ข่าวในประเทศ
1. สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ พ.ร.ก. จัดตั้ง บสท. และคำชี้แจงของ รมว.คลังต่อสภาฯ รายงานข่าวจากรัฐสภาว่า สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ พ.ร.ก. จัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) แล้ว โดย รมว.คลังได้กล่าวถึงหลักการและเหตุผลที่เสนอเป็น พ.ร.ก. ว่า เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง ทำให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินไม่สามารถชำระสินเชื่อที่มีกับสถาบันการเงินได้ ทำให้เกิดเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เป็นจำนวนมาก หากปล่อยเวลาให้ช้าออกไป สถานะของสถาบันการเงินจะเกิดปัญหารุนแรง และกระทบต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อไปได้ จึงต้องเร่งจัดตั้ง บสท.ขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาของลูกหนี้ สถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชน ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงต้นทุนในการแก้ไขปัญหา มิให้เป็นภาระของประชาชนและรัฐบาลได้ ดังนั้น คณะกรรมการ บสท.จึงต้องมีอำนาจพิเศษในภาวการณ์ที่ไม่ปกติ แต่ยังมีกระบวนการในการตรวจสอบซึ่งจะดำเนินงานทุก 1 เดือน (โลกวันนี้,กรุงเทพธุรกิจ 27)
2. ครม.มีมติให้ ก.คลังรับภาระความเสียหาย ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยแทนกองทุนฟื้นฟูในระยะ 5 ปีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติให้ ก.คลังรับภาระแทนกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในกรณีการแก้ไขปัญหา ธ.ศรีนคร และ ธ.นครหลวงไทยเกิดความเสียหายในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยประมาณการว่ากองทุนฟื้นฟูฯ จะมีรายจ่ายสุทธิหลังเสร็จสิ้นระยะเวลา 5 ปี ประมาณ 206,900 ล.บาท สำหรับแนวทางการบริหารธนาคารทั้งสองแห่งภายหลังโอนหนี้ด้อยคุณภาพไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(บสท.) เห็นควรให้คงสินทรัพย์ดีและหนี้สินไว้ โดยสรรหาผู้บริหารใหม่และปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นให้ธนาคารทั้งสองแห่งมีสถานะเป็นธนาคารเอกชน หรืออาจควบรวมธนาคารทั้งสองเข้าด้วยกัน สำหรับการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นได้กำหนดให้กองทุนฟื้นฟูฯ ขายหุ้นของทั้งสองธนาคารในสัดส่วนประมาณร้อยละ 51 ให้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) โดยกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ค้ำประกันความเสี่ยง โดยเมื่อ กบข.ถือหุ้นธนาคารเป็นเวลา 3 ปีแล้ว จะต้องกระจายหุ้นให้เอกชนอื่น และหากขายไม่ได้ภายใน 3 ปี ก็อาจขยายเวลาอีกครั้งละ 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ครั้ง และจะต้องแบ่งกำไรจากการขายหุ้นให้กองทุนฟื้นฟูร้อยละ 70 ทั้งนี้ กบข.จะเข้าลงทุนเมื่อมีการลดทุนทั้งสองธนาคารเหลือรวมกันประมาณ 20,000 ล.บาท(ผู้จัดการรายวัน 27)
3. ครม.มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การใช้ งปม.ขาดดุลเพิ่ม 58,000 ล.บาท รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การใช้ งปม.ที่ได้มีมติให้เพิ่มการขาดดุล งปม.ปี 45 อีกจำนวน 58,000 ล.บาท โดยให้จัดสรรไปยังโครงการหลักของรัฐบาลที่มีอยู่แล้วและไม่ทำให้โครงการเดิมใน งปม.ปกติล่าช้าหรือชะลอออกไป โดยจะตั้งเป็นงบสำรองฉุกเฉิน และให้มีคณะกรรมการพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการต่างๆ แล้วเสนอ ครม.จึงจะใช้งบฯ ได้ (ไทยรัฐ 27)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของผู้บริโภค สรอ. ในเดือน มิ.ย. 44 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 26 มิ.ย. 44 Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมในเดือน มิ.ย. 44 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 117.9 เทียบกับตัวเลขหลังปรับ ที่ระดับ 116.1 ในเดือน พ.ค. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และตรงข้ามกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะลดลงที่ระดับ 114.2 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยผู้บริโภคของ Conference Board (Lynn Franco) กล่าวว่า ผู้บริโภคใน สรอ. เริ่มมองเศรษฐกิจในแง่ดีมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา และคาดว่าแนวโน้มการจ้างงานจะเพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนหน้า ขณะเดียวกัน ดัชนีการคาดหวังต่อภาวะเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหน้า เพิ่มขึ้นที่ระดับ 93.2 ในเดือน มิ.ย. 44 จากระดับ 87.1 ในเดือน พ.ค. 44 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 43 ส่วน ดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ลดลงที่ระดับ 154.8 จากระดับ 159.6 ในเดือน พ.ค.44 จากรายงานครั้งนี้ อาจจะลดความคาดหวังว่า ธ. กลางจะลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินในวันที่ 27 มิ.ย. นี้ (รอยเตอร์26)
2. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในเดือน พ.ค.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 26 มิ.ย.44 ก.พาณิชย์เปิดเผยคำสั่งซื้อสินค้าคงทนหลังปรับฤดูกาลในเดือน พ.ค.44 ว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 188.55 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 หลังจากลดลงร้อยละ 5.5 ในเดือน เม.ย.44 แต่หากไม่รวมสินค้าประเภทขนส่งที่มีความผันผวนแล้ว คำสั่งซื้อฯ ในเดือน พ.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 หลังจากลดลงร้อยละ 3.9 ในเดือน เม.ย.44 โดยเดือน พ.ค. คำสั่งซื้อฯ ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 สินค้าที่มิใช่ยุทโธปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบกับเดือน เม.ย.ที่ลดลงร้อยละ 13.5 และ 4.7 ตามลำดับ ทั้งนี้ คำสั่งซื้อฯ ในเดือน พ.ค. สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน และจะลดลงร้อยละ 0.1 หากไม่รวมสินค้าประเภทขนส่ง ซึ่งตัวเลขคำสั่งซื้อฯ ดังกล่าวส่งผลให้มีการคาดการณ์กันว่าจะทำให้ ธ.กลาง สรอ. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 มากกว่าจะปรับลดถึงร้อยละ 0.50 (รอยเตอร์ 26)
3. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. เพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 26 มิ.ย. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านใหม่ครอบครัวเดี่ยว หลังปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน พ.ค. 44 อยู่ที่จำนวน 928,000 หลังต่อปี นับเป็นยอดขายสูงสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 44 และเป็นการฟื้นตัวขึ้นเทียบกับตัวเลขที่ปรับแล้ว ลดลงร้อยละ 4.5 ในเดือน เม.ย. 44 อยู่ที่จำนวน 921,000 หลังต่อปี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากตัวเลขเบื้องต้นที่มีจำนวน 894,000 หลังต่อปี หรือลดลงถึงร้อยละ 9.5 ทั้งนี้ การที่ยอดการขายบ้านฯเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ เนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ผู้บริโภคพอใจ รวมทั้งอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้เกื้อหนุนต่อภาคที่อยู่อาศัย แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลงก็ตาม (รอยเตอร์26)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 26 มิ.ย. 44 45.148 (45.203)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 26 มิ.ย. 44ซื้อ 44.9317 (45.0176) ขาย 45.2484 (45.3304)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,850 (5,800) ขาย 5,950 (5,900)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.03 (24.96)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.39 (15.69) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ พ.ร.ก. จัดตั้ง บสท. และคำชี้แจงของ รมว.คลังต่อสภาฯ รายงานข่าวจากรัฐสภาว่า สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ พ.ร.ก. จัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) แล้ว โดย รมว.คลังได้กล่าวถึงหลักการและเหตุผลที่เสนอเป็น พ.ร.ก. ว่า เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง ทำให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินไม่สามารถชำระสินเชื่อที่มีกับสถาบันการเงินได้ ทำให้เกิดเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เป็นจำนวนมาก หากปล่อยเวลาให้ช้าออกไป สถานะของสถาบันการเงินจะเกิดปัญหารุนแรง และกระทบต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อไปได้ จึงต้องเร่งจัดตั้ง บสท.ขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาของลูกหนี้ สถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชน ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงต้นทุนในการแก้ไขปัญหา มิให้เป็นภาระของประชาชนและรัฐบาลได้ ดังนั้น คณะกรรมการ บสท.จึงต้องมีอำนาจพิเศษในภาวการณ์ที่ไม่ปกติ แต่ยังมีกระบวนการในการตรวจสอบซึ่งจะดำเนินงานทุก 1 เดือน (โลกวันนี้,กรุงเทพธุรกิจ 27)
2. ครม.มีมติให้ ก.คลังรับภาระความเสียหาย ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยแทนกองทุนฟื้นฟูในระยะ 5 ปีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติให้ ก.คลังรับภาระแทนกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในกรณีการแก้ไขปัญหา ธ.ศรีนคร และ ธ.นครหลวงไทยเกิดความเสียหายในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยประมาณการว่ากองทุนฟื้นฟูฯ จะมีรายจ่ายสุทธิหลังเสร็จสิ้นระยะเวลา 5 ปี ประมาณ 206,900 ล.บาท สำหรับแนวทางการบริหารธนาคารทั้งสองแห่งภายหลังโอนหนี้ด้อยคุณภาพไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(บสท.) เห็นควรให้คงสินทรัพย์ดีและหนี้สินไว้ โดยสรรหาผู้บริหารใหม่และปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นให้ธนาคารทั้งสองแห่งมีสถานะเป็นธนาคารเอกชน หรืออาจควบรวมธนาคารทั้งสองเข้าด้วยกัน สำหรับการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นได้กำหนดให้กองทุนฟื้นฟูฯ ขายหุ้นของทั้งสองธนาคารในสัดส่วนประมาณร้อยละ 51 ให้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) โดยกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ค้ำประกันความเสี่ยง โดยเมื่อ กบข.ถือหุ้นธนาคารเป็นเวลา 3 ปีแล้ว จะต้องกระจายหุ้นให้เอกชนอื่น และหากขายไม่ได้ภายใน 3 ปี ก็อาจขยายเวลาอีกครั้งละ 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ครั้ง และจะต้องแบ่งกำไรจากการขายหุ้นให้กองทุนฟื้นฟูร้อยละ 70 ทั้งนี้ กบข.จะเข้าลงทุนเมื่อมีการลดทุนทั้งสองธนาคารเหลือรวมกันประมาณ 20,000 ล.บาท(ผู้จัดการรายวัน 27)
3. ครม.มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การใช้ งปม.ขาดดุลเพิ่ม 58,000 ล.บาท รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การใช้ งปม.ที่ได้มีมติให้เพิ่มการขาดดุล งปม.ปี 45 อีกจำนวน 58,000 ล.บาท โดยให้จัดสรรไปยังโครงการหลักของรัฐบาลที่มีอยู่แล้วและไม่ทำให้โครงการเดิมใน งปม.ปกติล่าช้าหรือชะลอออกไป โดยจะตั้งเป็นงบสำรองฉุกเฉิน และให้มีคณะกรรมการพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการต่างๆ แล้วเสนอ ครม.จึงจะใช้งบฯ ได้ (ไทยรัฐ 27)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของผู้บริโภค สรอ. ในเดือน มิ.ย. 44 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 26 มิ.ย. 44 Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมในเดือน มิ.ย. 44 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 117.9 เทียบกับตัวเลขหลังปรับ ที่ระดับ 116.1 ในเดือน พ.ค. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และตรงข้ามกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะลดลงที่ระดับ 114.2 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยผู้บริโภคของ Conference Board (Lynn Franco) กล่าวว่า ผู้บริโภคใน สรอ. เริ่มมองเศรษฐกิจในแง่ดีมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา และคาดว่าแนวโน้มการจ้างงานจะเพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนหน้า ขณะเดียวกัน ดัชนีการคาดหวังต่อภาวะเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหน้า เพิ่มขึ้นที่ระดับ 93.2 ในเดือน มิ.ย. 44 จากระดับ 87.1 ในเดือน พ.ค. 44 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 43 ส่วน ดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ลดลงที่ระดับ 154.8 จากระดับ 159.6 ในเดือน พ.ค.44 จากรายงานครั้งนี้ อาจจะลดความคาดหวังว่า ธ. กลางจะลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินในวันที่ 27 มิ.ย. นี้ (รอยเตอร์26)
2. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในเดือน พ.ค.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 26 มิ.ย.44 ก.พาณิชย์เปิดเผยคำสั่งซื้อสินค้าคงทนหลังปรับฤดูกาลในเดือน พ.ค.44 ว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 188.55 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 หลังจากลดลงร้อยละ 5.5 ในเดือน เม.ย.44 แต่หากไม่รวมสินค้าประเภทขนส่งที่มีความผันผวนแล้ว คำสั่งซื้อฯ ในเดือน พ.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 หลังจากลดลงร้อยละ 3.9 ในเดือน เม.ย.44 โดยเดือน พ.ค. คำสั่งซื้อฯ ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 สินค้าที่มิใช่ยุทโธปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบกับเดือน เม.ย.ที่ลดลงร้อยละ 13.5 และ 4.7 ตามลำดับ ทั้งนี้ คำสั่งซื้อฯ ในเดือน พ.ค. สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน และจะลดลงร้อยละ 0.1 หากไม่รวมสินค้าประเภทขนส่ง ซึ่งตัวเลขคำสั่งซื้อฯ ดังกล่าวส่งผลให้มีการคาดการณ์กันว่าจะทำให้ ธ.กลาง สรอ. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 มากกว่าจะปรับลดถึงร้อยละ 0.50 (รอยเตอร์ 26)
3. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. เพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 26 มิ.ย. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านใหม่ครอบครัวเดี่ยว หลังปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน พ.ค. 44 อยู่ที่จำนวน 928,000 หลังต่อปี นับเป็นยอดขายสูงสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 44 และเป็นการฟื้นตัวขึ้นเทียบกับตัวเลขที่ปรับแล้ว ลดลงร้อยละ 4.5 ในเดือน เม.ย. 44 อยู่ที่จำนวน 921,000 หลังต่อปี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากตัวเลขเบื้องต้นที่มีจำนวน 894,000 หลังต่อปี หรือลดลงถึงร้อยละ 9.5 ทั้งนี้ การที่ยอดการขายบ้านฯเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ เนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ผู้บริโภคพอใจ รวมทั้งอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้เกื้อหนุนต่อภาคที่อยู่อาศัย แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลงก็ตาม (รอยเตอร์26)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 26 มิ.ย. 44 45.148 (45.203)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 26 มิ.ย. 44ซื้อ 44.9317 (45.0176) ขาย 45.2484 (45.3304)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,850 (5,800) ขาย 5,950 (5,900)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.03 (24.96)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.39 (15.69) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-