แท็ก
กรมประมง
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต
กรมประมงช่วยชาวประมงอวนรุนปรับเปลี่ยนอาชีพหรือเปลี่ยนเครื่องมือใหม่
นายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง กล่าวถึง แนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงเรืออวนรุนหลังจากกรมประมงใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดให้ยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับการพิจารณาจัดสรรเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเซียรวม 2,000 ล้านบาท ให้กับกรมประมง กรมปศุสัตว์ และกรมส่งเสริมการเกษตรในส่วนของกรมประมงให้นำไปปรับเปลี่ยนอาชีพและส่งเสริมการเลี้ยงปลากระชังให้กับชาวประมงแทนการทำประมง ทั้งนี้หากชาวประมงอวนรุนหรือชาวประมงอื่น ๆที่ใช้อุปกรณ์ในการจับปลาผิดกฎหมาย ทางกรมประมงจะให้เงินทุนให้เปล่าและกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำในการนำไปประกอบอาชีพทดแทนหรือปรับเปลี่ยนเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ที่ไม่ผิดกฎหมายทำการประมง
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 ธค.42- 8 มค.43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,844.26 ตันแยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 931.00 ตัน สัตว์น้ำจืด 915.27 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.23 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.22 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 81.34 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 108.21 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 89.23 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด กุ้งกุลาดำไทย" อนาคตสดใสหลังเอกวาดอร์เจอโรคระบาด
รายงานข่าวจากพาณิชย์ จ.สุราษฎร์ธานี แจ้งว่า ขณะนี้ผลผลิตกุ้งกุลาดำในภาคใต้มีการส่งออกไปยังตลาดโลกมากขึ้น เนื่องจากประเทศในแถบยุโรป เข้าสู่ช่วงฤดูหนาวการเก็บสะสมอาหารไว้บริโภคในช่วงดังกล่าวมีมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ระยะนี้มีความต้องการกุ้งกุลาดำจากไทยมากกว่าที่ผ่านมาเกือบเท่าตัวปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กุ้งกุลาดำของไทยเป็นที่ต้องการของสหรัฐฯมากขึ้น เป็นผลมาจากประเทศเอกวาดอร์ซึ่งส่งออกกุ้งกุลาดำรายใหญ่ไปยังสหรัฐฯประสบปัญหากุ้งเป็นโรคระบาดสหรัฐฯจึงหันมานำเข้ากุ้งกุลาดำจากประเทศไทยมากขึ้น นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดสำคัญในแถบเอเซียก็มีความต้องการกุ้งกุลาดำของไทยมากขึ้น อันเป็นผลมากจากค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นขณะเดียวกันประเทศไทยเองก็มีความต้องการกุ้งกุลาดำในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เพราะเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากความต้องการบริโภคกุ้งก็มีมากขึ้น ดังนั้นคาดว่า จะส่งผลให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.65 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.40 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 66.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 310.- บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 288.- บาท ของสัปดาห์ก่อน 22.- บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 358.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 360.- บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.11 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.84 บาท ลดลงจาก 19.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.89 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 40.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.08 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 10-14 มค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 14.68 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 2 ประจำวันที่ 10 - 16 ม.ค. 2543--
1. สถานการณ์การผลิต
กรมประมงช่วยชาวประมงอวนรุนปรับเปลี่ยนอาชีพหรือเปลี่ยนเครื่องมือใหม่
นายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง กล่าวถึง แนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงเรืออวนรุนหลังจากกรมประมงใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดให้ยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับการพิจารณาจัดสรรเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเซียรวม 2,000 ล้านบาท ให้กับกรมประมง กรมปศุสัตว์ และกรมส่งเสริมการเกษตรในส่วนของกรมประมงให้นำไปปรับเปลี่ยนอาชีพและส่งเสริมการเลี้ยงปลากระชังให้กับชาวประมงแทนการทำประมง ทั้งนี้หากชาวประมงอวนรุนหรือชาวประมงอื่น ๆที่ใช้อุปกรณ์ในการจับปลาผิดกฎหมาย ทางกรมประมงจะให้เงินทุนให้เปล่าและกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำในการนำไปประกอบอาชีพทดแทนหรือปรับเปลี่ยนเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ที่ไม่ผิดกฎหมายทำการประมง
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 ธค.42- 8 มค.43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,844.26 ตันแยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 931.00 ตัน สัตว์น้ำจืด 915.27 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.23 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.22 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 81.34 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 108.21 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 89.23 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด กุ้งกุลาดำไทย" อนาคตสดใสหลังเอกวาดอร์เจอโรคระบาด
รายงานข่าวจากพาณิชย์ จ.สุราษฎร์ธานี แจ้งว่า ขณะนี้ผลผลิตกุ้งกุลาดำในภาคใต้มีการส่งออกไปยังตลาดโลกมากขึ้น เนื่องจากประเทศในแถบยุโรป เข้าสู่ช่วงฤดูหนาวการเก็บสะสมอาหารไว้บริโภคในช่วงดังกล่าวมีมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ระยะนี้มีความต้องการกุ้งกุลาดำจากไทยมากกว่าที่ผ่านมาเกือบเท่าตัวปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กุ้งกุลาดำของไทยเป็นที่ต้องการของสหรัฐฯมากขึ้น เป็นผลมาจากประเทศเอกวาดอร์ซึ่งส่งออกกุ้งกุลาดำรายใหญ่ไปยังสหรัฐฯประสบปัญหากุ้งเป็นโรคระบาดสหรัฐฯจึงหันมานำเข้ากุ้งกุลาดำจากประเทศไทยมากขึ้น นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดสำคัญในแถบเอเซียก็มีความต้องการกุ้งกุลาดำของไทยมากขึ้น อันเป็นผลมากจากค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นขณะเดียวกันประเทศไทยเองก็มีความต้องการกุ้งกุลาดำในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เพราะเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากความต้องการบริโภคกุ้งก็มีมากขึ้น ดังนั้นคาดว่า จะส่งผลให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.65 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.40 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 66.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 310.- บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 288.- บาท ของสัปดาห์ก่อน 22.- บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 358.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 360.- บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.11 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.84 บาท ลดลงจาก 19.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.89 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 40.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.08 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 10-14 มค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 14.68 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 2 ประจำวันที่ 10 - 16 ม.ค. 2543--