่อปี
มูลค่าเช็คเรียกเก็บและเช็คคืน
สำนักหักบัญชีในภาคเหนือ
2542 2541
ม.ค. ธ.ค. ม.ค.
เช็คเรียกเก็บ(1)
จำนวน(ฉบับ) 323,269 339,202 364,621
(-6.0) (5.1) (12.8)
มูลค่า(ล้านบาท) 22,944.4 23,165.4 24,956.1
(-23.4) (-4.6) (8.8)
เช็คคืน(2)
จำนวน(ฉบับ) 8,104 6,653 6,355
(-28.1) (-26.6) (-21.6)
มูลค่า(ล้านบาท) 591.9 331.9 349.1
สัดส่วนเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บ(2)/(1)
จำนวน 2.5 2.0 1.7
มูลค่า 2.6 1.4 1.4
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคเหนือเดือนมกราคม 2543 เช็คเรียกเก็บมีจำนวน 364,621 ฉบับ มูลค่า 24,956.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.5 และร้อยละ 7.7 ตามลำดับส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นตามธุรกรรมรับซื้อพืชผลการเกษตรโดยเฉพาะข้าวเปลือกในหลายจังหวัด และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้เช็คเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ออกจำหน่ายในเดือนนี้ ทำให้ปริมาณและมูลค่าเช็คเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ เชียงราย และเพชรบูรณ์ ทางด้านเช็คคืน จำนวน 6,355 ฉบับ ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.5 ปริมาณเช็คลดลงมากที่จังหวัดนครสวรรค์ แพร่ อุตรดิตถ์และเชียงราย ขณะที่มูลค่าเช็คคืนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 5.2 มูลค่า 349.1 ล้านบาท โดยมูลค่าเช็คคืนเพิ่มขึ้นที่จังหวัดพิษณุโลก เชียงใหม่-ลำพูน และนครสวรรค์ ทางด้านสัดส่วนจำนวนฉบับและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.4 ลดลงจากระดับร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.4 เดือนก่อนหน้า ตามลำดับ
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลภาคเหนือเดือนมกราคม 2543 เงินในงบประมาณขาดดุล 8,088.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 6,618.9 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันเป็นสำคัญ ขณะที่รายได้ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยรายได้ลดลงร้อยละ 17.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.9 เดือนเดียวกันปีก่อน จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงและผลจากการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อปีก่อน เมื่อรวมกับการรับจ่ายของเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 22,914.3 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดเงินสดเกินดุล 14,826.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่เกินดุล 3,467.8 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อนรายได้นำส่งคลังจังหวัดทั้ง 19 แห่งในภาคเหนือเดือนมกราคม 2543 ลดลงปีก่อนร้อยละ 17.1 เหลือ 900.4 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.9 เดือนเดียวกันปีก่อน จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 31.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.1 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยลดลงมากในส่วนที่จัดเก็บจากดอกเบี้ยเงินฝากถึงร้อยละ 42.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.7 เดือนเดียวกันปีก่อนจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 28.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 16.3 จากการที่ผู้ประกอบการรายใหญ่มาชำระภาษีเพิ่มขึ้น
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543
ม.ค. ธ.ค. ม.ค.
การรับ-จ่ายของรัฐบาล
รายได้ 1,085.9 813.1 900.4
(-3.9) (-22.1) (-17.1)
รายจ่าย 7,704.8 8,559.1 8,988.5
(1.1) (-2.9) (16.7)
-ปีปัจจุบัน 6,221.6 6,811.1 7,831.6
(6.1) (1.7) (25.9)
-ปีก่อน 1,483.3 1,748.0 1,157.0
(-15.8) (-17.4) (-22.0)
ดุลเงินในงบประมาณ -6,618.9 -7,746.0 -8,088.1
ดุลเงินนอกงบประมาณ 10,086.7 -9,448.3 22,914.3
ดุลเงินสด 3,467.8 -17,194.3 14,826.2
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : คลังจังหวัดและคลังอำเภอในภาคเหนือ
ทางด้านรายจ่ายรัฐบาลภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เป็น 8,988.5 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เดือนเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันเป็นสำคัญ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการที่รัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน โดยรายจ่ายลงทุนเพิ่มมากในหมวดเงินอุดหนุนถึงกว่า 2 เท่าตัว ส่วนรายจ่ายประจำเพิ่มมากในหมวดค่าจ้างชั่วคราว ค่าสาธารณูปโภคและค่าตอบแทนร้อยละ 40.4 ร้อยละ 36.3 และ 35.8 ตามลำดับ ขณะที่รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 22.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.8 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการที่รัฐเข้มงวดกับส่วนราชการในการกันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543 วงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 8,273.2 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น 7,063.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.4 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ โดยวงเงินที่ยังค้างการเบิกจ่ายอีก 1,209.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.6 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างและยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ หรือดำเนินงานล่าช้ากว่าที่กำหนด คาดว่าการเบิกจ่ายตามวงเงินที่เหลืออยู่ทั้งหมดจะเสร็จสิ้นประมาณกลางปีนี้ จังหวัดที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงที่สุดได้แก่ จังหวัดลำพูน พะเยาและเชียงราย ร้อยละ 95.4 ร้อยละ 93.5 และร้อยละ 93.2 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่เบิกจ่ายต่ำสุดได้แก่ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก ร้อยละ 71.3 ร้อยละ 75.5 และร้อยละ 76.7 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับการค้าต่างประเทศของภาคเหนือ
การส่งออก มูลค่าสินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนมกราคม 2543 ในรูปดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 99.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 2.3 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.5 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,478.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 9.5 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.8) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่และการค้าชายแดน
การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่าส่งออก 81.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนยังคงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39.8 โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 และร้อยละ 43.3 ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดเอเชียเนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นทำให้ความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตาม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น ขณะที่การส่งออกสินค้านอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 26.1 เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรเริ่มลดลงตามฤดูกาล แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6
การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 620.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 16.5 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.1 (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 17.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 9.8 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70.6) โดยการส่งออกไปพม่าและจีน (ตอนใต้) ลดลงจากเดือนก่อนหลังจากที่ส่งออกมากแล้วเดือนที่ผ่านมา แต่ยังเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนมาก ขณะที่การส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนแต่มูลค่าส่งออกไม่มากนัก
การส่งออกไปพม่ามีมูลค่า 532.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 18.0 หลังจากส่งออกมากแล้วช่วงเดือนที่ผ่านมาในช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71.6 จากการเปิดด่านทำให้สามารถส่งออกได้เต็มรูปแบบและส่วนหนึ่งพม่าสั่งสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อเก็บสต็อกหลังจากที่นำออกขายหมดในช่วงที่มีการปิดด่าน โดยเฉพาะการส่งออกผ่านด่านแม่สอดในเดือนนี้มีมูลค่าถึง 355.0 ล้านบาท ส่วนการส่งออกไปจีน(ตอนใต้) มีมูลค่า 48.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 13.6 ตามฤดูกาล แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว จากการส่งออกผลผลิตลำไยนอกฤดูกาล และยางรถยนต์มากขึ้น ส่วนการส่งออกไปลาวมูลค่า 39.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 5.5 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.1 จากการลดลงของส่งออกรถยนต์และเครื่องจักรกลไปทำงานในลาว เนื่องจากการก่อสร้างบางโครงการได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่มูลค่าการส่งออกยังน้อยมากเมื่อเทียบกับการส่งออกรวมผ่านชายแดน
การนำเข้า มูลค่าสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 77.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 13.7 หลังจากนำเข้ามากแล้วเดือนที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 2,716.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 20.1 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.1) จากการนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้าผ่านชายแดนลดลงจากการนำเข้าสินค้าจากพม่าและจีน (ตอนใต้)
การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 73.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 13.2 หลังจากมีการนำเข้ามากแล้วเดือนที่ผ่านมา แต่ยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.0 จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 72.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 13.3 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.3 ส่วนการนำเข้าสินค้านอกนิคมอุตสาหกรรม มูลค่าไม่มากนักเพียง 0.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 16.7 แต่ก็เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3
การนำเข้าสินค้าจากชายแดน ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 138.1 ล้านบาท ลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.0 และร้อยละ 31.3 ตามลำดับ (ในรูปดอลลาร์ สรอ.มีมูลค่า 3.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.0 และร้อยละ 29.1 ตามลำดับ) จากการลดลงของการนำเข้าสินค้าจากพม่าและจีน (ตอนใต้) เป็นสำคัญ
การนำเข้าสินค้าจากพม่ามีมูลค่า 71.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.4 และร้อยละ 29.3 หลังจากมีการนำเข้าโค-กระบือมากในเดือนที่ผ่านมา ส่วนการนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 23.5 ล้านบาท ลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 41.0 และร้อยละ 70.9 ตามลำดับ จากการลดลงของการนำเข้าสินค้าแอ้ปเปิ้ลตามปริมาณสินค้าที่ลดลงตามฤดูกาล ขณะที่การนำเข้าจากลาวมีมูลค่า 43.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 7.0 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัวจากการเร่งนำเข้าโค-กระบือจำนวนมากดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมกราคม 2543 ลดลงจากเดือนธันวาคม 2542 ร้อยละ 0.1 จากการ ลดลงของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 0.4 ส่วนหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
หมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 ตามการลดลงของราคาหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 1.6 ตามปริมาณข้าวเปลือกฤดูกาลใหม่ที่เริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของราคาหมูเนื้อแดงเป็นสำคัญ และหมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 1.2 ส่วนหมวดสินค้าย่อยอื่นๆที่ราคาลดลงได้แก่ อาหารที่ซื้อจากตลาด ไข่และผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น ส่วนหมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และอาหารที่ซื้อบริโภคราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และร้อยละ 0.1 ตามลำดับ
หมวดอื่นๆที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 เป็นผลจากการเพิ่มของราคาสินค้า หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ส่วนหมวดอื่นที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษาร้อยละ 0.2 หมวดเครื่องนุ่งห่มและหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น เท่ากันในอัตราร้อยละ 0.1 ขณะที่หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาลดลงร้อยละ 0.1 สำหรับหมวด เคหสถานราคาไม่เปลี่ยนแปลง
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ/24 กุมภาพันธ์ 2543--
-ยก-