1. จากผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดมาตรการปกป้องการค้าต่างประเทศของรัสเซีย (Commission on Protective Measures in Foreign Trade) ซึ่งมีนาย German Gref รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจและการค้า (Ministry of Economic Development and Trade) เป็นประธาน ได้มีการกำหนดมาตรการสำหรับการค้าน้ำตาลในปี 2545 ทั้งมาตรการทางด้านภาษีและการกำหนดโควต้าภาษี คือ
ก. การกำหนดอัตราภาษี (Tariff) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป อัตราภาษีศุลกากรสำหรับการนำเข้าน้ำตาลดิบภายใต้ปริมาณโควต้าภาษีที่กำหนดจะมีอัตราภาษีร้อยละ 5 ในส่วนของการนำเข้าสินค้าน้ำตาลที่เกินกว่าปริมาณโควต้าที่กำหนดอัตราภาษีจะเพิ่มเป็นร้อยละ 40 หรืออัตราไม่น้อยกว่า 120 Euro ต่อตัน (ในปี 2544 นี้ อัตราภาษีนำเข้าสำหรับน้ำตาลในโควต้าอัตราร้อยละ 5 แต่ปริมาณที่เกินโควต้าจะเป็นอัตราร้อยละ 30 หรืออัตราไม่ต่ำกว่า 90 Euro ต่อตัน)
นอกจากนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 รัสเซียยังได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าตามฤดูกาล (Seasonal Tariff) เพิ่มเติมสำหรับการนำเข้าน้ำตาลเป็นอัตราร้อยละ 50 หรืออัตราไม่น้อยกว่า 150 Euro ต่อตัน เพิ่มขึ้นด้วย1
ข. โควต้าภาษี (Tariff Quota) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 รัสเซียได้กำหนดโควต้าภาษีการนำเข้าน้ำตาลดิบจากต่างประเทศในปริมาณ 3.65 ล้านตัน (ในอัตราภาษีร้อยละ 5) เท่ากับปี 2544 โดยแบ่งปริมาณโควต้าภาษีเป็น 4 งวด คือ
- ไตรมาสที่ 1 และ 2 กำหนดปริมาณการนำเข้า 3.35 ล้านตัน
- ไตรมาสที่ 3 ไม่มีโควต้านำเข้า (เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยว/หีบน้ำตาล)
- ไตรมาสที่ 4 กำหนดปริมาณนำเข้า 300,000 ตัน
สำหรับการนำเข้าปี 2544 ภายหลังการประกาศกำหนดโควต้าภาษี รัฐบาลได้เปิดการประมูลโควต้า ซึ่งการประมูลโควต้าดังกล่าวรัฐบาลสามารถทำเงินได้ถึง 279.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
1 ช่วงฤดูกาลการเก็บเกี่ยวและหีบน้ำตาลบีท (Beet Sugar) ของรัสเซียประมาณเดือน ก.ค.-ธ.ค.
บริษัทที่ประมูลโควต้าได้ส่วนใหญ่จึงเป็นบริษัทผู้ค้าน้ำตาลรายใหญ่ของรัสเซียและบริษัทข้ามชาติจากตะวันตกซึ่งมีบทบาทสูงในธุรกิจการค้าน้ำตาลระหว่างประเทศ การประมูลโควต้าน้ำตาลซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงนี้เป็นผลให้ผู้ประกอบการรายเล็กและผู้อยู่นอกวงการไม่อาจเข้าแข่งขันได้มาก สำหรับโควต้าในปี 2545 ในลำดับต่อไปรัฐบาลก็จะได้ออกประกาศเป็นกฎหมายว่าด้วยอัตราภาษีและโควต้าดังกล่าวซึ่งอาจจะเป็น Decree หรือ Resolution of the Russian Federation Government ก่อนที่มาตรการจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2545 รวมทั้งจะได้มีการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารโควต้า รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการประมูลโควต้า ซึ่งโดยปกติจะดำเนินการในเดือนพฤศจิกายนก่อนปีที่จะนำเข้า
2. สรุปและความเห็น
2.1 ปัจจุบันรัสเซียเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าน้ำตาลมากเป็นอันดับที่หนึ่งของโลก โดยในแต่ละปีรัสเซียมีความต้องการบริโภคน้ำตาลปีละ 6-7 ล้านตัน แต่ผลผลิตน้ำตาลภายในประเทศ (Beet Sugar) ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค รัสเซียจึงมีการนำเข้าสินค้าน้ำตาลปริมาณสูงในแต่ละปี อาทิปี 2543 มีปริมาณนำเข้า 4.82 ล้านตัน มูลค่า 764.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2542 นำเข้า 5.9 ล้านตัน มูลค่า 1,168 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แม้ว่ารัสเซียจะต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าน้ำตาลจากต่างประเทศจำนวนมากในแต่ละปี แต่ในระยะเวลาที่ผ่านมารัสเซียก็ได้กำหนดมาตรการปกป้องภาคการผลิตภายในประเทศมาเป็นลำดับ อาทิ การปรับขึ้นอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าประจำปี การกำหนดภาษีตามฤดูกาล และในปี 2543 รัสเซียได้ออกประกาศกำหนดปริมาณโควต้าภาษีสำหรับการนำเข้าปี 2544 เป็นครั้งแรก รวมทั้งเปิดให้เอกสารประมูลโควต้า ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมามาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวของรัสเซียได้ก่อให้เกิดปัญหาภายในประเทศและส่งผลกระทบต่อการค้าน้ำตาลระหว่างประเทศมาเป็นลำดับ
2.2 จากสถิติของสำนักงานคณะกรรมการศุลกากร (State Customs Committee) ซึ่งแจ้งว่าในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี 2544 มูลค่าการนำเข้าสินค้านำตาลดิบของรัสเซียได้ลดลงถึงร้อยละ 10.6 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2543 ซึ่งสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ อาทิ รัฐบาลกำหนดโควต้าแต่ละไตรมาสไว้ตายตัว การนำเข้าไม่อาจมากกว่าปริมาณที่กำหนด ซึ่งจะต้องรับภาระอัตราภาษีสูงมากเป็นผลต่อการแข่งขันในตลาด ผู้นำเข้าได้ระบายสินค้าที่เร่งนำเข้าก่อนมาตรการใช้บังคับสู่ตลาด รวมทั้งโควต้าที่ประมูลได้มีราคาค่อนข้างสูง มีผลต่อต้นทุนทางธุรกิจ ดังนั้นผู้นำเข้าที่ประมูลโควต้าได้เมื่อนำเข้าแล้วจึงได้เร่งระบายสินค้าออกจากสต๊อคเป็นผลให้ช่วงต้นปีตลาดอิ่มตัวการนำเข้าจึงชะลอลงด้วย ภาวะการณ์ดังกล่าวมีส่วนต่อการส่งออกสินค้าน้ำตาลไทยไปรัสเซียในช่วงสองไตรมาสแรกที่มูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
2.3 คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกได้แจ้งว่า ในการหารือสองฝ่ายกับรัส-เซียเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของรัสเซีย เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2544 ฝ่ายไทยได้ขอความชัดเจนในเรื่องของการประมูลโควต้าน้ำตาลในรูปของ Tariff Quota ซึ่งฝ่ายรัสเซียได้แจ้งว่าในระยะเวลาที่ผ่านมาได้ใช้ระบบการประมูลโควต้าให้กับผู้นำเข้าภายใน อย่างไรก็ตาม ระบบการประมูลที่ผ่านมายังมีปัญหาและรัสเซียอยู่ในระหว่างการพิจารณาในเรื่องการปรับเปลี่ยนระบการนำเข้าใหม่ อาทิ การพิจารณาตามหลักประวัติการนำเข้าหรือระบบ First-come First-serve เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการประชุมของคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2544 ดังกล่าว รัสเซียได้เตรียมกำหนดมาตรการโควต้าภาษีดังเช่นปัจจุบันสำหรับการนำเข้าปี 2545 อีกครั้ง
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/2544 วันที่ 31 กรกฎาคม 2544--
-อน-
ก. การกำหนดอัตราภาษี (Tariff) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป อัตราภาษีศุลกากรสำหรับการนำเข้าน้ำตาลดิบภายใต้ปริมาณโควต้าภาษีที่กำหนดจะมีอัตราภาษีร้อยละ 5 ในส่วนของการนำเข้าสินค้าน้ำตาลที่เกินกว่าปริมาณโควต้าที่กำหนดอัตราภาษีจะเพิ่มเป็นร้อยละ 40 หรืออัตราไม่น้อยกว่า 120 Euro ต่อตัน (ในปี 2544 นี้ อัตราภาษีนำเข้าสำหรับน้ำตาลในโควต้าอัตราร้อยละ 5 แต่ปริมาณที่เกินโควต้าจะเป็นอัตราร้อยละ 30 หรืออัตราไม่ต่ำกว่า 90 Euro ต่อตัน)
นอกจากนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 รัสเซียยังได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าตามฤดูกาล (Seasonal Tariff) เพิ่มเติมสำหรับการนำเข้าน้ำตาลเป็นอัตราร้อยละ 50 หรืออัตราไม่น้อยกว่า 150 Euro ต่อตัน เพิ่มขึ้นด้วย1
ข. โควต้าภาษี (Tariff Quota) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 รัสเซียได้กำหนดโควต้าภาษีการนำเข้าน้ำตาลดิบจากต่างประเทศในปริมาณ 3.65 ล้านตัน (ในอัตราภาษีร้อยละ 5) เท่ากับปี 2544 โดยแบ่งปริมาณโควต้าภาษีเป็น 4 งวด คือ
- ไตรมาสที่ 1 และ 2 กำหนดปริมาณการนำเข้า 3.35 ล้านตัน
- ไตรมาสที่ 3 ไม่มีโควต้านำเข้า (เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยว/หีบน้ำตาล)
- ไตรมาสที่ 4 กำหนดปริมาณนำเข้า 300,000 ตัน
สำหรับการนำเข้าปี 2544 ภายหลังการประกาศกำหนดโควต้าภาษี รัฐบาลได้เปิดการประมูลโควต้า ซึ่งการประมูลโควต้าดังกล่าวรัฐบาลสามารถทำเงินได้ถึง 279.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
1 ช่วงฤดูกาลการเก็บเกี่ยวและหีบน้ำตาลบีท (Beet Sugar) ของรัสเซียประมาณเดือน ก.ค.-ธ.ค.
บริษัทที่ประมูลโควต้าได้ส่วนใหญ่จึงเป็นบริษัทผู้ค้าน้ำตาลรายใหญ่ของรัสเซียและบริษัทข้ามชาติจากตะวันตกซึ่งมีบทบาทสูงในธุรกิจการค้าน้ำตาลระหว่างประเทศ การประมูลโควต้าน้ำตาลซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงนี้เป็นผลให้ผู้ประกอบการรายเล็กและผู้อยู่นอกวงการไม่อาจเข้าแข่งขันได้มาก สำหรับโควต้าในปี 2545 ในลำดับต่อไปรัฐบาลก็จะได้ออกประกาศเป็นกฎหมายว่าด้วยอัตราภาษีและโควต้าดังกล่าวซึ่งอาจจะเป็น Decree หรือ Resolution of the Russian Federation Government ก่อนที่มาตรการจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2545 รวมทั้งจะได้มีการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารโควต้า รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการประมูลโควต้า ซึ่งโดยปกติจะดำเนินการในเดือนพฤศจิกายนก่อนปีที่จะนำเข้า
2. สรุปและความเห็น
2.1 ปัจจุบันรัสเซียเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าน้ำตาลมากเป็นอันดับที่หนึ่งของโลก โดยในแต่ละปีรัสเซียมีความต้องการบริโภคน้ำตาลปีละ 6-7 ล้านตัน แต่ผลผลิตน้ำตาลภายในประเทศ (Beet Sugar) ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค รัสเซียจึงมีการนำเข้าสินค้าน้ำตาลปริมาณสูงในแต่ละปี อาทิปี 2543 มีปริมาณนำเข้า 4.82 ล้านตัน มูลค่า 764.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2542 นำเข้า 5.9 ล้านตัน มูลค่า 1,168 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แม้ว่ารัสเซียจะต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าน้ำตาลจากต่างประเทศจำนวนมากในแต่ละปี แต่ในระยะเวลาที่ผ่านมารัสเซียก็ได้กำหนดมาตรการปกป้องภาคการผลิตภายในประเทศมาเป็นลำดับ อาทิ การปรับขึ้นอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าประจำปี การกำหนดภาษีตามฤดูกาล และในปี 2543 รัสเซียได้ออกประกาศกำหนดปริมาณโควต้าภาษีสำหรับการนำเข้าปี 2544 เป็นครั้งแรก รวมทั้งเปิดให้เอกสารประมูลโควต้า ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมามาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวของรัสเซียได้ก่อให้เกิดปัญหาภายในประเทศและส่งผลกระทบต่อการค้าน้ำตาลระหว่างประเทศมาเป็นลำดับ
2.2 จากสถิติของสำนักงานคณะกรรมการศุลกากร (State Customs Committee) ซึ่งแจ้งว่าในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี 2544 มูลค่าการนำเข้าสินค้านำตาลดิบของรัสเซียได้ลดลงถึงร้อยละ 10.6 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2543 ซึ่งสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ อาทิ รัฐบาลกำหนดโควต้าแต่ละไตรมาสไว้ตายตัว การนำเข้าไม่อาจมากกว่าปริมาณที่กำหนด ซึ่งจะต้องรับภาระอัตราภาษีสูงมากเป็นผลต่อการแข่งขันในตลาด ผู้นำเข้าได้ระบายสินค้าที่เร่งนำเข้าก่อนมาตรการใช้บังคับสู่ตลาด รวมทั้งโควต้าที่ประมูลได้มีราคาค่อนข้างสูง มีผลต่อต้นทุนทางธุรกิจ ดังนั้นผู้นำเข้าที่ประมูลโควต้าได้เมื่อนำเข้าแล้วจึงได้เร่งระบายสินค้าออกจากสต๊อคเป็นผลให้ช่วงต้นปีตลาดอิ่มตัวการนำเข้าจึงชะลอลงด้วย ภาวะการณ์ดังกล่าวมีส่วนต่อการส่งออกสินค้าน้ำตาลไทยไปรัสเซียในช่วงสองไตรมาสแรกที่มูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
2.3 คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกได้แจ้งว่า ในการหารือสองฝ่ายกับรัส-เซียเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของรัสเซีย เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2544 ฝ่ายไทยได้ขอความชัดเจนในเรื่องของการประมูลโควต้าน้ำตาลในรูปของ Tariff Quota ซึ่งฝ่ายรัสเซียได้แจ้งว่าในระยะเวลาที่ผ่านมาได้ใช้ระบบการประมูลโควต้าให้กับผู้นำเข้าภายใน อย่างไรก็ตาม ระบบการประมูลที่ผ่านมายังมีปัญหาและรัสเซียอยู่ในระหว่างการพิจารณาในเรื่องการปรับเปลี่ยนระบการนำเข้าใหม่ อาทิ การพิจารณาตามหลักประวัติการนำเข้าหรือระบบ First-come First-serve เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการประชุมของคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2544 ดังกล่าว รัสเซียได้เตรียมกำหนดมาตรการโควต้าภาษีดังเช่นปัจจุบันสำหรับการนำเข้าปี 2545 อีกครั้ง
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/2544 วันที่ 31 กรกฎาคม 2544--
-อน-