1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 1.57 บาท ลดลงจาก กก.ละ 1.59 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 11.13 บาท ลดลงจาก กก.ละ 12.57 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.46
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
จากปัญหาความต้องการใช้น้ำมันปาล์มที่ลดลง ส่งผลให้อินโดนีเซียประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก ส่งออกน้ำมันปาล์มได้ลดลง และประมาณว่าในเดือนตุลาคมนี้ อินโดนีเซียจะมีสต็อก คงเหลือ 600,000 ตัน ในขณะที่ปัจจุบันนี้มีสต็อก 500,000 ตัน สาเหตุหนึ่งมาจากการที่อินเดียประเทศ ซึ่งบริโภคน้ำมันปาล์มมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกและนำเข้าจากอินโดนีเซีย ได้กำหนดให้ใช้ราคานำเข้าน้ำมันปาล์มแบบคงที่ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพราะต้องการเก็บภาษีนำเข้าให้ได้ตามจำนวนที่เป็นจริง โดยได้กำหนดราคานำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์ม โอลีน และ RBD ปาล์มโอลีน ไว้ที่ 337 357 และ 372 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ตามลำดับ และประมาณการว่าในเดือนกันยายนนี้ อินเดียจะนำเข้าน้ำมันปาล์มจากอินโดนีเซีย จำนวน 50,000 ตัน ลดลงจากเดิมที่เคยประมาณการไว้เดิมร้อยละ 50
อินโดนีเซียประมาณการการผลิตน้ำมันปาล์ม ในปี 2544 ว่ามีปริมาณ 7.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2543 ร้อยละ 10.76 ใช้บริโภคภายในประเทศ 3.7 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซียราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,042.26 ดอลลาร์มาเลเซีย (12.47 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,070.28 ดอลลาร์มาเลเซีย (12.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.62
ตลาดรอตเตอร์ดัมราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 316.25 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (14.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 324.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 34 ประจำวันที่ 3-9 ก.ย. 2544--
-สส-
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 1.57 บาท ลดลงจาก กก.ละ 1.59 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 11.13 บาท ลดลงจาก กก.ละ 12.57 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.46
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
จากปัญหาความต้องการใช้น้ำมันปาล์มที่ลดลง ส่งผลให้อินโดนีเซียประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก ส่งออกน้ำมันปาล์มได้ลดลง และประมาณว่าในเดือนตุลาคมนี้ อินโดนีเซียจะมีสต็อก คงเหลือ 600,000 ตัน ในขณะที่ปัจจุบันนี้มีสต็อก 500,000 ตัน สาเหตุหนึ่งมาจากการที่อินเดียประเทศ ซึ่งบริโภคน้ำมันปาล์มมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกและนำเข้าจากอินโดนีเซีย ได้กำหนดให้ใช้ราคานำเข้าน้ำมันปาล์มแบบคงที่ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพราะต้องการเก็บภาษีนำเข้าให้ได้ตามจำนวนที่เป็นจริง โดยได้กำหนดราคานำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์ม โอลีน และ RBD ปาล์มโอลีน ไว้ที่ 337 357 และ 372 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ตามลำดับ และประมาณการว่าในเดือนกันยายนนี้ อินเดียจะนำเข้าน้ำมันปาล์มจากอินโดนีเซีย จำนวน 50,000 ตัน ลดลงจากเดิมที่เคยประมาณการไว้เดิมร้อยละ 50
อินโดนีเซียประมาณการการผลิตน้ำมันปาล์ม ในปี 2544 ว่ามีปริมาณ 7.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2543 ร้อยละ 10.76 ใช้บริโภคภายในประเทศ 3.7 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซียราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,042.26 ดอลลาร์มาเลเซีย (12.47 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,070.28 ดอลลาร์มาเลเซีย (12.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.62
ตลาดรอตเตอร์ดัมราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 316.25 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (14.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 324.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 34 ประจำวันที่ 3-9 ก.ย. 2544--
-สส-