ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ หมวด ๔ กรรมาธิการ

ข่าวการเมือง Tuesday June 5, 2001 09:59 —รัฐสภา

                        ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา
พ.ศ. ๒๕๔๔
หมวด ๔
กรรมาธิการ
ข้อ ๗๕ ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาขึ้นเพื่อกระทำกิจ
การ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา โดยมี
อำนาจหน้าที่ตามบัญชีท้ายข้อบังคับนี้หรือตามที่วุฒิสภามอบหมาย
คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาแต่ละคณะประกอบด้วยกรรมาธิการ
จำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน และให้มีจำนวนยี่สิบเอ็ดคณะ ดังนี้
(๑) คณะกรรมาธิการการกีฬา
(๒) คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์
(๓) คณะกรรมาธิการการคมนาคม
(๔) คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน
(๕) คณะกรรมาธิการการงบประมาณ
(๖) คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
(๗) คณะกรรมาธิการการทหาร
(๘) คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว
(๙) คณะกรรมาธิการการปกครอง
(๑๐) คณะกรรมาธิการการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
(๑๑) คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน
(๑๒) คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
(๑๓) คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม
(๑๔) คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
(๑๕) คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
(๑๖) คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม
(๑๗) คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข
(๑๘) คณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชนและผู้สูงอายุ
(๑๙) คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระ
(๒๐) คณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและติดตามมติของวุฒิสภา
(๒๑) คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม
หากมีความจำเป็นวุฒิสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาเพิ่มขึ้น
หรือลดจำนวนคณะกรรมาธิการลงเมื่อใดก็ได้
สมาชิกคนหนึ่งจะดำรงตำแหน่งกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาได้ไม่เกิน
สองคณะ เว้นแต่สมาชิกที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานและเลขานุการคณะกรรมาธิการสามัญ
ประจำวุฒิสภานั้น ให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาได้หนึ่งคณะ
คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภามีวาระสองปีนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติ
เลือกตั้ง
ข้อ ๗๖ การสรรหาสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา
ตามข้อ ๗๕ ให้ที่ประชุมวุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นคณะหนึ่งมีจำนวนสิบเอ็ดคน
และให้สมาชิกแต่ละคนแสดงความจำนงโดยยื่นต่อคณะกรรมาธิการสามัญตามแบบที่คณะ
กรรมาธิการสามัญกำหนดเพื่อที่จะดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาได้
ไม่เกินสองคณะ ในกรณีที่คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาคณะใดมีสมาชิกยื่นแสดง
ความจำนงจะดำรงตำแหน่งไว้เกินจำนวนกรรมาธิการในคณะนั้น ให้ใช้วิธีการตามที่คณะ
กรรมาธิการสามัญกำหนด
การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาให้ที่ประชุมวุฒิสภา
พิจารณาเลือกจากรายชื่อสมาชิกที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมาธิการสามัญตามวรรค
หนึ่ง
ข้อ ๗๗ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในระหว่างคณะกรรมา
ธิการสามัญประจำวุฒิสภาคณะต่าง ๆ ตามข้อ ๗๕ ที่อาจมีความไม่ชัดเจนหรืออาจมีความซ้ำ
ซ้อนกันอยู่ และทำให้เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการตามภารกิจ ในกรณีนี้ให้คณะ
กรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาในแต่ละคณะดังกล่าว นัดประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาหาข้อ
ยุติ และหากไม่อาจหาข้อยุติร่วมกันได้ ให้เสนอเรื่องต่อวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเฉพาะกรณีนั้นต่อไป
ข้อ ๗๘ ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาขึ้นคณะหนึ่งมี
จำนวนไม่เกินยี่สิบเจ็ดคน มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ
เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือเรื่องอื่นใดตามที่วุฒิสภามอบหมายหรือ
ตามที่ประธานวุฒิสภามอบหมาย
(๒) กระทำกิจการหรือพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะ
กรรมาธิการอื่นของวุฒิสภา
(๓) ประสานงานระหว่างวุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี องค์กร
อิสระตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในกิจการของวุฒิสภา
(๔) ประสานงานกับคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาทุกคณะและ
สมาชิกเกี่ยวกับการพิจารณารายชื่อสมาชิกหรือบุคคลใด ๆ ที่จะเสนอให้ที่ประชุมวุฒิสภา
เลือกตั้งเป็นกรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญตามข้อ ๘๐ หรือข้อ ๙๗ แล้วแต่กรณี
เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมและเป็นธรรม
(๕) ดำเนินงานทางด้านวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร การสารสนเทศ เพื่อ
สนับสนุนกิจการของวุฒิสภา
(๖) พัฒนาระบบงานวุฒิสภา และการดำเนินกิจการในด้านต่าง ๆ ของวุฒิ
สภา
(๗) รับคำร้องเรียนหรือเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎรเพื่อมอบต่อคณะกรรมา
ธิการคณะต่าง ๆ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณา
(๘) กำหนดรายละเอียดของงบประมาณและการแปรญัตติงบประมาณ ราย
จ่ายประจำปีในส่วนของวุฒิสภาและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
(๙) จัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกวุฒิสภา
(๑๐) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานของวุฒิสภา
คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่ง มีวาระสองปีนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติ
เลือกตั้ง
ข้อ ๗๙ การตั้งกรรมาธิการตามข้อ ๗๘ ให้ที่ประชุมวุฒิสภาตั้งจากสมาชิกซึ่ง
เป็นผู้แทนของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาตามข้อ ๗๕ ทุกคณะ คณะละหนึ่งคน
และเลขาธิการวุฒิสภา จำนวนนอกจากนั้นให้ที่ประชุมวุฒิสภาเลือกตั้งตามข้อ ๘๐
ข้อ ๘๐ ภายใต้บังคับข้อ ๗๖ และข้อ ๗๙ การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ
หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ ให้ที่ประชุมวุฒิสภาเลือกจากรายชื่อที่สมาชิกเสนอ
สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อได้ครั้งละหนึ่งชื่อ การเสนอต้องมีสมาชิกรับ
รองไม่น้อยกว่าห้าคน
การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งคณะกรรมาธิการ ให้สมาชิกออกเสียง ลง
คะแนนโดยเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเท่ากับจำนวนกรรมาธิการที่จะเลือกตั้งตามวิธีที่
ประธานของที่ประชุมกำหนด
ให้ประธานวุฒิสภาและเลขาธิการวุฒิสภาเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจนับ
คะแนน และให้ประธานวุฒิสภาแจ้งผลการตรวจนับคะแนนและประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือก
ตั้งเป็นกรรมาธิการในการประชุมครั้งนั้นหรือครั้งต่อไป
ให้ถือว่าผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมาธิการตามวรรคสี่ดำรงตำแหน่งกรรมาธิ
การนับแต่วันที่วุฒิสภาลงมติเลือกตั้ง
ข้อ ๘๑ การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาตามข้อ ๗๕ ต้องมี
กรรมาธิการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็น
องค์ประชุม เว้นแต่การประชุมคณะกรรมาธิการตามข้อ ๗๘ และข้อ ๘๐ ต้องมีกรรมาธิการมา
ประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์
ประชุม และให้นำข้อบังคับนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับการประชุมวุฒิสภามาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
ข้อ ๘๒ ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเลือกตั้งประธาน รองประธาน เลขานุการ
โฆษกและตำแหน่งอื่นตามความจำเป็นจากกรรมาธิการในคณะนั้น ๆ
ให้กรรมาธิการผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการเป็น
ประธานชั่วคราวของที่ประชุมเพื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีผู้ช่วยเลขานุการคนหนึ่งประจำคณะกรรมาธิการแต่ละคณะ โดยให้คณะ
กรรมาธิการแต่งตั้งจากรายชื่อข้าราชการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ตามบัญชีรายชื่อที่
เลขาธิการวุฒิสภาจัดทำเสนอ
คณะกรรมาธิการมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมาธิการมีจำนวนไม่เกินสิบคน เพื่อ
พิจารณาปัญหาอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ตามแต่จะมอบหมายได้ และให้
นำข้อบังคับว่าด้วยกรรมาธิการมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๘๓ การออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อ
เท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาอยู่
ตามมาตรา ๑๘๙ วรรคสองและวรรคสามของรัฐธรรมนูญ ให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
ประธานคณะกรรมาธิการ
การนัดประชุมคณะกรรมาธิการนอกจากครั้งแรก ให้ทำเป็นหนังสือลง ลาย
มือชื่อเลขานุการคณะกรรมาธิการหรือผู้ทำหน้าที่แทนเลขานุการคณะกรรมาธิการ
ข้อ ๘๔ สมาชิกและผู้ซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมาธิการ มีสิทธิเข้าฟังการ
ประชุมคณะกรรมาธิการ
ในกรณีประชุมลับผู้ที่จะเข้าฟังการประชุมได้ต้องเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
การประชุม และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมาธิการ
ข้อ ๘๕ ภายใต้บังคับข้อ ๘๔ ผู้เสนอญัตติมีสิทธิชี้แจงแสดงความเห็นในที่
ประชุมคณะกรรมาธิการได้ตลอดเรื่อง ส่วนผู้แปรญัตติมีสิทธิชี้แจงแสดงความเห็นได้เฉพาะ
ที่แปรญัตติไว้
การชี้แจงแสดงความเห็นตามวรรคหนึ่ง ผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติอาจมอบ
หมายเป็นหนังสือให้สมาชิกอื่นกระทำแทนได้ โดยยื่นต่อประธานคณะกรรมาธิการ
ข้อ ๘๖ ให้เลขาธิการวุฒิสภาประกาศกำหนดการประชุมคณะกรรมาธิการไว้
ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และมีหนังสือนัดผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติให้มาชี้แจง
ประกอบญัตติหรือคำแปรญัตติ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘๗ ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่มาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการตาม
นัด จนเวลาล่วงไปเกินกว่าสามสิบนาทีนับแต่เวลาที่คณะกรรมาธิการได้เริ่มพิจารณาคำแปร
ญัตติใด คำแปรญัตตินั้นเป็นอันตกไป เว้นแต่คณะกรรมาธิการจะพิจารณาเห็นสมควรผ่อน
ผันให้เป็นกรณีพิเศษก่อนเสร็จการพิจารณาเรื่องนั้น
ข้อ ๘๘ ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมาธิ
การในข้อใดจะสงวนคำแปรญัตติในข้อนั้นไว้เพื่อขอให้วุฒิสภาวินิจฉัยก็ได้
ข้อ ๘๙ กรรมาธิการผู้ใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมาธิการในข้อใด จะ
สงวนความเห็นของตนในข้อนั้นไว้เพื่อขอให้วุฒิสภาวินิจฉัยก็ได้
ข้อ ๙๐ เมื่อคณะกรรมาธิการได้กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษา
เรื่องใด ๆ ตามบัญชีอำนาจหน้าที่ท้ายข้อบังคับนี้หรือตามที่วุฒิสภามอบหมายเสร็จแล้ว ให้
รายงานต่อวุฒิสภา
ในที่ประชุมวุฒิสภา คณะกรรมาธิการมีสิทธิแถลง ชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติม
เกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ในการนี้ คณะกรรมาธิการจะมอบหมายให้บุคคลใด ๆ
แถลงหรือชี้แจงแทนก็ได้
ข้อ ๙๑ ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ถ้าคณะกรรมาธิการเห็นว่ามีข้อ
สังเกตที่คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือควรปฏิบัติ
ให้บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการ เพื่อให้วุฒิสภาพิจารณา
ในกรณีที่วุฒิสภาเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานวุฒิ
สภาส่งรายงานและข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรีหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๙๒ ถ้ามีมติของวุฒิสภาให้คณะกรรมาธิการใดกระทำกิจการ พิจารณาสอบ
สวน หรือศึกษาเรื่องใดให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด และคณะกรรมาธิการจะกระทำกิจการ
พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องนั้นไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนด ประธานคณะกรรมาธิการ
หรือผู้ทำหน้าที่แทนต้องรายงานให้ประธานวุฒิสภาทราบโดยด่วน
ในกรณีดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ถ้าอยู่ในระหว่างสมัยประชุมสามัญทั่วไป ให้
ประธานวุฒิสภาเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภา และที่ประชุมวุฒิสภาอาจลงมติให้ขยายเวลาที่ได้
กำหนดไว้ หรือให้ตั้งคณะกรรมาธิการใหม่แทนคณะเดิม หรือให้ดำเนินการอย่างอื่นสุดแต่ที่
ประชุมวุฒิสภาจะเห็นสมควร แต่ถ้านอกสมัยประชุมหรืออยู่ในระหว่างสมัยประชุมสามัญนิติ
บัญญัติก็ให้ประธานวุฒิสภามีอำนาจอนุญาตให้ขยายเวลาที่กำหนดไว้ได้ตามที่พิจารณาเห็น
สมควรแล้วแจ้งให้วุฒิสภาทราบภายหลัง ทั้งนี้ ภายใต้บังคับข้อ ๑๒๔
ข้อ ๙๓ ในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภา ผู้
แทนราษฎร คณะกรรมาธิการจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะดำเนินการ
ตามภาระหน้าที่อื่นอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการคณะนั้น ๆ ตามบัญชีท้ายข้อ
บังคับนี้ หรือตามภาระหน้าที่อื่นตามที่วุฒิสภามอบหมายต่อไปได้
ข้อ ๙๔ กรรมาธิการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) อายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) คณะกรรมาธิการครบวาระตามข้อ ๗๕ และ ข้อ ๗๘
(๕) มีการตั้งคณะกรรมาธิการใหม่แทนคณะเดิมตามข้อ ๙๒
(๖) วุฒิสภามีมติให้พ้นจากตำแหน่ง
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา ๑๖๘ ของรัฐธรรมนูญ ให้กรรมาธิ
การที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่อายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลงตาม (๑) ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่า
สมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่
เพื่อประโยชน์ในการกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ
อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ให้กรรมาธิการที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่คณะกรรมาธิการ
ครบวาระตาม (๔) ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการใหม่
ข้อ ๙๕ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิ
สภาคณะใดว่างลง ให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งต่อประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้วุฒิสภา
ตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง สำหรับคณะกรรมาธิการวิสามัญหากตำแหน่งกรรมาธิการในคณะใด
ว่างลง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญจะแจ้งต่อประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้วุฒิสภาตั้ง
แทนตำแหน่งที่ว่างหรือไม่ก็ได้

แท็ก บัญชี  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ