ภาคอีสานกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
สภาพทางเศรษฐกิจและรายได้ประชากร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่และประชากร 1 ใน 3 ของประเทศ แต่มีสัดส่วนของรายได้เป็นเพียง 1 ใน 10 ของประเทศ หรือประมาณ 11.2% เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่งผลให้เป็นภาคที่ยากจนที่สุด โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวเมื่อปี 2538 เพียง 24,331 บาท/คน/ปี ต่ำสุดของประเทศ และมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่ากรุงเทพมหานครซึ่งมีรายได้ต่อหัว 238,849 บาท/คน/ปี ถึงประมาณ 9 เท่า
สภาพสังคม ส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรมตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ ทั่วไปในพื้นที่ และประชากรมีฐานะยากจนเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น ๆ ของประเทศ การดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานของประชากรยังมีปัญหาการขาดแคลนสารอาหาร สุขภาพอนามัยและการศึกษา ปัญหาการขาดความอบอุ่นในครอบครัว ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากมีการอพยพของแรงงานไปทำงานในท้องถิ่นอื่นและต่างประเทศ แรงงานอพยพของภาคอีสานมากสุดในประเทศโดยในปี 2538คิดเป็นร้อยละ 39 ของการอพยพแรงงานทั้งประเทศ
การพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา โดยภาพรวมจัดว่าประสบผลสำเร็จระดับหนึ่ง โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.7 ต่อปี มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยร้อยละ 5.7 และรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นประมาณ 7 เท่าตัว จาก 2,972 บาท/คนในปี 2518 เป็น 24,331 บาท/คน ในปี 2538 ขนาดของเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัวขึ้นประมาณ 9 เท่าตัว ในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมาจากประมาณ 49,902 ล้านบาทในปี 2518 เป็นประมาณ 498,601.6 ล้านบาทในปี 2538 ขณะที่รายได้ต่อหัวของประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 14 เท่าตัวและขนาดเศรษฐกิจขยายตัวขึ้นประมาณ 7 เท่าตัว ปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่กว่าทุกภูมิภาค ยกเว้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ถึงประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากการพึ่งพิงภาคการเกษตรประมาณครึ่งหนึ่งของการผลิตรวมในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อน ในปี 2518 เหลือเพียงประมาณร้อยละ 20 ในปัจจุบัน การผลิตมีการปรับตัวสู่ภาคการค้า การบริการมากขึ้น ส่วนภาคการอุตสาหกรรมขยายตัวค่อนข้างสูง แต่ยังไม่มีบทบาทมากเท่าที่ควร การบริการทางการเงินขยายตัวขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจและมี บทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ในปี 2539 ภาคอีสานมี ธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 498 สาขา ระดมเงินฝากได้ 216,379 ล้านบาท และปล่อยสินเชื่อ 274,190.3 ล้านบาท เทียบกับจำนวน 102 สาขา ปริมาณเงินฝาก 5,574 ล้านบาท และการปล่อยสินเชื่อ 2,716 ล้านบาทในปี 2518 ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สาขาธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 396 สาขา ระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น 37 เท่าตัว และปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นเกือบ 100 เท่าตัว ธนาคารพาณิชย์นำเงินฝากที่ระดมได้มาปล่อยเป็นสินเชื่อในภาคอีสานในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จากร้อยละ 48.7 ในปี 2518 เป็นร้อยละ 126.7 ในปี 2539
ด้านการเกษตร มีการพัฒนาขึ้นค่อนข้างมาก ปัจจุบันมีการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 182 แห่ง ปริมาณความจุ 3,670 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้พื้นที่เกษตร ประมาณ 3.0 ล้านไร่ นอกจากนี้มีพื้นที่ได้รับน้ำจากโครงการชลประทานขนาดเล็ก และโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอีกประมาณ 2.6 ล้านไร่ มีโครงการพัฒนา ทุ่งกุลาร้องไห้พื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ โครงการโขง-ชี-มูล ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาระยะยาว 42 ปี ซึ่งปัจจุบันกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 20 ปี ที่จะสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรได้ประมาณ 4.98 ล้านไร่ ทำให้มีการพัฒนาด้านการเพาะปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ของพืชสูงขึ้น และมีการกระจายการเพาะปลูกพืชหลายชนิด จากที่เคยปลูกพืชหลักไม่กี่ชนิดคือ ข้าว มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพดในอดีต มาเป็นพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น ยางพารา องุ่น สำหรับการผลิตไวน์ในพื้นที่ที่เหมาะสมหลายแห่งในภาค รวมถึงการพัฒนาระบบการผลิตและการตลาดในรูปแบบตลาดข้อตกลง (Contract-Farming) มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลผลิตต่อไร่พืชสำคัญเมื่อเทียบกับเฉลี่ยทั้งประเทศและของประเทศอื่นยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เช่น ข้าว มีผลผลิตต่อไร่ประมาณ 262 กิโลกรัมต่อไร่ เทียบกับเฉลี่ยทั้งประเทศ 338 กิโลกรัมต่อไร่ เทียบกับประเทศออสเตรเลียซึ่งผลผลิตต่อไร่สูงสุด 1,296 กิโลกรัม มันสำปะหลัง 2.2 ตันต่อไร่ เทียบกับประเทศอินเดีย 3.6 ตันต่อไร่ ข้าวโพด 428 กิโลกรัมต่อไร่ เทียบกับประเทศอิตาลี 1,325 กิโลกรัมต่อไร่ อ้อย 7.3 ตันต่อไร่ เทียบกับ ประเทศอียิปต์ 16.5 ตันต่อไร่
ด้านการอุตสาหกรรม เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ในอดีตอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรงสีข้าว โรงงานมันสำปะหลัง และโรงงานปออัดเบลเป็นหลัก ปัจจุบันได้มีโรงงานอุตสาหกรรมประเภทใช้แรงงานมาก อุตสาหกรรมต่อเนื่องและอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิตที่กระจายจากกรุงเทพฯ และพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป โลหะ ขั้นมูลฐาน แปรรูปผลิตผลเกษตร อุตสาหกรรมเครื่องประดับ อุปกรณ์ขนส่ง กระดาษและพลาสติก เป็นต้น จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 22 เท่าตัวจากจำนวน 1,909 โรงงาน ในปี 2518 เป็น 44,033 โรงงานในปี 2539 ในจำนวนนี้เป็นโรงสีข้าว 34,312 โรง
ด้านการท่องเที่ยว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือถือเป็นแหล่งอารยธรรมและโบราณสถานเก่าแก่ของโลกที่สำคัญได้แก่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม อุทยานประวัติศาสตร์ พนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์ ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และแหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ด้านยุคก่อนประวัติศาสตร์ด้านเขตอีสานกลางที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติอีกจำนวนมาก เช่น อุทยานแห่งชาติภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย เป็นต้น
ด้านการคมนาคมขนส่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการพัฒนาโครงข่ายบริการพื้นฐานค่อนข้างดี มีทางหลวงแผ่นดินเป็นระยะทาง 15,279 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 30 ของทั้งประเทศมีทางรถไฟเป็นระยะทาง 1,199 กิโลเมตร มีสนามบิน 8 แห่ง ที่สามารถเชื่อมโยงกับจังหวัด อำเภอ และภาคอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี และ สามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกด้านจังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับโครงข่ายถนนของประเทศลาวด้านจังหวัดหนองคาย ได้ทั้งทางถนนและทางรถไฟ ประเทศเวียดนามตามถนนสายมุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ดานัง และสายนครพนม-ท่าแขก-วินห์
ด้านบริการสาธารณสุข มีการพัฒนาขึ้นและกระจายไปเกือบครบถ้วนทั้งระดับจังหวัด อำเภอและตำบล โดยมีศูนย์การแพทย์ระดับภูมิภาคที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ในเมืองหลักที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานี รวมถึงหน่วยงานสาธารณสุขอื่น ๆ กระจายอยู่ในท้องที่ต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในบางจังหวัด เช่น ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี และอุบลราชธานี
ด้านการศึกษา การขยายโอกาสการศึกษาแก่ประชาชนในชนบทของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างกว้างขวาง ทำให้มีอัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาสูงขึ้นเป็นร้อยละ 80 แต่ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น เนื่องจากปัญหาความยากจนและการอพยพไปขายแรงงานในเมืองใหญ่ ระดับอุดมศึกษา มีการกระจายโอกาสการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ทั้งสถาบันของรัฐและเอกชน รวม 19 แห่ง และกำลังพิจารณาจัดตั้งวิทยาเขตเพิ่มเติมในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่จังหวัดสกลนคร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จังหวัดหนองคาย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ที่จังหวัดสุรินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่จังหวัดอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่จังหวัดอุดรธานี และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่จังหวัดนครพนม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ตลอดจนสถาบันราชภัฏที่กระจายอยู่ในหลายจังหวัด ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีทรัพยากรธรณีที่สำคัญและมีศักยภาพในการพัฒนาสูง 2 ชนิด คือ เกลือหินและก๊าซธรรมชาติ แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากรดิน ซึ่งมีปัญหาเรื่องดินเค็มไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกถึงประมาณ 17.8 ล้านไร่ มีการชะล้างพังทลายของดินในอัตราสูง มีการสูญเสียธาตุอาหารมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ทรัพยากรน้ำ แม้ปริมาณฝนเฉลี่ยประมาณ 1,310 มิลลิเมตรต่อปี ไม่ต่างจากภาคอื่นมากแต่ดินไม่ดูดซับน้ำ ทำให้ไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชทั้งปี ป่าไม้ถูกทำลายลงในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมาปีละประมาณ 5 แสนไร่ เหลือเพียงประมาณร้อยละ 14 ของพื้นที่ทั้งภาค นอกจากนี้ปัจจุบันเมืองใหญ่ต่าง ๆ เริ่มประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาการขาดแคลนบริการพื้นฐาน เช่น ระบบกำจัดขยะ ระบบระบายน้ำ การควบคุมดูแลรักษามลภาวะ ปัญหาชุมชนแออัด และปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่บางแห่ง เช่น ในเทศบาลนครนครราชสีมาและเทศบาลนครขอนแก่น และมีปัญหาการขยายตัวของเขตเมืองอย่างไม่เป็นระบบ เข้าสู่พื้นที่เกษตรที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากขาดการกำหนดทิศทางการขยายตัวของเมือง และมาตรการบังคับด้านผังเมืองที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ปัญหาและแนวทางพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมแล้วการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับแต่ก็ได้นำมาซึ่งปัญหาสำคัญ 3 ประการ คือ
ประการแรก การใช้ทรัพยากรระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสิ้นเปลือง ทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ มีสภาพเสื่อมโทรมลงเป็นอันมาก โดยเฉพาะป่าไม้ซึ่งถูกทำลายไปกว่า 10 ล้านไร่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จากประมาณ 25 ล้านไร่ ในปี 2519 เหลือเพียงประมาณ 14 ล้านไร่ โดยถูกบุกเบิกเป็นที่นา ประมาณ 2 ล้านไร่ และเป็นพื้นที่พืชไร่ ประมาณ 4 ล้านไร่ ส่วนปริมาณน้ำใน แม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำชี ซึ่งมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 9,300 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และแม่น้ำมูลซึ่งมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 21,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ปริมาณน้ำมีแนวโน้มลดลงทุกปี
ประการที่สอง การพัฒนาเศรษฐกิจที่ขาดความสมดุลระหว่างภาคเศรษฐกิจระหว่างกรุงเทพฯกับภูมิภาค ระหว่างเมืองกับชนบท เป็นผลให้เกิดการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานไปหาโอกาสใหม่ที่ดีกว่า นอกจากนี้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2539 กว่า 200,000 คน มีการอพยพไปกรุงเทพฯ หรือพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก จากการสำรวจข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2538 มีการย้ายถิ่นของกำลังแรงงานของคนอีสาน จำนวน 984,000 คน คิดเป็นร้อยละ 39 ของจำนวนผู้ย้ายถิ่นทั้งประเทศซึ่งมีประมาณ 2.52 ล้านคน และมีแนวโน้มเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของแรงงานจากเขตชนบทสู่เมืองใหญ่มากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาขาดความมั่นคงและความอบอุ่นในครอบครัว ปัญหาจราจร ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาสาธารณสุขขั้นมูลฐาน และสุขอนามัยของครอบครัวในเมืองใหญ่ต่างๆ ของภาคและกรุงเทพมหานคร
ประการที่สาม การกระจายรายได้ไม่ทั่วถึง ประชากรมีรายได้ต่ำ มีฐานะยากจนและมีการศึกษาต่ำ กล่าวคือ ข้อมูลเมื่อปี 2538 ร้อยละ 83 จบการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาเทียบกับกรุงเทพฯซึ่งมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 54.3 เกษตรกรมีหนี้สินมาก ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนความยากจนมากที่สุดในประเทศ โดยมีสัดส่วนความยากจนต่อประชากรในภาคถึงร้อยละ 28.6 เทียบกับภาคใต้มีสัดส่วนความยากจนร้อยละ 17.3 ภาคเหนือ ซึ่งมีสัดส่วนความ ยากจนร้อยละ 13.2 ภาคกลางมีสัดส่วนความยากจนร้อยละ 7.2 รายงาน ล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ในปี 2538 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำสุดของประเทศไทย คือจังหวัดศรีสะเกษ มีรายได้ต่อหัวเพียง 18,199 บาท/คน/ปี ต่ำกว่า 13 เท่า เมื่อเทียบกับจังหวัดที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ คือ กรุงเทพฯ ซึ่งมีรายได้ต่อหัว 238,849 บาท/คน/ปี นอกจากนี้ 10 จังหวัดที่มีรายได้ต่ำที่สุดของประเทศอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียงตามลำดับยากจนที่สุดได้ดังนี้ คือ ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู สุรินทร์ ยโสธร มหาสารคาม นครพนม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ และสกลนคร
จากปัญหาสำคัญ 3 ประการดังกล่าวนี้ จึงควรต้องมีแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคตตามลำดับความเร่งด่วน 4 ประการดังนี้
ประการแรก ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรและเพิ่มขีดความสามารถของภาคการเกษตร เพื่อให้เป็นแหล่งจ้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับประชากร ซึ่งส่วนใหญ่ ยังคงประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยให้การสนับสนุนด้านเงินทุน เทคโนโลยี การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มมีการพัฒนาไปบ้างแล้วเช่นการเลี้ยงไก่ไข่ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น การเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพสูง บ้านโพนยางคำ จังหวัดสกลนคร การผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อการส่งออก ในเขตชลประทานน้ำอูน จังหวัดสกลนคร เป็นต้น ทั้งนี้ควรยึดหลักของการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับระบบนิเวศน์โดยเน้น การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) เพื่อให้ประชากรที่อยู่ในภาคการเกษตรสามารถ ดำรงชีพได้อย่างมีคุณภาพ
ประการที่สอง ฟื้นฟูอุตสาหกรรมเดิมส่งเสริมการลงทุนและกระจายอุตสาหกรรมใหม่มายังภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่าง เป็นระบบและให้มีผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้วัสดุ เหลือใช้มาผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตแผ่นไม้จากกากอ้อย และผลิตเฟอร์นิเจอร์ เพื่อการส่งออกซึ่งเป็นแห่งแรกของโลกที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นและอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิเป็นต้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ระบบระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะมูลฝอยให้เพียงพอและสามารถรองรับกับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมในอนาคตได้
ประการที่สาม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบครอบคลุมผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา ขยายการบริการสาธารณสุข และสวัสดิการทางสังคมอย่างทั่วถึง เพื่อให้ประชากรมีขีดความสามารถในการประกอบอาชีพ ปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นคนดีของสังคมมีสุขภาพที่แข็งแรงและสามารถ อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ประการที่สี่ พัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งรายได้สำคัญของภาค โดยสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว และอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้เป็นแหล่งรายได้ที่ยั่งยืน ของภาคต่อไป
ประการที่ห้า พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดนตลอดจนสร้าง ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวร่วมกันบนพื้นฐานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นการเปิด ประตูให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการพัฒนาร่วมไปกับประเทศเพื่อนบ้านในบรรยากาศที่เป็นมิตร
ในด้านการเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศไทย นับเป็นพระมหากรุณาเป็นล้นพ้นของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ที่ทรงให้ความสำคัญเป็นพิเศษโดยได้เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหลายครั้ง และทรงมีพระราชานุเคราะห์แก่ประชาชนชาวลาวหลายประการ อาทิ
ทรงมีพระราชานุเคราะห์ในการจัดตั้งโครงการศูนย์พัฒนาและการบริการด้านการเกษตรตามพระราชดำริ
ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 22 ล้านกีบ สำหรับโครงการส่งเสริมกิจกรรมโรงเลี้ยงเด็กกำพร้า ปลูกเรือนนอนให้กับโรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้า โดยใช้ชื่อว่า “หอพักสิรินธร”
ทรงจัดตั้งศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตร บ้านนายาง เมืองนาทรายทอง กำแพงนครเวียงจันทน์
ทรงรับประชาชนชาวลาวไว้ในพระราชานุเคราะห์ให้ฝึกอบรมด้านการพัฒนาการเกษตรและฝึกอาชีพ ที่ศูนย์ภูพาน จังหวัดสกลนคร
ทรงพระราชทานอุปกรณ์การเรียนการสอนให้โรงเรียนสร้างครู บ้านเก็ตภูศรี แขวงไชยะบุรี และโรงเรียนชนเผ่าของลาวและอื่นๆ อีกมาก
พระกรณียกิจของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ดังที่ได้ยกตัวอย่างข้างต้นนี้ ได้ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาว ในทุก ๆ ด้านมีความแน่นแฟ้นและดำเนินไปอย่างราบรื่นมาโดยตลอด โดยเฉพาะในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีโครงการให้ความร่วมมือทางด้านเทคนิค และวิชาการ การฝึกอบรมบุคลากร แก่ธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว รวมถึงการร่วมมือสำรวจการค้าชายแดนไทย-ลาวในรูปแบบทวิภาคี ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2535 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ได้มีโครงการอบรมพิเศษสำหรับผู้บริหารระดับสูงร่วมกันภายใต้โครงการ Mini-MBA ร่วมกับสถาบันบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีโครงการศึกษาปริญญาโท MBA ไทย-ลาว ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจะสำเร็จการศึกษาต้นปี 2541 นี้ ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ช่วยสร้างสายสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างผู้บริหารของธนาคารกลางทั้งสองประเทศ และระหว่างประชาชนไทย-ลาว อย่างดีเยี่ยม ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมกับกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงต่อไปในอนาคต
โดยสรุปแล้วภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ยังมีปัญหาและข้อจำกัดในการพัฒนาอยู่บ้าง แต่ก็ยังมีโอกาสและศักยภาพในการพัฒนาด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การค้า การบริการและการท่องเที่ยวอยู่มาก เนื่องจากเป็นภาคที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรมาก และสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้หากปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในปัจจุบันยังดำเนินการไปได้ตามปกติ คาดว่าเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีการเติบโตในปี 2540 - 2550 อย่างมั่นคงในอัตราร้อยละ 6.0 ต่อปี มีรายได้ต่อหัวประมาณ 44,000 บาท/คน/ปี ในปี 2550 และจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อัตราเงินเฟ้อ จะอยู่ในระดับร้อยละ 5.0 ต่อปี
อย่างไรก็ตามการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะประสบผลสำเร็จไปไม่ได้ หากปราศจากความตั้งใจจริง การร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนทุกหมู่เหล่าในการร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้วัฒนาถาวรสืบไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพทางเศรษฐกิจและรายได้ประชากร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่และประชากร 1 ใน 3 ของประเทศ แต่มีสัดส่วนของรายได้เป็นเพียง 1 ใน 10 ของประเทศ หรือประมาณ 11.2% เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่งผลให้เป็นภาคที่ยากจนที่สุด โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวเมื่อปี 2538 เพียง 24,331 บาท/คน/ปี ต่ำสุดของประเทศ และมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่ากรุงเทพมหานครซึ่งมีรายได้ต่อหัว 238,849 บาท/คน/ปี ถึงประมาณ 9 เท่า
สภาพสังคม ส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรมตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ ทั่วไปในพื้นที่ และประชากรมีฐานะยากจนเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น ๆ ของประเทศ การดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานของประชากรยังมีปัญหาการขาดแคลนสารอาหาร สุขภาพอนามัยและการศึกษา ปัญหาการขาดความอบอุ่นในครอบครัว ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากมีการอพยพของแรงงานไปทำงานในท้องถิ่นอื่นและต่างประเทศ แรงงานอพยพของภาคอีสานมากสุดในประเทศโดยในปี 2538คิดเป็นร้อยละ 39 ของการอพยพแรงงานทั้งประเทศ
การพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา โดยภาพรวมจัดว่าประสบผลสำเร็จระดับหนึ่ง โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.7 ต่อปี มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยร้อยละ 5.7 และรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นประมาณ 7 เท่าตัว จาก 2,972 บาท/คนในปี 2518 เป็น 24,331 บาท/คน ในปี 2538 ขนาดของเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัวขึ้นประมาณ 9 เท่าตัว ในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมาจากประมาณ 49,902 ล้านบาทในปี 2518 เป็นประมาณ 498,601.6 ล้านบาทในปี 2538 ขณะที่รายได้ต่อหัวของประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 14 เท่าตัวและขนาดเศรษฐกิจขยายตัวขึ้นประมาณ 7 เท่าตัว ปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่กว่าทุกภูมิภาค ยกเว้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ถึงประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากการพึ่งพิงภาคการเกษตรประมาณครึ่งหนึ่งของการผลิตรวมในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อน ในปี 2518 เหลือเพียงประมาณร้อยละ 20 ในปัจจุบัน การผลิตมีการปรับตัวสู่ภาคการค้า การบริการมากขึ้น ส่วนภาคการอุตสาหกรรมขยายตัวค่อนข้างสูง แต่ยังไม่มีบทบาทมากเท่าที่ควร การบริการทางการเงินขยายตัวขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจและมี บทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ในปี 2539 ภาคอีสานมี ธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 498 สาขา ระดมเงินฝากได้ 216,379 ล้านบาท และปล่อยสินเชื่อ 274,190.3 ล้านบาท เทียบกับจำนวน 102 สาขา ปริมาณเงินฝาก 5,574 ล้านบาท และการปล่อยสินเชื่อ 2,716 ล้านบาทในปี 2518 ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สาขาธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 396 สาขา ระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น 37 เท่าตัว และปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นเกือบ 100 เท่าตัว ธนาคารพาณิชย์นำเงินฝากที่ระดมได้มาปล่อยเป็นสินเชื่อในภาคอีสานในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จากร้อยละ 48.7 ในปี 2518 เป็นร้อยละ 126.7 ในปี 2539
ด้านการเกษตร มีการพัฒนาขึ้นค่อนข้างมาก ปัจจุบันมีการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 182 แห่ง ปริมาณความจุ 3,670 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้พื้นที่เกษตร ประมาณ 3.0 ล้านไร่ นอกจากนี้มีพื้นที่ได้รับน้ำจากโครงการชลประทานขนาดเล็ก และโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอีกประมาณ 2.6 ล้านไร่ มีโครงการพัฒนา ทุ่งกุลาร้องไห้พื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ โครงการโขง-ชี-มูล ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาระยะยาว 42 ปี ซึ่งปัจจุบันกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 20 ปี ที่จะสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรได้ประมาณ 4.98 ล้านไร่ ทำให้มีการพัฒนาด้านการเพาะปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ของพืชสูงขึ้น และมีการกระจายการเพาะปลูกพืชหลายชนิด จากที่เคยปลูกพืชหลักไม่กี่ชนิดคือ ข้าว มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพดในอดีต มาเป็นพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น ยางพารา องุ่น สำหรับการผลิตไวน์ในพื้นที่ที่เหมาะสมหลายแห่งในภาค รวมถึงการพัฒนาระบบการผลิตและการตลาดในรูปแบบตลาดข้อตกลง (Contract-Farming) มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลผลิตต่อไร่พืชสำคัญเมื่อเทียบกับเฉลี่ยทั้งประเทศและของประเทศอื่นยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เช่น ข้าว มีผลผลิตต่อไร่ประมาณ 262 กิโลกรัมต่อไร่ เทียบกับเฉลี่ยทั้งประเทศ 338 กิโลกรัมต่อไร่ เทียบกับประเทศออสเตรเลียซึ่งผลผลิตต่อไร่สูงสุด 1,296 กิโลกรัม มันสำปะหลัง 2.2 ตันต่อไร่ เทียบกับประเทศอินเดีย 3.6 ตันต่อไร่ ข้าวโพด 428 กิโลกรัมต่อไร่ เทียบกับประเทศอิตาลี 1,325 กิโลกรัมต่อไร่ อ้อย 7.3 ตันต่อไร่ เทียบกับ ประเทศอียิปต์ 16.5 ตันต่อไร่
ด้านการอุตสาหกรรม เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ในอดีตอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรงสีข้าว โรงงานมันสำปะหลัง และโรงงานปออัดเบลเป็นหลัก ปัจจุบันได้มีโรงงานอุตสาหกรรมประเภทใช้แรงงานมาก อุตสาหกรรมต่อเนื่องและอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิตที่กระจายจากกรุงเทพฯ และพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป โลหะ ขั้นมูลฐาน แปรรูปผลิตผลเกษตร อุตสาหกรรมเครื่องประดับ อุปกรณ์ขนส่ง กระดาษและพลาสติก เป็นต้น จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 22 เท่าตัวจากจำนวน 1,909 โรงงาน ในปี 2518 เป็น 44,033 โรงงานในปี 2539 ในจำนวนนี้เป็นโรงสีข้าว 34,312 โรง
ด้านการท่องเที่ยว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือถือเป็นแหล่งอารยธรรมและโบราณสถานเก่าแก่ของโลกที่สำคัญได้แก่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม อุทยานประวัติศาสตร์ พนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์ ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และแหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ด้านยุคก่อนประวัติศาสตร์ด้านเขตอีสานกลางที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติอีกจำนวนมาก เช่น อุทยานแห่งชาติภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย เป็นต้น
ด้านการคมนาคมขนส่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการพัฒนาโครงข่ายบริการพื้นฐานค่อนข้างดี มีทางหลวงแผ่นดินเป็นระยะทาง 15,279 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 30 ของทั้งประเทศมีทางรถไฟเป็นระยะทาง 1,199 กิโลเมตร มีสนามบิน 8 แห่ง ที่สามารถเชื่อมโยงกับจังหวัด อำเภอ และภาคอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี และ สามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกด้านจังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับโครงข่ายถนนของประเทศลาวด้านจังหวัดหนองคาย ได้ทั้งทางถนนและทางรถไฟ ประเทศเวียดนามตามถนนสายมุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ดานัง และสายนครพนม-ท่าแขก-วินห์
ด้านบริการสาธารณสุข มีการพัฒนาขึ้นและกระจายไปเกือบครบถ้วนทั้งระดับจังหวัด อำเภอและตำบล โดยมีศูนย์การแพทย์ระดับภูมิภาคที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ในเมืองหลักที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานี รวมถึงหน่วยงานสาธารณสุขอื่น ๆ กระจายอยู่ในท้องที่ต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในบางจังหวัด เช่น ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี และอุบลราชธานี
ด้านการศึกษา การขยายโอกาสการศึกษาแก่ประชาชนในชนบทของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างกว้างขวาง ทำให้มีอัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาสูงขึ้นเป็นร้อยละ 80 แต่ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น เนื่องจากปัญหาความยากจนและการอพยพไปขายแรงงานในเมืองใหญ่ ระดับอุดมศึกษา มีการกระจายโอกาสการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ทั้งสถาบันของรัฐและเอกชน รวม 19 แห่ง และกำลังพิจารณาจัดตั้งวิทยาเขตเพิ่มเติมในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่จังหวัดสกลนคร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จังหวัดหนองคาย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ที่จังหวัดสุรินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่จังหวัดอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่จังหวัดอุดรธานี และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่จังหวัดนครพนม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ตลอดจนสถาบันราชภัฏที่กระจายอยู่ในหลายจังหวัด ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีทรัพยากรธรณีที่สำคัญและมีศักยภาพในการพัฒนาสูง 2 ชนิด คือ เกลือหินและก๊าซธรรมชาติ แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากรดิน ซึ่งมีปัญหาเรื่องดินเค็มไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกถึงประมาณ 17.8 ล้านไร่ มีการชะล้างพังทลายของดินในอัตราสูง มีการสูญเสียธาตุอาหารมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ทรัพยากรน้ำ แม้ปริมาณฝนเฉลี่ยประมาณ 1,310 มิลลิเมตรต่อปี ไม่ต่างจากภาคอื่นมากแต่ดินไม่ดูดซับน้ำ ทำให้ไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชทั้งปี ป่าไม้ถูกทำลายลงในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมาปีละประมาณ 5 แสนไร่ เหลือเพียงประมาณร้อยละ 14 ของพื้นที่ทั้งภาค นอกจากนี้ปัจจุบันเมืองใหญ่ต่าง ๆ เริ่มประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาการขาดแคลนบริการพื้นฐาน เช่น ระบบกำจัดขยะ ระบบระบายน้ำ การควบคุมดูแลรักษามลภาวะ ปัญหาชุมชนแออัด และปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่บางแห่ง เช่น ในเทศบาลนครนครราชสีมาและเทศบาลนครขอนแก่น และมีปัญหาการขยายตัวของเขตเมืองอย่างไม่เป็นระบบ เข้าสู่พื้นที่เกษตรที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากขาดการกำหนดทิศทางการขยายตัวของเมือง และมาตรการบังคับด้านผังเมืองที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ปัญหาและแนวทางพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมแล้วการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับแต่ก็ได้นำมาซึ่งปัญหาสำคัญ 3 ประการ คือ
ประการแรก การใช้ทรัพยากรระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสิ้นเปลือง ทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ มีสภาพเสื่อมโทรมลงเป็นอันมาก โดยเฉพาะป่าไม้ซึ่งถูกทำลายไปกว่า 10 ล้านไร่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จากประมาณ 25 ล้านไร่ ในปี 2519 เหลือเพียงประมาณ 14 ล้านไร่ โดยถูกบุกเบิกเป็นที่นา ประมาณ 2 ล้านไร่ และเป็นพื้นที่พืชไร่ ประมาณ 4 ล้านไร่ ส่วนปริมาณน้ำใน แม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำชี ซึ่งมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 9,300 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และแม่น้ำมูลซึ่งมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 21,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ปริมาณน้ำมีแนวโน้มลดลงทุกปี
ประการที่สอง การพัฒนาเศรษฐกิจที่ขาดความสมดุลระหว่างภาคเศรษฐกิจระหว่างกรุงเทพฯกับภูมิภาค ระหว่างเมืองกับชนบท เป็นผลให้เกิดการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานไปหาโอกาสใหม่ที่ดีกว่า นอกจากนี้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2539 กว่า 200,000 คน มีการอพยพไปกรุงเทพฯ หรือพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก จากการสำรวจข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2538 มีการย้ายถิ่นของกำลังแรงงานของคนอีสาน จำนวน 984,000 คน คิดเป็นร้อยละ 39 ของจำนวนผู้ย้ายถิ่นทั้งประเทศซึ่งมีประมาณ 2.52 ล้านคน และมีแนวโน้มเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของแรงงานจากเขตชนบทสู่เมืองใหญ่มากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาขาดความมั่นคงและความอบอุ่นในครอบครัว ปัญหาจราจร ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาสาธารณสุขขั้นมูลฐาน และสุขอนามัยของครอบครัวในเมืองใหญ่ต่างๆ ของภาคและกรุงเทพมหานคร
ประการที่สาม การกระจายรายได้ไม่ทั่วถึง ประชากรมีรายได้ต่ำ มีฐานะยากจนและมีการศึกษาต่ำ กล่าวคือ ข้อมูลเมื่อปี 2538 ร้อยละ 83 จบการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาเทียบกับกรุงเทพฯซึ่งมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 54.3 เกษตรกรมีหนี้สินมาก ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนความยากจนมากที่สุดในประเทศ โดยมีสัดส่วนความยากจนต่อประชากรในภาคถึงร้อยละ 28.6 เทียบกับภาคใต้มีสัดส่วนความยากจนร้อยละ 17.3 ภาคเหนือ ซึ่งมีสัดส่วนความ ยากจนร้อยละ 13.2 ภาคกลางมีสัดส่วนความยากจนร้อยละ 7.2 รายงาน ล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ในปี 2538 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำสุดของประเทศไทย คือจังหวัดศรีสะเกษ มีรายได้ต่อหัวเพียง 18,199 บาท/คน/ปี ต่ำกว่า 13 เท่า เมื่อเทียบกับจังหวัดที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ คือ กรุงเทพฯ ซึ่งมีรายได้ต่อหัว 238,849 บาท/คน/ปี นอกจากนี้ 10 จังหวัดที่มีรายได้ต่ำที่สุดของประเทศอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียงตามลำดับยากจนที่สุดได้ดังนี้ คือ ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู สุรินทร์ ยโสธร มหาสารคาม นครพนม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ และสกลนคร
จากปัญหาสำคัญ 3 ประการดังกล่าวนี้ จึงควรต้องมีแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคตตามลำดับความเร่งด่วน 4 ประการดังนี้
ประการแรก ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรและเพิ่มขีดความสามารถของภาคการเกษตร เพื่อให้เป็นแหล่งจ้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับประชากร ซึ่งส่วนใหญ่ ยังคงประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยให้การสนับสนุนด้านเงินทุน เทคโนโลยี การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มมีการพัฒนาไปบ้างแล้วเช่นการเลี้ยงไก่ไข่ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น การเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพสูง บ้านโพนยางคำ จังหวัดสกลนคร การผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อการส่งออก ในเขตชลประทานน้ำอูน จังหวัดสกลนคร เป็นต้น ทั้งนี้ควรยึดหลักของการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับระบบนิเวศน์โดยเน้น การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) เพื่อให้ประชากรที่อยู่ในภาคการเกษตรสามารถ ดำรงชีพได้อย่างมีคุณภาพ
ประการที่สอง ฟื้นฟูอุตสาหกรรมเดิมส่งเสริมการลงทุนและกระจายอุตสาหกรรมใหม่มายังภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่าง เป็นระบบและให้มีผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้วัสดุ เหลือใช้มาผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตแผ่นไม้จากกากอ้อย และผลิตเฟอร์นิเจอร์ เพื่อการส่งออกซึ่งเป็นแห่งแรกของโลกที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นและอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิเป็นต้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ระบบระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะมูลฝอยให้เพียงพอและสามารถรองรับกับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมในอนาคตได้
ประการที่สาม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบครอบคลุมผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา ขยายการบริการสาธารณสุข และสวัสดิการทางสังคมอย่างทั่วถึง เพื่อให้ประชากรมีขีดความสามารถในการประกอบอาชีพ ปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นคนดีของสังคมมีสุขภาพที่แข็งแรงและสามารถ อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ประการที่สี่ พัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งรายได้สำคัญของภาค โดยสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว และอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้เป็นแหล่งรายได้ที่ยั่งยืน ของภาคต่อไป
ประการที่ห้า พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดนตลอดจนสร้าง ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวร่วมกันบนพื้นฐานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นการเปิด ประตูให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการพัฒนาร่วมไปกับประเทศเพื่อนบ้านในบรรยากาศที่เป็นมิตร
ในด้านการเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศไทย นับเป็นพระมหากรุณาเป็นล้นพ้นของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ที่ทรงให้ความสำคัญเป็นพิเศษโดยได้เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหลายครั้ง และทรงมีพระราชานุเคราะห์แก่ประชาชนชาวลาวหลายประการ อาทิ
ทรงมีพระราชานุเคราะห์ในการจัดตั้งโครงการศูนย์พัฒนาและการบริการด้านการเกษตรตามพระราชดำริ
ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 22 ล้านกีบ สำหรับโครงการส่งเสริมกิจกรรมโรงเลี้ยงเด็กกำพร้า ปลูกเรือนนอนให้กับโรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้า โดยใช้ชื่อว่า “หอพักสิรินธร”
ทรงจัดตั้งศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตร บ้านนายาง เมืองนาทรายทอง กำแพงนครเวียงจันทน์
ทรงรับประชาชนชาวลาวไว้ในพระราชานุเคราะห์ให้ฝึกอบรมด้านการพัฒนาการเกษตรและฝึกอาชีพ ที่ศูนย์ภูพาน จังหวัดสกลนคร
ทรงพระราชทานอุปกรณ์การเรียนการสอนให้โรงเรียนสร้างครู บ้านเก็ตภูศรี แขวงไชยะบุรี และโรงเรียนชนเผ่าของลาวและอื่นๆ อีกมาก
พระกรณียกิจของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ดังที่ได้ยกตัวอย่างข้างต้นนี้ ได้ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาว ในทุก ๆ ด้านมีความแน่นแฟ้นและดำเนินไปอย่างราบรื่นมาโดยตลอด โดยเฉพาะในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีโครงการให้ความร่วมมือทางด้านเทคนิค และวิชาการ การฝึกอบรมบุคลากร แก่ธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว รวมถึงการร่วมมือสำรวจการค้าชายแดนไทย-ลาวในรูปแบบทวิภาคี ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2535 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ได้มีโครงการอบรมพิเศษสำหรับผู้บริหารระดับสูงร่วมกันภายใต้โครงการ Mini-MBA ร่วมกับสถาบันบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีโครงการศึกษาปริญญาโท MBA ไทย-ลาว ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจะสำเร็จการศึกษาต้นปี 2541 นี้ ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ช่วยสร้างสายสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างผู้บริหารของธนาคารกลางทั้งสองประเทศ และระหว่างประชาชนไทย-ลาว อย่างดีเยี่ยม ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมกับกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงต่อไปในอนาคต
โดยสรุปแล้วภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ยังมีปัญหาและข้อจำกัดในการพัฒนาอยู่บ้าง แต่ก็ยังมีโอกาสและศักยภาพในการพัฒนาด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การค้า การบริการและการท่องเที่ยวอยู่มาก เนื่องจากเป็นภาคที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรมาก และสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้หากปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในปัจจุบันยังดำเนินการไปได้ตามปกติ คาดว่าเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีการเติบโตในปี 2540 - 2550 อย่างมั่นคงในอัตราร้อยละ 6.0 ต่อปี มีรายได้ต่อหัวประมาณ 44,000 บาท/คน/ปี ในปี 2550 และจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อัตราเงินเฟ้อ จะอยู่ในระดับร้อยละ 5.0 ต่อปี
อย่างไรก็ตามการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะประสบผลสำเร็จไปไม่ได้ หากปราศจากความตั้งใจจริง การร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนทุกหมู่เหล่าในการร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้วัฒนาถาวรสืบไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-